Search results

42 results in 0.19s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสัมมาอาชีวะในมรรคมีองค์ 8 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะในมรรคมีองค์ 8 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560–มิถุนายน 2561 ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีวะในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 1) การแสวงหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบทั้งทางกายและทางวาจา ถูกต้องทั้งด้านกฎหมายและศีลธรรม 2) การครอบครองรักษาที่ดี ตามหลักการออมทรัพย์ทางพระพุทธศาสนาหรือหลักโภควิภาค 4 ได้แก่ ทรัพย์หนึ่งส่วน (25 %) ออมไว้ใช้สอยเลี้ยงชีพ ทรัพย์สองส่วน (50 %) ออมไว้ประกอบอาชีพและทรัพย์อีกหนึ่งส่วน (25 %) ออมไว้ในยามจำเป็นและใช้ทำบุญ 3) การบริโภคใช้จ่ายอย่างถูกต้อง เหมาะสมและพอเพียง โดยให้ความสำคัญด้านคุณค่ามากกว่ามูลค่า และเน้นคุณประโยชน์มากกว่าความคุ้มทุน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองแก่ผู้อื่นและแก่สังคม สัมมาอาชีวะเป็นหลักการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางจริยธรรมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคคลทั้งทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจ อีกทั้งเกิดคุณค่าต่อการพัฒนาปัญญาให้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต และยังมีคุณค่าต่อการเกื้อหนุนให้เกิดบุญกิริยามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางจริยธรรมต่อการเกื้อหนุนและส่งเสริม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อื่น และมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมส่วนรวมทั้งด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนเกื้อหนุนการพัฒนาระบบจริยธรรมทางสังคมด้านอื่น ๆ ให้เข้มแข็งและมั่นคง ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายที่ก่อให้เกิดความสุขมวลรวมของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสัมมาอาชีวะในมรรคมีองค์ 8 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะในมรรคมีองค์ 8 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560–มิถุนายน 2561 ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีวะในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 1) การแสวงหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบทั้งทางกายและทางวาจา ถูกต้องทั้งด้านกฎหมายและศีลธรรม 2) การครอบครองรักษาที่ดี ตามหลักการออมทรัพย์ทางพระพุทธศาสนาหรือหลักโภควิภาค 4 ได้แก่ ทรัพย์หนึ่งส่วน (25 %) ออมไว้ใช้สอยเลี้ยงชีพ ทรัพย์สองส่วน (50 %) ออมไว้ประกอบอาชีพและทรัพย์อีกหนึ่งส่วน (25 %) ออมไว้ในยามจำเป็นและใช้ทำบุญ 3) การบริโภคใช้จ่ายอย่างถูกต้อง เหมาะสมและพอเพียง โดยให้ความสำคัญด้านคุณค่ามากกว่ามูลค่า และเน้นคุณประโยชน์มากกว่าความคุ้มทุน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองแก่ผู้อื่นและแก่สังคม สัมมาอาชีวะเป็นหลักการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางจริยธรรมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคคลทั้งทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจ อีกทั้งเกิดคุณค่าต่อการพัฒนาปัญญาให้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต และยังมีคุณค่าต่อการเกื้อหนุนให้เกิดบุญกิริยามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางจริยธรรมต่อการเกื้อหนุนและส่งเสริม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อื่น และมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมส่วนรวมทั้งด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนเกื้อหนุนการพัฒนาระบบจริยธรรมทางสังคมด้านอื่น ๆ ให้เข้มแข็งและมั่นคง ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายที่ก่อให้เกิดความสุขมวลรวมของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น
The thesis served its specific purposes: 1) to study the way of leading one’s life in Theravada philosophy, 2) to examine Right Livelihood in Noble Eightfold Paths following Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the way of leading one’s life with Right Livelihood as such. As the documentary research, it was derived from the qualitative methodology. Data were studied out of The Tipitaka, commentaries, books and relevant research undertakings, collected between October B.E. 2560 and June B.E. 2561. Findings are the followings: Ways of leading one’s life following the principle of right livelihood in Buddhism is composed of two aspects. The first aspect is seeking for leading one’s life with physical, verbal, legal and moral decency. Another aspect is good possession and economy spending of incomes following criteria of four good divisions in Buddhism. One portion of incomes is provided for feeding family, accounting for 25 %. Two portions making up 50 % are allocated for doing careers. One portion is kept for saving in the rainy days and making merits. The further aspect is proper and sufficient consumption, placing more importance in true values than face values, putting more emphasis on benefits than cost effectiveness, with the aims for benefits of their own, others’ and society. Analyses of right livelihood have found