Search results

25 results in 0.07s

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

    ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ตุลาคม - มกราคม 2566
Note: ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ตุลาคม - มกราคม 2566
TOC:
  • พระราชดำรัส
  • บทความพิเศษ
  • พระราชกรณียกิจ
  • โครงการอันเนืองมาจากพระราชดำริ
  • สารพันเรื่องน่ารู้
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

    ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566
Note: ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรีตามตัวแปรอิสระ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประชากรจำนวน 112 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อเสนอแนะ คือการใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรเทศบาลเมืองบางกรวย นนทบุรี มีการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านวิมังสา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านจิตตะ 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่า บุคลาการเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีเพศ อายุ ระยะเวลาการทำงาน ระดับการศึกษา ตำแหน่งและสังกัดกอง มีระดับการประยุกต์ใช้โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 3) การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองบางกรวย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ อธิบายได้ว่าการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองบางกรวย เป็นผู้ที่มีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือปฏิบัติตามแนวของอิทธิบาท 4 มีความพอใจกับการทำงาน ทำงานด้วยความเต็มใจ เปิดใจในการทำงาน ไม่เลือกงานมีความกระตือรือร้น มีความตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคุณธรรม ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรีตามตัวแปรอิสระ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประชากรจำนวน 112 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อเสนอแนะ คือการใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรเทศบาลเมืองบางกรวย นนทบุรี มีการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านวิมังสา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านจิตตะ 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่า บุคลาการเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีเพศ อายุ ระยะเวลาการทำงาน ระดับการศึกษา ตำแหน่งและสังกัดกอง มีระดับการประยุกต์ใช้โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 3) การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองบางกรวย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ อธิบายได้ว่าการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองบางกรวย เป็นผู้ที่มีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือปฏิบัติตามแนวของอิทธิบาท 4 มีความพอใจกับการทำงาน ทำงานด้วยความเต็มใจ เปิดใจในการทำงาน ไม่เลือกงานมีความกระตือรือร้น มีความตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคุณธรรม ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน
This thesis has the following objective: 1) To study the application of ldddhipada in work performance of personnel of Bang Kruai Municipality. 2) To compare the application of ldddhipada in work performance of personnel of Bang Kruai Municipality. 3) To study suggestions and solutions to problems in the application of ldddhipada in work performance of personnel of Bang Kruai Municipality. The data were collected from 112 personnel working in Bang Kruai Municipality by using questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation. The suggestions were analyzed by content analysis. The results showed that: 1) The application of ldddhipada in work performance of personnel of Bang Kruai Municipality of Nonthaburi province in 4 aspects was at a high level overall and in details. In aspects for the highest level was on Vimamsa and the lowest was on Citta. 2) The personnel of Bang Kruai Municipality of Nonthaburi province with different sex, age, working period, level of education, work position, and divisional affiliation have the application level of ldddhipada in work performance indifferently at 0.05 statistical level. 