Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีอายุพรรษาวุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษาทางธรรม ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งหมด จำนวน 543 รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 226 รูป เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาส ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสาธารณูปการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม และด้านการศาสนศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษาทางธรรม ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2)ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีอายุวุฒิการศึกษาทางโลก ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนที่มีพรรษา วุฒิการศึกษาทางธรรม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ข้อเสนอแนะมากที่สุดเกี่ยวกับปัญหา ได้แก่ ด้านปัญหาการบริหารงานด้านการสาธารณูปการ คือ เจ้าอาวาสขาดการวางแผนในการก่อสร้างอาคารเสนาสนะภายในวัดให้เป็นระเบียบมีสัดส่วน แนวทางแก้ไขปัญหามากที่สุด ได้แก่ ด้านปัญหาการบริหารงานด้านการสาธารณูปการ คือ เจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราชแต่ละวัดต้องวางแผนให้ความสำคัญกับการวางแผนการก่อสร้างและปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีอายุพรรษาวุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษาทางธรรม ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งหมด จำนวน 543 รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 226 รูป เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาส ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสาธารณูปการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม และด้านการศาสนศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษาทางธรรม ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2)ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีอายุวุฒิการศึกษาทางโลก ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนที่มีพรรษา วุฒิการศึกษาทางธรรม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ข้อเสนอแนะมากที่สุดเกี่ยวกับปัญหา ได้แก่ ด้านปัญหาการบริหารงานด้านการสาธารณูปการ คือ เจ้าอาวาสขาดการวางแผนในการก่อสร้างอาคารเสนาสนะภายในวัดให้เป็นระเบียบมีสัดส่วน แนวทางแก้ไขปัญหามากที่สุด ได้แก่ ด้านปัญหาการบริหารงานด้านการสาธารณูปการ คือ เจ้าอาวาสในจังหวัดนครศรีธรรมราชแต่ละวัดต้องวางแผนให้ความสำคัญกับการวางแผนการก่อสร้างและปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม
The objectives of this thematic paper were as follows : 1) To study the state and problem in the temple abbots’ administration in Nakhon Si Thammarat province. 2) To compare the state and problem in the temple abbots’ administration in Nakhon Si Thammarat province in terms of ages, periods of monkhood, degrees of secular education, Dhamma studies and periods of abbots position standing as differently. 3) To study the suggestion on state and problem in the temple abbots’ administration in Nakhon Si Thammarat province. The population were composed of Sangha’s ecclesiastics in Nakhon Si Thammarat province for 543persons, sample size according to the table of R.V. Krejcie and D.W. Morgan, got the sample at the number of 226 persons, The instrument for data collection was questionnaire. Data analysis by package computer program. The statistics were analyzed as follows, frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t–test F-test and LSD method. The results reveal that 1)The state and problem in the temple abbots’ administration in Nakhon Si Thammarat province by overviews in six aspects are at moderate level, while consider in each aspects from more to less find that the aspect of public welfare is the highest mean and follow up the aspect of Dhamma dissemination and the aspect of religious study is lowest mean respectively. when classify in terms of ages, periods of monkhood, degrees of secular education, Dhamma studies and periods of abbot’s position standing find that there are at moderate level. 2)The comparative result of state and problem in the temple abbots administration in Nakhon Si Thammarat province in terms of ages, degrees of secular education, and periods of abbot’s position standing find that there are different as statistically significance at .01 and in terms of periods of monkhood and Dhamma studies find that there are not different as statistically significance at .05 3)The suggestion on state and problem in the temple abbots administration in Nakhon Si Thammarat province. The problem find that; the public welfare aspect, the highest find that the abbot works without planning in construction and dwelling in temple as clustering. The resolution find that the highest is the aspect of public welfare i.e. the abbot should plan to construct any building or making background as nice as possible.