Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นในการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลจากประชาชนตำบลทุ่งน้อย จำนวน 375 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านการประปาตามหลักอิทธิบาท 4 รองลงมาคือ ด้านการคมนาคมตามหลักอิทธิบาท 4 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการไฟฟ้าตามหลักอิทธิบาท 4 ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อมีความคิดเห็นต่อการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านการไฟฟ้าตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเสนอแนะดังนี้ คือ 1) อบต. ควรออกสอบถาม ช่วงหน้าฝน ไฟฟ้า มีปัญหาหรือไม่อย่างไร หรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ดูแลประชาชนในพื้นที่ปกครอง ให้ทุกบ้านมีไฟใช้ ถนนสว่าง 2) อบต. ควรอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ดูแลประชาชนในพื้นที่ปกครอง ให้ทุกบ้านมีไฟใช้ 2) ด้านการประปาตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเสนอแนะดังนี้คือ 1) อบต. ออกสำรวจอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ดูแลประชาชนในพื้นที่ปกครอง ให้ทุกบ้านมีน้ำประปาใช้กันแล้วยัง 2) อบต. ประสานงานการประปา หาน้ำที่สะอาด ให้ประชาชนในพื้นที่ปกครอง ใช้อุปโภคและบริโภค 3) ด้านการคมนาคมตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเสนอแนะดังนี้คือ 1) อบต. ต้องสำรวจความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ปกครอง มีถนนใช้และเข้าถึงทุกครัวเรือนหรือไม่ 2) อบต. ต้องสำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ปกครอง เกี่ยวกับการดูแล บำรุงรักษาให้ถนนอยู่ในสภาพที่เดินทางปลอดภัย หรือให้ประชาชนร่วมช่วยกันดูแล
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นในการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลจากประชาชนตำบลทุ่งน้อย จำนวน 375 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านการประปาตามหลักอิทธิบาท 4 รองลงมาคือ ด้านการคมนาคมตามหลักอิทธิบาท 4 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการไฟฟ้าตามหลักอิทธิบาท 4 ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อมีความคิดเห็นต่อการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปกครองตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านการไฟฟ้าตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเสนอแนะดังนี้ คือ 1) อบต. ควรออกสอบถาม ช่วงหน้าฝน ไฟฟ้า มีปัญหาหรือไม่อย่างไร หรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ดูแลประชาชนในพื้นที่ปกครอง ให้ทุกบ้านมีไฟใช้ ถนนสว่าง 2) อบต. ควรอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ดูแลประชาชนในพื้นที่ปกครอง ให้ทุกบ้านมีไฟใช้ 2) ด้านการประปาตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเสนอแนะดังนี้คือ 1) อบต. ออกสำรวจอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ดูแลประชาชนในพื้นที่ปกครอง ให้ทุกบ้านมีน้ำประปาใช้กันแล้วยัง 2) อบต. ประสานงานการประปา หาน้ำที่สะอาด ให้ประชาชนในพื้นที่ปกครอง ใช้อุปโภคและบริโภค 3) ด้านการคมนาคมตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเสนอแนะดังนี้คือ 1) อบต. ต้องสำรวจความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ปกครอง มีถนนใช้และเข้าถึงทุกครัวเรือนหรือไม่ 2) อบต. ต้องสำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ปกครอง เกี่ยวกับการดูแล บำรุงรักษาให้ถนนอยู่ในสภาพที่เดินทางปลอดภัย หรือให้ประชาชนร่วมช่วยกันดูแล
The objectives of the Thematic were as follows: 1. to study the opinions on governance according to the principles of Iddhipada of Thung noi Subdistrict Administrative Organization in Mueang district of Nakhon Pathom province, 2. to compare the opinions of people towards the governance according to the principles of Iddhipada of Thung noi Subdistrict Administrative Organization in Mueang district of Nakhon Pathom province, and 3. to study the recommendations on the governance according to the principles of Iddhipada of Thung noi Subdistrict Administrative Organization in Mueang district of Nakhon Pathom province. The data of this quantitative research were collected from 375 samples of 5860 populations using Taro Yamane's formula and then analyzed by percentage, frequency, mean and standard deviation through a statistical package and content analysis. The study results were that: 1. The people's opinions on the governance according to the principles of Iddhipada of Thung noi Subdistrict Administrative Organization in Mueang district of Nakhon Pathom province in all 3 aspects were at a high level overall. In descending order, the water supply came first, followed by the transportation and electricity respectively. 2. In comparison results, the people with different occupations had different opinions on the governance according to the principles of Iddhipada of Thung noi Subdistrict Administrative Organization in Mueang district of Nakhon Pathom province with statistical significance at the 0.05 level. But the people with different sex, age, and education level had opinions on the governance according to the principles of Iddhipada of Thung noi Subdistrict Administrative Organization in Mueang district of Nakhon Pathom province indifferently. 3. Suggestions and recommendations regarding the governance according to the principles of Iddhipada of Thung noi Subdistrict Administrative Organization in Mueang district of Nakhon Pathom province in each aspect are as follows: 1) Regarding electricity according to the principle of Iddhipada, it was found that: 1) Thung noi Sub-district Administration Organization should inquire if the people have any problems concerning electricity in the rainy season and 2) Every house under Thung noi Sub-District Administrative Organization should access the electricity. 2) Regarding water supply according to the principle of Iddhipada, it was found that: 1) Thungnoi Sub-district Administration Organization should conduct a survey to ensure that every home has tap water and 2) water supply for drinking and consuming should provided to people regularly. 3) In terms of transportation according to the principle of Iddhipada, it was found that: 1) Thung noi Sub-district Administration Organization should survey the needs of the people if there are roads to their community or house and 2) Thung noi Sub-district Administration Organization should survey the needs of the people in road maintenance and cooperation of people.