3) The application of ldddhipada in work performance of personnel of Bang Kruai Municipality is at a high level overall which indicates that the personnel do their duty based on Iddhipada, i.e. they are satisfied in their work, they try to do the work with effort, they pay attention to their work, and they examine the work considerably.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการให้ทาน 2) เพื่อศึกษาการให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า : ทาน คือการให้ การให้ธรรมะเป็นทาน การแบ่งปันสิ่งที่เป็นวัตถุและ สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุแก่สรรพสัตว์ เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์ ตอบแทนและบูชาคุณ ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน รวมถึงการให้อภัยด้วยลักษณะของทานมี 3 อย่าง 1) จาคเจตนาทาน 2) วิรัติทาน 3) ไทยธรรมทาน ประเภทของทานมี 3 ประเภท 1) แบ่งตามเจตนา 2) แบ่งตามทายก 3) แบ่งตามวัตถุ และมีวิธีการให้ที่ถูกต้องซึ่งประกอบไปด้วย 1) วัตถุทาน คือต้องเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ มีเจตนาที่บริสุทธิ์มุ่งให้เกิดความดีงาม ใจใสสะอาดทั้งก่อนทำขณะทำหลังทำ 2) อาการของการให้ คือให้ด้วยความศรัทรา ด้วยความเคารพ ตามกาลที่เหมาะสม มีจิตใจอนุเคราะห์เหมาะสมไม่กระทบตนเอง 3) ธรรมทาน คือศิลปวิทยาการความรู้เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิตได้ และการให้ความรู้ที่เป็นธรรมะเพื่อยกจิตใจให้สูงขึ้น ธรรมที่ส่งเสริมในการให้ทานได้แก่ เมตตา ความรักปรารถนาสันติสุขแก่ทุกชีวิต กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สัทธา ความเชื่อบาปบุญ ปัญญา ใช้คิดติตรองด้วยเหตุผล ฉันทะ ความพอใจจาการประเมินคุณค่าของงาน การให้ทานในคัมภีร์วิมานวัตถุ ประกอบไปด้วย 85 เรื่องได้จำแนกลงในลักษณะของทาน 3ประเภท คือ1) จาคเจตนาทาน ประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 85 เรื่องคือ ปีฐวรรค 17 วิมาน จิตตลดาวรรค มี 11 วิมาน ปาริจฉัตตกวรรค มี 10 วิมาน มัญชิฏฐกวรรค มี 12 วิมาน มหารถวรรค 14 วิมาน ปายาสิกวรรค 10 วิมาน สุนิกขิตตวรรค 11 วิมาน 2) วิรัติทาน ประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 17 เรื่อง ปฐมบัติพพตาวิมาน ทุติยปติพพตาวิมาน และลตาวิมาน เป็นต้น 3) ไทยธรรมทานประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 55 เรื่อง ปฐมปีฐวิมาน ทุติยปีฐวิมาน และตติยวิมาน เป็นต้น คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ พบว่าทำให้เกิดศรัทธาความเชื่อมั่นในการทำความดีตามหลักพระพุทธศาสนา มีสัมมาทิฏฐิเกิดปัญญา และมีความสำนึกที่ดีมีหิริโอตตัปปะ ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน การช่วยเหลือแบ่งปัน และการส่งเคราะห์กัน
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการให้ทาน 2) เพื่อศึกษาการให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า : ทาน คือการให้ การให้ธรรมะเป็นทาน การแบ่งปันสิ่งที่เป็นวัตถุและ สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุแก่สรรพสัตว์ เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์ ตอบแทนและบูชาคุณ ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน รวมถึงการให้อภัยด้วยลักษณะของทานมี 3 อย่าง 1) จาคเจตนาทาน 2) วิรัติทาน 3) ไทยธรรมทาน ประเภทของทานมี 3 ประเภท 1) แบ่งตามเจตนา 2) แบ่งตามทายก 3) แบ่งตามวัตถุ และมีวิธีการให้ที่ถูกต้องซึ่งประกอบไปด้วย 1) วัตถุทาน คือต้องเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ มีเจตนาที่บริสุทธิ์มุ่งให้เกิดความดีงาม ใจใสสะอาดทั้งก่อนทำขณะทำหลังทำ 2) อาการของการให้ คือให้ด้วยความศรัทรา ด้วยความเคารพ ตามกาลที่เหมาะสม มีจิตใจอนุเคราะห์เหมาะสมไม่กระทบตนเอง 3) ธรรมทาน คือศิลปวิทยาการความรู้เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิตได้ และการให้ความรู้ที่เป็นธรรมะเพื่อยกจิตใจให้สูงขึ้น ธรรมที่ส่งเสริมในการให้ทานได้แก่ เมตตา ความรักปรารถนาสันติสุขแก่ทุกชีวิต กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สัทธา ความเชื่อบาปบุญ ปัญญา ใช้คิดติตรองด้วยเหตุผล ฉันทะ ความพอใจจาการประเมินคุณค่าของงาน การให้ทานในคัมภีร์วิมานวัตถุ ประกอบไปด้วย 85 เรื่องได้จำแนกลงในลักษณะของทาน 3ประเภท คือ1) จาคเจตนาทาน ประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 85 เรื่องคือ ปีฐวรรค 