Search results

1 results in 0.16s

หนังสือ

    สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ของผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เช่าที่ราชพัสดุของสำนักงาน ธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ จำนวน 28 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .70 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test โดยใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า : 1) ความคิดเห็นของผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งสี่ด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือการให้บริการ ด้านสถานที่ให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านขั้นตอนการให้บริการ ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมติฐาน พบว่า ผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ผู้เช่าที่ราชพัสดุได้เสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ ลำดับตามความถี่จากสูงไปหาต่ำสามอันดับแรก ได้แก่ ควรจัดทำคู่มือและเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องการเช่าที่ราชพัสดุ เอกสารแนะนำการให้บริการมีน้อยควรเพิ่มเติมให้สมบูรณ์และเพียงพอ และควรมีป้ายแสดงแผนที่ที่ตั้งอาคารในการเข้ามาติดต่อ
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ของผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เช่าที่ราชพัสดุของสำนักงาน ธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ จำนวน 28 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .70 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test โดยใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า : 1) ความคิดเห็นของผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งสี่ด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือการให้บริการ ด้านสถานที่ให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านขั้นตอนการให้บริการ ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมติฐาน พบว่า ผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ผู้เช่าที่ราชพัสดุได้เสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์ ลำดับตามความถี่จากสูงไปหาต่ำสามอันดับแรก ได้แก่ ควรจัดทำคู่มือและเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องการเช่าที่ราชพัสดุ เอกสารแนะนำการให้บริการมีน้อยควรเพิ่มเติมให้สมบูรณ์และเพียงพอ และควรมีป้ายแสดงแผนที่ที่ตั้งอาคารในการเข้ามาติดต่อ
The objectives of the research were 1) to study the opinions of the treasury land tenants about the service rendered by the Treasury Office in Kalasin Province, 2) to compare the opinions of the treasury land tenants in the said area, classified by gender, age and income, and 3) to survey the suggestions and recommendations proposed by the respondents. The samples were the tenants as mentioned, totally 384 in number. The device used for data collection was the five-rating scale questionnaire with reliability at the rate of 0.70, and the statistical tools employed for data analysis were frequency, percentage, mean, S.D., t-test (Independent Samples) and f-test (One way ANOVA). The research results were as follows: 1) The opinions of the treasury land tenants about the service rendered by the Treasury Office in Kalasin Province were found, on both overall and individual aspects, to stand at the ‘MOST’ level. The aspect that stood on top of the level was the service instrument, followed by service counter, persons in charge and service steps, respectively. 2) The comparison of the respondents’ related opinions, classified by gender, age and income, was found to show the statistically significant difference at the rate of .05, to meet with the synthesis set. 3) The suggestions proposed by the respondents were the following: (1) The brochure/documents dealing with the renting of the treasury lands should published and distributed. (2) The documents available at present were less in number, and their number should be increased to meet with the demands. (3) The information posters, where the location maps were shown, should be prepared to facilitate the contacts.