Search results

11 results in 0.05s

หนังสือ

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • บทนำ ก่อนเข้าชุมชน
  • บทที่ 1 กชช.2ค
  • บทที่ 2 ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ)
  • บทที่ 3 กลุ่มชาติพันธุ์
  • บทที่ 4 พันธุ์ข้าว
  • บทที่ 5 ประเพณี 12 เดือน
  • บทที่ 6 ทรัพยากรป่าไม้
  • บทที่ 7 ภัยธรรมชาติ
  • บทที่ 8 กูเกิลแมพ แผนที่ชุมชน
  • บทที่ 9 แผนพัฒนาท้องถิ่น
  • บทที่ 10 เครือข่ายทางสังคม
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • บทนำ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
  • ขั้นตอนของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ
  • การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการพัฒนาท้องถิ่น
  • ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
  • กรณีศึกษาการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการพัฒนาในต่างประเทศ
  • กรณีศึกษาการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการพัฒนาในประเทศไทย
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • การวิจัยพลวัตและความขัดแย้งในการพัฒนาด้วยวิธีคิดเชิงซ้อน
  • กระบวนการสร้างความคิดในการวิจัยเชิงวิพากษ์
  • การวิจัยในมิติทางวัฒนธรรม
  • โครงสร้างสังคม
  • อำนาจ
  • สิทธิ
  • การเปลี่ยนแปลงสังคมกับศักยภาพของชุมชนไทย
  • พลวัตของชุมชนกับการพัฒนาในมิติทางวัฒนธรรม
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ความหมาย ความสำคัญ และการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น
  • ชุมชนและท้องถิ่นไทยในภาวการณ์เปลี่ยนแปลง
  • แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น
  • กระบวนการจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น
  • กรณีตัวอย่าง การจัดการตนเองของชุมชนไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • วิเคราะห์ และสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองและเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ความสำคัญและหลักการการพัฒนาระบบข้อมูลตำบลโดยการสำรวจ
  • แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลตำบลโดยการสำรวจ
  • คำอธิบายแบบสอบถามระดับบุคคลและครอบครัว
  • คำอธิบายแบบสอบถามระดับกลุ่มและชุมชน
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • วิสาหกิจชุมชนในมุมมองการปฏิบัติการ
  • การใช้หลักการคิดนวัตกรรม แบบฉบับญี่ปุ่นเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชน
  • ช่องว่างความสำเร็จวิสาหกิจชุมชนตัวแบบโครงการนวัตวิถี
  • การตรวจวินิจฉัยศักยภาพวิสาหกิจชุมชน
  • การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนด้วยบัญชีพอเพียง
  • การศึกษาต้นทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน
  • การวัดผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน
  • เกษตรกรคู่ชีวิตซีพีแรมกับวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกะเพรา
  • การพัฒนาคุณสมบัติผู้ประกอบการในผู้นำวิสาหกิจชุมชน
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ส่วนที่ 1 ทฤษฎีและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
  • บทที่ 1 การประเมินโครงการตามแนวทางเศรษฐศาสตร์และทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
  • บทที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ วงจรและแนวคิดการวางแผนโครงการ
  • บทที่ 3 ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ผลเสียและผลประโยชน์ของโครงการกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
  • ส่วนที่ 2 การจัดการทรัพยากร
  • บทที่ 4 เกริ่นนำการจัดการทรัพยากร
  • บทที่ 5 การจัดการทรัพยากร
  • บทที่ 6 บูรณาการงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  • บทที่ 7 แนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
  • บทที่ 8 การคิดมูลค่าของปัจจัยการผลิต และผลผลิตของโครงการกับการนำทฤษฎีและแนวคิดการจัดการทรัพยากรมาประยุกต์ใช้
  • บทที่ 9 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการจัดการทรัพยากร
  • ส่วนที่ 3 ชุมชนแบบยั่งยืน
  • บทที่ 10 ราคาเงาของแรงงาน
  • บทที่ 11 เกริ่นนำเรื่องชุมชนแบบยั่งยืน
  • บทที่ 12 การวิเคราะห์โครงการทางด้านสิ่งแวดล้อม
  • บทที่ 13 การวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจ
  • บทที่ 14 หลักเกณฑ์ในการลงทุน
  • บทที่ 15 เศรษฐศาสตร์กับการประยุกต์ไปสู่ชุมชนแบบยั่งยืน
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนใน การพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกัน และ3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลัก สังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัว อย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 103 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “เครซี่และมอร์แกน” (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (¯(×)) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (f-test) หรือ (One–Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ที่ตอบแบบสอบถาม ระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักสังคหวัตถุธรรม รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ตามหลัก สังคหวัตถุธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ตามลำดับ 2) ในการเปรียบเทียบ ผลทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า คณะกรรมการชุมชนที่มี เพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมโดยรวม 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลของคณะกรรมการชุมชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยรวมทั้ง 