Search results

3 results in 0.08s

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่มี เพศ อายุ การศึกษา แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนจำนวน 361 คน แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งการสุ่มแบบบังเอิญเป็นการแจกแบบสอบถามให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยบังเอิญไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นใคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติ ค่าความถี่ (ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พบว่า โดยรวมทั้ง3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ระดับมากที่สุด คือ ด้านไฟฟ้า รองลงมาคือ ด้านถนน และน้อยสุดคือ ด้านประปา 2) ประชาชนที่มีเพศ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ด้านไฟฟ้า เทศบาลควรให้ความรู้และแจ้งให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจว่ามีการประชาสัมพันธ์การติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะมีความเหมาะสมในจุดที่ป้องกันเหตุร้ายได้ตลอดเวลา ด้านประปา พนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลควรให้ความรู้ ชี้แจง อธิบายและบอกถึงรายละเอียดต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ รับรู้ข้อมูลและมีความเข้าใจในการดูแลระบบการจ่ายน้ำประปามีความสม่ำเสมอมีบริการที่รวดเร็วในการปรับปรุงซ่อมแซมได้อย่างถูกต้อง ด้านถนน เทศบาลควรมีการการก่อสร้าง ปรับปรุง บูรณะ ซ่อมแซมถนนที่ชำรุดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้รวดเร็วและเทศบาลจะได้มีการพัฒนาระบบการจราจรและพร้อมในการช่วยเมื่อได้รับความเดือดร้อนในเส้นทาง
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่มี เพศ อายุ การศึกษา แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนจำนวน 361 คน แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งการสุ่มแบบบังเอิญเป็นการแจกแบบสอบถามให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยบังเอิญไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นใคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติ ค่าความถี่ (ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พบว่า โดยรวมทั้ง3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ระดับมากที่สุด คือ ด้านไฟฟ้า รองลงมาคือ ด้านถนน และน้อยสุดคือ ด้านประปา 2) ประชาชนที่มีเพศ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ด้านไฟฟ้า เทศบาลควรให้ความรู้และแจ้งให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจว่ามีการประชาสัมพันธ์การติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะมีความเหมาะสมในจุดที่ป้องกันเหตุร้ายได้ตลอดเวลา ด้านประปา พนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลควรให้ความรู้ ชี้แจง อธิบายและบอกถึงรายละเอียดต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ รับรู้ข้อมูลและมีความเข้าใจในการดูแลระบบการจ่ายน้ำประปามีความสม่ำเสมอมีบริการที่รวดเร็วในการปรับปรุงซ่อมแซมได้อย่างถูกต้อง ด้านถนน เทศบาลควรมีการการก่อสร้าง ปรับปรุง บูรณะ ซ่อมแซมถนนที่ชำรุดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้รวดเร็วและเทศบาลจะได้มีการพัฒนาระบบการจราจรและพร้อมในการช่วยเมื่อได้รับความเดือดร้อนในเส้นทาง
This thematic paper had the following objectives: 1) To study the role of infrastructure development of Bangkao Sub-district Municipality, Cha-am District, Phetchaburi Province; 2) To compare the role of infrastructure development of Bang Kao Sub-district Municipality, Cha-am District, Phetchaburi Province, classified with gender, age, and education; and 3) To study the guidelines for the development of infrastructure of Bang Kao Sub-district Municipality, Cha-am District, Phetchaburi Province. It was a survey research. The sample group consisted of 361 people and used an accidental sampling method to collect data. It was accidentally randomized distribution of questionnaires to people living in Bang Kao Sub-district Municipality, Cha-am District, Phetchaburi Province, accidentally not specific to who it was. The used tools in the research were questionnaires with the reliability of 0.95. The statistics used for data analysis were statistics, frequency (percentage), mean ( ) and standard deviation (SD). T-test and One-Way ANOVA test were used. When there were significant differences at the level of 0.05, the differences were analyzed by pairing with the method of Scheffé. The results of the research were found as follows: 1) The role of the infrastructure development of Bang Kao Sub-district Municipality, Cha-Am District, Phetchaburi Province, was found that the total of 3 aspects was at a high level. When considering each aspect by sorting by average from descending to highest, it was found that the highest level was the aspect of electricity. 2) People with different sex and education had opinions about the role of infrastructure development of Bang Kao Sub-district Municipality, Cha-Am District, Phetchaburi Province, in the whole view with no difference. But people with different ages had opinions about the role of infrastructure development of Bang Kao Sub-district Municipality, Cha-Am District, Phetchaburi Province, differing significantly at the level of 0.05. 3) Guidelines for the development of the infrastructure of Bang Kao Sub district Municipality, Cha-am District, Phetchaburi Province, were as follows : The municipality should educate and inform the public that there was a public relations installation of public electricity that was appropriate at the point of preventing the disaster. In the aspect of the water supply, the municipality officials should give knowledge, clarify, explain and give details to the public about information and understanding of the water supply distribution system with consistency, fast service in correcting and repairing. In the aspect of roads, municipality officials should have construction, improvement and reparation of the roads very fast and the municipality officials should develop the traffic system and ready to help when suffering was in the path.