17 วิมาน จิตตลดาวรรค มี 11 วิมาน ปาริจฉัตตกวรรค มี 10 วิมาน มัญชิฏฐกวรรค มี 12 วิมาน มหารถวรรค 14 วิมาน ปายาสิกวรรค 10 วิมาน สุนิกขิตตวรรค 11 วิมาน 2) วิรัติทาน ประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 17 เรื่อง ปฐมบัติพพตาวิมาน ทุติยปติพพตาวิมาน และลตาวิมาน เป็นต้น 3) ไทยธรรมทานประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 55 เรื่อง ปฐมปีฐวิมาน ทุติยปีฐวิมาน และตติยวิมาน เป็นต้น คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ พบว่าทำให้เกิดศรัทธาความเชื่อมั่นในการทำความดีตามหลักพระพุทธศาสนา มีสัมมาทิฏฐิเกิดปัญญา และมีความสำนึกที่ดีมีหิริโอตตัปปะ ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน การช่วยเหลือแบ่งปัน และการส่งเคราะห์กัน
The objectives of this thesis were: 1) to study the concept of Dana or giving, 2) to study the Dana or giving as depicted in the text of Vimanvatthu, and 3) to analyze Dana as depicted in the Vimānavạtthu. The data of this qualitative study were collected from Tipitaka, Commentaries, the related documents and interviews. The data were analyzed and presented in a descriptive method. The results of study were found as follows: 1. Dana refers to giving, teaching Dhamma, sharing material things and non material things with kindness, helpfulness, reward and worship without expecting anything in return including forgiveness. There are 3 kinds of Dana: 1) Intentional Dana, 2) Viratti Dana, and 3) Material Dana. There are 3 types of Dana divided according to giving intention, the givers, and the objects and methods of giving. For the objects of giving, it consists of: 1) the dana object must be pure alms, with pure intentions aiming for goodness and clean mind before giving, while giving, and after giving. 2) The attitude of giving is to give with faith, respect, at the appropriate time, and having a compassionate mind. 3) Dhamma Dana is knowledge and skills that can be applied in living a life and can raise the mind higher and higher. The virtues that promote Dana are loving kindness, compassion, faith, wisdom and satisfaction or Chanda. 2. Dana in the Vimanavatthu consists of 85 items which can be classified into 3 types of alms : 1) Cagacetana Dana, consisting of 85 items, namely 17 Vimanas in Pithavagga, 11 Vimanas in Cittaladavagga, 10 Vimanas in Paricachattakavagga, 12 Vimanas in Manjitthakavagga, 14 Vimanas in Maharathavagga, 10 Vimanas in Payasikavagga, and 11 Vimanas in Sunikakhittavagga, 2) Viratti Dana, consisting of 17 items, such as Pathama Pattibbata Vimana, Dutiya Patibbata Vimana, Lata Vimana. 3) Deyadhamma Dana consists of 55 items, such as Pathama Pitha Vimana, Dutiya Pitha Vimana, Tatiya Vimana. 3. The value and virtue of giving alms as shown in the text of Vimanavatthu indicated that it created faith and confidence in doing good deeds according to the principles of Buddhism, having right view, and wisdom. Having a good sense of virtue makes society peaceful, creates friendship, and helps to share and reconciliation.
หนังสือ

    งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ๒) เพื่อศึกษาประวัติและการสร้างเจดีย์ในยุครัตนโกสินทร์ ๓) เพื่อวิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารทางวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธสุนทรียศาสตร์จากพระไตรปิฎก แบบสำรวจรูปแบบเจดีย์ด้วยวิธีสังเกตุ ผลการวิจัย พบว่า สุนทรียศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็น ๔ ทฤษฎี ได้แก่ ๑) กลุ่มจิตนิยม ให้ความสำคัญกับจิตของมนุษย์ ๒) กลุ่มวัตถุนิยม ให้ความสำคัญกับวัตถุทางสุนทรียะเพียงอย่างเดียว ๓) กลุ่มสัมพัทธนิยม เชื่อว่าความจริงสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ๔) พุทธสุนทรียศาสตร์ แนวคิดจากคำสอนทางพระพุทธศาสนาประวัติการสร้างเจดีย์มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลเพื่อเป็นที่เคารพสักการะบูชาและเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาอันทรงคุณค่านำมาซึ่งความงามทางสุนทรียะในยุครัตนโกสินทร์พบเจดีย์ที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เด่นชัด