Search results

76 results in 0.06s

หนังสือ

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ส่วนที่ 1 ทำเนียบพระธรรมทูต รุ่นที่ 24/2561
  • ส่วนที่ 2 สาระธรรม
  • ส่วนที่ 3 ระเบียบสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) และทำเนียบวัดคณะสงฆ์ะรรมยุตไทยในต่างประเทศ
  • ส่วนที่ 4 ประมวลภาพกิจกรรมพิเศษ
  • ส่วนที่ 5 กิจกรรมการงฝึกอบรมพระธรรมทูต รุ่นที่ 24/2561
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ส่วนที่ 1 ทำเนียบพระธรรมทูต รุ่นที่ 25/2562
  • ส่วนที่ 2 สาระธรรม
  • ส่วนที่ 3 ระเบียบสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
  • ส่วนที่ 4 กิจกรรมการฝึกอบรมพระธรรมทูต รุ่นที่ 25/2562
  • ส่วนที่ 5 อนุโมทนา
หนังสือ

    วิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
Note: วิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออกไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง 2) พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการนั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี 3) พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรองได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออกไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง 2) พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการนั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี 3) พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรองได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
The thesis entitled “An Analytical Study of the Buddha’s Tasks for Propagating Buddhism in Savatthi" served the purposes: 1) to study the Buddha’s tasks of five duties as a daily routine, 2) to study his tasks for propagating Buddhism in the city called Savatthi, and 3) to analyze values of his tasks for propagating Buddhism in the preceding city. It was derived from the documentary research, collecting data from such secondary sources as the Tipitaka, commentaries, canonical texts, academic articles, and relevant researches. Collected data were brought to analyze and results were subsequently summarized to present findings. Results of research have found the following findings: 1) It was obvious that The Buddha highly succeeded in propagating Buddhism by laying firm foundations for propagating his faith through regular five duties as his daily routines, for he was determined with his clear purposes in propagating it. His tasks were well planned systematically and effectively in various domains like managements of time, personnel and organizations. He concurrently performed his tasks and coped with them harmoniously. That was why Buddhism had become well known and spread to various states of India in those days because it was his great successes of effective managements of his tasks of five daily routines. 2) It was said the Buddha was greatly regarded as monarchs’ and human beings’ great teacher. His tasks of five daily routines for propagating Buddhism was labeled as the priceless model, which we could harmoniously apply the model, methods and rule of his dharma as our refuge to leading our everyday life. To follow the Buddha’s footsteps, it brought about one’s effectiveness of the job and ways of their daily life to be smooth, disciplined, which enabled them to develop their mind and address their problems by peaceful means. 3) As far as the Buddha’s tasks for propagating Buddhism in the city called Savatthi were concerned, he was absolutely successful. It was the result of his duty performances in such many fields as propagation, managements and administration of Sangha Order. In one aspect, the Buddha managed his time excellently by undertaking his daily routines as the main task together with other ones. In other words, the Buddha coped with his main tasks and secondary ones appropriately, culminating in his effective and efficient propagation of Buddhism in the city called Savatthi, As a result, there were a number of four Buddhist adherents attaining arahantship in Savatthai to the extent that it was labelled ‘Savatthi, the City of Arahants’. In fact, it had become the centre of propagating Buddhism in those days.