Search results

33,640 results in 0.12s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 3) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำนวน 56 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า: 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครู และบุคลากร ด้านการเป็นผู้อำนวยความสะดวก และด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การได้รับการยอมรับนับถือ รองลงมาคือ ความสำเร็จของงาน ความรับผิดชอบ ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน 3. บทบาทของผู้บริหารส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 พบว่า การประเมินผล การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การสร้างแรงจูงใจ และการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 อย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ .05 สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ ในรูปของสมการพยากรณ์คะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ "Y" ̂ =.949** + .250**(X7) + .200* (X3) + .165*(X6) + .143*(X2) "Z" ̂_"y" = .281**(ZX7) + .227* (ZX3) + .191*(ZX6) + .170*(ZX2)
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 3) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำนวน 56 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า: 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครู และบุคลากร ด้านการเป็นผู้อำนวยความสะดวก และด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การได้รับการยอมรับนับถือ รองลงมาคือ ความสำเร็จของงาน ความรับผิดชอบ ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน 3. บทบาทของผู้บริหารส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 พบว่า การประเมินผล การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การสร้างแรงจูงใจ และการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 อย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ .05 สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ ในรูปของสมการพยากรณ์คะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ "Y" ̂ =.949** + .250**(X7) + .200* (X3) + .165*(X6) + .143*(X2) "Z" ̂_"y" = .281**(ZX7) + .227* (ZX3) + .191*(ZX6) + .170*(ZX2)
The objectives of this thesis were: 1) to study the roles of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 32, 2) to study the motivation in duty performance of the teachers under Secondary Educational Service Area Office 32, and 3) to study the roles of the administrators affecting the motivation in duty performance of the teachers under Secondary Educational Service Area Office 32. The data were collected through questionnaire from 280 samples in 56 schools under Secondary Educational Service Area Office 32. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, average, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. The results of research were found that: 1. The role of school administrators under Secondary Educational Service Area Office 32 was at a high level overall. The descending score-order from maximum to minimum started with academic leadership, followed by teacher and personnel promoting and supporting for their development, facilitators, and public relations respectively. 2. The motivation in duty performance of the teachers under Secondary Educational Service Area Office 32 was at a high level totally. The highest level was on acceptability, followed by work achievement, responsibility, and career path progress respectively. 3. The role of administrators affecting the performance motivation of teachers in schools under motivation in duty performance of the teachers under Secondary Educational Service Area Office 32 indicated that evaluation, facilitation, motivation, and participatory management affected the motivation of the teachers in the schools under Secondary Educational Service Area Office 32 with a statistically significant figure at 0.05. The relationship can be written in the form of raw scores forecasting equations and standard scores as follows: "Y" ̂ =.949** + .250**(X7) + .200* (X3) + .165*(X6) + .143*(X2) "Z" ̂_"y" = .281**(ZX7) + .227* (ZX3) + .191*(ZX6) + .170*(ZX2)
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 255
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 255
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางญาณวิทยา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ตามแนวญาณวิทยา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธปฏิมาที่พบรอบองค์พระปฐมเจดีย์มีทั้งสิ้น 80 ปาง และมีจำนวน 67 ปาง ที่มีเอกลักษณ์ในการแสดงพระหัตถ์ที่เรียกว่าการแสดงมุทราตามพุทธประวัติแต่ละตอน จึงทำให้พุทธปฏิมามีท่าทางไม่เหมือนกัน แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะได้เป็นอิริยาบถหลัก ๆ 4 อิริยาบถ คือ อิริยาบถยืน 24 ปาง อิริยาบถเดิน 2 ปาง อิริยาบถนั่ง 37 ปาง อิริยาบถนอน 5 ปาง อาการกิริยาที่เห็นต่างนี้เกิดจากช่างปั้นและช่างหล่อจินตนาการสร้างสรรค์งานตามเนื้อหาของพุทธประวัติ 2) ญาณวิทยา เป็นวิชาที่ว่าด้วยทฤษฎีความรู้ ที่มีขอบข่ายของความรู้กว้างขวางตามแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลายของนักญาณวิทยาหรือนักปรัชญา มีทั้งแนวคิดที่ตรงกันและขัดแย้งกัน สำหรับในบริบทนี้ได้สรุปแนวคิดทฤษฎีออกเป็น 4 ประเด็น คือ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และความสมเหตุสมผลของความรู้ 