Search results

89 results in 0.17s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทย 2) เพื่อศึกษาศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1) ปรากฏการณ์ความศรัทธาหรือความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาของคนไทยมีรากฐานมาจาก เชื่อผี เชื่อบรรพบุรุษ เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ การผสมผสานความเชื่อโดยขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของศรัทธา ทำให้ความเชื่อต่อศาสนาเคลื่อนออกห่างจากหลักศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ส่งผลให้เกิดความงมงายเชื่อทุกอย่างที่พึ่งพาหาประโยชน์ได้ บางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของศรัทธา เพราะเป็นศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา 2) กระบวนการเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ เรียงโดยลำดับได้ดังนี้ (1) ระดับการเข้าสู่ศรัทธาในเบื้องต้นโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในเกสปุตตสูตร (2) ระดับการใช้เหตุผลโดยใช้หลักตรรกะชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในอริยสัจจ์ 4 และ (3) ระดับปัญญาโดยใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีปรากฏในศรัทธา 4 3) ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยจำแนกตามความเชื่อได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ศรัทธาในการรักษาโรค ศรัทธาในความสุข ศรัทธาในด้านความรัก และศรัทธาในเรื่องของกรรม สามารถนำมา ศึกษา วิเคราะห์ ตามหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ดังนี้ ด้านการรักษาโรคใช้หลักอริยสัจจ์ 4 ด้านความสุขใช้หลักสุขของคฤหัสถ์ สุขของบรรพชิต ด้านความรักใช้หลักสมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหารธรรม กรรมใช้หลักศรัทธา 4
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทย 2) เพื่อศึกษาศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1) ปรากฏการณ์ความศรัทธาหรือความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาของคนไทยมีรากฐานมาจาก เชื่อผี เชื่อบรรพบุรุษ เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ การผสมผสานความเชื่อโดยขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของศรัทธา ทำให้ความเชื่อต่อศาสนาเคลื่อนออกห่างจากหลักศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ส่งผลให้เกิดความงมงายเชื่อทุกอย่างที่พึ่งพาหาประโยชน์ได้ บางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของศรัทธา เพราะเป็นศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา 2) กระบวนการเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ เรียงโดยลำดับได้ดังนี้ (1) ระดับการเข้าสู่ศรัทธาในเบื้องต้นโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในเกสปุตตสูตร (2) ระดับการใช้เหตุผลโดยใช้หลักตรรกะชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในอริยสัจจ์ 4 และ (3) ระดับปัญญาโดยใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีปรากฏในศรัทธา 4 3) ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยจำแนกตามความเชื่อได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ศรัทธาในการรักษาโรค ศรัทธาในความสุข ศรัทธาในด้านความรัก และศรัทธาในเรื่องของกรรม สามารถนำมา ศึกษา วิเคราะห์ ตามหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ดังนี้ ด้านการรักษาโรคใช้หลักอริยสัจจ์ 4 ด้านความสุขใช้หลักสุขของคฤหัสถ์ สุขของบรรพชิต ด้านความรักใช้หลักสมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหารธรรม กรรมใช้หลักศรัทธา 4
The objectives of this thesis are: 1) to study the phenomena of faith of Thai people, 2) to study faith in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the phenomena of faith of Thais in accordance with Theravada Buddhist philosophy. It is a documentary qualitative study which the data from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The results of the study were shown as follows: 1) The faith phenomena or the faith in religion of Thai people were originated from the belief in ghosts, ancestors, sacred objects, deity, and occultism without the understanding of faith principles. Those beliefs weakened and moved far away from the faith principles in Theravada philosophy. That resulted to the blind faith and sometimes became the tool of faith without wisdom. 2) The process of faith in Buddhism could be divided into 3 levels as follows; (1) Fundamental faith based on Yonisomanasikara as specified in Kesaputta Sutta, (2) Reasoning faith based on logic principles as mentioned in the Four Noble Truths, and (3) Intellectual faith based on the principles of Threefold Training as appeared in the 4 principles of Saddha. 3) The faith phenomena of Thai people could be classified into 4 groups; the faith in disease healing and curing, the faith in happiness, the faith in love, and the faith in Kamma. When it was brought to study and analyze according to the principles of Theravada Buddhist philosophy, it could be concluded that; the faith in disease healing and curing was based on the principles of the Four Noble Truths, the faith in love based on the principles of house-life happiness and chaste life happiness, the faith in love based on Samajivita Dhamma, Gharavasa Dhamma, and brahmavihara Dhamma, and the faith in Kamma based on the 4 principles of Saddha.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร มีการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนำสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นการจัดการความทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นสภาพที่ทำให้ความทุกข์ทุเลาลง ความทุกข์จำแนกออกเป็นทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ แนวทางในการบรรเทาทุกข์มีทั้งการบรรเทาทุกข์ทั่วไป คือ การจัดการความทุกข์อย่างไม่ท้อถอยด้วยความไม่ประมาท มี 2 แบบ คือ การบรรเทาทุกข์ด้วยตนเอง และการบรรเทาทุกข์ด้วยผู้อื่น คือ การแก้ไขความทุกข์โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) หลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท คือ คำสอนและแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ คือ ความไม่รู้ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เข้าใจสรรพสิ่งตามสภาพที่เป็นจริง และคลายความยึดมั่นในรูปนาม เมื่อหาสาเหตุถึงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์พบ และรู้จักวิธีปฏิบัติอย่างรู้เท่าทัน จะทำให้ความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจบรรเทาลง 3) วิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า อายุสสธรรม เป็นหลักประพฤติที่ประกอบด้วยการมีสติปัญญาตลอดเวลาในทุกกิจกรรมของชีวิตช่วยให้อายุยืน มี 5 ประการ คือ 1.สัปปายการี 2.สัปปาเย มัตตัญญู 3.ปณิตโภชี 4.กาลจารี 5.พรหมจารี และมีหลักอริยสัจ 4 ที่ช่วยให้เข้าใจถึงทุกข์และสาเหตุซึ่งเกิดจากอวิชชาและมีแนวทางปฏิบัติสายกลางในการดำรงชีวิต หลักธรรมทั้ง 2 นี้ สอนให้แก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ เมื่อผู้สูงอายุนำสู่การปฏิบัติจะช่วยให้ความทุกข์บรรเทาลงได้จริงและมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณค่า