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า : หลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ ละชั่ว ทำดี ทำให้ใจให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 คือ อดทนอดกลั้น ไม่เบียดเบียน สงบสันติ และนิพพาน วิธีการ 6 คือ ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมระวังในศีล รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในสถานที่อันสงบ และชำระจิตให้มีคุณภาพ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 นี้ เป็นสาระสำคัญอันยิ่งยวดของหลักการเผยแผ่พุทธศาสนา เพราะเป็นหลักการที่ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นท่าทีอันเป็นรูปแบบของการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท หลักการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ใช้หลักกถาวัตถุ 10 คือ เป็นผู้มักน้อย มีปกติสันโดษ ชอบสถานที่สงัดวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้ง 10 นี้ เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระปุณณมันตานีบุตรที่สอนศิษย์ในสำนัก 500 รูป เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ศิษย์ในสำนึกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยหลักการสอนอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างไรก็สอนอย่างนั้น เป็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้และความประพฤติที่เรียกว่า วิชชาจรณสัมปันโน รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณะมันตานีบุตรเถระ คือ เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถภาพ สารัตถภาพ นิรุตติภาพ ปฏิภาณภาพ ด้วยวิธีการอธิบายให้เห็นชัดเจน จูงใจให้เห็นจริง ชวนให้ยอมรับและปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้าอุตสาหะ ชโลมใจให้แช่มชื่นไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง ด้วยรูปแบบ การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) ด้วยการถามตอบปัญหา (ธัมมฉากัจฉา) ด้วยการอบรมสั่งสอน (โอวาท) ด้วยการกล่าวคาถา (คาถา)
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า : หลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ ละชั่ว ทำดี ทำให้ใจให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 คือ อดทนอดกลั้น ไม่เบียดเบียน สงบสันติ และนิพพาน วิธีการ 6 คือ ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมระวังในศีล รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในสถานที่อันสงบ และชำระจิตให้มีคุณภาพ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 นี้ เป็นสาระสำคัญอันยิ่งยวดของหลักการเผยแผ่พุทธศาสนา เพราะเป็นหลักการที่ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นท่าทีอันเป็นรูปแบบของการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท หลักการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ใช้หลักกถาวัตถุ 10 คือ เป็นผู้มักน้อย มีปกติสันโดษ ชอบสถานที่สงัดวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้ง 10 นี้ เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระปุณณมันตานีบุตรที่สอนศิษย์ในสำนัก 500 รูป เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ศิษย์ในสำนึกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยหลักการสอนอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างไรก็สอนอย่างนั้น เป็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้และความประพฤติที่เรียกว่า วิชชาจรณสัมปันโน รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณะมันตานีบุตรเถระ คือ เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถภาพ สารัตถภาพ นิรุตติภาพ ปฏิภาณภาพ ด้วยวิธีการอธิบายให้เห็นชัดเจน จูงใจให้เห็นจริง ชวนให้ยอมรับและปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้าอุตสาหะ ชโลมใจให้แช่มชื่นไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง ด้วยรูปแบบ การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) ด้วยการถามตอบปัญหา (ธัมมฉากัจฉา) ด้วยการอบรมสั่งสอน (โอวาท) ด้วยการกล่าวคาถา (คาถา)
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the principles of Dharma propagation of Theravada Buddhism 2) to study the propagation of Dharma of Phra Punnamantaniputta Thera and 3) Study and analyze the propagation of the Dharma of Phra Punnamantaniputta Thera. The researcher collected and studied from Tripitaka, commentary, textbooks and related researches, and analyzed the contents by the Deductive form. The results of research were found that: Principles of Dharma propagation of Theravada Buddhism consisting of Principle 3 is Evil, Do Good, Make your heart shine. Ideology 4 is tolerance, tolerance, non-persecution, peace and nirvana Method 6 is not to say badly, not to hurt, to be careful in the precepts. Know about food consumption in a peaceful place and pay attention to quality. Principle 3, ideology 4, method 6, this is a great essence of Buddhism propagation principles because it is the principle that appears clearly in the Tripitaka, which is considered as a form of propagation of Theravada Buddhism. Principles of Dharma propagation of Phra Punnamantaniputta Use the principle of the 10 objects, which are usually small, normal, solitary, like being quiet, not being confused