3) วิเคราะห์คุณค่าพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ตามแนวญาณวิทยาในอิริยาบถ ทั้ง 4 คือ อิริยาบถยืน ได้แก่ ปางโปรดพุทธบิดา อิริยาบถเดิน ได้แก่ ปางจงกรมแก้ว อิริยาบถนั่ง ได้แก่ ปางปฐมเทศนา และอิริยาบถนอน ได้แก่ ปางปรินิพพาน วิเคราะห์ตามขอบข่ายของญาณวิทยาทั้ง 4 ประการ คือ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และความสมเหตุสมผล ของความรู้ คุณค่าของพุทธปฏิมาทั้ง 4 ปาง แสดงให้เห็นถึงบ่อเกิดของความรู้นั้นเกิดขึ้นได้ใน ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็สามารถทำให้เกิดความรู้ได้ ด้านขอบเขตของความรู้ มีตั้งแต่ความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป จนถึงความรู้สูงสุดคือ การหลุดพ้นจากกิเลสด้านธรรมชาติของความรู้นั้นความรู้มีธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์มีความรู้ตั้งแต่การดำเนินชีวิต และความรู้สูงสุดคือ ทำลายความไม่รู้คือ อวิชชาได้ ด้านความสมเหตุสมผลของความรู้นั้นสามารถพิสูจน์ได้ใน ทุกขณะในทุกเวลาไม่ขึ้นอยู่กับกาล ที่เรียกว่า “อกาลิโก” ความรู้ทั้งหลายมีปรากฏอยู่ในพุทธปฏิมา ต้องวิเคราะห์แยกแยะด้วยปัญญา โดยการพิจารณาโดยแยบคายจึงจะเข้าถึงองค์ความรู้ในพุทธปฏิมา
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางญาณวิทยา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ตามแนวญาณวิทยา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธปฏิมาที่พบรอบองค์พระปฐมเจดีย์มีทั้งสิ้น 80 ปาง และมีจำนวน 67 ปาง ที่มีเอกลักษณ์ในการแสดงพระหัตถ์ที่เรียกว่าการแสดงมุทราตามพุทธประวัติแต่ละตอน จึงทำให้พุทธปฏิมามีท่าทางไม่เหมือนกัน แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะได้เป็นอิริยาบถหลัก ๆ 4 อิริยาบถ คือ อิริยาบถยืน 24 ปาง อิริยาบถเดิน 2 ปาง อิริยาบถนั่ง 37 ปาง อิริยาบถนอน 5 ปาง อาการกิริยาที่เห็นต่างนี้เกิดจากช่างปั้นและช่างหล่อจินตนาการสร้างสรรค์งานตามเนื้อหาของพุทธประวัติ 2) ญาณวิทยา เป็นวิชาที่ว่าด้วยทฤษฎีความรู้ ที่มีขอบข่ายของความรู้กว้างขวางตามแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลายของนักญาณวิทยาหรือนักปรัชญา มีทั้งแนวคิดที่ตรงกันและขัดแย้งกัน สำหรับในบริบทนี้ได้สรุปแนวคิดทฤษฎีออกเป็น 4 ประเด็น คือ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และความสมเหตุสมผลของความรู้ 3) วิเคราะห์คุณค่าพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ตามแนวญาณวิทยาในอิริยาบถ ทั้ง 4 คือ อิริยาบถยืน ได้แก่ ปางโปรดพุทธบิดา อิริยาบถเดิน ได้แก่ ปางจงกรมแก้ว อิริยาบถนั่ง ได้แก่ ปางปฐมเทศนา และอิริยาบถนอน ได้แก่ ปางปรินิพพาน วิเคราะห์ตามขอบข่ายของญาณวิทยาทั้ง 4 ประการ คือ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และความสมเหตุสมผล ของความรู้ คุณค่าของพุทธปฏิมาทั้ง 4 ปาง แสดงให้เห็นถึงบ่อเกิดของความรู้นั้นเกิดขึ้นได้ใน ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็สามารถทำให้เกิดความรู้ได้ ด้านขอบเขตของความรู้ มีตั้งแต่ความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป จนถึงความรู้สูงสุดคือ การหลุดพ้นจากกิเลสด้านธรรมชาติของความรู้นั้นความรู้มีธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์มีความรู้ตั้งแต่การดำเนินชีวิต และความรู้สูงสุดคือ ทำลายความไม่รู้คือ อวิชชาได้ ด้านความสมเหตุสมผลของความรู้นั้นสามารถพิสูจน์ได้ใน ทุกขณะในทุกเวลาไม่ขึ้นอยู่กับกาล ที่เรียกว่า “อกาลิโก” ความรู้ทั้งหลายมีปรากฏอยู่ในพุทธปฏิมา ต้องวิเคราะห์แยกแยะด้วยปัญญา โดยการพิจารณาโดยแยบคายจึงจะเข้าถึงองค์ความรู้ในพุทธปฏิมา
The objectives of this thesis are 1) to study the Buddha images around Phra Pathom Chedi, 2) to study the concept of epistemology, and 3) to analyze the values of Buddha images around Phra Pathom Chedi according to the epistemology. The data of this documentary qualitative study were from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The results of the study were shown as follows 1) There are 80 attitudes of the Buddha images around Phra Pathom Chedi and 67 Buddha images have a unique attitude with the hand posture called Mudra. According to the Buddha's history, each episode makes the Buddha image a different posture. But when considering overall, there are 4 postures; 24 standing attitudes, 2 walking attitudes, 37 seated attitudes, and 5 reclining attitudes. These attitudes were created by potters’ or casters’ imagination according to the contents of the Buddha’s life story. 2) Epistemology is the theory of knowledge with a wide range of knowledge according to various theoretical concepts of epistemologists or philosophers. The concepts may be corresponding and contrasting. The theory can be summarized into 4 main points; the source of knowledge, scope of knowledge, nature of knowledge and reasonability of knowledge. 3) Analyze the values of the Buddha images around Phra Pathom Chedi according to the epistemology of the four gestures: Standing posture in Preaching His father, Walking postures in walking meditation, Sitting posture in Preaching the First Sermon, and Reclining posture in entering to Nibbana. The analysis was done in the framework of the four concepts in epistemology; the source of knowledge, the scope of knowledge, the nature of knowledge, and the reasonability of knowledge. The values of the four Buddha image postures show that the origin of knowledge that can be occurred in every posture. The scope of knowledge is varied from the basic knowledge in daily life to the highest knowledge for liberation from passion. The nature of knowledge is from knowledge in living a life to the ultimate knowledge in destroying ignorance. The reasonability of knowledge can be proven at any moment without space and time called Akaliko”. The knowledge embedded in the Buddha images can be achieved by considerably analyzing and synthesizing with wisdom.