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร มีการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนำสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นการจัดการความทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นสภาพที่ทำให้ความทุกข์ทุเลาลง ความทุกข์จำแนกออกเป็นทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ แนวทางในการบรรเทาทุกข์มีทั้งการบรรเทาทุกข์ทั่วไป คือ การจัดการความทุกข์อย่างไม่ท้อถอยด้วยความไม่ประมาท มี 2 แบบ คือ การบรรเทาทุกข์ด้วยตนเอง และการบรรเทาทุกข์ด้วยผู้อื่น คือ การแก้ไขความทุกข์โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) หลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท คือ คำสอนและแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ คือ ความไม่รู้ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เข้าใจสรรพสิ่งตามสภาพที่เป็นจริง และคลายความยึดมั่นในรูปนาม เมื่อหาสาเหตุถึงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์พบ และรู้จักวิธีปฏิบัติอย่างรู้เท่าทัน จะทำให้ความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจบรรเทาลง 3) วิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า อายุสสธรรม เป็นหลักประพฤติที่ประกอบด้วยการมีสติปัญญาตลอดเวลาในทุกกิจกรรมของชีวิตช่วยให้อายุยืน มี 5 ประการ คือ 1.สัปปายการี 2.สัปปาเย มัตตัญญู 3.ปณิตโภชี 4.กาลจารี 5.พรหมจารี และมีหลักอริยสัจ 4 ที่ช่วยให้เข้าใจถึงทุกข์และสาเหตุซึ่งเกิดจากอวิชชาและมีแนวทางปฏิบัติสายกลางในการดำรงชีวิต หลักธรรมทั้ง 2 นี้ สอนให้แก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ เมื่อผู้สูงอายุนำสู่การปฏิบัติจะช่วยให้ความทุกข์บรรเทาลงได้จริงและมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณค่า
The objectives of this thesis are as follows; 1) to study the suffering mitigation of the elders, 2) to study the Dhamma principles for suffering mitigation in accordance with Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the suffering mitigation of the elders in accordance with Theravada Buddhist philosophy. This study is a documentary qualitative research. The data were collected, analyzed, and summarized into the findings. The study results were as follows: 1) The suffering relief of the elderly was the management in the suffering reduction. The suffering was classified into physical suffering and mental suffering. In general, the suffering relief approaches consisted of 2 types: suffering relief by oneself with mindfulness. And the other one was the suffering relief by others; the solution to suffering with the help of the people nearby or related sectors. 2) The Dhamma principles for suffering mitigation in accordance with Theravada Buddhist philosophy are the teachings and practices to eradicate the root cause of suffering; ignorance. The practice is based on the firm and neutral mind to understand things as they really are, and then the attachment to mind and matter can be declined. When the cause and process of the occurrence and the end of suffering were found and realized, both physical suffering and mental suffering could be alleviated. 3) In analysis of suffering mitigation of the elders according to Theravada Buddhist Philosophy, It was found that Ayussadhamma is the principle consisting of the constant mindfulness and wisdom in life activities and it can prolong the life. Ayussadhamma consists of 5 items: 1. Sappayakari, 2. Sapapayemattannu, 3. Panitabhoji, 4. Kalacari, and 5. Brahmacari. The Four Noble Truths help understand the sufferings with their causes occurred from ignorance, and then provide the middle paths for life. Both groups of these teachings point out how to solve the suffering from the root causes. When the elderly put it into practice, their suffering can be alleviated and they can live longer with a valuable life.
หนังสือ

    งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
The researcher entitled “Sexual Diversity and the Realization in Theravãda Buddhist Philosophical Perspective” has the objectives as follows : 1) to study concepts and theories of sexual diversity, 2) to study the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, 3) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, and 4) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy.The data of this documentary qualitative research were collected from the concerned primary and secondary sources. The results of the study were found that the concepts and theories of sexual diversity are the set of knowledge that covers 3 aspects ; sex, gender, and sexuality. The realization in the absolute truth in Theravada Buddhist philosophy is the principle and practical guideline to attain the ultimate truth. The analytical results found that : 1) Sexuality did not obstruct the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy. Men and women were equal on the base of truth. When their potential was developed until they could understand the Three Common Characteristics, they could further develop themselves to obtain wisdom and to realize the truth in the end. 2) Sexuality was not the obstacle to the realization in Theravada Buddhist philosophy since both monks and lay-people had their own potential to attain the absolute truth equally. 3) Sexuality was only a condition, a restriction, a prohibition, and a precaution for lay-people and monks who adheres to the celibacy with the aim to achieve the realization of absolute truth. Thus, the gender diversity had the potential in realization on the absolute truth indifferently. The concept of gender diversity in Theravada Buddhist Philosophy was above the paradigm of gender diversity from conventional truth to absolute truth that was beyond time and all paradigms.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
The objectives of this research were as follows: 1)to study the conditions of criminal juvenile delinquency of children and adolescents; and theories of cognitive behavior modification, 2) to study Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara, 3) to integrate behavior modification of children and adolescents in criminal juvenile delinquency with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara, and 4)to present a body of knowledge on “Behavior Modification of Children and Adolescents in Criminal Juvenile Delinquency with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara.The research relied on qualitative method and in-depth interviews. The results of this research showed that: 1) The reasons why children and adolescents committed a crime were caused from internal factors or covert behaviors, such as understanding, belief, values, attitudes or intellectual behaviors which affected external behaviors or overt behavior. 2) Cognitive behavior modification with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara is a thinking process in problem solution consisting of the Right View as a key, which will help children and adolescents live with mindfulness. 3) The integration of cognitive behavior modification with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara consists of 4 steps in thinking practice for problem solution; 1) Identify problems, 2) Identify goals or targets, 3) Implement the plan to achieve the goals or targets, and 4) Repetition. All these steps are to help create positive thinking. 4) The body of knowledge obtained from the study is to have thinking practice in problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara. The problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara leads to desirable external behavior and creates Buddhist internal intelligence. This is served as an everlasting immunity for children and adolescents to live a suitable life in the present situations.