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ และรายได้ ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ จำนวน 345 คน โดยใช้สูตรของของทาโร่ ยามาเน และวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า: 1. ผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดี ด้านนันทนาการ และด้านการมีงานทำและการมีรายได้ ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ และอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ข้อเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ มีดังนี้ 1) ด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดี ได้แก่ เพิ่มการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ยา และการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุให้กับผู้สูงอายุและคนในครอบครัว 2) ด้านการมีงานทำและการมีรายได้ ได้แก่ ควรเพิ่มโครงการอบรมส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น มีกองทุนให้กู้ยืมสนับสนุนการประกอบอาชีพโดยจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่เหมาะสม มีการประชาสัมพันธ์ให้ช่วยกันอุดหนุนสินค้าของผู้สูงอายุ และ 3) ด้านนันทนาการ ได้แก่ ควรเพิ่มโครงการกระตุ้นเชิญชวนให้ผู้สูงอายุหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น มีการดูแลให้มีสวนสาธารณะหรือสวนสุขภาพที่สะดวกปลอดภัยและมีอุปกรณ์การออกกำลังการที่เหมาะกับผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ และรายได้ ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ จำนวน 345 คน โดยใช้สูตรของของทาโร่ ยามาเน และวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า: 1. ผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดี ด้านนันทนาการ และด้านการมีงานทำและการมีรายได้ ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ และอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ข้อเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ มีดังนี้ 1) ด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดี ได้แก่ เพิ่มการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ยา และการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุให้กับผู้สูงอายุและคนในครอบครัว 2) ด้านการมีงานทำและการมีรายได้ ได้แก่ ควรเพิ่มโครงการอบรมส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น มีกองทุนให้กู้ยืมสนับสนุนการประกอบอาชีพโดยจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่เหมาะสม มีการประชาสัมพันธ์ให้ช่วยกันอุดหนุนสินค้าของผู้สูงอายุ และ 3) ด้านนันทนาการ ได้แก่ ควรเพิ่มโครงการกระตุ้นเชิญชวนให้ผู้สูงอายุหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น มีการดูแลให้มีสวนสาธารณะหรือสวนสุขภาพที่สะดวกปลอดภัยและมีอุปกรณ์การออกกำลังการที่เหมาะกับผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ
This thematic paper had the following objectives: 1) to study the opinions about the role of local administrative organizations in management of social welfare for elderly people of Khlong Maduea Sub-district Administrative Organization, Krathum Baen District, Samut Sakhon province; 2) to compare the opinions about the role of local administrative organizations in management of social welfare for elderly people of Khlong Maduea Sub-district Administrative Organization, Krathum Baen District, Samut Sakhon Province, classified with different gender, age and income; and 3) to suggest guidelines for management of social welfare for elderly people of Khlong Maduea Sub-district Administrative Organization, Krathum Baen District, Samut Sakhon province. It was a quantitative research. The sample group consisted of 345 elderly people living in Khlong Maduea Sub-district Administrative Organization. Taro Yamane's formula and simple sampling methods were used for data collection. The used tools in the research were questionnaires with the reliability of 0.80. The used statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation. T-test and One-Way ANOVA test. When differences were found, they were compared in pairs with the LSD (Least Significant Difference) method. The results of research were found as follows: 1. The elderly people who responded to the questionnaires had opinions about the role of local administrative organizations in management of social welfare for elderly people of Khlong Maduea Sub-district Administrative Organization, Krathum Baen District, Samut Sakhon province, by sorting the average from descending order to being in the aspect of good health, the aspect of recreation and the aspect of employment and income respectively. 2. The comparison of the hypothesis of the research was found that the elderly with different gender and age had overall no different opinions about the role of local government organizations in management of social welfare for elderly people of Khlong Maduea Subdistrict Administrative Organization. But the elderly people with different incomes had different opinions on the elderly welfare management, with statistical significance at the level of 0.05. 