Search results

104 results in 0.14s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อเสนอแนะแนวทาง ในการพัฒนาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 172 รูป และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 162 คน รวมทั้งหมด 334 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่น .95 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รองลงมา คือ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปกครอง 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ พรรษา ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางปกครองสงฆ์ เพศ ตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะของการพัฒนาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด ควรสร้างภาคีเครือข่ายกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ช่วยขับเคลื่อนการคณะสงฆ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อเสนอแนะแนวทาง ในการพัฒนาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 172 รูป และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 162 คน รวมทั้งหมด 334 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่น .95 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รองลงมา คือ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปกครอง 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ พรรษา ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางปกครองสงฆ์ เพศ ตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะของการพัฒนาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมสนับสนุนการคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดร้อยเอ็ด ควรสร้างภาคีเครือข่ายกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ช่วยขับเคลื่อนการคณะสงฆ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
The purposes of this study were 1) to study the participation level of Local government organization in promotion and support of the Dhammayut Sangha Order in Roi Et Province 2) to compare the participation of Local government organization in promotion and support of the Dhammayut Sangha Order in Roi Et Province 3) to suggest guidelines for development on the participation of local government organization in promotion and support of the Dhammayut Sangha Order in Roi Et Province. The sample consisted of 172 priests in the Dhammayut Sangha Administration Area, Roi Et Province and 334 representatives of the local administrative organizations in Roi Et. The instrument used for data collection was a 5- level estimation scale questionnaire with content accuracy of 0.80 – 1.00, and confidence of .95. The results of research were found that: 1. The participation level of Local government organization in promotion and support of the Dhammayut Sangha Order in Roi Et Province: overall, was in a high level. When considering in each aspect sorted from the highest to the lowest were propagation of Buddhism, followed by public welfare, religious studies, welfare education, public assistance, and the lowest was domination. 2. The comparison results of participation of Local government organization in promotion and support of the Dhammayut Sangha Order in Roi Et Province, classified by Buddhist Lent,education level, clergy, gender, position, were significantly different at the .05 level. 3. The suggestions for development on the participation of local government organization in promotion and support of the Dhammayut Sangha Order in Roi Et Province: Should create network partners with Local government organizations on driving the Dhammayut Sangha Order to achieve maximum efficiency.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ พรรษา และระดับการศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีพระสงฆ์รวมทั้งสิ้น 515 รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 ผลการวิจัยพบว่า: 1. ระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านสังคม รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสาธารณสุข 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกอายุ พรรษา ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน ควรมีแนวทางการถวายความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์ ชุมชนควรให้ความใส่ใจกับการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณี เป็นการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น ฝ่ายปกครองในชุมชนควรให้ความร่วมมือกับพระสงฆ์ในการจัดกิจกรรมหรือโครงการอบรมเพื่อต่อต้านยาเสพติดให้แก่ประชาชน ควรปลูกจิตสำนึกให้แก่ชุมชนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ พรรษา และระดับการศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีพระสงฆ์รวมทั้งสิ้น 515 รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 ผลการวิจัยพบว่า: 1. ระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านสังคม รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสาธารณสุข 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกอายุ พรรษา ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน ควรมีแนวทางการถวายความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์ ชุมชนควรให้ความใส่ใจกับการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณี เป็นการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น ฝ่ายปกครองในชุมชนควรให้ความร่วมมือกับพระสงฆ์ในการจัดกิจกรรมหรือโครงการอบรมเพื่อต่อต้านยาเสพติดให้แก่ประชาชน ควรปลูกจิตสำนึกให้แก่ชุมชนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
The objectives of this research were 1) to study the level of Buddhist monks' participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province 2) to compare the Buddhist monks’ participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province, classified by age, lent and education level 3) to suggest guidelines of the Buddhist monks’ participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province. The sample group consisted of 515 Buddhist monks, determined using the Krejcie and Morgan tables. The instrument used for data collection was a 5-level estimation scale questionnaire with content accuracy of 0.80-1.00 and the confidence is 0.97. The results of the research found that: 1. The level of Buddhist monks' participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province: overall was at a high level. When considering each aspect in descending order of average from highest to lowest was social, followed by culture, and environment, and the lowest aspect was public health 2. Comparison of the level of Buddhist monks' participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province, classified by age, lent, education Level differed statistically at the .05 level 3. Suggestions for guidelines of Buddhist monks’ participation in community development: should be guidelines to educate monks, the community should pay attention to activities on important days for as to conserve and promote culture and traditions in order to development of arts and culture to be more prosperous, community governance should cooperate with monks in organizing activities or anti-drugs training programs for the people, should cultivate consciousness in the community to have volunteer spirit in conservation and environmental promotion.