that it has been treated as the foundation stone of leading one’s life with moral values for developing individual life in physical, verbal and mental channels. It creates values towards developing wisdom to logically think of leading one’s life and making great contribution to accumulating much more merits. In addition, leading one’s life following right livelihood still have moral values for assistance and support of others’ life. All in all, it also has values for developing society in common in governmental, political, economic area, including the support of developing the moral system of society to be strong and stable, which will lead to the target giving rise to the mass happiness of members in the society
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
หนังสือ

    ฉบับอัตสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัตสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการดำเนินชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการดำเนินชีวิต แนวปฏิบัติที่มีความสัมพันธ์กันในเรื่องของหน้าที่ของมนุษย์ ในแนวพุทธปรัชญาเถรวาท แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ชีวิตมนุษย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะในปัจจุบันนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตไม่ว่าแบบใดหากขาดความตระหนักในหน้าที่บทบาทความรับผิดชอบมนุษย์จะปราศจากคุณค่าทันที มนุษย์จะมีชีวิตที่ผาสุขได้ควรมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข ให้ความสำคัญกับหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเข้าใจรู้ในหน้าที่บทบาทความสัมพันธ์ของคนรอบข้างเป็นสำคัญ 2. หลักทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่ บุคคลจะพึงทำหน้าที่ต่อกันด้วยหน้าที่ที่บริสุทธิ์ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อสังคม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถส่งเสริมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้ดีงาม ทั้งในส่วนปัจเจกและส่วนรวม ช่วยให้ปัจเจกบุคคล สามารถดำเนินชีวิตส่วนตัวได้อย่างมีความสุข และสังคมส่วนรวมก็ดำรงอยู่อย่างปกติสุขด้วยอันมีหน้าที่ 6 ประเภทได้แก่ 1.ทิศเบื้องหน้า บิดามารดา 2. ทิศเบื้องขวา ครูอาจารย์ 3. ทิศเบื้องหลัง ภรรยา 4. ทิศเบื้องซ้าย มิตรอำมาตย์ 5. ทิศเบื้องล่าง ลูกจ้าง ทาส กรรมกร 6. ทิศเบื้องบน สมณะพราหมณ์ 3.การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 เป็นวิธีการส่งเสริมต่อการปฏิบัติหน้าที่ ที่ถูกต้อง อันมนุษย์พึงปฏิบัติต่อกัน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิต และสภาพของสังคม ที่แวดล้อมตัวเราดีขึ้น เพราะทุกคนรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่จะพึงปฏิบัติต่อผู้อื่น ที่ตนเกี่ยวข้องด้วย การดำเนินชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยึ่ง ที่จะต้องดำเนินไปให้มีคุณภาพ อาศัยองค์ประกอบของชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาชีวิตให้มีคุณค่า และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการดำเนินชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการดำเนินชีวิต แนวปฏิบัติที่มีความสัมพันธ์กันในเรื่องของหน้าที่ของมนุษย์ ในแนวพุทธปรัชญาเถรวาท แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ชีวิตมนุษย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะในปัจจุบันนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตไม่ว่าแบบใดหากขาดความตระหนักในหน้าที่บทบาทความรับผิดชอบมนุษย์จะปราศจากคุณค่าทันที มนุษย์จะมีชีวิตที่ผาสุขได้ควรมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข ให้ความสำคัญกับหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเข้าใจรู้ในหน้าที่บทบาทความสัมพันธ์ของคนรอบข้างเป็นสำคัญ 2. หลักทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่ บุคคลจะพึงทำหน้าที่ต่อกันด้วยหน้าที่ที่บริสุทธิ์ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อสังคม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถส่งเสริมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้ดีงาม ทั้งในส่วนปัจเจกและส่วนรวม ช่วยให้ปัจเจกบุคคล สามารถดำเนินชีวิตส่วนตัวได้อย่างมีความสุข และสังคมส่วนรวมก็ดำรงอยู่อย่างปกติสุขด้วยอันมีหน้าที่ 6 ประเภทได้แก่ 1.ทิศเบื้องหน้า บิดามารดา 2. ทิศเบื้องขวา ครูอาจารย์ 3. ทิศเบื้องหลัง ภรรยา 4. ทิศเบื้องซ้าย มิตรอำมาตย์ 5. ทิศเบื้องล่าง ลูกจ้าง ทาส กรรมกร 6. ทิศเบื้องบน สมณะพราหมณ์ 3.การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 เป็นวิธีการส่งเสริมต่อการปฏิบัติหน้าที่ ที่ถูกต้อง อันมนุษย์พึงปฏิบัติต่อกัน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิต และสภาพของสังคม ที่แวดล้อมตัวเราดีขึ้น เพราะทุกคนรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่จะพึงปฏิบัติต่อผู้อื่น ที่ตนเกี่ยวข้องด้วย การดำเนินชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยึ่ง ที่จะต้องดำเนินไปให้มีคุณภาพ อาศัยองค์ประกอบของชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาชีวิตให้มีคุณค่า และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the principles of living, 2) to study the 6 Directions in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the lifestyle according to the 6 Directions in Theravada Buddhist philosophy. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, theses, and articles on the concept of living and interrelated practice of human duty in the concept of Theravada Buddhist philosophy.The data were analyzed, summarized and presented in a descriptive method. The study results were found that: 1) Human life is an essential element in development in every dimension in order to cope with the changes in society. Living a life without duty and responsibility concentration can become worthless. Humans can live a happy life by not in connection with causes of ruin. At the same time, they have to realize their own duty and treat the others suitable to their roles and relations. 2) The 6 Directions in Theravada Buddhist philosophy are the principles that individuals should practice to promote a good human life individually and socially. These principles help make individuals live a happy life and make society establish calmly and normally. The 6 Directions are 6 types of duty; 1. The direction in front refers to duty of parents and children, 2. The direction in the right refers to duty of teachers and students, 3. The direction behind refers to a husband and a wife, 4. The direction in the left refers to the duty of friends and associates, 5. The direction below refers to the duty of workmen and masters, and 6. The upper direction refers to the duty of monks and lay-people. 3) Living a lifestyle according to the 6 Directions is the way to promote the practice of the right duty that humans should treat one another. In daily life, these principles can help improve life quality, social conditions and environments because everyone understands and follows one’s own duty and responsibility. It is necessary to live a life with quality and value for the happiness and peacefulness of oneself and society.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง 2.เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท จำนวน 12 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง นิยมอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่และปลูกผักนานาชนิด และที่ทำจากเครื่องจักสานและการทอผ้าตีนจก เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของลาวครั่งไว้จำหน่ายที่ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าตีนจกมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของชนเผ่าในวาระงานสำคัญต่าง ๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน ส่วนประเพณีที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ได้แก่ การแห่ธงสงกรานต์ การไหว้ผีปู่ตาหรือผีเจ้านาย หรือผีบรรพบุรุษ การฟ้อนรำตามแบบฉบับของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ชุมชนทำการฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้ หลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตเปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ คอยประคับประครองให้ถึงจุดหมายปลายทางได้ การปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ที่ทำให้เกิดความสงบสุขของชุมชน ความสามัคคี และความเจริญอย่างมั่นคง ได้แก่ศีล 5 กุศลกรรมบท 10 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชุมชนเอาไว้ได้ โดยยึดหลักความกตัญญูกตเวทิตา และการปฏิบัติตามหลักของศีล 5 มีการไม่เบียดเบียนกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยู่ในทำนองคลองทำ พูดจามีประโยชน์ และไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย แม้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเพราะอิทธิพลของเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมได้สูญหายไปบ้างก็ตาม แต่ชุมชนก็มีการปรับตัวเองให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง 2.เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท จำนวน 12 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง นิยมอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่และปลูกผักนานาชนิด และที่ทำจากเครื่องจักสานและการทอผ้าตีนจก เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของลาวครั่งไว้จำหน่ายที่ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าตีนจกมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของชนเผ่าในวาระงานสำคัญต่าง ๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน ส่วนประเพณีที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ได้แก่ การแห่ธงสงกรานต์ การไหว้ผีปู่ตาหรือผีเจ้านาย หรือผีบรรพบุรุษ การฟ้อนรำตามแบบฉบับของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ชุมชนทำการฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้ หลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตเปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ คอยประคับประครองให้ถึงจุดหมายปลายทางได้ การปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ที่ทำให้เกิดความสงบสุขของชุมชน ความสามัคคี และความเจริญอย่างมั่นคง ได้แก่ศีล 5 กุศลกรรมบท 10 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชุมชนเอาไว้ได้ โดยยึดหลักความกตัญญูกตเวทิตา และการปฏิบัติตามหลักของศีล 5 มีการไม่เบียดเบียนกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยู่ในทำนองคลองทำ พูดจามีประโยชน์ และไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย แม้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเพราะอิทธิพลของเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมได้สูญหายไปบ้างก็ตาม แต่ชุมชนก็มีการปรับตัวเองให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