หนังสือ

    The objectives of this dissertation were; 1) to study the 21st century lifestyle, 2) to study the Buddhist Aesthetics, 3) to integrate the 21st century lifestyle with Buddhist aesthetics, and 4) to propose a new body of knowledge on “The 21st Century Lifestyle based on Buddhist Aesthetics”. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 20 experts. The results of the study were presented in a descriptive method. The results of research were found that: The 21st century lifestyle is industrial lifestyle, capitalism, consumerism, materialism, and information technology. The modern scientific knowledge was implemented for the better quality of life, but the consumption was not in line with technological purpose because human lacked of realization of the true side and lacked of analytical thinking. There are 5 major problems nowadays; Moral Issue, Social Issue, Economic Issue, Environmental Issue, and Technological Issue. Buddhist Aesthetics is a Buddhist teaching concerning beauty. There are 2 dimensions of beauty; mundane beauty and virtuous beauty. Mundane beauty is the beauty which people normally perceive and concern with. This kind of beauty can be categorized as subjective since it is created under an influence of defilement. The virtuous beauty is the beauty resulting from practice Dhamma and it reflects on acceptable behaviors. This beauty is considered as objective since it is the beauty of Anattatã. The Buddhist teachings on Khanti and Soracca,Tilakkhan, Ditthadhammikattha, Kalayãṇamittatã, and Yonisomanasikãra are considered as the Buddhist Aesthetics because they make the beautiful life when putting into practice. The 5 major problems integrated with the 5 Buddhist teachings result to the beauty as follows; 1) Khanti and Soracca make the mind calm and clear, gain wisdom in cause and effect, and result to a graceful mind. 2) Tilakkhaṇa is to comprehend things as they really are, to gain detachment, hospitality, non-selfishness, and results to a graceful society, 3) Ditthadhammikattha is to work with carefulness, choose to accompany with friends and colleagues, and administrate the finance, which leads to a graceful economy, 4) Kalayãṇamittatã is to be friendly to environment by cherish its value, and conserving the nature, which results to balance and a graceful environment. 5) Yonisomanasikãra is to compromise technology and humanity in the right view, which leads to the true value with the knowledge of civilized people and to a graceful technology. The integration of the major problems with the Buddhist Aesthetics results to the GRACE Model. The model of a beautiful life occurred from virtuous beauty, good behavior, good mind, good wisdom, good thought, good speech, and good action.
The objectives of this dissertation were; 1) to study the 21st century lifestyle, 2) to study the Buddhist Aesthetics, 3) to integrate the 21st century lifestyle with Buddhist aesthetics, and 4) to propose a new body of knowledge on “The 21st Century Lifestyle based on Buddhist Aesthetics”. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 20 experts. The results of the study were presented in a descriptive method. The results of research were found that: The 21st century lifestyle is industrial lifestyle, capitalism, consumerism, materialism, and information technology. The modern scientific knowledge was implemented for the better quality of life, but the consumption was not in line with technological purpose because human lacked of realization of the true side and lacked of analytical thinking. There are 5 major problems nowadays; Moral Issue, Social Issue, Economic Issue, Environmental Issue, and Technological Issue. Buddhist Aesthetics is a Buddhist teaching concerning beauty. There are 2 dimensions of beauty; mundane beauty and virtuous beauty. Mundane beauty is the beauty which people normally perceive and concern with. This kind of beauty can be categorized as subjective since it is created under an influence of defilement. The virtuous beauty is the beauty resulting from practice Dhamma and it reflects on acceptable behaviors. This beauty is considered as objective since it is the beauty of Anattatã. The Buddhist teachings on Khanti and Soracca,Tilakkhan, Ditthadhammikattha, Kalayãṇamittatã, and Yonisomanasikãra are considered as the Buddhist Aesthetics because they make the beautiful life when putting into practice. The 5 major problems integrated with the 5 Buddhist teachings result to the beauty as follows; 1) Khanti and Soracca make the mind calm and clear, gain wisdom in cause and effect, and result to a graceful mind. 2) Tilakkhaṇa is to comprehend things as they really are, to gain detachment, hospitality, non-selfishness, and results to a graceful society, 3) Ditthadhammikattha is to work with carefulness, choose to accompany with friends and colleagues, and administrate the finance, which leads to a graceful economy, 4) Kalayãṇamittatã is to be friendly to environment by cherish its value, and conserving the nature, which results to balance and a graceful environment. 5) Yonisomanasikãra is to compromise technology and humanity in the right view, which leads to the true value with the knowledge of civilized people and to a graceful technology. The integration of the major problems with the Buddhist Aesthetics results to the GRACE Model. The model of a beautiful life occurred from virtuous beauty, good behavior, good mind, good wisdom, good thought, good speech, and good action.
