Search results

2 results in 0.02s

หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง จำนวน 96 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน 4 ฝ่าย และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวน 486 คน และผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรองรูปแบบ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic inductive) ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและ ผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยมีสภาพการบริหารจัดการศึกษาด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนใช้แนวทางจากส่วนกลาง ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา และวิถีชีวิตของเด็ก 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า มี 7 องค์ประกอบย่อย คือ 1.1) บุคลากรของสถานศึกษาและผู้ปกครอง 1.2) การบริหารงานทั่วไป 1.3) การบริหารงานงบประมาณ 1.4) การบริหารงานวิชาการ 1.5) พันธกิจและนโยบายของรัฐ 1.6) การบริหารงานบุคคล และ 1.7) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของสถานศึกษา 2) กระบวนการ มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ 2.1) การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม 2.2) การคาดหวังต่อนักเรียนสูง 2.3) การจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง 2.4) การเสริมแรงและจูงใจ 2.5) การใช้หลักธรรมในการบริหารสถานศึกษา (พรหมวิหาร 4) และ 2.6) การสั่งการและควบคุม และ 3) ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 3.2) ประสิทธิภาพของการบริหารสถานศึกษา และ 3.3) คุณลักษณะและสมรรถนะของผู้เรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบเชิงระบบที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นอันรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง จำนวน 96 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน 4 ฝ่าย และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวน 486 คน และผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรองรูปแบบ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic inductive) ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและ ผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยมีสภาพการบริหารจัดการศึกษาด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนใช้แนวทางจากส่วนกลาง ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา และวิถีชีวิตของเด็ก 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า มี 7 องค์ประกอบย่อย คือ 1.1) บุคลากรของสถานศึกษาและผู้ปกครอง 1.2) การบริหารงานทั่วไป 1.3) การบริหารงานงบประมาณ 1.4) การบริหารงานวิชาการ 1.5) พันธกิจและนโยบายของรัฐ 1.6) การบริหารงานบุคคล และ 1.7) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของสถานศึกษา 2) กระบวนการ มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ 2.1) การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม 2.2) การคาดหวังต่อนักเรียนสูง 2.3) การจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง 2.4) การเสริมแรงและจูงใจ 2.5) การใช้หลักธรรมในการบริหารสถานศึกษา (พรหมวิหาร 4) และ 2.6) การสั่งการและควบคุม และ 3) ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 3.2) ประสิทธิภาพของการบริหารสถานศึกษา และ 3.3) คุณลักษณะและสมรรถนะของผู้เรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบเชิงระบบที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นอันรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ
The objectives of this research were: 1) to study the state of school administration of administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students, 2) to develop an administrational model for school administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students, and 3) to evaluate and certify an administrational model for school administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students. The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 486 samples in 96 schools consisting of school directors/deputy directors, chief of school subdivision and heads of the school department. The qualitative data were collected by in-depth interviews with 5 experts in school administration. The model was evaluated and certified by 17 educational experts. The data were collected from August 2018 to November 2018 and then analyzed by percentage, mean and standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA), content analysis and analytic inductive. The results of research were found that: 1) An administrational model for school administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students consists of 3 main components: inputs, process and output. The state of school administration in learning contents and learning activities is obtained from Ministry of Education which is irrelevant to race, belief, culture, language, and way of life of students. 2) An administrational model for school administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students consists of 3main components: 1) Input, consisting of 1.1) Educational Personnel and students’ parents, 1.2) General administration, 1.3) Budgeting administration, 1.4) Academic administration, 1.5) Mission and State Policy, 1.6) Human Resources administration, and 1.7) School Culture and Environment. 2) Process, consisting of 2.1) Multicultural educational administration, 2.2) High Expectation Teaching, 2.3) Qualified curriculums and Learning, 2.4) Reinforcement and Motivation, 2.5) Educational administration based upon 4 sublime states of mind, and 2.6) Command and Control. 3) Output, consisting of 3.1) Learning achievement, 3.2) Efficiency of School Administration, and 3.3) Desirable Characteristics and Performance of students. 3) The developed system model was evaluated and approved in accuracy, propriety, feasibility, and utility by the experts at the highest average standard level.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
The purposes of this research were: 1) to study the elements of strategic management for the disabled in special education schools, 2) to establish a strategic management model for the disabled in special education schools, and 3) to assess and certify the strategic management model for the disabled in special education schools. The mixed research method was used in the study. The data were collected from 340 samples of 125 special education schools. The samples consisted of school directors, deputy directors and officials. The research instrument was a 5-level semi-structured questionnaire with confidential level at 0.98. The data were analyzed by descriptive statistics including frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis (EFA) and confirmatory factor analysis (CFA) through statistical computer package. The results of this research revealed that: 1.The elements of strategic management for the disabled in special education schools collected from concepts, theories, papers, texts, research works and related sources and then analyzed by Exploratory Factor Analysis (EFA) could be concluded into five main components; 1) strategic planning, 2) strategic plan analysis, 3) implementation of the strategic plan, 4) control of the strategic plan, and 5) evaluation of the strategic plan. 2. The results of establishing a strategic management model for the disabled in special education schools analyzed by Confirmatory Factor Analysis (CFA) found that the factor loading was 0.89-1.00, in descending order of element weight: 1) the implementation of the strategic plan was 1.00, 2) the strategic plan analysis was 0.99, 3) strategic plan control was 0.96, 4) evaluation and certification was 0.90, and 5) strategic planning was 0.89 respectively. The established model was consistent with the empirical data. 3. The results of assessment and approval of the model in terms of accuracy, suitability, possibility and benefits from 17 experts were at a high level with a figure at 4.27 (= 4.27). It could be concluded that the model was above the specified criteria and approved.