หนังสือ

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่บุคลากร จำนวน 110 คน และผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า : 1) สภาพปัจจุบันการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านงบประมาณ รองลงมาคือ ด้านงานบุคคล ด้านงานวิชาการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านงานทั่วไป ส่วนสภาพที่คาดหวัง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านงานบุคคล รองลงมาคือ ด้านงานทั่วไป ด้านงานวิชาการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านงบประมาณ 2) ความต้องการจำเป็น เรียงจากความต้องการมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านงานทั่วไป ด้านงานบุคคล ด้านงานวิชาการ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ 3) แนวทางการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ดังนี้ (1) ควรมีแนวปฏิบัติในการดำเนินผลประเมินผลที่ชัดเจน บริหารจัดการตามนโยบาย กิจกรรม และภารกิจ ของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบแบบแผนที่กำหนด (2) ควรมีการวางแผนพัสดุ การจัดหาพัสดุ การควบคุมดูแล (3) ควรมีการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา (4) ควรมีการวิเคราะห์วางแผนอัตรากำลัง เรียงลำดับอัตรากำลังที่ขาดแคลนจากมากไปหาน้อย (5) ควรกำหนดนโยบาย วางแผนงาน โครงการ กิจกรรมของกลุ่มบริหารงานทั่วไปให้ชัดเจน ผู้บริหารควรควบคุมดูแลงานของกลุ่มบริหารงานทั่วไปให้เป็นไปตามนโยบายของสถานศึกษา
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่บุคลากร จำนวน 110 คน และผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า : 1) สภาพปัจจุบันการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านงบประมาณ รองลงมาคือ ด้านงานบุคคล ด้านงานวิชาการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านงานทั่วไป ส่วนสภาพที่คาดหวัง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านงานบุคคล รองลงมาคือ ด้านงานทั่วไป ด้านงานวิชาการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านงบประมาณ 2) ความต้องการจำเป็น เรียงจากความต้องการมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านงานทั่วไป ด้านงานบุคคล ด้านงานวิชาการ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ 3) แนวทางการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ดังนี้ (1) ควรมีแนวปฏิบัติในการดำเนินผลประเมินผลที่ชัดเจน บริหารจัดการตามนโยบาย กิจกรรม และภารกิจ ของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบแบบแผนที่กำหนด (2) ควรมีการวางแผนพัสดุ การจัดหาพัสดุ การควบคุมดูแล (3) ควรมีการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา (4) ควรมีการวิเคราะห์วางแผนอัตรากำลัง เรียงลำดับอัตรากำลังที่ขาดแคลนจากมากไปหาน้อย (5) ควรกำหนดนโยบาย วางแผนงาน โครงการ กิจกรรมของกลุ่มบริหารงานทั่วไปให้ชัดเจน ผู้บริหารควรควบคุมดูแลงานของกลุ่มบริหารงานทั่วไปให้เป็นไปตามนโยบายของสถานศึกษา
The objectives of the research were 1) to study the current and desired situations of the Educational Administration of the General Education Section of Phrapariyattidhamma Schools In Kalasin Province, 2)to analyze the needs of Educational Administration of the said schools, and 3) to find out the suggestions and recommendations related to the administration of those particular schools. Samples were the personnel of Phrapariyattidhamma Schools In Kalasin Province, totally 110 in number and 10 interviews. The instruments for collecting the data were the questionnaire, with its reliability value at 0.94 and quality-verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices consisted of Frequency, Percentage, mean, and standard deviation. Statistics used to test the hypothesis were PNI Modified The research results were as follows: 1) The current situation of educational administration of the General Education Section of Phrapariyattidhamma Schools in Kalasin Province was, in an overall aspect, found to be at the Medium level, whereas in an individual dimension, the item that stood on top of the scale was financial issue, second to which was personnel administration, followed by academic and general management, respectively. As for the desired situation, it was, in an overall aspect, found to stand at the highest level, but in an individual aspect, the issue that displayed the highest average record was the aspect of personnel administration, followed by general and academic management, with the issue of finance lying at the bottom. 