Search results

2 results in 0.04s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ 3) บูรณาการการส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 5 รูป/คนกลุ่มข้าราชการ 5 คน กลุ่มนักวิชาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2 คน รวมจำนวน 17 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ เน้นส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทางกายภาพเพื่อความเจริญเติบโตพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทางการค้า ทางการเมืองมากกว่า ส่วนด้านจิตใจควรมีการส่งเสริมหลักพุทธปรัชญาเถรวาทให้เด่นชัด 2) หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาส่งเสริม เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริงทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา 3) การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทบูรณาการกันได้ดังนี้(1) ศีล ส่งเสริมความมั่นคง (2) สมาธิ ส่งเสริมความมั่งคั่ง และ (3) ปัญญา ส่งเสริมความยั่งยืน 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยนี้ เรียกว่า “PAU MODEL” ซึ่งได้แก่ (1) ส่งเสริมความมั่นคงด้วย Precept คือ ความเป็นพื้นฐานแห่งคุณงามความดี ความเป็นปกติของมนุษย์ทั่วไปและข้อห้าม กฎระเบียบของสังคม (2) ส่งเสริมความมั่งคั่ง ด้วย Attention คือ ความสงบร่มเย็นของจิตใจทำให้สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนด้วย Understanding คือ ความรอบรู้ในการดำเนินชีวิตรวมถึงความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และความฉลาดเฉียบแหลมในหนทางที่จะสร้างความเจริญได้อย่างยั่งยืน
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ 3) บูรณาการการส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 5 รูป/คนกลุ่มข้าราชการ 5 คน กลุ่มนักวิชาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2 คน รวมจำนวน 17 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ เน้นส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทางกายภาพเพื่อความเจริญเติบโตพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทางการค้า ทางการเมืองมากกว่า ส่วนด้านจิตใจควรมีการส่งเสริมหลักพุทธปรัชญาเถรวาทให้เด่นชัด 2) หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาส่งเสริม เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริงทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา 3) การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทบูรณาการกันได้ดังนี้(1) ศีล ส่งเสริมความมั่นคง (2) สมาธิ ส่งเสริมความมั่งคั่ง และ (3) ปัญญา ส่งเสริมความยั่งยืน 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยนี้ เรียกว่า “PAU MODEL” ซึ่งได้แก่ (1) ส่งเสริมความมั่นคงด้วย Precept คือ ความเป็นพื้นฐานแห่งคุณงามความดี ความเป็นปกติของมนุษย์ทั่วไปและข้อห้าม กฎระเบียบของสังคม (2) ส่งเสริมความมั่งคั่ง ด้วย Attention คือ ความสงบร่มเย็นของจิตใจทำให้สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนด้วย Understanding คือ ความรอบรู้ในการดำเนินชีวิตรวมถึงความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และความฉลาดเฉียบแหลมในหนทางที่จะสร้างความเจริญได้อย่างยั่งยืน
The objectives of this Dissertation are: 1) to study the vision in National Strategies in Stability, Prosperity, and Sustainability, 2) to study Buddhist philosophy which promotes vision in national strategy, 3) to integrate the promotion of vision in national strategy with Theravăda Buddhist philosophy, and 4) to present new knowledge on “Promotion of vision in National strategy according to Theravăda Buddhist Philosophy”. The research is a qualitative research and the data were collected by in-depth interviews with 5 Buddhist scholars, 5 civil servants, 5 scholars of the National Strategic Plan, and 2 experts in 20 Years National Strategic Planning. The data were analyzed by content analysis and the results of synthesis contents were presented in descriptive method. The results showed that: 1) A vision in National Strategies was focused on promoting Physical stability, Prosperity and Sustainability for growth and development in Economics, Society and Politics more than mental development. Mental development should be promoted by Theravăda Buddhist philosophy. 2) The principles of Theravăda Buddhist philosophy to promote Stability, Prosperity and Sustainability of materials and mind are Sila, Samadhi and Panna. 3) Integration to promotion of vision in national strategy according to Theravăda Buddhist philosophy can be done as follows: (1) Stability is promoted by Precepts, (2) Prosperity is promoted by Attention, and (3) Sustainability is promoted by Understanding. 4) A new body of knowledge gained from this research is called “PAU MODEL”, which is (1) promotion Stability with Precept namely the foundation of virtue, common humanity, laws and regulations of society, (2) promotion Prosperity with Attention namely peace of mind enabling creative thinking and concentration to the goals set, and (3) promotion Sustainability with Understanding namely knowledge of lifestyle, and knowledge of transference of the world situation and geniuses in creating sustainable prosperity.
หนังสือ

    รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก ทุนสนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนานักวิจัยของ "คณะศาสนาและปรัชญา" สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2563
Note: รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก ทุนสนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนานักวิจัยของ "คณะศาสนาและปรัชญา" สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2563