This research has the following objectives: 1. to study the lifestyles of Lao Khrang ethnic group, 2. to study Buddhist ethics, and 3. to analyze the lifestyles of Lao Khrang ethnic group according to Buddhist ethics. The populations in this research were 12 community leaders and the local learned in Nakhon Pathom province, Suphanburi province, Uthai Thani province and Chainat Province. The research results were found that: Lifestyles of Lao Khrang ethnic group are to live together in group, work in farming and growing a variety of vegetables and plants for wicker-work and weaving. The unique garments of Lao Khrang are available for sale at Tin Jok weaving Learning Center. Lao Khrang people usually wear their tribal costumes during important events, such as ordination, wedding, etc. The conserved traditions include Songkran flag parade, ancestors’ spirit worship, master ghost worship, and tribal traditional dance. Buddhist ethics is the key to life. Life is similar to a rudder of boat that can support the boat to reach its destination. To follow the ethic principles; the Five Precepts, the Tenfold Way of Good Action and the Eightfold Path, can create peace, happiness, and prosperity of community. Lifestyles of Lao Khrang ethnic group according to Buddhist ethics can still maintain important cultures and traditions of the community based on gratitude and the Five Precepts. They are non-violent, help each other, follow their traditional principles, say the truths and not concerned with drugs and illegal materials. Even now technology has influence to their ways of life and causes some traditional cultures disappear, but Lao Khrang people can adjust themselves to the changes.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา-มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา-มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา-มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา-มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตทั่วไป 2) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) วิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560–มิถุนายน 2561 ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตทั่วไป พบว่า เป็นการใช้ชีวิตตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางจริยธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ ตั้งแต่พื้นฐานเบื้องต้น ท่ามกลางและระดับสูง เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตอันดีงามตามอุดมคติเท่าที่มนุษย์จะขึ้นได้ถึงได้ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสติปัญญา มีความสุขอันสมบูรณ์ที่สุด การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เมื่อดำเนินชีวิตตามหลักเบญจธรรมจะทำให้มีความเมตตากรุณาความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เลี้ยงชีพในทางที่สุจริต รู้จักควบคุมตนเองไม่หลงใหลในกามคุณ 5 มีความซื่อตรง และรู้สึกตัวเสมอว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ และจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขสงบในการดำเนินชีวิต วิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เบญจธรรม หรือกัลยาณธรรม 5 เป็นธรรมของคนดี หมายถึง ธรรมของคนดี 5 ประการ ทั้งศีล 5 และกัลยาณธรรม 5 ประการนี้ เป็นของคู่กัน จึงเรียกว่า ศีลธรรม กล่าวคือ ศีล เป็นข้อห้าม คือ ห้ามทำ ห้ามล่วงละเมิด ส่วนกัลยาณธรรม เป็นข้ออนุญาตให้ทำ ให้นำไปประพฤติปฏิบัติแล้วจะเกิดผลดีแก่ผู้ปฏิบัติ ทุกคน ได้แก่ ศีล 5 หรือเบญจศีลสำหรับทุกคน
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตทั่วไป 2) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) วิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560–มิถุนายน 2561 ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตทั่วไป พบว่า เป็นการใช้ชีวิตตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางจริยธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ ตั้งแต่พื้นฐานเบื้องต้น ท่ามกลางและระดับสูง เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตอันดีงามตามอุดมคติเท่าที่มนุษย์จะขึ้นได้ถึงได้ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสติปัญญา มีความสุขอันสมบูรณ์ที่สุด การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เมื่อดำเนินชีวิตตามหลักเบญจธรรมจะทำให้มีความเมตตากรุณาความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เลี้ยงชีพในทางที่สุจริต รู้จักควบคุมตนเองไม่หลงใหลในกามคุณ 5 มีความซื่อตรง และรู้สึกตัวเสมอว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ และจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขสงบในการดำเนินชีวิต วิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เบญจธรรม หรือกัลยาณธรรม 5 เป็นธรรมของคนดี หมายถึง ธรรมของคนดี 5 ประการ ทั้งศีล 5 และกัลยาณธรรม 5 ประการนี้ เป็นของคู่กัน จึงเรียกว่า ศีลธรรม กล่าวคือ ศีล เป็นข้อห้าม คือ ห้ามทำ ห้ามล่วงละเมิด ส่วนกัลยาณธรรม เป็นข้ออนุญาตให้ทำ ให้นำไปประพฤติปฏิบัติแล้วจะเกิดผลดีแก่ผู้ปฏิบัติ ทุกคน ได้แก่ ศีล 5 หรือเบญจศีลสำหรับทุกคน
