Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มี พรรษา ตำแหน่งการปกครอง วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค์และข้อเสนอแนะ ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 556 รูป กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างคือ พระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช หาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamaneที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 139 รูป และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1)บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัด นครศรีธรรมราชโดย รวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน ส่วนด้านการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาลดละเลิกสิ่งเสพติดและอบายมุข มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ 2)แสดงผลการเปรียบเทียบบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการ ศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า พระสังฆาธิการที่มี พรรษา ตำแหน่งการปกครอง วุฒิการศึกษาสายสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)การศึกษาข้อมูลสัมภาษณ์ พบว่า การบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ในโรงเรียนเป็นการจัดการศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล หรืออุดหนุนจุนเจือช่วยเหลือ ด้านการศึกษาอื่นนอกจากการศาสนศึกษา หรือสถาบันอื่น หรือบุคคลอื่นผู้กำลังศึกษา เล่าเรียนอยู่ด้วยทุนและปัจจัยต่างๆนับเป็นงานที่พระสงฆ์มีโอกาสได้พัฒนาชาติบ้านเมืองโดยแท้เพราะการสงเคราะห์การศึกษาอื่นที่เจ้าคณะ เจ้าอาวาส และพระภิกษุทั่วไป จัดการสงเคราะห์เป็น การส่วนตัวหรือเป็นรูปคณะสงฆ์ ได้อีกหลายรูปแบบ ได้แก่ จัดตั้งทุนสงเคราะห์การศึกษา ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา การช่วยพัฒนาสถานศึกษา การช่วยจัดหาอุปกรณ์การศึกษา ช่วยเฉพาะบุคคลกําลังศึกษา เป็นต้น
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มี พรรษา ตำแหน่งการปกครอง วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค์และข้อเสนอแนะ ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 556 รูป กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างคือ พระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช หาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamaneที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 139 รูป และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1)บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัด นครศรีธรรมราชโดย รวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน ส่วนด้านการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาลดละเลิกสิ่งเสพติดและอบายมุข มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ 2)แสดงผลการเปรียบเทียบบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการด้านการ ศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า พระสังฆาธิการที่มี พรรษา ตำแหน่งการปกครอง วุฒิการศึกษาสายสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)การศึกษาข้อมูลสัมภาษณ์ พบว่า การบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ในโรงเรียนเป็นการจัดการศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล หรืออุดหนุนจุนเจือช่วยเหลือ ด้านการศึกษาอื่นนอกจากการศาสนศึกษา หรือสถาบันอื่น หรือบุคคลอื่นผู้กำลังศึกษา เล่าเรียนอยู่ด้วยทุนและปัจจัยต่างๆนับเป็นงานที่พระสงฆ์มีโอกาสได้พัฒนาชาติบ้านเมืองโดยแท้เพราะการสงเคราะห์การศึกษาอื่นที่เจ้าคณะ เจ้าอาวาส และพระภิกษุทั่วไป จัดการสงเคราะห์เป็น การส่วนตัวหรือเป็นรูปคณะสงฆ์ ได้อีกหลายรูปแบบ ได้แก่ จัดตั้งทุนสงเคราะห์การศึกษา ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา การช่วยพัฒนาสถานศึกษา การช่วยจัดหาอุปกรณ์การศึกษา ช่วยเฉพาะบุคคลกําลังศึกษา เป็นต้น
The objectives of this thesis were as follows : 1) To study the role in Sangha’s affairs administration of administrative monks on education welfare in Nakhon Si Thammarat province. 2) To compare the role in Sangha’s affairs administration of administrative monks on education welfare in Nakhon Si Thammarat province in terms of period of monkhood, ruling position, formal education and degrees of Dhamma study as differently. 3) To study the guideline for the role in Sangha’s affairs administration of administrative monks on education welfare in Nakhon Si Thammarat province. The population were composed of ecclesiastics monks in Nakhon Si Thammarat province totally 556 persons, sample size according to the table of Taro Yamane at reliability at 95%, got the sample at the number of 139 persons, and qualitative research by in-depth interview from seven informants, The statistics were analyzed as follows, frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t–test, and F-test. The results reveal that 1)The role in Sangha’s affairs administration of administrative monks on education welfare in Nakhon Si Thammarat province by overviews in four aspects are at high level, while consider in each aspects from more to less find that the aspect of administration is the highest mean and follow up the aspect of education welfare and the aspect of temple development for educational center is the lowest mean. 2)The comparative result of the role in Sangha’s affairs administration of administrative monks on education welfare in Nakhon Si Thammarat province adminis-trative monks in Nakhon Si Thammarat province (Dhammayut) in terms of period of monkhood, ruling position, formal education and degrees of Dhamma study by overviews find that there are not different as statistically significance at .05. 3)The suggestion from interviews reveal that the administration in the aspect of education welfare is to study for helping not for religious study only but for others also i.e. all monks they work as country development in the aspect of educa-tion by Sanggha or own self either education for primary, secondary, high school or higher education and to help for institute or private etc.