2) The desired needs, ranked downward from top to bottom, were general, personnel, academic and financial management, in that order. 3) The suggestions as recommended by the responses and interviews were the following: (1) Evaluation of performances should be clearly implemented, and administration of policy, activity and duties should be carried on under the plan as established. (2) There should be a well-designed plan for administration of premises and materials, together with their acquirement and control. (3) The finance and investment should be mobilized for the sake of educational promotion. (4) The man power plan should be undertaken on the acquired information in preparation for unexpected situation due to occur. 5) The administrator should run the general administrative commitments along with the institutional policies as set in advance.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความรู้เรื่องกรรมในพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาทัศนะเรื่องกรรมของนักปราชญ์ชาวพุทธไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้เรื่องกรรมในพุทธศาสนา พุทธศาสนาได้ให้ความหมายของกรรมว่า คือ การกระทำอันเกิดจากเจตนา คือ ความจงใจ ความตั้งใจ ที่เป็นกุศลและอกุศล ที่แสดงออกทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อได้กระทำกรรมสำเร็จแล้ว ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ พุทธศาสนา แบ่งการให้ผลของกรรมออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับจิตใจ ระดับบุคลิกภาพ ระดับวิถีชีวิตบุคคล และระดับสังคม ในส่วนแห่งองค์ประกอบที่ส่งเสริมและขัดขวางการให้ผลของกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ 4 คู่ ที่เรียกว่า สมบัติ (ข้อดี) และวิบัติ (ข้อเสีย) อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้เข้าถึงคำสอนของพระพุทธศาสนามุ่งสอนให้บุคคลกระทำแต่กรรมดีและพัฒนาตนเองให้หมดกิเลสและอยู่เหนือกฎแห่งกรรมดังดังพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้นเอง 2. ทัศนะเรื่องกรรมของนักปราชญ์ชาวพุทธไทย กรรมในทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธไทยนั้น นักปราชญ์ชาวพุทธไทยพยายามอธิบายขยายความคำสอนเรื่องกรรมในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคำสอนชั้นปฐมภูมิและเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจได้ยาก เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในคำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา โดยได้อธิบายให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้แบ่งแยกประเภทแห่งกรรมไว้กี่ประเภท มีชื่อมีลักษณะและทำหน้าที่ต่างกันอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงการให้ผลของกรรม เป็นการขจัดข้อกังขาในปัญหาที่ว่า กรรมมีผลจริงหรือไม่ หากกรรมมีผลจริง กรรมนั้นจะให้ผลเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร 3. วิเคราะห์กรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย นักปราชญ์ไทยในที่นี้หมายถึง พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร, ป.ธ. 9) และวศิน อินทสระ ผลการวิจัยพบว่า การอธิบายเรื่องกรรมของนักปราชญ์ทั้ง 2 ท่าน เป็นความพยายามอธิบายให้เข้าใจในเรื่องของกรรม ว่าพระพุทธศาสนาได้แบ่งกรรมออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภททำหน้าที่ให้ผลต่างกันอย่างไรบ้าง เป็นการอธิบายให้เข้าใจความเป็นไปแห่งวิบากกรรมของกรรมแต่ละประเภท เพื่อขจัดความไม่เข้าใจในปัญหาเรื่องกรรม เช่น กรรมมีผลจริงหรือไม่ หากกรรมมีผลจริง กรรมนั้นจะให้ผลเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ส่วนในเรื่องจุดมุ่งหมายในการอธิบายขยายความเพิ่มนั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและนำไปปฏิบัติเพื่อเผาผลาญสังหารกรรม ให้หมดไปเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความรู้เรื่องกรรมในพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาทัศนะเรื่องกรรมของนักปราชญ์ชาวพุทธไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้เรื่องกรรมในพุทธศาสนา พุทธศาสนาได้ให้ความหมายของกรรมว่า คือ การกระทำอันเกิดจากเจตนา คือ ความจงใจ ความตั้งใจ ที่เป็นกุศลและอกุศล ที่แสดงออกทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อได้กระทำกรรมสำเร็จแล้ว ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ พุทธศาสนา แบ่งการให้ผลของกรรมออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับจิตใจ ระดับบุคลิกภาพ ระดับวิถีชีวิตบุคคล และระดับสังคม ในส่วนแห่งองค์ประกอบที่ส่งเสริมและขัดขวางการให้ผลของกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ 4 คู่ ที่เรียกว่า สมบัติ (ข้อดี) และวิบัติ (ข้อเสีย) อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้เข้าถึงคำสอนของพระพุทธศาสนามุ่งสอนให้บุคคลกระทำแต่กรรมดีและพัฒนาตนเองให้หมดกิเลสและอยู่เหนือกฎแห่งกรรมดังดังพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้นเอง 2. ทัศนะเรื่องกรรมของนักปราชญ์ชาวพุทธไทย กรรมในทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธไทยนั้น นักปราชญ์ชาวพุทธไทยพยายามอธิบายขยายความคำสอนเรื่องกรรมในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคำสอนชั้นปฐมภูมิและเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจได้ยาก เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในคำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา โดยได้อธิบายให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้แบ่งแยกประเภทแห่งกรรมไว้กี่ประเภท มีชื่อมีลักษณะและทำหน้าที่ต่างกันอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงการให้ผลของกรรม เป็นการขจัดข้อกังขาในปัญหาที่ว่า กรรมมีผลจริงหรือไม่ หากกรรมมีผลจริง กรรมนั้นจะให้ผลเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร 3. วิเคราะห์กรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย นักปราชญ์ไทยในที่นี้หมายถึง พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร, ป.ธ. 9) และวศิน อินทสระ ผลการวิจัยพบว่า การอธิบายเรื่องกรรมของนักปราชญ์ทั้ง 2 ท่าน เป็นความพยายามอธิบายให้เข้าใจในเรื่องของกรรม ว่าพระพุทธศาสนาได้แบ่งกรรมออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภททำหน้าที่ให้ผลต่างกันอย่างไรบ้าง เป็นการอธิบายให้เข้าใจความเป็นไปแห่งวิบากกรรมของกรรมแต่ละประเภท เพื่อขจัดความไม่เข้าใจในปัญหาเรื่องกรรม เช่น กรรมมีผลจริงหรือไม่ หากกรรมมีผลจริง กรรมนั้นจะให้ผลเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ส่วนในเรื่องจุดมุ่งหมายในการอธิบายขยายความเพิ่มนั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและนำไปปฏิบัติเพื่อเผาผลาญสังหารกรรม ให้หมดไปเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the knowledge of karma in Buddhism; 2) to study the views on karma of Thai Buddhist sages; 3) to analyze karma according to the views of Buddhist sages in Thai society This research is a qualitative research. and using the data obtained for descriptive analysis. The results of the research were as follows: 1. Knowledge of Karma in Buddhism Buddhism has defined karma as actions that result from intention, willful and unwholesome intentions. which manifests physically, verbally and mentally when the karma has been done successfully. would receive appropriate results for that karma. Buddhism divides the effect of karma into 4 levels: mental level, personality level. level of person's way of life and social level as for the elements that promote and hinder the effect of that karma. Depends on the 4 pairs of various elements known as treasure (advantages) and disaster (disadvantages). However, when looking at the teachings of Buddhism, it aims to teach people to do good deeds and develop themselves to be free from defilements and to be above the law of karma as mentioned. The Lord Almighty 2. The view of karma of Thai Buddhist philosophers Karma in the view of Thai Buddhist philosophers Thai Buddhist scholars try to explain and expand the teachings of karma in the Tripitaka. This is a primary teaching and is a language that is difficult for the general public to understand. To prevent misunderstandings in the teachings of karma in Buddhism By explaining how many types of karma have been categorized in Buddhism. What are the different names and functions? along with pointing out the results of karma to eliminate doubts about the problem that is karma really effective? If karma is real how will the effect be the same or different. 3. Analyze karma according to the views of Buddhist scholars in Thai society. Thai philosophers here refer to Phra Phrommoli (Wilas Yarnavaro, Phor.Thor. 9) and Wasin Inthasara. The explanation of karma by the two scholars is an attempt to explain the matter of karma. that Buddhism has divided karma into how many types and how does each type act differently? It is an explanation to understand the possibility of each kind of karma. to eliminate the misunderstanding of the problem of karma, such as whether karma is real If karma is real How will the effect be the same or different? As for the purpose of expanding the explanation So that the reader can easily understand and put into practice to burn karma. to finally reach nirvana.