The thesis served its specific purposes: 1) to study a way of leading one’s life in general, 2) to examine the way of leading one’s life with five ennobling virtues in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the way as such. As the documentary research, it was derived from the qualitative methodology. Data were studied out of The Tipitaka, commentaries, books and relevant research undertakings, collected between October B.E. 2560 and June B.E. 2561. Results of the research have found the following findings. Leading one’s life in general has passing their lifestyle following guidelines on criteria of Buddhist morality. These criteria were founded by the Buddha to set standards of human behaviours in the order of the onset, middle to the advanced level, in order to let human beings lead their decent lives according to their ideals as far as human being can reach and access, to have them become a complete human being, with excellent wisdom and the complete bliss. Leading the way of one’s life with five ennobling virtues in Theravada Buddhist philosophy has found that leading one’s life as such let them have loving kindness and mercy towards others, earning their honest living, being well aware of controlling themselves, not indulging in five sexual pleasures, having honesty, and perceiving what should be done and what ought not. As such, they will result in making actors happy and peaceful to leading their own lives. Results of analyzing leading the of one’s life with five ennobling virtues in Theravada Buddhist philosophy has proven that five ennobling virtues are attributes of decent followers. Both five ennobling virtues and five precepts are dual-related. As a consequence, both are literally called ‘precepts (sila) and teachings (dharma)’. Buddhist precepts are commands; do not act, do not abuse, whereas teachings are suggestions; should act, ought to be introduced to practise. Certainly, both commands and suggestions yield good results to everyone.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของชนเผ่าลาหู่ 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของชนเผ่าลาหู่ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ มีลักษณะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมีลักษณะเป็นภูเขาสลับพื้นราบประกอบอาชีพทำไร่และปลูกผักนานาชนิดและเลี้ยงสัตว์เลี้ยงไว้รับประทาน สถานที่สำคัญของชุมชนได้แก่ “หอแหย่” มีลักษณะคล้ายศาลาและมีบริเวณกว้าง สำหรับไว้ประกอบพิธีกรรมและการละเล่นต่างๆของชุมชน หลักพุทธปรัชญาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตของชนเผ่า ได้แก่ ศีล โดยเฉพาะศีล 5 ข้อที่เป็นหลักปฏิบัติต่อกันของคนในชุมชน สมาธิ คือการมุ่งมั่นแน่วแน่ในการประกอบอาชีพและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ปัญญา รู้และเข้าใจในการปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องความกตัญญูกตเวที การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าลาหู่ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการปลูกฝังให้ชุมชนประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่ได้สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ทั้งทางด้านภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ให้เป็นมรดกตกทอดสู่รุ่นต่อๆไป
ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของชนเผ่าลาหู่ 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของชนเผ่าลาหู่ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ มีลักษณะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมีลักษณะเป็นภูเขาสลับพื้นราบประกอบอาชีพทำไร่และปลูกผักนานาชนิดและเลี้ยงสัตว์เลี้ยงไว้รับประทาน สถานที่สำคัญของชุมชนได้แก่ “หอแหย่” มีลักษณะคล้ายศาลาและมีบริเวณกว้าง สำหรับไว้ประกอบพิธีกรรมและการละเล่นต่างๆของชุมชน หลักพุทธปรัชญาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตของชนเผ่า ได้แก่ ศีล โดยเฉพาะศีล 5 ข้อที่เป็นหลักปฏิบัติต่อกันของคนในชุมชน สมาธิ คือการมุ่งมั่นแน่วแน่ในการประกอบอาชีพและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ปัญญา รู้และเข้าใจในการปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องความกตัญญูกตเวที การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าลาหู่ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการปลูกฝังให้ชุมชนประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่ได้สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ทั้งทางด้านภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ให้เป็นมรดกตกทอดสู่รุ่นต่อๆไป