จำนวน ๔ รูปแบบ คือ เจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกา และ เจดีย์พระปรางค์ วิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ ๑) เจดีย์ทรงเครื่อง จิตสัมผัสได้ถึงความเด่นชัดทางศิลปะเกิดอารมณ์ให้คล้อยตามในรูปแบบเจดีย์เกิดความรู้สึกที่น่าทึ่ง รูปทรงอยู่บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และเรขาคณิต แสดงออกถึงความเชื่อวัฒนธรรมประเพณี การดัดแปลงสภาพแวดล้อม ๒) เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ความงามขององค์เจดีย์ทำให้มีความรู้สึกถูกดึงดูดเข้ามายังอีกมิติหนึ่ง จัดวางไว้ในส่วนสำคัญของวัด สร้างตามบริบทแบบแผนมีมิติความงามที่ชวนให้เกิดความอิ่มเอมใจ ๓) เจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกา เป็นสภาวะที่มีความเด่นชัดในการปรากฏต่ออารมณ์คือความนุ่มนวล อบอุ่น นอมน้อม เกิดความปลื้มปีติ รู้สึกเกิดความศรัทธา มีความงามวางอยู่ภายใต้หลักทางคณิตศาสตร์ที่เป็นระบบสมเหตุสมผล ๔) เจดีย์ทรงพระปรางค์ สะท้อนออกมา จากนามธรรมให้มาเป็นรูปธรรม ได้ความทึ่ง ลักษณะการจัดวางมีการวางตามคติต่าง ๆ อย่างสวยงาม มีการทิ้งเส้นแบบจอมแหมีลักษณะชดช้อยจึงเรียกกันทั่วไปว่าพระปรางค์ทรงจอมแห รูปทรงของเจดีย์ทั้ง ๔ รูปแบบ สื่อความหมายในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ๒) เพื่อศึกษาประวัติและการสร้างเจดีย์ในยุครัตนโกสินทร์ ๓) เพื่อวิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารทางวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธสุนทรียศาสตร์จากพระไตรปิฎก แบบสำรวจรูปแบบเจดีย์ด้วยวิธีสังเกตุ ผลการวิจัย พบว่า สุนทรียศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็น ๔ ทฤษฎี ได้แก่ ๑) กลุ่มจิตนิยม ให้ความสำคัญกับจิตของมนุษย์ ๒) กลุ่มวัตถุนิยม ให้ความสำคัญกับวัตถุทางสุนทรียะเพียงอย่างเดียว ๓) กลุ่มสัมพัทธนิยม เชื่อว่าความจริงสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ๔) พุทธสุนทรียศาสตร์ แนวคิดจากคำสอนทางพระพุทธศาสนาประวัติการสร้างเจดีย์มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลเพื่อเป็นที่เคารพสักการะบูชาและเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาอันทรงคุณค่านำมาซึ่งความงามทางสุนทรียะในยุครัตนโกสินทร์พบเจดีย์ที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เด่นชัด จำนวน ๔ รูปแบบ คือ เจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกา และ เจดีย์พระปรางค์ วิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ ๑) เจดีย์ทรงเครื่อง จิตสัมผัสได้ถึงความเด่นชัดทางศิลปะเกิดอารมณ์ให้คล้อยตามในรูปแบบเจดีย์เกิดความรู้สึกที่น่าทึ่ง รูปทรงอยู่บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และเรขาคณิต แสดงออกถึงความเชื่อวัฒนธรรมประเพณี การดัดแปลงสภาพแวดล้อม ๒) เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ความงามขององค์เจดีย์ทำให้มีความรู้สึกถูกดึงดูดเข้ามายังอีกมิติหนึ่ง จัดวางไว้ในส่วนสำคัญของวัด สร้างตามบริบทแบบแผนมีมิติความงามที่ชวนให้เกิดความอิ่มเอมใจ ๓) เจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกา เป็นสภาวะที่มีความเด่นชัดในการปรากฏต่ออารมณ์คือความนุ่มนวล อบอุ่น นอมน้อม เกิดความปลื้มปีติ รู้สึกเกิดความศรัทธา มีความงามวางอยู่ภายใต้หลักทางคณิตศาสตร์ที่เป็นระบบสมเหตุสมผล ๔) เจดีย์ทรงพระปรางค์ สะท้อนออกมา จากนามธรรมให้มาเป็นรูปธรรม ได้ความทึ่ง ลักษณะการจัดวางมีการวางตามคติต่าง ๆ อย่างสวยงาม มีการทิ้งเส้นแบบจอมแหมีลักษณะชดช้อยจึงเรียกกันทั่วไปว่าพระปรางค์ทรงจอมแห รูปทรงของเจดีย์ทั้ง ๔ รูปแบบ สื่อความหมายในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
Qualitative research on this subject The objectives are 1) to study the concept and theory of aesthetics, 2) to study the history and construction of pagodas in the Rattanakosin period, 3) to analyze the pagodas in the Rattanakosin period according to aesthetics. By using qualitative research methodology (Qualitative Research) to analyze the content of the document. The research method starts from analyzing the content of academic papers. Analyzing the principles of Buddhist aesthetics from the Tripitaka Survey of pagoda patterns by observation method The results of research were found that Aesthetics can be divided into 4 theories: 1) the idealist group that gives importance to the human mind 2) the materialist group focusing only on aesthetic objects 3) relativism believe that truth can change over time 4) Buddhist aesthetics Concepts from Buddhist teachings The history of pagoda construction dates back to the Buddha's era as a place of worship and as a valuable religious symbol, bringing aesthetic beauty. During the Rattanakosin Era, there were 4 distinctive pagodas with distinctive beauty, namely: pagoda with twelve wooden recesses Ceylon bell shaped chedi and Phra Prang chedi Analyze the pagodas of the Rattanakosin era according to aesthetics. 