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1). เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยใช้เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมได้แก่ ประชาคมในครัวเรือนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 480 ครัวเรือนกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่(Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน218 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า (One–Way ANOVA or F–test) และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD. ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านขยะเปียกและขยะแห้ง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านขยะอันตราย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ของประชาชน ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยเรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านขยะแห้งมีความถี่มากที่สุด คือจัดตั้งโครงการนำขยะแห้ง เช่น ขวดพลาสติก กระดาษ แลกกระดาษทิชชู หรือไข่ในหมู่บ้าน รองลงมา ด้านขยะอันตราย คือ การประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับขยะอันตรายและ การจัดตั้งที่จัดเก็บเฉพาะขยะอันตรายในพื้นที่แล้วมีหน่วยงานมาเก็บไป และด้านขยะเปียก มีความถี่น้อยที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์/การให้ความรู้ในการนำเศษอาหารมาเป็นจุลินทรีย์หมักทำปุ๋ย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1). เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยใช้เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมได้แก่ ประชาคมในครัวเรือนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 480 ครัวเรือนกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่(Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน218 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า (One–Way ANOVA or F–test) และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD. ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านขยะเปียกและขยะแห้ง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านขยะอันตราย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ของประชาชน ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยเรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านขยะแห้งมีความถี่มากที่สุด คือจัดตั้งโครงการนำขยะแห้ง เช่น ขวดพลาสติก กระดาษ แลกกระดาษทิชชู หรือไข่ในหมู่บ้าน รองลงมา ด้านขยะอันตราย คือ การประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับขยะอันตรายและ การจัดตั้งที่จัดเก็บเฉพาะขยะอันตรายในพื้นที่แล้วมีหน่วยงานมาเก็บไป และด้านขยะเปียก มีความถี่น้อยที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์/การให้ความรู้ในการนำเศษอาหารมาเป็นจุลินทรีย์หมักทำปุ๋ย
This thematic Paper has the following objectives: 1). to study the household garbage management of people in Ban Uea thon in Songkanong sub-district, Samphran district, Nakhon Pathom province, 1) to compare the household garbage management in Ban Uea Athon in Songkanong sub-district, Samphran district, Nakhon Pathom province of people with different gender, age, education level and occupation, and 3) to study suggestions and guidelines for household garbage management of people in Ban Uea Athon in Songkanong sub-district, Samphran district, Nakhon Pathom province. Out of 480 populations in Ban Uea Athon in Songkanong sub-district, Samphran district, Nakhon Pathom province, 218 samples obtained by using the calculation formula of Taro Yamane were used in the study. The data were collected by closed-ended and open-ended questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test, (One – Way ANOVA or F – test) and testing of the mean scores for each pair using the LSD method (Least Significant Difference). The results of the research were as follows: 1) The household garbage management of people in Ban Uea Athon in Songkanong sub-district, Samphran district, Nakhon Pathom province in 3 areas was at the highest level. In details, the wet and dry waste was at the highest level. The hazardous waste was at the lowest mean. When classified by gender, age, educational level and occupation, it was found that overall mean was the highest. 2) The comparison of household garbage management in Ban Uea Athon in Songkanong sub-district, Samphran district, Nakhon Pathom province of people with different gender, age, education level and occupation was found differently with statistically significant figure at 0.05 level. 3) Suggestions on household waste management in Ban Eua Arthon in Song Khanong Sub-district, Samphran District, Nakhon Pathom Province sorted by descending frequency were as follows: In the dry waste, the dry waste project should be set up. In hazardous waste, people should receive the correct information through community public relations and the hazardous waste should be disposed and kept separately and collected timely. In the wet waste, the people should be publicized and acknowledged to put the wet garbage into microorganisms and compost.