3. Suggestions for management of social welfare for elderly people of Khlong Maduea Sub-district Administrative Organization, Krathum Baen District, Samut Sakhon province, were as follows: 1) In the aspect of good health, there should have training in knowledge about eating, drug use and health care for the elderly, to the elderly people and family members; 2) In the aspect of employment and income generation, there should be more vocational training programs for the elderly people; there should have a lending fund to support the occupation by arranging the product distribution location in the appropriate area; and there should have public relations to help subsidize the products of the elderly people; and 3) in the aspect of recreation, there should increase the stimulus program to encourage the elderly people to exercise more; there should have a public park or health park that was convenient, and safe, and there should have adequate exercise equipment suitable for the elderly people.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 253 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (f-test) หรือ (One–Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านความพอประมาณในการปฏิบัติงาน รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความมีเหตุผลในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวม 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวม 5 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยรวมทั้ง 5 ด้าน เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เห็นว่า การปฏิบัติงานของพนักงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถยึดถือปฏิบัติ โดยตั้งหมั่นอยู่บนความพอประมาณในการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย รอบคอบ ใช้เหตุผล ประกอบการตัดสินใจ มีการวางแผนงานและนำความรู้ที่มีมาปรับใช้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ทั้งนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ความรู้ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้นพนักงานควรหมั่นศึกษาหาความรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส น้อมนำหลักธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และนำ คำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 253 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (f-test) หรือ (One–Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านความพอประมาณในการปฏิบัติงาน รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความมีเหตุผลในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวม 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวม 5 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยรวมทั้ง 5 ด้าน เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เห็นว่า การปฏิบัติงานของพนักงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถยึดถือปฏิบัติ โดยตั้งหมั่นอยู่บนความพอประมาณในการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย รอบคอบ ใช้เหตุผล ประกอบการตัดสินใจ มีการวางแผนงานและนำความรู้ที่มีมาปรับใช้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ทั้งนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ความรู้ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้นพนักงานควรหมั่นศึกษาหาความรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส น้อมนำหลักธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และนำ คำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
This thesis has the following objectives : 1) to study the work performance under the concept of sufficiency economy philosophy of local government organization employees In Pluak Daeng District, Rayong Province, 2) to compare the work performance under the concept of sufficiency economy philosophy In Pluak Daeng District of Rayong Province of employees with different gender, age, educational level and work experiences, and 3) to propose guidelines for working under the concept of sufficiency economy philosophy of employees in local government organizations In Pluak Daeng District, Rayong Province. The data were collected by questionnaire from 253 samples determined the sample size by using the formula of "Taro Yamane" Convenience Random Sampling and by in-depth interviews with 5 key informant. The research tools were questionnaires and interview forms. The statistics used in this research are descriptive statistics; frequency, percentage, mean (x ̅) standard deviation (S.D.) and inferential statistics including t-test and variance test (f-test) or (One – Way ANOVA). If there are significant statistical differences, the methods of LSD (Least Significant Difference) will be used. The research findings revealed that: 1) The work performance under the concept of sufficiency economy philosophy in 5 areas is at a high level in total. When arranged in 3 sequences from the highest to the least, it starts with moderation in the work, followed by morality and ethics in work performance, and reason in the work performance respectively. 2) In research hypothesis testing, employees with different genders, ages and work experiences have work performance under the concept of sufficiency economy philosophy indifferently. The employees with different educational levels have work performance under the concept of sufficiency economy philosophy differently with a significantly statistical figure at 0.05 3) Based on interviews with key informants, working under the concept of sufficiency economy philosophy is essential and practical based on moderation, saving, not being extravagant, discreet, making decisions with reason, planning, and applying knowledge in work to strengthen and immunize oneself. In addition, it is a preparation to confront with risks and problems to be happened. Knowledge is a key factor in work operation. Therefore, employees should keep learning, exchanging experiences with each other, and should have morality, ethics, honesty, transparency, and abide by Dhamma in living a life and work.