Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแกน้อยศึกษา ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อหาแนวทางการจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแกน้อยศึกษา ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครูปฏิบัติการ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กรอบการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า : สภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้ ที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดของโรงเรียนแกน้อยศึกษา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นปัญหาต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ คือ 1) การจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานของสถานศึกษายังไม่มีความชัดเจน ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้เป็นประเด็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แนวทางการจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนแกน้อยศึกษา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีแนวทางดังนี้ 1) แนวทางการศึกษาบริบทการจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน และ 2) แนวทางการการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน ประกอบด้วย กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาแม่และวัฒนธรรมของนักเรียนเป็นพื้นฐานและสื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และเชื่อมโยงสู่ภาษาและวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นระบบ ซึ่งตรงตามเป้าหมายของหลักสูตรการเรียนการสอนแบบทวิภาษา
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแกน้อยศึกษา ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อหาแนวทางการจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแกน้อยศึกษา ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครูปฏิบัติการ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กรอบการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า : สภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้ ที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดของโรงเรียนแกน้อยศึกษา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นปัญหาต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ คือ 1) การจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานของสถานศึกษายังไม่มีความชัดเจน ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้เป็นประเด็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แนวทางการจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนแกน้อยศึกษา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีแนวทางดังนี้ 1) แนวทางการศึกษาบริบทการจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน และ 2) แนวทางการการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน ประกอบด้วย กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาแม่และวัฒนธรรมของนักเรียนเป็นพื้นฐานและสื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และเชื่อมโยงสู่ภาษาและวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นระบบ ซึ่งตรงตามเป้าหมายของหลักสูตรการเรียนการสอนแบบทวิภาษา
The objectives of this research were : 1) to study educational management conditions of grade 1 to grade 3 students at Kaenoisuksa School and 2) to find guidelines for the educational management of multilingual concepts based on the mother tongue languages of grade 1 to grade 3 students at Kaenoisuksa School, Mueang Na Sub-District, Chiang Dao District, Chiang Mai Province. The key informants consisted of a school director, a deputy director and 7 teachers. The tools were interview and focus group discussion then a content analysis and a descriptive presentation were used. The findings were as follows : The weaknesses and limitations of educational management of Kaenoisuksa School consisted of 6 issues. Especially the problematic issue for educational management was education management of the multilingual concept based on the mother tongue language. The management was still unclear and should be resolved urgently. Guidelines for education management of multilingual concepts based on the mother tongue languages for the students were: 1) A study of the context of education management of multilingual concepts based on the mother tongue languages; 2) the approach for learning management of the concept based on the mother tongue language consisted of the process of learning management using the mother tongue and student culture as the basis and the learning medias to develop thinking skills and to systematically link to Thai language and culture. These guidelines meet the objectives of the bilingual curriculum.