Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    Abstract : การศึกษากระบวนการพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือเจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หลวง กำนันตำบลเจดีย์หลวง ผู้นำชุมชนในตำบลเจดีย์หลวง ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลเจดีย์หลวง ผู้อาวุโสในชุมชนตำบลเจดีย์หลวง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 บ้านใหม่แสงแก้วและคณะกรรมการกลุ่มพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณฝ่ายต่างๆ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในด้านการมีส่วนร่วมพบว่า เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ บุคลากรในวัด ผู้นำชุมชน และประชาชนตำบลเจดีย์หลวงมีส่วนร่วม ผลักดันในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในวัด โดยร่วมกันจัดหางบประมาณให้แก่วัดเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมวัดในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม ด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนา พบว่า พระภิกษุสามเณรได้ทำหน้าที่ในการศึกษาปฏิบัติธรรมตามข้อวัตรต่างๆ มีกิจกรรมภายในวัดที่ช่วยเผยแพร่ในด้านพระธรรมคำสั่งสอนต่างๆ ให้พุทธศาสนิกชน ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาวัดพบว่า วัดยังขาดโครงสร้างของการบริหารการเงินที่เป็นระบบมากพอ จึงต้องมีกระบวนการในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น พระสงฆ์ กรรมการวัด ไวยาวัจกร รวมถึงชุมชนใกล้วัด ให้มีความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้สามารถดำเนินการบริหารการเงินให้แก่วัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและงบประมาณการก่อสร้างมีไม่เพียงพอ
Abstract : การศึกษากระบวนการพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือเจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หลวง กำนันตำบลเจดีย์หลวง ผู้นำชุมชนในตำบลเจดีย์หลวง ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลเจดีย์หลวง ผู้อาวุโสในชุมชนตำบลเจดีย์หลวง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 บ้านใหม่แสงแก้วและคณะกรรมการกลุ่มพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณฝ่ายต่างๆ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในด้านการมีส่วนร่วมพบว่า เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ บุคลากรในวัด ผู้นำชุมชน และประชาชนตำบลเจดีย์หลวงมีส่วนร่วม ผลักดันในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในวัด โดยร่วมกันจัดหางบประมาณให้แก่วัดเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมวัดในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม ด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนา พบว่า พระภิกษุสามเณรได้ทำหน้าที่ในการศึกษาปฏิบัติธรรมตามข้อวัตรต่างๆ มีกิจกรรมภายในวัดที่ช่วยเผยแพร่ในด้านพระธรรมคำสั่งสอนต่างๆ ให้พุทธศาสนิกชน ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาวัดพบว่า วัดยังขาดโครงสร้างของการบริหารการเงินที่เป็นระบบมากพอ จึงต้องมีกระบวนการในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น พระสงฆ์ กรรมการวัด ไวยาวัจกร รวมถึงชุมชนใกล้วัด ให้มีความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้สามารถดำเนินการบริหารการเงินให้แก่วัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและงบประมาณการก่อสร้างมีไม่เพียงพอ
Abstract : The objectives of this independent study were 1) to study development of Watsaengkaewphothiyan, Chediluang Sub-District, mae Sruai District, Chiang Rai Province, and 2) to study the problems and obstacles in development of Watsaengkaewphothiyan, Chediluang Sub-District, Mae Sruai District, Chiang Rai Province. The populations in the study were 20 people consisting of the Abbot of Watsaengkaewphothiyan, the chief executive of the Chediluang Sub-District Administration Organization, the Sub-District Headman, the President of Elderly Club, Senior citizens of Chediluang Community, the village Headman of 11th Ban Maiseangkaew, and Watsaengkaewphothiyan Development Committees. The instrument used in the research was interview forms. The results of the study were found that: The development of Watsaengkaewphothiyan, Chediluang Sub-District, Mae Sruai district, Chiang Rai Province, in term of participation, it is found that the Abbot, staffs of the temple, community leaders and people in Chediluang Sub-District are involved in the temple environmental changing. They all together supply the budget for repairing and restoring the damaged parts of temple. In term of propagation of Buddhism, it is found that monks and novices have been responsible for study and practice the observances. There are many activities in the temple in order to preach the Buddhist teachings to people. The problems and obstacles of the temple development is the structural lacking of systematically financial management. So the process of developing related personnel, such as the monks, the temple committee, the warden, as well as the communities closed to the temple, is in need in order to let them understand and know how to manage financial efficiently. Constructing budget is also not enough.