Search results

1 results in 0.05s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทศชาติชาดก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์ศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก ผลการวิจัย พบว่า 1) ทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในพระชาติต่าง ๆ เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เพื่อทรงบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ เพื่อเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหนุนนำให้ได้บรรลุซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองกิเลสกองทุกข์ทั้งปวง 2) ความประพฤติที่จัดเป็นความดีที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายกุศล สามารถนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ความประพฤติที่จัดเป็นความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายอกุศล สามารถนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ซึ่งเกณฑ์ที่นำมาตัดสินความดี-ความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นเป็นเกณฑ์ตัดสินทางจริยศาสตร์ของกลุ่มสัมบูรณนิยม กลุ่มปฏิบัตินิยม กลุ่มประโยชน์นิยม และเกณฑ์ตัดสินในทางพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายของชีวิตที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นมีประโยชน์ 3 ด้าน คือ ประโยชน์เพื่อตนเอง อันได้แก่ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์อย่างสูงสุดคือพระนิพพาน ประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ สามารถสร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ผู้อื่นทั้งทางกายและทางจิตใจ และประโยชน์เพื่อส่วนรวมและสังคม คือ สามารถสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมได้ 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก เป็นคุณค่าที่มีต่อจิตใจ คุณค่าที่มีต่อการดำเนินชีวิต คุณค่าที่มีต่อสังคม และคุณค่าที่มีต่อการปฏิบัติธรรม เป็นคุณค่าที่สร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ตนเอง ให้แก่คนอื่น และให้แก่สังคมส่วนรวม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทศชาติชาดก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์ศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก ผลการวิจัย พบว่า 1) ทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในพระชาติต่าง ๆ เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เพื่อทรงบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ เพื่อเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหนุนนำให้ได้บรรลุซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองกิเลสกองทุกข์ทั้งปวง 2) ความประพฤติที่จัดเป็นความดีที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายกุศล สามารถนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ความประพฤติที่จัดเป็นความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายอกุศล สามารถนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ซึ่งเกณฑ์ที่นำมาตัดสินความดี-ความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นเป็นเกณฑ์ตัดสินทางจริยศาสตร์ของกลุ่มสัมบูรณนิยม กลุ่มปฏิบัตินิยม กลุ่มประโยชน์นิยม และเกณฑ์ตัดสินในทางพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายของชีวิตที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นมีประโยชน์ 3 ด้าน คือ ประโยชน์เพื่อตนเอง อันได้แก่ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์อย่างสูงสุดคือพระนิพพาน ประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ สามารถสร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ผู้อื่นทั้งทางกายและทางจิตใจ และประโยชน์เพื่อส่วนรวมและสังคม คือ สามารถสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมได้ 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก เป็นคุณค่าที่มีต่อจิตใจ คุณค่าที่มีต่อการดำเนินชีวิต คุณค่าที่มีต่อสังคม และคุณค่าที่มีต่อการปฏิบัติธรรม เป็นคุณค่าที่สร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ตนเอง ให้แก่คนอื่น และให้แก่สังคมส่วนรวม
The purposes of this thesis include; 1) to study the ten birth-stories of the Buddha, 2) to study the ethical concepts in the ten birth-stories of the Buddha, and 3) to analyze the values of the ethical concepts in the ten birth-stories of the Buddha. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, books, and research works related. Research results were found that: 1) The ten birth-stories of the Buddha retell the past lives of the Buddha when he was still a Bodhisattva who was born either a human or a deva in order to perform meritorious acts which could help him reach his ultimate goal and become the Buddha in his final life to teach all beings to free themselves from desires and sufferings. 2) The good actions found in those stories are the wholesome that can bring benefits and happiness to practitioners, others and society as well. Meanwhile, the evil deeds in the stories are considered unwholesome because they can bring sufferings and troubles to the doers, others and society. The good deeds and the bad deeds in the ten birth-stories of the Buddha were decided by the ethical criteria set by the groups of absolutism, pragmatism, utilitarianism, and Buddhism. There are 3 types of benefits in the life goals found in the ten birth-stories of the Buddha; 1) benefits to oneself in the present life, in the following lifetimes, and the supreme benefit or achieving enlightenment; 2) benefits to other people in both physical and mental ways; and 3) public benefits referring to creating peace and happiness to community and society. 3) The ethical values in the ten birth-stories of the Buddha are for mentality, living a life, society and Dhamma practicing. These values can build and bring benefits and happiness to oneself, others and society.