Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์ ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย และ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า บทบาทพระสงฆ์ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ชีวิตของพุทธศาสนิกชนผูกพันกับพระสงฆ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระสงฆ์จึงมีบทบาทด้านต่างๆ เพื่อเกื้อกูลต่อชุมชน ดังนี้ ๑) บทบาทด้านการศึกษา ๒) บทบาทด้านการเผยแผ่ ๓) บทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ ๔) บทบาทด้านการพัฒนาจิตใจ ๕) บทบาทด้านสืบสานวัฒนธรรม และ ๖) บทบาทด้านส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บทบาทในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ไทยนั้น พบว่า ดำเนินการอนุรักษ์ใน ๒ ลักษณะ คือ การอนุรักษ์โดยตรง ได้แก่ การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ อากาศ ฯลฯ ซึ่งมีบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามพรากของเขียวหรือต้นไม้ ห้ามบ้วนนำลายลงในน้ำ ห้ามขุดดิน เป็นต้น และการอนุรักษ์โดยอ้อม ได้แก่ การอยู่ตามธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัย โดยอาศัยธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ฯลฯ เป็นสถานที่สัปปายะในการปฏิบัติธรรม ผลการวิเคราะห์บทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย พบว่า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ไทยนั้น ยึดหลักการใช้สอยอย่างประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย โดยเน้นการทำลายน้อยที่สุด แต่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับน้ำเน่าเสีย ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาเกี่ยวกับการทำลายทรัพยากรป่าไม้ของสิ่งสิ่งแวดล้อมให้หมดไป ถ้าสิ่งแวดล้อมอยู่ในความสมดุล ความบริสุทธิ์สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็จะเกื้อกูลและก่อประโยชน์ร่วมกัน
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์ ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย และ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า บทบาทพระสงฆ์ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ชีวิตของพุทธศาสนิกชนผูกพันกับพระสงฆ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระสงฆ์จึงมีบทบาทด้านต่างๆ เพื่อเกื้อกูลต่อชุมชน ดังนี้ ๑) บทบาทด้านการศึกษา ๒) บทบาทด้านการเผยแผ่ ๓) บทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ ๔) บทบาทด้านการพัฒนาจิตใจ ๕) บทบาทด้านสืบสานวัฒนธรรม และ ๖) บทบาทด้านส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บทบาทในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ไทยนั้น พบว่า ดำเนินการอนุรักษ์ใน ๒ ลักษณะ คือ การอนุรักษ์โดยตรง ได้แก่ การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ อากาศ ฯลฯ ซึ่งมีบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามพรากของเขียวหรือต้นไม้ ห้ามบ้วนนำลายลงในน้ำ ห้ามขุดดิน เป็นต้น และการอนุรักษ์โดยอ้อม ได้แก่ การอยู่ตามธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัย โดยอาศัยธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ฯลฯ เป็นสถานที่สัปปายะในการปฏิบัติธรรม ผลการวิเคราะห์บทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย พบว่า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ไทยนั้น ยึดหลักการใช้สอยอย่างประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย โดยเน้นการทำลายน้อยที่สุด แต่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับน้ำเน่าเสีย ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาเกี่ยวกับการทำลายทรัพยากรป่าไม้ของสิ่งสิ่งแวดล้อมให้หมดไป ถ้าสิ่งแวดล้อมอยู่ในความสมดุล ความบริสุทธิ์สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็จะเกื้อกูลและก่อประโยชน์ร่วมกัน
The objectives of this thesis were: 1) to study the role of Buddhist monks, 2) to study the role of environmental protection of Thai monks according to Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the role of environmental protection of Thai monks according to Theravada Buddhist philosophy. The data were mainly collected from the Tipitaka, books, magazines, documents, commentaries and related research works. The results of the research were found that: The role of monks is considered as the center of Buddhist mind. The life of Buddhists is bound to the monks in some way. Monks have different roles. 1) Educational role 2) Role of propagation 3) Role in social work 4) Role in mental development 5) Role in cultural heritage and 6) Role in promoting and preserving the environment. The role of conservationists in the conservation of the environment is to conserve the environment, such as forests, rivers, air, etc., which prescribe conservation of greenery or trees. Do not put the stripes into the water, do not dig the soil, etc., and indirect conservation, including natural dependency. By nature, such as forests, etc., is a place to practice meditation. To analyze the role of environmental protection in the Buddhist philosophy of Theravada Buddhist monks in Thailand. The principle of economical use is not superfluous. With minimal emphasis on destruction but most beneficial. To eliminate the problem of rotten water, air pollution and the problems of forest resource destruction of the environment. If the environment is in balance. Natural brightness all human beings and all living things will support and contribute together.