The objectives of this research were: 1) to study the lifestyle of the Lahu tribe, 2) to study the principles of Theravada Buddhist philosophy about living a life, and 3) to analyze the lifestyle of the Lahu tribe according to Theravada Buddhist philosophy. The population in this research were 7community leaders and village scholars in Mae Suai district of Chiang Rai Province. The research results were found as follows: The Lahu people live together in group on the mountainous area. They work on farm, plant vegetables and raise animals for food. The sacred place in community is called “Ho Yae” similar to a pavillian with wide space for performing rituals and activies of the people in community. The significant principle of Buddhist philosophy in living a life of Lahu people is Sila or precept, especially the five precepts, for interaction with each other in community, Samadhi to focus on their career and preserving the tribal traditions and cultures, and Panna or wisdom to realize and understand the ancestors’ ways of life on the principle of gratitude. The lifestyle of Lahu people according to Theravada Buddhist philosophy is to implant the Buddhist practice and the ancestors’ ways of life to younger generations on tribal language, tradition, custom and culture.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1)เพื่อศึกษาการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 72.7 มีอายุระหว่าง 30-40 ปีจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 2) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม แตกต่างกัน ส่วนที่มีอายุ และระยะเวลาในการทำงาน แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้ (1) ด้านฉันทะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความภูมิใจในงานทำ (2) ด้านวิริยะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความเพียร มุมานะ ในการทำหน้าที่ (3) ด้านจิตตะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีการตั้งใจถ่ายทอดความรู้ในการทำงาน (4) ด้านวิมังสา ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ไตร่ตรองงานที่ทำด้วยความเข้าใจ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1)เพื่อศึกษาการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 72.7 มีอายุระหว่าง 30-40 ปีจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 2) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม แตกต่างกัน ส่วนที่มีอายุ และระยะเวลาในการทำงาน แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้ (1) ด้านฉันทะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความภูมิใจในงานทำ (2) ด้านวิริยะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความเพียร มุมานะ ในการทำหน้าที่ (3) ด้านจิตตะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีการตั้งใจถ่ายทอดความรู้ในการทำงาน (4) ด้านวิมังสา ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ไตร่ตรองงานที่ทำด้วยความเข้าใจ
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees, 2) to compare the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees with different gender, age and work period, and 3) to study the suggestions on the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees. 66 samples were used in this research. The data were collected by open-ended and close-ended questionnaires and analyzed by a ready-made computer program for frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results of the study revealed that: 1) 48 respondents or 72.7 percent were men. 26 respondents or 39.4 percent were 30-40 years of age, and 17 respondents or 25.8 percent worked with the life insurance for more than 10 years. 2) The application of Iddhipada in living a life of life insurance agent employees was at a high level overall. In details, the highest level was on Chanda, followed by Viriya, Citta, and Vimamsa respectively. 3) The results comparison of genders base of insurance agents who apply Iddhipada for the prosperity of livelihood, is resulting in a different outcome. Thus, by focusing on a gender factor, the overall adjustment of Iddhipada to daily life by insurance agents are differing. However, the results of lifetime duration and working duration of the insurance agents who apply Iddhipada for a prosperous livelihood are not distinguishingly varying at .05 level. 4) Suggestions regarding the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees are as follows: (1) In Chanda, the most suggestion is pride in the work. (2) In Viriya, the most suggestion is on the persistence in performing duty. (3) In Citta, the most suggestion is on intentional transfer of knowledge in the work to others. (4) In Vimamsa, the most suggestion is to reflect on the work done with a critical understanding.