1) Pagoda The mind can feel the distinctiveness of the art, causing the emotion to conform to the pagoda form, creating an amazing feeling. Shapes based on mathematics and geometry express cultural beliefs and traditions. Environment modification. 2) Chedi with twelve angles recessed The beauty of the pagoda gives a feeling of being drawn into another dimension. Placed in an important part of the temple created according to the context of the pattern, there is a beauty dimension that invites satisfaction. 3) An inverted bell-shaped pagoda in Lanka style. It is a state that is predominant in appearing to emotions, namely softness, warmth, humility, joyfulness. feel of faith 4) Prang-shaped chedi reflected from the abstract to form the concrete, which is amazed. Chom Hae has a delicate appearance, so it is commonly called Phra Prang Song Chom Hae. The shapes of the 4 pagodas represent Buddhist meanings, namely precepts, concentration, and wisdom.
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

    ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2566
Note: ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2566
TOC:
  • มุมมองและข้อเสนอแนะของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เรื่องบทบาทและสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประชาธิปไตยของไทย
  • การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะใหม่ : มุมมองทฤษฎี การออกแบบการวิเคราะห์ และกรณีศึกษาเชิงประจักษ์
  • การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : กิจกรรมศิลปะในการท่องเที่ยว ศตวรรษที่ 21
  • บริบทและแนวโน้มการลงทุนในแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  • ไทย-จีน กับการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการภายใต้กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง
  • การศึกษาสาหร่ายไท มหัศจรรย์อาหารพื้นบ้านที่หล่อหลอมสังคมอันดีงามของชาติพันธุ์ไทลื้อจังหวัดน่าน
  • ผลของกิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในข้าราชการ
  • การตามรอยนโยบายการดูแล "ผู้ดูแล" ผู้สูงอายุ ด้วยวิธีของเซลม่า เซเว่นฮุจเซ่น เพื่อสร้างข้อเสอนเชิงนโยบายด้านการดูแลผู้ดูแลผู้สูงอายุ
  • มุมมองของรัฐที่มีค่อผู้สูงอายุผ่านประวัติศาสตร์การจัดสวัสดิการในประเทศไทย
  • การสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนออนไลน์
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

    ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 มกราคม - มิถุนายน 2566
Note: ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 มกราคม - มิถุนายน 2566
TOC:
  • โนรา : ศิลปะการแสดงแดนใต้สู่สากล
  • กระบวนการรวยรวมมรดกดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โนราของมนุษยชาติ
  • ไอ้บุญทอง การศึกษาภาพสะท้อนวัฒนธรรมหนองขาวเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนหนองขาวผ่านละครพื้นบ้าน
  • ขับลื้อ : พลังแห่งการขับเคลื่อนและการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมในสังคมยุคดิจิทัล
  • หมอลำอัศจรรย์
  • กระบวนการพัฒนานวัตกรรมแบบมีส่วนร่วม เพื่อฟื้นฟูการสืบทอด ภูมิปัญญาการแสดงเพลงโคราช เรื่อง ฉันทลักษณ์กลอนเพลงโคราช เรื่องฉันทลักษณ์กลอนเพลงโคราช
  • ดนตรีในพิธี ว่อน ไว่ ช่าง ชาวมอญบ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
  • การศึกษาองค์ความรู้วงปี่พาทย์พื้นบ้าน บ้านหนองไทร ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น
  • หนังใหญ่และความเป็นไปได้ในการขอขึ้นทะเบียนในบัญชีการปกป้องคุ้มครองอันเป็นตัวอย่างที่ดี
  • หนังตะลุงกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

    ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2566)
Note: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2566)
TOC:
  • มวยไทย : อำนาจอ่อนที่ทรงอิทธิพล
  • ช่องทางการรับรู้ขจองคนไทยต่อการจัดแสดง Soft Power ของรัฐบาลในการประชุม APEC 2022
  • วัฒนธรรมสมัยนิยมกับประเด็นยอดนิยมโลกออนไลน์เดือนธันวาคม 2565
  • ซอฟต์พาวเวอร์ไทยพวน : การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวนในประเทศไทย
  • การศึกษาเกี่ยวกับ Soft Power ที่นำประเภทสื่อ และการสื่อสารมาร่วมเป็นหัวข้อศึกษา เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการตัดสินใจซื้อ และติตาม Soft Power
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

    ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2566
Note: ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2566
TOC:
  • พุทธศาสนิกชนไทยในกระแสสังคมพหุวัฒนธรรม
  • หลักการบริหารจัดการเงินสำหรับวัด : การศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์จากพระวินัยและหลักธรรมาภิบาล
  • Nyi ma'i mdo และ Zla ba'i mdo กับสุริปริตร และจัทปริตร : การศึกษาเปรียบเทียบ
  • ถังไท่จงถาม ถังซัมจั๋งตอบ : วิชรัจเฉทิกาปรัชญาปารมิตา หมายถึงอะไร
  • องค์ใดพระสัมพุทธ
  • Chinul : The Founder of the Korean Son Tradition
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

    ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2535 - มีนาคม 2566)
Note: ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2535 - มีนาคม 2566)
TOC:
  • วาระยาเสพติด วาระแห่งชาติ : 12 ประเด็น เสนอเพื่อทบทวน เสนอแนะในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างได้ผลใร 4 ปี
  • ผลของพืชกระท่อมต่อระบบประสาทอัตโนมัติในผู้เสพติดยาบ้าและเฮโรอีน
  • ค็อกเทลยเสพติดบนสื่อสังคมออนไลน์
  • การใช้สารเสพติดของวัยรุ่นไทย ปี 2565
  • ความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการใช้สารเสพติดของเยาวชนในสถานศึกษา
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประเพณีบูชาเสาอินทขีลของพุทธศาสนิกชน จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมประเพณีบูชาเสาอินทขีลของพุทธศาสนิกชน จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมประเพณีบูชาเสาอินทขีลของพุทธศาสนิกชน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ พิธาจารย์ มัคนายก บุคลากรภาครัฐ และประชาชนทั่วไป รวมจำนวน 17 รูป/คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเพณีบูชาเสาอินทขีลมีการปฏิบัติสืบทอดกันมานานด้วยมีความเชื่อว่าเมื่อสักการะบูชาเสาอินทขีลแล้วบ้านเมืองจะพ้นภัยพิบัติและมีความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้น ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปีจึงต้องมีพิธีสักการบูชาเสาอินทขีล เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความเป็นสิริมงคลแก่พุทธศาสนิกชน 2) มีการอนุรักษ์และส่งเสริมโดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของประเพณีบูชาเสาอินทขีล สนับสนุนเยาวชนให้มาร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดให้ดำรงอยู่เป็นมรดกสืบทอดต่อไป อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจ ไม่ถูกกลืนไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ 3) แนวทางการส่งเสริมประเพณีกำหนดไว้ 7 ด้าน ดังนี้ ด้านการจัดการและวิธีการถ่ายทอดประเพณีบูชาเสาอินทขีล ด้านการทำนุบำรุงและส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น ด้านการสืบทอดประเพณี ด้านการพัฒนาประเพณี ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษา และด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้วยการร่วมมือกันของหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนในการสืบสานประเพณีท้องถิ่น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประเพณีบูชาเสาอินทขีลของพุทธศาสนิกชน จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมประเพณีบูชาเสาอินทขีลของพุทธศาสนิกชน จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมประเพณีบูชาเสาอินทขีลของพุทธศาสนิกชน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ พิธาจารย์ มัคนายก บุคลากรภาครัฐ และประชาชนทั่วไป รวมจำนวน 17 