with the group. Foreword, perseverance, complete with canon, meditation, wit, liberation, liberation perception, Tuscany these 10 teachings and practices How to teach How to teach it. All 10 of these are the doctrines and practices of Phra Punnamantaniputta. Who teaches 500 disciple. Is a form of teaching that gives disciples in a strict sense of practice with the principle of teaching how to do that How to teach it Is the perfection of knowledge and behavior called The propagation of Dharma of Phra Punnamantaniputta is a master of wisdom. On the issue, In essence, In language, In wisdom With clear explanations Convince the truth Persuade to accept and practice Inspiring to be brave Feeling cheerful, not bored and full of hope. With a form of Dhamma (sermon) with questions and answers (Dhamma conversation) with training (obedience) with a spells (spells)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระ พุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ บรรพชิต 10 รูป ฆราวาส 10 คน (รวม 20 รูป/คน) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า : การเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยพระองค์เอง ต่อจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสาวกดำเนินเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ หลักประโยชน์ 3 หลักไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกันทั้งตนเองและผู้อื่น โดยพระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่พุทธศาสนิกชนจะได้รับเป็นหลักสำคัญที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธวิธีที่พระองค์ทรงสอนนั้นทรงเลือกใช้พุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลสถานที่กาลและกุศโลบายวิธี เพื่อให้ผู้ที่พระองค์ทรงสอนเกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิตประสบความสงบสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ดำเนินสู่มรรคผล คือ พระนิพพาน หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ มีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจนที่สุด คือ การแสดงธรรมเทศนา เพื่ออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์มีกุศโลบายในการสอนโดยสอดแทรกธรรมะผ่านวัตถุมงคลเรื่องคาถาต่างๆ เป้าหมายของการอบรมภาวนา คือ สอนวิธีทำใจให้สงบ ท่านไม่ได้สอนอะไรมากมายเพียงแต่สอนคนให้ภาวนาได้เท่านั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของใจการภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจต้องให้ใจสงบก่อนจึงจะก้าวสู่วิปัสสนาได้สมถะเป็นเหตุวิปัสสนาเป็นผล ท่านสอนให้เดินจิตให้ชำนาญให้คล่องตัวเกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออก เพื่อเป็นฐานของวิปัสสนาการพิจารณาค้นหาใจตนเองให้พบก่อนเป็นการค้นไปในจิตหากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่ และชำระสะสางออกไปจากจิตใจ ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะบรรยายอธิบายเรื่องทั้งหมดผ่านการแสดงธรรมตามวิธีสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ของพรโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ ไตรสิกขา อันหมายถึง การฝึกพฤติกรรมฝึกจิตใจและฝึกปัญญาผ่านรูปแบบการเจริญภาวนาด้วยทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญาโดยมีแนวทางที่เป็นสายกลาง คือ อริยมรรค มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ท่านได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งที่สร้างศรัทธาให้พุทธบริษัท และพุทธศาสนิกชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบการเผยแผ่ดังกล่าวและกุศโลบายต่างๆ นั้นเพื่อให้ได้เข้าถึงความดีงามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ด้วยตาคือ ผลงานด้านถาวรวัตถุ ทั้งที่แสดงให้เห็นด้วยใจ คือ แรงพลังศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนเข้าได้เข้ารับการอบรมสมาธิภาวนา มีทั้งแสดงให้เห็นด้วยปัญญา คือ หลักธรรมคำสอนที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดอันจะก่อเกิดความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง กล่าวคือมรรคผลนิพพาน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระ พุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ บรรพชิต 10 รูป ฆราวาส 10 คน (รวม 20 รูป/คน) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า : การเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยพระองค์เอง ต่อจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสาวกดำเนินเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ หลักประโยชน์ 3 หลักไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกันทั้งตนเองและผู้อื่น โดยพระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่พุทธศาสนิกชนจะได้รับเป็นหลักสำคัญที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธวิธีที่พระองค์ทรงสอนนั้นทรงเลือกใช้พุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลสถานที่กาลและกุศโลบายวิธี