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าจาก คัมภีร์พระไตรปิฏก อรรถกถา วิทยานิพนธ์ หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเฉพาะเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในวิชาการทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า กิเลส เป็นต้นเหตุให้สัตว์โลก ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร อย่างไม่มีวันสิ้นสุด พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจ ด้วยหลัก ๓ ประการคือ ๑) ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๒) อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรคมีองค์ ๘ ๓) การเจริญกรรมฐาน คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน วิธีการดำเนินชีวิตเพื่อพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท มีดังนี้ คือ ๑) ด้วยการปฏิบัติธรรมให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมไม่ประพฤติล่วงละเมิดทางกาย วาจา และใจ ซึ่งกันและกัน ๒) พัฒนาจิตให้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอให้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยแยบคายด้วยความคิดอย่างถูกวิธี ๓) บรรลุธรรมที่เป็นอริยบุคคล จากการปฏิบัติในหนทางประเสริฐ หรือหนทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรคมีองค์ ๘ ๔) สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว ด้วยการปฏิบัติธรรม และรักษาคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ถาวรสืบไป
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าจาก คัมภีร์พระไตรปิฏก อรรถกถา วิทยานิพนธ์ หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเฉพาะเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในวิชาการทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า กิเลส เป็นต้นเหตุให้สัตว์โลก ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร อย่างไม่มีวันสิ้นสุด พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจ ด้วยหลัก ๓ ประการคือ ๑) ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๒) อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรคมีองค์ ๘ ๓) การเจริญกรรมฐาน คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน วิธีการดำเนินชีวิตเพื่อพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท มีดังนี้ คือ ๑) ด้วยการปฏิบัติธรรมให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมไม่ประพฤติล่วงละเมิดทางกาย วาจา และใจ ซึ่งกันและกัน ๒) พัฒนาจิตให้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอให้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยแยบคายด้วยความคิดอย่างถูกวิธี ๓) บรรลุธรรมที่เป็นอริยบุคคล จากการปฏิบัติในหนทางประเสริฐ หรือหนทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรคมีองค์ ๘ ๔) สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว ด้วยการปฏิบัติธรรม และรักษาคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ถาวรสืบไป
The objectives of this thesis were as follows: (1) to study the Danger of the Samsara (transmigration or rebirth cycle) in the Theravada Buddhism; (2) to study the release from the Danger of the Samsara as in the Theravada Buddhism view point and (3) to study the way of life that free from the Danger of the Samsara according to the Theravada Buddhism view point. This research is a qualitative study with framework in search of the Tipitaka, Atthakatha , books, relevant documents, and purposive in-depth interviews with key informants who have academic experiences in Buddhism. The results of research were found that: The defilement (Kilesa) is the cause that make every life revolve in the round of rebirth. According to the teaching of the Buddha, there are 3 ways to the gid rid of the defilement: (1) the Threefold Learning (Tri Sikkha) which were trained in morality, concentration and wisdom; (2) the Four Noble Truths, the ways to overcome dangers in the life circle were Dukkha (suffering), Dukkha-samudaya (the origin of suffering), Dukkha-nirodha (the cessation of suffering) and Dukkha-nirodha-gamini patipada (the path to the cessation of suffering) and (3) the 2 meditation principles were 1) Samatha-Kammatthana or the act of mind calming to bring the right concentration and 2) Vipassana-Kammatthana or the act of meditation or contemplation to raise the concentration that bring the wisdom to see everything in the true condition. The benefits of practice to free from the Danger of the Samsara according to the Theravada Buddhism view point: (1) By living with no violate in any way (body, speech or mind) to each other is to make peace. Living without any bias is an optimistic way of life. (2) For the mind develops, the Critical Reflection (Yonisomanasikara) is the way to apply the mind skillfully, or wise reflection leading to wiser decisions. Ultimately, it is the conscious use of thought to bring the mind to peace. (3) For being a noble one by living in the moderate practice (Mashima Patipata) or the Noble Eightfold Path (Atthangika-magga).(4) To extend the age of the Buddhism by practice with the Threefold Learning (Tri Sikkha). This way of living is not only make life happy, but also keep the teaching and prolong the Buddhism too.