TOC:
  • การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธสุนทรียศาสตร์ ๓) เพื่อบูรณาการการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยหลักพุทธสุนทรียศาสตร์ ๔) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยหลักพุทธสุนทรียศาสตร์” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารทางวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธสุนทรียศาสตร์จากพระไตรปิฎก อรรถกถา และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๐ รูป/คน และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นยุคอุตสาหกรรม วัตถุนิยม บริโภคนิยม ระบบดิจิตอล และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำคุณภาพชีวิตให้ดี แต่การบริโภคไม่ตรงตามจุดประสงค์ที่แท้จริงของเทคโนโลยีย่อมให้โทษ ทำให้เกิดปัญหา ๕ ด้าน คือ จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี เพราะมนุษย์ขาดการพิจารณาตามความเป็นจริงและการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง พุทธสุนทรียศาสตร์ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความงาม มีอยู่ ๒ มิติ คือ ความงามมิติทางโลกและความงามมิติทางธรรม ความงามมิติทางโลกเป็นความงามที่ชาวโลกสมมติขึ้น จัดเป็นจิตพิสัย เพราะเป็นความงามที่เกิดภายใต้อำนาจของกิเลส ส่วนความงามมิติทางธรรมเป็น ความงามจากการปฏิบัติธรรมแสดงออกทางพฤติกรรมทำให้งดงาม จัดเป็นวัตถุพิสัยเพราะเป็นความงามลักษณะอนัตตา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา คือ ขันติ โสรัจจะ ไตรลักษณ์ ทิฏฐธัมมิกัตถะ กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ หลักธรรมเหล่านี้เป็นพุทธสุนทรียศาสตร์ เมื่อปฏิบัติแล้วย่อมเกิดความงามเป็นผลเสมอ เรียกว่า ชีวิตงาม นำหลักธรรมทั้ง ๕ มาบูรณาการกับปัญหา ๕ ด้าน ทำให้เกิดความงาม คือ ๑) ขันติ โสรัจจะ อดทนอย่างมีสติทำให้จิตใจสงบนิ่ง ไม่ขุ่นมัว เกิดปัญญาเห็นเหตุปัจจัยและโสรัจจะเกิดตามเกื้อกูลทำให้จิตใจงาม ๒) ไตรลักษณ์ การเข้าถึงองค์ความรู้ เห็นตามความเป็นจริงว่าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง คลายความยึดมั่น เกิดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่เห็นแก่ตัวทำให้สังคมงาม ๓) ทิฏฐธัมมิกัตถะ กิจกรรมในชีวิต อยู่ที่การทำงานมากที่สุดจึงต้องสร้างคุณธรรมควบคู่กับงาน ไม่ประมาท ฉลาดในการคบเพื่อน การบริหารเงินถูกต้อง มีการเงินมั่นคงทำให้เศรษฐกิจงาม ๔) กัลยาณมิตร การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการเห็นคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์ เกิดดุลยภาพต่อกัน ทำให้สิ่งแวดล้อมงาม และ ๕) โยนิโสมนสิการ หล่อหลอมเทคโนโลยีกับมนุษย์ด้วยการคิดถูก รู้คุณค่าแท้เป็นความรู้แห่งอารยชน ทำให้เทคโนโลยีงาม จากผลของความงามทั้ง ๕ ทำให้เกิด GRACE MODEL โมเดลแห่งความงดงามแห่งความดี เกิดพฤติกรรม จิตใจ และปัญญางดงาม ด้วยการคิด พูด ทำ ทุกการกระทำเป็นไปอย่างดี จริง และมีประโยชน์ คือ การดำเนินชีวิตที่งดงาม
หนังสือ

    รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
Note: รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้พิพากษาที่เป็นผู้บริหารระดับอธิบดี/รองอธิบดี และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ/ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จำนวน 442 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 3) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การนำองค์การ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การนำองค์การ และ 1.2) การกำกับดูแลองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การจัดทำยุทธศาสตร์ และ 2.2) การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) สารสนเทศผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3.2) การสร้างความผูกพัน 4) การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1) การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการของสถาบัน 4.2) การจัดการความรู้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 5.1) ความผูกพันของบุคลากร และ 5.2 สภาพแวดล้อมด้านบุคลากร 6) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 6.1) กระบวนทำงาน และ 6.2) ประสิทธิผลการปฏิบัติการ และ 7) ผลลัพธ์การบริหาร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 7.1) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและการบรรลุพันธกิจ 7.2) ผลลัพธ์ด้านงบประมาณการเงินและการเติบโต 7.3) ผลลัพธ์ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7.4) ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล 7.5) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (คุณภาพประสิทธิภาพต้นทุน) และ 7.6) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 2.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้พิพากษาที่เป็นผู้บริหารระดับอธิบดี/รองอธิบดี และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ/ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จำนวน 442 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 3) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การนำองค์การ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การนำองค์การ และ 1.2) การกำกับดูแลองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การจัดทำยุทธศาสตร์ และ 2.2) การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) สารสนเทศผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3.2) การสร้างความผูกพัน 4) การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1) การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการของสถาบัน 4.2) การจัดการความรู้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 5.1) ความผูกพันของบุคลากร และ 5.2 สภาพแวดล้อมด้านบุคลากร 6) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 6.1) กระบวนทำงาน และ 6.2) ประสิทธิผลการปฏิบัติการ และ 7) ผลลัพธ์การบริหาร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 7.1) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและการบรรลุพันธกิจ 7.2) ผลลัพธ์ด้านงบประมาณการเงินและการเติบโต 7.3) ผลลัพธ์ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7.4) ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล 7.5) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (คุณภาพประสิทธิภาพต้นทุน) และ 7.6) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 2.
ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า รูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องเป็นรูปแบบเชิงระบบสามด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.1) หลักไตรสิกขา 1.2) หลักพรหมวิหาร และ 1.3 หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น 2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก โดยเรียงลำดับตามน้ำหนักความสำคัญ ได้แก่ 2.1) การมุ่งเน้นบุคลากร 2.2) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ 2.3) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 2.4) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วน 2.5) การนำองค์การ และ 2.6) การวางแผนยุทธศาสตร์ 3) ด้านผลลัพธ์การบริหาร มี 1 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผลลัพธ์การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.64) ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
The purposes of this study were: 1) to study the administrative factors of the Judicial Training Institute for developing chief judges, 2) to develop the administrative model of the Judicial Training Institute for developing chief judges, and 3) to assess and validate the developed administrative model of the Judicial Training Institute for developing chief judges. The mixed research methods were used in the study. The 442 samples of this study included chief justices, deputy chief justices, presiding judges and chief judges. The research instruments used for data collection consisted of; 1) structured interview form, 2) questionnaire, and 3) assessment and validation form. The data were collected in 2019 and then analzyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA), and content analysis by Lisrel Program. The results were shown as follows: 1. The administrative elements for developing chief judges of the Judicial Training Institute have 7 fundamental related elements; 1) organizational leadership, composed of 2 subelements; 1.1) leadership and 1.2) organizational supervision and social responsibility, 2) strategic planning, composed of 2 subelements; 2.1) strategic thinking and 2.2) strategy implementation, 3) customer and stake-holder focus, composed of 2 subelements; 3.1) information of the customerand stake-holder and 3.2) customer engagement, 4) measurement, analysis and knowledge management, composed of 2 subelements; 4.1) measurement, analysis and improvement of organizational performance and 4.2) management of information knowledge and technology, 5) workforce focus, composed of 2 subelements; 5.1) workforce engagement and 5.2) workforce environment, 6) operation focus, composed of 2 subelements; 6.1) work processes and 6.2) operational effectiveness, and 7) results based management, composed of 6 subelements; 7.1) operation effectiveness, 7.2) budget and growth, 7.3) customer and stake-holder focus, 7.4) organizational leadership and supervision, 7.5) process effectiveness and supply chain management (quality, efficiency, and cost), and 7.6) workforce focus. 2. The development results of the administrative model of the Judicial Training Institution for developing chief judges showed that the developed model conformed with empirical data and was a systematic model comprised of; 1) input, containing 3 elements; 1.1) The Threefold Training, 1.2) Four Sublime States of Mind, 1.3) Executive Judges in Trial Court Course, 2) process, containing 6 elements listed in order of significance as follows: 2.1) workforce focus, 2.2) operating system focus, 2.3) measurement, analysis, and knowledge management, 2.4) customer and stake-holder focus, 2.5) organizational leadership, 2.6) strategic planning, and 3) output containing administrative output of the Judicial Training Institution. 3. The result of model assessment showed that the total average mean was at the highest level (x ̅ = 4.64), which passed the specified criterion. Thus, it can be concluded that the developed model was approved and certified by the experts.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) คือ ใช้วิธีวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ได้แก่ สถานศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 67 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ 3) แบบประเมินรูปแบบ ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอยย่อย ดังนี้ องค์ประกอบหลักที่ 1. ด้านการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 งานวิชาการ 1.2 งบประมาณ 1.3 งานบุคคล และ 1.4 งานทั่วไป และองค์ประกอบหลักที่ 2. ด้านหลักกัลยาณธรรม ของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 น่ารัก 2.2 น่าเคารพ 2.3 น่ายกย่อง 2.4 รู้จักพูดให้ได้ผล 2.5 อดทนต่อถ้อยคำ 2.6 อธิบายเรื่องล้ำลึกได้ และ 2.7 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล 2. ผลการพัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ โดยการนำหลักกัลยาณธรรม 7 เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่จะนำไปสู่พัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, ได้ร้อยละ 78.00 และการบริหารตามหลักกัลยาณธรรม ได้ร้อยละ 99.1 สามารถอธิบายความแปรปรวนในการบริหารได้ทุกองค์ประกอบ 1. ผลลัพธ์ด้านองค์ประกอบหลักด้านการบริหาร (𝜆=0.780) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 การบริหารบุคคล (𝜆=0.862) 1.2 การบริหารทั่วไป (𝜆=0.792) 1.3 การบริหารวิชาการ (𝜆=0.761) 1.4 การบริหารงบประมาณ (𝜆=0.705) 2. ผลลัพธ์องค์ประกอบหลักด้านหลักกัลยาณธรรม (𝜆=0.991) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การอดทนต่อถ้อยคำ (𝜆=0.943) 2.2 รู้จักพูดให้เหตุผล (𝜆=0.942) 2.3 ทำตนให้น่ายกย่อง (𝜆=0.933) 2.4 สามารถอธิบายเรื่องล้ำลึก (𝜆=0.871) 2.5 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล (𝜆=0.820) 2.6 มีความน่ารัก (𝜆=0.741) กับคนรอบตัว และ 2.7 เป็นที่เคารพ (𝜆=0.630) ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 3.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) คือ ใช้วิธีวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ได้แก่ สถานศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 67 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ 3) แบบประเมินรูปแบบ ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอยย่อย ดังนี้ องค์ประกอบหลักที่ 1. ด้านการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 งานวิชาการ 1.2 งบประมาณ 1.3 งานบุคคล และ 1.4 งานทั่วไป และองค์ประกอบหลักที่ 2. ด้านหลักกัลยาณธรรม ของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 น่ารัก 2.2 น่าเคารพ 2.3 น่ายกย่อง 2.4 รู้จักพูดให้ได้ผล 2.5 อดทนต่อถ้อยคำ 2.6 อธิบายเรื่องล้ำลึกได้ และ 2.7 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล 2. ผลการพัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ โดยการนำหลักกัลยาณธรรม 7 เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่จะนำไปสู่พัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, ได้ร้อยละ 78.00 และการบริหารตามหลักกัลยาณธรรม ได้ร้อยละ 99.1 สามารถอธิบายความแปรปรวนในการบริหารได้ทุกองค์ประกอบ 1. ผลลัพธ์ด้านองค์ประกอบหลักด้านการบริหาร (𝜆=0.780) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 การบริหารบุคคล (𝜆=0.862) 1.2 การบริหารทั่วไป (𝜆=0.792) 1.3 การบริหารวิชาการ (𝜆=0.761) 1.4 การบริหารงบประมาณ (𝜆=0.705) 2. ผลลัพธ์องค์ประกอบหลักด้านหลักกัลยาณธรรม (𝜆=0.991) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การอดทนต่อถ้อยคำ (𝜆=0.943) 2.2 รู้จักพูดให้เหตุผล (𝜆=0.942) 2.3 ทำตนให้น่ายกย่อง (𝜆=0.933) 2.4 สามารถอธิบายเรื่องล้ำลึก (𝜆=0.871) 2.5 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล (𝜆=0.820) 2.6 มีความน่ารัก (𝜆=0.741) กับคนรอบตัว และ 2.7 เป็นที่เคารพ (𝜆=0.630) ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 3.
ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x =4.58) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (¯x =3.51 ขึ้นไป) ส่วนการรับรองรูปแบบพบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นรับรองร้อยละ 90.80 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study the components of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, 2) to develop an educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, and 3) to assess and certify the educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected from 402 samples in 67 schools by; 1) structural interviews, 2) rating-scale questionnaire, and 3) assessment form. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory analysis, and content analysis. The results of the study were found that: 1. The components of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration consist of 2 main components and 11 sub-components. The first main component consists of 4 sub-components; 1) Academic Administration, 2) Budget Administration, 3) Personnel Administration, and 4) General Administration. The second main component consists of 7 sub-components; 1) Lovely, 2) Respectful, 3) Praiseful, 4) Reasonable, 5) Verbal Tolerance, 6) Able to explain complicated topics and 7) To avoid frivolous talk. 2. The results of the development of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration by using 7 principles of Kalyana Dhamma as the components had harmony and relevance with empirical data. The model validity can be concluded that Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, 78.00% and the administration based on Kalyana Dhamma principles = 99.1%. That can be used to explain every component of administration variance; 1. Results of main components in administration (̧œ†=0.780) consist of 4 sub-components; 1.1 Personnel Administration (̧œ†=0.862) 1.2 General Administration (̧œ†=0.792) 1.3 Academic Administration (̧œ†=0.761) 1.4 Budget Administration (̧œ†=0.705) 2. Results of main components in Kalyana Dhamma principles (̧œ†=0.991) consist of 7 sub-components; 2.1 Verbal Tolerance (̧œ†=0.943), 2.2 Reasonable (̧œ†=0.942), 2.3 Praiseful (̧œ†=0.933), 2.4 Able to explain complicated topics (̧œ†=0.871), 2.5 To avoid frivolous talk (̧œ†=0.820), 2.6 Lovely for colleagues and companions (̧œ†=0.741), and 2.7 Respectful for students, teachers, and parents (̧œ†=0.630). 3. The assessment results of the educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration were at the high level overall (℗¯x =4.58) above the set criteria at (℗¯x =3.51+). The model was certified by the experts at 90.80% above the set criteria at 70.00%
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความตาย 2) เพื่อศึกษาความตายตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของความตาย ตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรัชญาตะวันตก มีแนวคิดที่ชัดเจนว่าเชื่อในชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตนิรันดร์ แต่จะมีการให้คุณค่าความตายและภาวะหลังความตายมากขึ้น ในมุมมองของปรัชญาชีวิต เช่น เมื่อเราหนีความตายไม่พ้น ทำไมเราไม่ทำความเข้าใจอย่างกล้าหาญต่อความตายนั้นเล่า นักปรัชญาตะวันออก จะมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน มีความแตกต่างไปบ้าง อย่างเช่นปรัชญาอินเดีย มีทั้งเชื่อเรื่องของชีวิตนิรันดร์ และเชื่อว่าตายแล้วสูญ ปรัชญาจีน เชื่อในเรื่องของชีวิตนิรันดร์อย่างแน่นแฟ้น แต่เมื่อผ่าน การหล่อหลอมจากปรัชญาสายอื่น ก็มีความเชื่อเรื่องของสังสารวัฏเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างทางด้านศาสนาต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เชื่อว่ามีชีวิตนิรันดร์หลังความตาย ขึ้นอยู่กับว่าจะตีความคำว่าชีวิตนิรันดร์นั้นไปในทิศทางใด อาจจะเป็นชีวิตนิรันดร์ไปอยู่บนสรวงสวรรค์พร้อมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือชีวิตนิรันดร์ในฐานะของผู้บรรลุพระนิพพาน สิ้นกิเลส 2) พุทธปรัชญาเชื่อว่า ชีวิตมีอยู่ เป็นอยู่ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบกันอย่างเหมาะสม และปัจจัยสำคัญก็คือ ขันธ์ 5 จากความเชื่อนี้ ความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นการประกอบส่วนที่ผิดเพี้ยนไปอันเกิดจากความไม่เที่ยงและความไม่มีตัวตนของปัจจัยเหล่านั้น นี่เป็นหลักกว้าง ๆ ที่อิงอยู่กับหลักธรรมเรื่อง ไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ที่ว่าด้วยความเป็นเหตุเป็นผลแบบอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย ทำนองว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับไปความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น คือ สิ้นอายุขัย (อายุกขยมรณะ) สิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) สิ้นทั้งอายุและกรรม (อุภยักขยมรณะ) และมีเหตุหรือกรรมอย่างอื่นมาตัดรอน (อุปัจเฉทมรณะ) 3) คุณค่าแห่งการหลุดพ้นเวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธปรัชญาเถรวาท นั่นคือการเข้าถึงความหลุดพ้นหรือนิพพาน ซึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทเชื่อว่ามนุษย์ปุถุชนทุกรูปทุกนาม ล้วนแล้วแต่เป็นชีวิตที่มีปัญหาและถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่มนุษย์สามารถเอาชนะความทุกข์ได้อย่างแท้จริง เมื่อนั้นก็สามารถหลุดพ้นหรือนิพพานได้ และวิธีการที่จะเข้าถึงนิพพานนั้น จะต้องอาศัยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หรืออย่างย่อเรียกว่า ไตรสิกขาซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ อันจะพาให้เข้าถึงนิพพานอันเป็นภาวะสูงสุดและเป็นความสงบสุขที่จีรังยั่งยืน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความตาย 2) เพื่อศึกษาความตายตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของความตาย ตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรัชญาตะวันตก มีแนวคิดที่ชัดเจนว่าเชื่อในชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตนิรันดร์ แต่จะมีการให้คุณค่าความตายและภาวะหลังความตายมากขึ้น ในมุมมองของปรัชญาชีวิต เช่น เมื่อเราหนีความตายไม่พ้น ทำไมเราไม่ทำความเข้าใจอย่างกล้าหาญต่อความตายนั้นเล่า นักปรัชญาตะวันออก จะมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน มีความแตกต่างไปบ้าง อย่างเช่นปรัชญาอินเดีย มีทั้งเชื่อเรื่องของชีวิตนิรันดร์ และเชื่อว่าตายแล้วสูญ ปรัชญาจีน เชื่อในเรื่องของชีวิตนิรันดร์อย่างแน่นแฟ้น แต่เมื่อผ่าน การหล่อหลอมจากปรัชญาสายอื่น ก็มีความเชื่อเรื่องของสังสารวัฏเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างทางด้านศาสนาต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เชื่อว่ามีชีวิตนิรันดร์หลังความตาย ขึ้นอยู่กับว่าจะตีความคำว่าชีวิตนิรันดร์นั้นไปในทิศทางใด อาจจะเป็นชีวิตนิรันดร์ไปอยู่บนสรวงสวรรค์พร้อมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือชีวิตนิรันดร์ในฐานะของผู้บรรลุพระนิพพาน สิ้นกิเลส 2) พุทธปรัชญาเชื่อว่า ชีวิตมีอยู่ เป็นอยู่ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบกันอย่างเหมาะสม และปัจจัยสำคัญก็คือ ขันธ์ 5 จากความเชื่อนี้ ความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นการประกอบส่วนที่ผิดเพี้ยนไปอันเกิดจากความไม่เที่ยงและความไม่มีตัวตนของปัจจัยเหล่านั้น นี่เป็นหลักกว้าง ๆ ที่อิงอยู่กับหลักธรรมเรื่อง ไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ที่ว่าด้วยความเป็นเหตุเป็นผลแบบอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย ทำนองว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับไปความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น คือ สิ้นอายุขัย (อายุกขยมรณะ) สิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) สิ้นทั้งอายุและกรรม (อุภยักขยมรณะ) และมีเหตุหรือกรรมอย่างอื่นมาตัดรอน (อุปัจเฉทมรณะ) 3) คุณค่าแห่งการหลุดพ้นเวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธปรัชญาเถรวาท นั่นคือการเข้าถึงความหลุดพ้นหรือนิพพาน ซึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทเชื่อว่ามนุษย์ปุถุชนทุกรูปทุกนาม ล้วนแล้วแต่เป็นชีวิตที่มีปัญหาและถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่มนุษย์สามารถเอาชนะความทุกข์ได้อย่างแท้จริง เมื่อนั้นก็สามารถหลุดพ้นหรือนิพพานได้ และวิธีการที่จะเข้าถึงนิพพานนั้น จะต้องอาศัยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หรืออย่างย่อเรียกว่า ไตรสิกขาซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ อันจะพาให้เข้าถึงนิพพานอันเป็นภาวะสูงสุดและเป็นความสงบสุขที่จีรังยั่งยืน