4 ด้าน เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร เห็นว่า การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชน จึงควรมีการจัดอบรมให้ความรู้วิธีการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักสังคหวัตถุธรรม คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา แก่ผู้อาศัยอยู่ในชุมชน ที่สามารถยึดถือปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของชุมชนและส่วนรวม นอกจากนี้ความรู้ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต รวมถึงการเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ควบคู่กับการมีหลักคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเสมอตนเสมอปลาย โดยการน้อมนำหลักธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และนำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการอยู่ร่วมกันอย่างสมัคสมานสามัคคี
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนใน การพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกัน และ3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลัก สังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัว อย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 103 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “เครซี่และมอร์แกน” (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (¯(×)) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (f-test) หรือ (One–Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ที่ตอบแบบสอบถาม ระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักสังคหวัตถุธรรม รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ตามหลัก สังคหวัตถุธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ตามลำดับ 2) ในการเปรียบเทียบ ผลทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า คณะกรรมการชุมชนที่มี เพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมโดยรวม 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลของคณะกรรมการชุมชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยรวมทั้ง 4 ด้าน เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร เห็นว่า การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชน จึงควรมีการจัดอบรมให้ความรู้วิธีการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักสังคหวัตถุธรรม คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา แก่ผู้อาศัยอยู่ในชุมชน ที่สามารถยึดถือปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของชุมชนและส่วนรวม นอกจากนี้ความรู้ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต รวมถึงการเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ควบคู่กับการมีหลักคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเสมอตนเสมอปลาย โดยการน้อมนำหลักธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และนำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการอยู่ร่วมกันอย่างสมัคสมานสามัคคี
The objectives of this thesis were as follows : 1) to study participation of community committee in community development according to Sangahavatthudhamma in Thawi Watthana district of Bangkok, 2) to compare the participation of community committee in community development according to Sangahavatthudhamma in Thawi Watthana district of Bangkok classified by personal factors; gender, age, educational level, and occupation, and3) to propose suggestions for participation of community committee in community development according to Sangahavatthudhamma in Thawi Watthana district of Bangkok. 103 samples obtained by Krejcie and Morgan table through convenience random sampling were used in the study. The data were collected by questionnaire and in-depth interviews with 5 key-informants, and then analyzed by frequency, percentage, mean (¯(×)), standard deviation (S.D.), t-test, f-test, and LSD. The results of the study were found that : 1. From questionnaire, the participation of community committee in community development according to Sangahavatthudhamma in Thawi Watthana district of Bangkok was at a high level overall. The highest level was on decision making participation, followed by advantage participation, and operation participation respectively. 2. The community committee with different genders, ages, and occupations had participation in community development according to Sangahavatthudhamma in Thawi Watthana district of Bangkok indifferently. But the community committee with different educational levels had different levels of participation in community development with a significantly statistical level at 0.05 as the hypothesis set for the study. 3. From in-depth interviews, the results indicated that the participation of community committee was necessary and important to the development the community. The training in living a life according to Sangahavatthudhamma should be arranged for people in the community to strengthen their unity and participation. Furthermore, knowledge and hospitality are significant to life. The application of virtues, ethics, and morality in living can create unity and happiness in living together in community.