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาหลักอบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาอบายมุขในการดำเนินชีวิตประจำวัน และ3. เพื่อศึกษาหลักอบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยพบว่า อบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ความเป็นนักเลงหญิง หญิงโสเภณี หมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์ มีราคะจริตแรงกล้า ความเป็นนักเลงสุรา ชอบเที่ยวกลางคืน ชอบเที่ยวดูการละเล่น ติดการพนัน คบคนชั่ว และเกียจคร้านการงาน วัฒนามุขในการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง เป็นเสมือนประตูชัยอันเปิดไปสู่ความสุข ความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิต ประกอบด้วย 6 ประการ คือ อาโรคยะ (ความไม่มีโรค) ศีล (มีศีล) พุทธานุมัต (ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลาย) สุตะ (การสดับฟัง) ธรรมานุวัตน์ (การประพฤติตามธรรม) อลีนตา (ความไม่ท้อถอย) อบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อนำไปงดเว้นในชีวิตประจำวัน คือ การใช้ชีวิตอย่างมีสติรอบคอบ รอบรู้ ประกอบด้วยปัญญา รู้เท่าทัน มีศีล เป็นผู้มีความเพียร เพื่อป้องกันไม่ให้ชีวิตเข้าไปข้องเกี่ยว อันเป็นต้นเหตุแห่งความฉิบหาย วุ่นวาย และเดือดร้อน การรู้เท่าทัน และไม่ข้องเกี่ยวอบายมุข จะทำให้ชีวิตเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีอายุยืน วรรณะผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสบายใจ สังคมสงบสุข มีพลังต่อสู้ในการงาน รักษาทรัพย์สมบัติมรดกไว้ได้ ปัญญาเฉลียวฉลาดเหมาะการศึกษาเล่าเรียน และทำให้วิถีชีวิตเจริญก้าวหน้าได้รับการสรรเสริญยกย่อง ดังนั้น อบายมุขในพระพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมเพื่อนำไปงดเว้นในชีวิตประจำวันเป็นหลักธรรมป้องกันเหตุแห่งความเสื่อมฉิบหาย เพื่อเตือนสติ ให้รู้เท่าทันป้องกันเหตุแห่งความเสื่อม จากอบายมุขที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาหลักอบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาอบายมุขในการดำเนินชีวิตประจำวัน และ3. เพื่อศึกษาหลักอบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยพบว่า อบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ความเป็นนักเลงหญิง หญิงโสเภณี หมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์ มีราคะจริตแรงกล้า ความเป็นนักเลงสุรา ชอบเที่ยวกลางคืน ชอบเที่ยวดูการละเล่น ติดการพนัน คบคนชั่ว และเกียจคร้านการงาน วัฒนามุขในการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง เป็นเสมือนประตูชัยอันเปิดไปสู่ความสุข ความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิต ประกอบด้วย 6 ประการ คือ อาโรคยะ (ความไม่มีโรค) ศีล (มีศีล) พุทธานุมัต (ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลาย) สุตะ (การสดับฟัง) ธรรมานุวัตน์ (การประพฤติตามธรรม) อลีนตา (ความไม่ท้อถอย) อบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อนำไปงดเว้นในชีวิตประจำวัน คือ การใช้ชีวิตอย่างมีสติรอบคอบ รอบรู้ ประกอบด้วยปัญญา รู้เท่าทัน มีศีล เป็นผู้มีความเพียร เพื่อป้องกันไม่ให้ชีวิตเข้าไปข้องเกี่ยว อันเป็นต้นเหตุแห่งความฉิบหาย วุ่นวาย และเดือดร้อน การรู้เท่าทัน และไม่ข้องเกี่ยวอบายมุข จะทำให้ชีวิตเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีอายุยืน วรรณะผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสบายใจ สังคมสงบสุข มีพลังต่อสู้ในการงาน รักษาทรัพย์สมบัติมรดกไว้ได้ ปัญญาเฉลียวฉลาดเหมาะการศึกษาเล่าเรียน และทำให้วิถีชีวิตเจริญก้าวหน้าได้รับการสรรเสริญยกย่อง ดังนั้น อบายมุขในพระพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมเพื่อนำไปงดเว้นในชีวิตประจำวันเป็นหลักธรรมป้องกันเหตุแห่งความเสื่อมฉิบหาย เพื่อเตือนสติ ให้รู้เท่าทันป้องกันเหตุแห่งความเสื่อม จากอบายมุขที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
The thesis served the purposes: 1) to study the primary vices in Theravada Buddhism 2) to study the vices in everyday life 3)to study the primary vices in Theravada Buddhism to application in everyday life. Study of the primary vices in Theravada Buddhism and the vices in everyday life . Results of the research findings: Vices in Theravada Buddhism is a gangster, a female Hooker obsessed with corruption the Kama in the privacy desires gangster spirits like night like watching games. Compulsive gambling wicked and lazy dating jobs Vices in everyday life is a trip-watch movies watch drama. See a musical or watch later binge gambling into the modern fashion, beauty, excellent thing lu. Making people mad heart square Need to find the money to spend to obtain possession of it in expensive. Living the materialism and offended khran work Vices in Theravada Buddhism to application in everyday life is living a conscious Intelligence. That is why their not meddle about vices. Not as addictive vices that blockbusters and need knowledge of vices can therefore make life has flourished because of the evil caused by vices . Therefore, the primary vices, so it is one of the principles can be applied in everyday life. Use the averted principles because it is unconscious, knowingly deterioration arising from all vices.
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553