The objective of this study is 1) to study the theory of death 2) To study the conceptual death in Theravada Buddhist philosophy 3) To analyze the conceptual thinking in Theravada Buddhist philosophy The research has collected data from Tripitaka, commentary, textbooks and related research. The results of the study were shown as follows: 1) Western philosophy has a clear philosophy that believes in the afterlife But there will be help for victims and many complications from the philosophical point of view Why don't we bravely understand death, telling scholars of many different philosophies, such as Indian philosophy Believe that to die and lose. Chinese philosophy firmly believes in matters of life But when passed on from other philosophies, there is a belief about the pontiff All foreigners believe that how to live in the near future to occur in the near future to occur in the future. Wan with God or eternal life as the person who attained Nirvana 2) Buddhist philosophy believes that life exists because there are different parts to it. Appropriate and an important ratio is the Bahamas. 5. From this belief, death is not something that comes from the damage caused by their injuries. The identity of those supports is a broad principle based on principles. About the trinity and the doctrine of the Bath, the Bath, or Itam, the eye on the sense of reason Become living beings that coexist with living organisms, regardless of how this happened Death is another thing that does not occur because the loss of those attacks is the death. (Salvage independence)) and there is a reason or something else to cut (Death) 3) The process of liberation from what has happened is something that happens a lot and is something that has been destroyed a lot or that Nirvana is what actually happened. Victory all the time, whenever humans can overcome great suffering, when they can be liberated or nirvana and how to In order to do nicotine, it is necessary to adhere to the Noble Eightfold Path or the threefold process, with many steps and money to help the victims.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
This dissertation has the following objectives;1) to study the propagation philosophy of Buddhism in the Tipitaka, 2) to study the propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern times, 3) to integrate the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, and 4) to present the model of Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, documents, research works, and purposive in-depth interviews with 13 key-informants consisting of DhammadutaBhikkhus from foreign countries, Buddhism's experts, and officers of the National Office of Buddhism. The data were analyzed,categorized, synthesized, and presented in adescriptive method. The results of the research showed that; 1) The basic philosophy of Buddhist propagation in the Tipitaka is the 3 principles, the 4 ideologies and the 6 methods which are derived from the Principal Teaching. Without these principles, ideologies, and methods, Buddhist propagation will cause problems and not lead to the end of suffering. The 3 principles are: (1) Not to do any evils, (2) To do good, and (3) To purify the mind. The 4 ideologies are; (1) Patience, (2) Non-violence, (3) Peace, (4) Nibbana orientation, The 6 methods include; (1) not do evil in word, (2) not do evil in body, (3) restraint with regard to the monastic disciplinary code, (4) moderation in eating, (5) residing in a peaceful place, and (6) purifying the mind. 2) The propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern timewas studied from the propagation philosophy of Theravada Buddhism in 5 countries; Thailand, Cambodia, Myanmar, Laos, and Sri Lanka. The study found that every country relied on individuals and organizations to propagate Buddhism.From the past to the present,monarchs, royal relatives, nobles, government officials, academics, monks, DhammadutaBhikkhus, Buddhist Universities, government, temples, and religious places had an important role in propagating Buddhism. Nowadays, digital technology is also used in Buddhist propagation. 3) Integrating Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade can be divided into 2 parts; (1) Organization, there should be social, cultural, educational, Dhammaduta monks, online propagation, administrative, and legal policies in line with Ovadapapatimokkha principles, and (2) Individual, the propagation should be based on the 3 principles, the 4 ideologies, and the 6 methods. 4) The new body of knowledge obtained from this research is called the PGV Model.It is a form of the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, derived from the Principal Teaching which consists of 3 principles, 4 ideologies, and 6methods. Even it is the original teaching for Buddhist propagation, but it can be applied and integrated with the changing society because it is universal and life-quality oriented development.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาบริบทสังคมไทยในอดีตและการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอดีต ๒) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยยุคปัจจุบันและการปกครองคณะสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันและ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการปกครองคณะสงฆ์พระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๑๔ รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในอดีตนั้นส่งผลต่อการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเพราะพระสงฆ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในบริบทสังคม จึงจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปบริบทสังคมด้วย เป็นการอนุวัติตามด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแต่ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่หลักในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ๒. บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้มีการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยจากเหตุปัจจัยทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจจากโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบเดิมที่มีชนชั้นปกครอง ชนชั้นใต้การปกครอง แม้การบริหารประเทศและการเมืองการปกครองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นก็ถูกสลายไปทำให้ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแม้คณะสงฆ์จะมีการปรับเปลี่ยนนอกจากปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้วก็มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมาบังคับใช้นับเป็นอนุวัติตามระบอบการปกครองในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ๓. กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันจะมีการบริหารจัดการโดยผ่านกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านมีด้านการปกครอง, ด้านการศาสนศึกษา, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่,ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์อันเป็นไปตามการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ๔. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน”ในครั้งนี้ได้แก่“SPEE Model”
การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาบริบทสังคมไทยในอดีตและการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอดีต ๒) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยยุคปัจจุบันและการปกครองคณะสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันและ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการปกครองคณะสงฆ์พระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๑๔ รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในอดีตนั้นส่งผลต่อการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเพราะพระสงฆ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในบริบทสังคม จึงจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปบริบทสังคมด้วย เป็นการอนุวัติตามด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแต่ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่หลักในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ๒. บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้มีการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยจากเหตุปัจจัยทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจจากโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบเดิมที่มีชนชั้นปกครอง ชนชั้นใต้การปกครอง แม้การบริหารประเทศและการเมืองการปกครองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นก็ถูกสลายไปทำให้ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแม้คณะสงฆ์จะมีการปรับเปลี่ยนนอกจากปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้วก็มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมาบังคับใช้นับเป็นอนุวัติตามระบอบการปกครองในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ๓. กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันจะมีการบริหารจัดการโดยผ่านกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านมีด้านการปกครอง, ด้านการศาสนศึกษา, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่,ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์อันเป็นไปตามการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ๔. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน”ในครั้งนี้ได้แก่“SPEE Model”
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to study the context of the Thai society in the past and the Thai Sangha administration in the past, 2) to study the context of modern Thai society and the Thai Sangha administration, 3) to study the paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society, and 4) to present the model of the paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, academic documents and in-depth interviews with 14 experts. The data were analyzed and synthesized in order to obtain the paradigm model of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society. The results of the study indicated as follows:- 1. Changes in social contexts in the past influenced the Sangha administration in the past because monkswere a part of the social context and they had to adjust themselves in accordance with the social context as well, but they still maintained their main duty in observing the Dhamma and Vinaya. 2. The context of modern Thai society had changes in social, political, and economical structures. Feudalism was declined and replaced by educated middle class and democracy. Thai people were under the constitution. The changes also had impacts to the Sangha administration. Other than to follow the principles of Dhamma and Vinaya, monks had to follow the Sangha Act. This practice was to follow the current Thai social context. 3. Paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society was through 6 Sangha affairs; government, religious studies, educational welfare, propagation, public facilities, and the public welfare. The paradigm of the Thai Sangha administrationwas in accordance withthe Thai Sangha Act with the implementation of the Supreme Sangha Council. 4. The new knowledge about “Paradigm model of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society” is “SPEE Model”.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 135 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2)แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 3) แบบบันทึกข้อเสนอแนะ และ 4) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “MSMM Model” โดยเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างและวิธีการบริหารงานตามขอบข่ายและภารกิจด้านการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม ตามแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 135 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2)แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 3) แบบบันทึกข้อเสนอแนะ และ 4) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “MSMM Model” โดยเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างและวิธีการบริหารงานตามขอบข่ายและภารกิจด้านการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม ตามแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study components of moral school management for school administrators under the primary educational service area office, 2) to create a model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office, and 3) to evaluate and to affirm the moral school management model for school administrators under the primary educational service area office. The mixed research methodology is used in the study. The data were collected from 540 samples consisting of school directors, heads of department, the teachers responsible for the project, and teachers in 135 moral schools with 3- star level. The research instrument consisted of : 1) semi-structured interviews, 2) 5-rating scale questionnaires with reliability at 0.89, 3) recording form for suggestions, and 4) evaluation forms. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and CFA. The results of this research revealed that: 1) The components of moral school management for school administrators under the primary educational service area office consisted of 3 main components and 10 minor components. 2) A model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office was known as “MSMM Model.” It was an administrative form and method based on scope and mission of moral school administration concept, Lokapàla-dhamma, and school administration. The moral school administration consisted of 3 main components and 10 minor components. The component weight values in descending order started with Moral School Concepts, followed by Lokapàla-dhamma, and School Administration. 3) The evaluation results of model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office in propriety, accuracy, feasibility and utility were at 4.67 level overall that was higher than the evaluation criteria. The model was affirmed by the experts.