Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ 3) เพื่อบูรณาการหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทาง และการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม” ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods Designs) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งมีแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นหลัก ด้านวิจัยคุณภาพไปทำการสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูปคน (Structure In - depth Interview) และเสวนากลุ่มจำนวน 10 คน (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่า 1.หลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ พบว่า ด้านการวางแผนปฏิบัติงาน พบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านไฟฟ้า หลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ พบว่า ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ “มีการประชุมวางแผนปฏิบัติงาน” รองลงมาได้แก่ “มีการกำหนดเป้าหมายงานที่ชัดเจน” และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ “ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ด้านการปฏิบัติงาน พบว่า หลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ พบว่า ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ “ขณะปฏิบัติงานมีความระมัดระวังในการทำงาน” รองลงมาได้แก่ “ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้รับมอบหมาย” และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ “ประชุมกลุ่มรับฟังปัญหาหลังจากปฏิบัติงานแล้วเสร็จ” 2. หลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม ด้านสติสัมปชัญญะค่าเฉลี่ย สูงที่สุด คือ การมีสติ สัมปชัญญะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านอัปปมาทธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือตระหนักถึงอันตรายต่อตนเอง และเพื่อนร่วมงานขณะปฏิบัติงานอยู่เสมอ ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ คือการมีศีลในการปฏิบัติงาน คือมีระเบียบการปฏิบัติ มีสติทั้งการสำรวจงาน ความพร้อมเครื่องมือ ทั้งสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ สภาพของภาระงาน เครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงานการประเมินสถานการณ์ ทั้ง คน อุปกรณ์ เครื่องสนับสนุนการปฏิบัติงาน วางแผนการปฏิบัติงานอย่างรัดกุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างน้อยต้องมีความรู้ ทักษะประสบการณ์ตั้งอยู่ในศีลธรรมเวลาทำการก็มีสติ มีสมาธิใจจดจ่อต่อภาระหน้าที่ใจ ไม่ฟุ้งซ่านหรือหม่นหมอง มีสติสัมปชัญญะทำให้เกิดความระมัดระวังและรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ มีความรู้สึกระลึกได้ และต้องประกอบไปด้วยปัญญา 3.
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ 3) เพื่อบูรณาการหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทาง และการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม” ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods Designs) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งมีแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นหลัก ด้านวิจัยคุณภาพไปทำการสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูปคน (Structure In - depth Interview) และเสวนากลุ่มจำนวน 10 คน (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่า 1.หลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ พบว่า ด้านการวางแผนปฏิบัติงาน พบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านไฟฟ้า หลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ พบว่า ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ “มีการประชุมวางแผนปฏิบัติงาน” รองลงมาได้แก่ “มีการกำหนดเป้าหมายงานที่ชัดเจน” และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ “ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ด้านการปฏิบัติงาน พบว่า หลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ พบว่า ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ “ขณะปฏิบัติงานมีความระมัดระวังในการทำงาน” รองลงมาได้แก่ “ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้รับมอบหมาย” และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ “ประชุมกลุ่มรับฟังปัญหาหลังจากปฏิบัติงานแล้วเสร็จ” 2. หลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม ด้านสติสัมปชัญญะค่าเฉลี่ย สูงที่สุด คือ การมีสติ สัมปชัญญะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านอัปปมาทธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือตระหนักถึงอันตรายต่อตนเอง และเพื่อนร่วมงานขณะปฏิบัติงานอยู่เสมอ ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ คือการมีศีลในการปฏิบัติงาน คือมีระเบียบการปฏิบัติ มีสติทั้งการสำรวจงาน ความพร้อมเครื่องมือ ทั้งสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ สภาพของภาระงาน เครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงานการประเมินสถานการณ์ ทั้ง คน อุปกรณ์ เครื่องสนับสนุนการปฏิบัติงาน วางแผนการปฏิบัติงานอย่างรัดกุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างน้อยต้องมีความรู้ ทักษะประสบการณ์ตั้งอยู่ในศีลธรรมเวลาทำการก็มีสติ มีสมาธิใจจดจ่อต่อภาระหน้าที่ใจ ไม่ฟุ้งซ่านหรือหม่นหมอง มีสติสัมปชัญญะทำให้เกิดความระมัดระวังและรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ มีความรู้สึกระลึกได้ และต้องประกอบไปด้วยปัญญา 3.
บูรณาการหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม เป็นหลักธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงคือ การปฏิบัติงานที่ดีต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ ความไม่ประมาทมีสติอยู่ตลอดขณะปฏิบัติหน้าที่และมีความรู้ในงานนั้น ๆ ด้วยการมีระเบียบวินัยต่อการปฏิบัติงานและแสดงออกด้วยความจริงใจด้วยคำพูดที่ดีการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีหลักศีล 5 เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต มีการพัฒนาศักยภาพพนักงานด้วยการจัดอบรมปฏิบัติธรรมอยู่เนือง ๆ สติและความไม่ประมาท หลักสติและความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมคู่กัน ต่อการปฏิบัติหน้าที่การทำงานจะต้องมีสติไม่ประมาท คนที่มีความรู้แต่ประมาท อุปกรณ์ดีมีความพร้อมแต่ประมาท เพราะขาดสติสัมปชัญญะ ขาดความรอบรู้ในงานหน้าที่ ส่งผลเกิดอุบัติเหตุ ผลตามมาคือ ทางร่างกาย ทรัพย์สินรวมถึงคนรอบข้างมีครอบครัว เพื่อน สังคม 4. รูปแบบบูรณาการหลักประกันความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักพุทธธรรม เป็นทฤษฎี “HSPP Security Watch Model” H = Heedfulness/Heart หมายถึง เป็นหลักพุทธธรรมที่มีอยู่เป็นส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณด้วยสามัญสำนึกให้ตั้งอยู่กับสมาธิ มีสติ และสัมปชัญญะขณะปฏิบัติหน้าที่ S = Scan/Security หมายถึง ปฏิบัติงานที่มีจิตใจมั่นคงในการปฏิบัติงานรู้ตนเองเสมอสามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีสติ สัมปชัญญะ P = Plan หมายถึง ศึกษาและวางแผนงานให้รัดกุมทำการทบทวนขั้นตอนก่อนการปฏิบัติ พร้อมกับศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี P = Practice หมายถึง มีการกำหนดเป้าหมายงานที่ชัดเจน มีการประชุมวางแผนปฏิบัติงาน รับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์
The objectives of this dissertation were as follows; 1) to study the risk security in duty performance, 2) to study the principles of Buddhism regarding the risk security in duty performance, 3) to integrate the risk security in duty performance according to the principles of Buddhism, and 4) to present guidelines and knowledge regarding risk security in duty performance according to Buddhist principles. The mixed research methodology between the quantitative method and the qualitative method was used. The type of research is Research and Development or R&D. The data were collected by questionnaires, in-depth interviews with 9 experts and focus group discussions with 10 key-informants. The results of research were found that: 1. In risk security in duty performance, the electrical duty officers followed the Buddhist principles at a high level in their operation planning. In details, the highest level was on operation meeting and planning, followed by work targeting, and cooperation with other units respectively. In duty performance, the risk security in duty performance according to Buddhist principles was at a high level. Sorting by the mean value, the highest level was on carefulness while doing the duty, followed by doing work as assigned, and group discussion for the feedback. 2. The risk security in duty performance according to Buddhist principles, mindfulness clear comprehension has the highest mean because they directly result to the work efficiency. Carefulness has the highest mean because it creates awareness of dangers to oneself and others at all time. According to the experts, the precepts help work operators keep in order and to be mindful on work, equipment, body, mind, plan, and situation. When the work operators have precepts or order, they will have mindfulness and concentration on duty performance based on wisdom. 3. The risk security in duty performance integrated with the Buddhist principles consists of precept, concentration, mindfulness and clear comprehension, and carefulness. Precepts are discipline in living a life. While doing the duty performance, mindfulness and clear comprehension integrated with skills in planning and work operation can help fix the mind concentrating on the work, and mindfulness and clear comprehension creates carefulness in the work process from beginning until the end. Skills, knowledge and work experiences without mindfulness and carefulness can cause accidents and unsatisfying results. 4. The model of integrated model of risk security in duty performance according to the Buddhist principles is HSPP Security Watch MODEL, consisting of Heedfulness/Heart, Scan/Security, Plan, and Practice.