Search results

2 results in 0.05s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
The purposes of this research were: 1) to study the elements of strategic management for the disabled in special education schools, 2) to establish a strategic management model for the disabled in special education schools, and 3) to assess and certify the strategic management model for the disabled in special education schools. The mixed research method was used in the study. The data were collected from 340 samples of 125 special education schools. The samples consisted of school directors, deputy directors and officials. The research instrument was a 5-level semi-structured questionnaire with confidential level at 0.98. The data were analyzed by descriptive statistics including frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis (EFA) and confirmatory factor analysis (CFA) through statistical computer package. The results of this research revealed that: 1.The elements of strategic management for the disabled in special education schools collected from concepts, theories, papers, texts, research works and related sources and then analyzed by Exploratory Factor Analysis (EFA) could be concluded into five main components; 1) strategic planning, 2) strategic plan analysis, 3) implementation of the strategic plan, 4) control of the strategic plan, and 5) evaluation of the strategic plan. 2. The results of establishing a strategic management model for the disabled in special education schools analyzed by Confirmatory Factor Analysis (CFA) found that the factor loading was 0.89-1.00, in descending order of element weight: 1) the implementation of the strategic plan was 1.00, 2) the strategic plan analysis was 0.99, 3) strategic plan control was 0.96, 4) evaluation and certification was 0.90, and 5) strategic planning was 0.89 respectively. The established model was consistent with the empirical data. 3. The results of assessment and approval of the model in terms of accuracy, suitability, possibility and benefits from 17 experts were at a high level with a figure at 4.27 (= 4.27). It could be concluded that the model was above the specified criteria and approved.