เพื่อให้ผู้ที่พระองค์ทรงสอนเกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิตประสบความสงบสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ดำเนินสู่มรรคผล คือ พระนิพพาน หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ มีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจนที่สุด คือ การแสดงธรรมเทศนา เพื่ออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์มีกุศโลบายในการสอนโดยสอดแทรกธรรมะผ่านวัตถุมงคลเรื่องคาถาต่างๆ เป้าหมายของการอบรมภาวนา คือ สอนวิธีทำใจให้สงบ ท่านไม่ได้สอนอะไรมากมายเพียงแต่สอนคนให้ภาวนาได้เท่านั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของใจการภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจต้องให้ใจสงบก่อนจึงจะก้าวสู่วิปัสสนาได้สมถะเป็นเหตุวิปัสสนาเป็นผล ท่านสอนให้เดินจิตให้ชำนาญให้คล่องตัวเกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออก เพื่อเป็นฐานของวิปัสสนาการพิจารณาค้นหาใจตนเองให้พบก่อนเป็นการค้นไปในจิตหากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่ และชำระสะสางออกไปจากจิตใจ ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะบรรยายอธิบายเรื่องทั้งหมดผ่านการแสดงธรรมตามวิธีสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ของพรโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ ไตรสิกขา อันหมายถึง การฝึกพฤติกรรมฝึกจิตใจและฝึกปัญญาผ่านรูปแบบการเจริญภาวนาด้วยทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญาโดยมีแนวทางที่เป็นสายกลาง คือ อริยมรรค มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ท่านได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งที่สร้างศรัทธาให้พุทธบริษัท และพุทธศาสนิกชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบการเผยแผ่ดังกล่าวและกุศโลบายต่างๆ นั้นเพื่อให้ได้เข้าถึงความดีงามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ด้วยตาคือ ผลงานด้านถาวรวัตถุ ทั้งที่แสดงให้เห็นด้วยใจ คือ แรงพลังศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนเข้าได้เข้ารับการอบรมสมาธิภาวนา มีทั้งแสดงให้เห็นด้วยปัญญา คือ หลักธรรมคำสอนที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดอันจะก่อเกิดความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง กล่าวคือมรรคผลนิพพาน
ตามหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างประโยชน์ที่เกิดกับสังคมและหมู่คณะสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่นอีกด้วย
This research had the objectives to study; 1) Theravada Buddhist propagation, 2) the propagation of Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako), and 3) to analyze the propagation principles of Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako). The researcher collected and studied from text books and related documents including in-depth interview from 10 Buddhist monks and 10 Buddhist laymen. The results were as follows: In the preliminary of Buddhist propagation, the Buddha went to teach and propagate by himself. When he had the disciples, he allowed them to teach and propagated Buddhism till now. The core of Buddhist propagation is Ovada Patimokkha, The Principle of Advantage, Threefold Training, and the Principle of Dependent Origination to cease from all evil, to do what is good, and to purify the mind. The Buddha and his disciples had proper methods to teach the people with the goal to leave from suffering and to reach enlightenment. For Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako), he applied the Buddha’ methods to teach the people with four principle; transparency, motivation, brave, and happiness. He described, discussed, and answered Buddhist principles. The principles that he used to teach were Dhana, Sila, Panya because there were the factors of Anapanasati. Also, it was the way to resolve the problems that brought the happiness and calm. For the analytical of Phrasophonvisutdhikhun’s propagation and teaching, he applied the Principles of Threefold Training, the Eightfold Path to teach the people to reach enlightenment. He acted as the model for the people to strongly believe in Buddhism by builds, Buddhist estates and meditation. He practiced following the Buddha’s teaching for the benefit of the people to relief suffering and reach enlightenment and for the benefit of the Sangha in Khonkaen province.
หนังสือ

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ส่วนที่ 1 ทำเนียบพระธรรมทูตรุ่นที่ 16
  • ส่วนที่ 2 ธรรมะ และนานาสาระ
  • ส่วนที่ 3 กิจกรรม
  • ส่วนที่ 4 ข้อระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับพระธรรมทูตและข้อมูลวัดไทยในต่างประเทศ
  • ส่วนที่ 5 อนุโมทนา
หนังสือ

หนังสือ