หนังสือ

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาบทบาทผู้นำชุมชน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 20 คน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ การวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลจาก เนื้อหา บทสัมภาษณ์ และทฤษฎีต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพบทบาทผู้นำชุมชน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานครผู้นำชุมชนมีบทบาท ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สำคัญ มีความคิด ความสามารถ มีความรู้ เพื่อมาวางแผน กำหนดนโยบาย โดยประสานทุกฝ่ายให้มีส่วนร่วมที่จะนำทรัพยากรในชุมชนเป็นความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม ความมีสภาวะผู้นำต้องมีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม มีความรับผิดชอบ นำสิ่งที่ถูกที่ควร สอดคล้องกับค่านิยมและความคาดหวังของชุมชน 2.การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาบทบาทผู้นำชุมชน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร หนองจอกเป็นพื้นที่มีผู้นำชุมชนมากที่สุดของกรุงเทพมหานคร พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมสำหรับผู้นำที่ต้องรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับบทบาทผู้นำชุมชนด้านเมตตา ความรัก กรุณา มุทิตา, อุเบกขา ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า ยินดีปราศจากไม่อิจฉา ความเที่ยงธรรม 3.เพื่อเสนอแนะแนวทางการใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาบทบาทผู้นำชุมชน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ผู้นำชุมชนเป็นคณะดำเนินการงานที่ต้องดูแลผลประโยชน์ของชุมชน จำเป็นต้องนำหลักธรรมของผู้นำโดยเฉพาะพรหมวิหาร 4 ให้มีความรู้ มีธรรม เป็นภาคภูมิกับหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยวิธีต่าง ๆ ที่เหมะสม
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาบทบาทผู้นำชุมชน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 20 คน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ การวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลจาก เนื้อหา บทสัมภาษณ์ และทฤษฎีต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพบทบาทผู้นำชุมชน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานครผู้นำชุมชนมีบทบาท ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สำคัญ มีความคิด ความสามารถ มีความรู้ เพื่อมาวางแผน กำหนดนโยบาย โดยประสานทุกฝ่ายให้มีส่วนร่วมที่จะนำทรัพยากรในชุมชนเป็นความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม ความมีสภาวะผู้นำต้องมีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม มีความรับผิดชอบ นำสิ่งที่ถูกที่ควร สอดคล้องกับค่านิยมและความคาดหวังของชุมชน 2.การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาบทบาทผู้นำชุมชน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร หนองจอกเป็นพื้นที่มีผู้นำชุมชนมากที่สุดของกรุงเทพมหานคร พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมสำหรับผู้นำที่ต้องรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับบทบาทผู้นำชุมชนด้านเมตตา ความรัก กรุณา มุทิตา, อุเบกขา ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า ยินดีปราศจากไม่อิจฉา ความเที่ยงธรรม 3.เพื่อเสนอแนะแนวทางการใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาบทบาทผู้นำชุมชน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ผู้นำชุมชนเป็นคณะดำเนินการงานที่ต้องดูแลผลประโยชน์ของชุมชน จำเป็นต้องนำหลักธรรมของผู้นำโดยเฉพาะพรหมวิหาร 4 ให้มีความรู้ มีธรรม เป็นภาคภูมิกับหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยวิธีต่าง ๆ ที่เหมะสม
The objective of this research was to study the application of Brahmaviharadhamma in community leader’s role development in Nong Chok district of Bangkok. The data of this qualitative research were collected from 20 samples by patterned interview form, and then analyzed by content analysis. The results of the study were found that: 1. The state of community leaders’ role in Nong Chok district, the community leaders are significant, responsible, sincere, honest, and have knowledge and ability in planning, policy setting, and cooperating with people in work and activity in consistency with community value and expectation. 2. The application of Brahmaviharadhamma in development of community leader’s role, Nong Chok district area has a number of community leaders the most in Bangkok. It is necessary for the community leaders to apply the principles of Loving-kindness, Compassion, Sympathetic Joy, and Equanimity in Brahmavihara Dhamma in their duty performance. 3. A suggestion for application of Brahmaviharadhamma, the community leaders have to take care of the advantages of people and give services to people, so they must apply the principles of Brahmaviharadhamma in their duty performance appropriately.
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ห้องปฏิบัติการทางสังคม : (Social Lab)
  • การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  • การทำงานร่วมกับชุมชนและเครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน
  • กรณีศึกษาที่ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่องราวจากชุมชนใต้สะพานโซน 1
  • กรณีศึกษาที่ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อชุมชนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่องราวจากชุมชนหลังสวนธนบุรีรมย์