รูป/คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเพณีบูชาเสาอินทขีลมีการปฏิบัติสืบทอดกันมานานด้วยมีความเชื่อว่าเมื่อสักการะบูชาเสาอินทขีลแล้วบ้านเมืองจะพ้นภัยพิบัติและมีความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้น ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปีจึงต้องมีพิธีสักการบูชาเสาอินทขีล เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความเป็นสิริมงคลแก่พุทธศาสนิกชน 2) มีการอนุรักษ์และส่งเสริมโดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของประเพณีบูชาเสาอินทขีล สนับสนุนเยาวชนให้มาร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดให้ดำรงอยู่เป็นมรดกสืบทอดต่อไป อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจ ไม่ถูกกลืนไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ 3) แนวทางการส่งเสริมประเพณีกำหนดไว้ 7 ด้าน ดังนี้ ด้านการจัดการและวิธีการถ่ายทอดประเพณีบูชาเสาอินทขีล ด้านการทำนุบำรุงและส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น ด้านการสืบทอดประเพณี ด้านการพัฒนาประเพณี ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษา และด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้วยการร่วมมือกันของหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนในการสืบสานประเพณีท้องถิ่น
The objectives of this research were 1) to study the tradition of worshiping Inthakhin pillar of Buddhist people, Chiang Mai Province 2) to study promoting tradition of worshiping Inthakhin pillar of Buddhist people, Chiang Mai Province 3) to find guideline for promoting tradition of worshiping Inthakhin pillar of Buddhist people, Chiang Mai Province. The main informants included monks, ceremony directors, liaisons, government personnel and general public, totaling 17 persons, using a purposive method. Tools was in-depth interview and presented in descriptive analysis. The results showed that: 1. The tradition of worshiping Inthakhin pillar has been passed down for a long time with the belief that country will be free from disaster and prosperous after performing worship the Inthakhin pillar. Therefore, ceremony for worshiping Inthakhin pillar has been hold during May of every year in order to build morale and bring prosperity to the Buddhists. 2. The tradition was preserved and promoted by raising awareness of local people to realize the value, essence and importance of worshiping the Inthakhin pillar. There was also encouraging youth to conserve and carry on local arts and culture, the identity of the province, to remain as a legacy, to create knowledge and pride and do not be immersed in globalization. 3. Guideline for promoting the tradition are defined in 7 areas: management and methods for transmitting tradition of worshiping Inthakhin pillar, preserving and promoting local traditions, inheriting, developing, information data preparation, education and cultural tourism with the cooperation of agencies from the public and private sectors in carrying on local traditions.
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

    ปีที่ 66 ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566
Note: ปีที่ 66 ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566
TOC:
  • พระมหากรุณาธิคุณมหาจักรีบรมราชวงศ์ที่มีต่อการประกวดอ่านทำนองเสนาะ
  • ศรีสุพรรณอาราม : ต้นแบบบูรณาการแห่งล้านนา
  • โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พบในเจดีย์วัดศรีสุพรรณ เชียงใหม่
  • ธรรมาสน์ในจังหวัดลำพูน
  • การศึกษาองค์ประกอบโลหะ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง
  • "ติสฺสเถรภิรักษมรดกไทย ศิลปากรนฤมิตพิพิธภัณฑนุสรณ" สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) พระเถระผู้มีคุณูปการยิ่งต่อกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
  • แหล่งภาพเขียนสีเขาหัวหมวก จังหวัดนครนายก
  • เกร็ดความรู้จากประวัติศาสตร์และโบราณคดี : กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
  • ศิลปิน - ศิลปากร : นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากรที่หลากหลายและลุ่มลึก
  • ถามมา-ตอบไป ผมถักเปียมัดคัมภีร์ใบลาน : ภูมิปัญญา ศรัทธา ของสตรีไทยโบราณ
  • ของชิ้นเอกในกรมศิลปากร : บัฏเทพนพเคราะห์