Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการให้ทาน 2) เพื่อศึกษาการให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า : ทาน คือการให้ การให้ธรรมะเป็นทาน การแบ่งปันสิ่งที่เป็นวัตถุและ สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุแก่สรรพสัตว์ เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์ ตอบแทนและบูชาคุณ ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน รวมถึงการให้อภัยด้วยลักษณะของทานมี 3 อย่าง 1) จาคเจตนาทาน 2) วิรัติทาน 3) ไทยธรรมทาน ประเภทของทานมี 3 ประเภท 1) แบ่งตามเจตนา 2) แบ่งตามทายก 3) แบ่งตามวัตถุ และมีวิธีการให้ที่ถูกต้องซึ่งประกอบไปด้วย 1) วัตถุทาน คือต้องเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ มีเจตนาที่บริสุทธิ์มุ่งให้เกิดความดีงาม ใจใสสะอาดทั้งก่อนทำขณะทำหลังทำ 2) อาการของการให้ คือให้ด้วยความศรัทรา ด้วยความเคารพ ตามกาลที่เหมาะสม มีจิตใจอนุเคราะห์เหมาะสมไม่กระทบตนเอง 3) ธรรมทาน คือศิลปวิทยาการความรู้เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิตได้ และการให้ความรู้ที่เป็นธรรมะเพื่อยกจิตใจให้สูงขึ้น ธรรมที่ส่งเสริมในการให้ทานได้แก่ เมตตา ความรักปรารถนาสันติสุขแก่ทุกชีวิต กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สัทธา ความเชื่อบาปบุญ ปัญญา ใช้คิดติตรองด้วยเหตุผล ฉันทะ ความพอใจจาการประเมินคุณค่าของงาน การให้ทานในคัมภีร์วิมานวัตถุ ประกอบไปด้วย 85 เรื่องได้จำแนกลงในลักษณะของทาน 3ประเภท คือ1) จาคเจตนาทาน ประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 85 เรื่องคือ ปีฐวรรค 17 วิมาน จิตตลดาวรรค มี 11 วิมาน ปาริจฉัตตกวรรค มี 10 วิมาน มัญชิฏฐกวรรค มี 12 วิมาน มหารถวรรค 14 วิมาน ปายาสิกวรรค 10 วิมาน สุนิกขิตตวรรค 11 วิมาน 2) วิรัติทาน ประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 17 เรื่อง ปฐมบัติพพตาวิมาน ทุติยปติพพตาวิมาน และลตาวิมาน เป็นต้น 3) ไทยธรรมทานประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 55 เรื่อง ปฐมปีฐวิมาน ทุติยปีฐวิมาน และตติยวิมาน เป็นต้น คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ พบว่าทำให้เกิดศรัทธาความเชื่อมั่นในการทำความดีตามหลักพระพุทธศาสนา มีสัมมาทิฏฐิเกิดปัญญา และมีความสำนึกที่ดีมีหิริโอตตัปปะ ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน การช่วยเหลือแบ่งปัน และการส่งเคราะห์กัน
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการให้ทาน 2) เพื่อศึกษาการให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า : ทาน คือการให้ การให้ธรรมะเป็นทาน การแบ่งปันสิ่งที่เป็นวัตถุและ สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุแก่สรรพสัตว์ เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์ ตอบแทนและบูชาคุณ ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน รวมถึงการให้อภัยด้วยลักษณะของทานมี 3 อย่าง 1) จาคเจตนาทาน 2) วิรัติทาน 3) ไทยธรรมทาน ประเภทของทานมี 3 ประเภท 1) แบ่งตามเจตนา 2) แบ่งตามทายก 3) แบ่งตามวัตถุ และมีวิธีการให้ที่ถูกต้องซึ่งประกอบไปด้วย 1) วัตถุทาน คือต้องเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ มีเจตนาที่บริสุทธิ์มุ่งให้เกิดความดีงาม ใจใสสะอาดทั้งก่อนทำขณะทำหลังทำ 2) อาการของการให้ คือให้ด้วยความศรัทรา ด้วยความเคารพ ตามกาลที่เหมาะสม มีจิตใจอนุเคราะห์เหมาะสมไม่กระทบตนเอง 3) ธรรมทาน คือศิลปวิทยาการความรู้เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิตได้ และการให้ความรู้ที่เป็นธรรมะเพื่อยกจิตใจให้สูงขึ้น ธรรมที่ส่งเสริมในการให้ทานได้แก่ เมตตา ความรักปรารถนาสันติสุขแก่ทุกชีวิต กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สัทธา ความเชื่อบาปบุญ ปัญญา ใช้คิดติตรองด้วยเหตุผล ฉันทะ ความพอใจจาการประเมินคุณค่าของงาน การให้ทานในคัมภีร์วิมานวัตถุ ประกอบไปด้วย 85 เรื่องได้จำแนกลงในลักษณะของทาน 3ประเภท คือ1) จาคเจตนาทาน ประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 85 เรื่องคือ ปีฐวรรค 17 วิมาน จิตตลดาวรรค มี 11 วิมาน ปาริจฉัตตกวรรค มี 10 วิมาน มัญชิฏฐกวรรค มี 12 วิมาน มหารถวรรค 14 วิมาน ปายาสิกวรรค 10 วิมาน สุนิกขิตตวรรค 11 วิมาน 2) วิรัติทาน ประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 17 เรื่อง ปฐมบัติพพตาวิมาน ทุติยปติพพตาวิมาน และลตาวิมาน เป็นต้น 3) ไทยธรรมทานประกอบไปด้วยวิมานวัตถุ 55 เรื่อง ปฐมปีฐวิมาน ทุติยปีฐวิมาน และตติยวิมาน เป็นต้น คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ พบว่าทำให้เกิดศรัทธาความเชื่อมั่นในการทำความดีตามหลักพระพุทธศาสนา มีสัมมาทิฏฐิเกิดปัญญา และมีความสำนึกที่ดีมีหิริโอตตัปปะ ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน การช่วยเหลือแบ่งปัน และการส่งเคราะห์กัน
The objectives of this thesis were: 1) to study the concept of Dana or giving, 2) to study the Dana or giving as depicted in the text of Vimanvatthu, and 3) to analyze Dana as depicted in the Vimānavạtthu. The data of this qualitative study were collected from Tipitaka, Commentaries, the related documents and interviews. The data were analyzed and presented in a descriptive method. The results of study were found as follows: 1. Dana refers to giving, teaching Dhamma, sharing material things and non material things with kindness, helpfulness, reward and worship without expecting anything in return including forgiveness. There are 3 kinds of Dana: 1) Intentional Dana, 2) Viratti Dana, and 3) Material Dana. There are 3 types of Dana divided according to giving intention, the givers, and the objects and methods of giving. For the objects of giving, it consists of: 1) the dana object must be pure alms, with pure intentions aiming for goodness and clean mind before giving, while giving, and after giving. 2) The attitude of giving is to give with faith, respect, at the appropriate time, and having a compassionate mind. 3) Dhamma Dana is knowledge and skills that can be applied in living a life and can raise the mind higher and higher. The virtues that promote Dana are loving kindness, compassion, faith, wisdom and satisfaction or Chanda. 2. Dana in the Vimanavatthu consists of 85 items which can be classified into 3 types of alms : 1) Cagacetana Dana, consisting of 85 items, namely 17 Vimanas in Pithavagga, 11 Vimanas in Cittaladavagga, 10 Vimanas in Paricachattakavagga, 12 Vimanas in Manjitthakavagga, 14 Vimanas in Maharathavagga, 10 Vimanas in Payasikavagga, and 11 Vimanas in Sunikakhittavagga, 2) Viratti Dana, consisting of 17 items, such as Pathama Pattibbata Vimana, Dutiya Patibbata Vimana, Lata Vimana. 3) Deyadhamma Dana consists of 55 items, such as Pathama Pitha Vimana, Dutiya Pitha Vimana, Tatiya Vimana. 3. The value and virtue of giving alms as shown in the text of Vimanavatthu indicated that it created faith and confidence in doing good deeds according to the principles of Buddhism, having right view, and wisdom. Having a good sense of virtue makes society peaceful, creates friendship, and helps to share and reconciliation.