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักปาณาติบาตในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาปาณาติบาต ที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานล้านนา เรื่องตำนานหอยไห้ ฉบับวัดท่าเดื่อ ตำบล สันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบปาณาติบาต ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับคัมภีร์ใบลานล้านนา เรื่องตำนานหอยไห้ ฉบับวัดท่าเดื่อ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาจาก เอกสารปฐมภูมิ คือพระไตรปิฎกและคัมภีร์ใบลานเรื่องหอยไห้ประกอบกับเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา หนังสือเอกสารประเภทตำราและวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องและบทความทางวิชาการจากนิตยสาร และบทความวิชาการจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์อินเตอร์เน็ต นำมาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัยข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า : 1. หลักปาณาติบาตในพุทธปรัชญาเถรวาท ปาณาติบาต คือ การทำร้ายชีวิตสัตว์นั้นให้ตายก่อนเวลาอันควร โดยการประทุษร้ายต่อชีวิตและร่ายกาย ด้วยการทำลายเบียดเบียน ทรมานชีวิตสัตว์ให้เดือดร้อนบาดเจ็บจนตายไป เป็นการกระทำด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำก็ตามในการฆ่าสัตว์จะในทางใดทางหนึ่งหรือวิธีใด ๆ ก็ตามจนทำให้ชีวิตของสัตว์นั้นต้องสิ้นลงไป ตามองค์ประกอบของปาณาติบาตทั้ง 5 ประการ ที่เป็นตัววัดในการกระทำผิด คือ 1) สัตว์นั้นมีชีวิต 2) รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต 3) มีเจตนาที่จะฆ่า 4) มีความเพียรที่จะเข้าไปฆ่าและ 5) สัตว์เหล่านั้นตายด้วยความเพียรพยายามในการฆ่าให้ตาย ชื่อว่าเป็นการฆ่าสัตว์ เป็นการกระทำปาณาติบาต 2. ปาณาติบาต ที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานล้านนา คัมภีร์ใบลานเรื่องหอยไห้ เป็นคัมภีร์นอกนิบาต ที่สร้างขึ้นด้วยการจาร (การเขียน) ลงบนใบลานด้วยอักษรธรรมล้านนา ด้วยแรงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา เพื่อถวายไว้กับพระพุทธศาสนา เพื่อใช้ในการเผยแผ่อบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนที่สนใจเข้าวัดฟังธรรม ให้รู้จักการรักษาศีลข้อปาณาติบาต โดยเอาเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันมาแต่งให้เป็นนิทานชาดกประกอบเข้ากับหลักของศีลข้อที่หนึ่ง โดยให้เล็งเห็นว่าทุกชีวิตต่างรักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นและมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น 3. วิเคราะห์และเปรียบเทียบปาณาติบาต ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับคัมภีร์ใบลานล้านนา ปาณาติบาตในพุทธปรัชญาเถรวาทและในคัมภีร์ใบลานนั้น ได้มีนัยยะความหมายที่สอดคล้องเหมือนกัน คือ เป็นหลักแห่งการปฏิบัติในการสร้างความสงบสุขของสรรพสัตว์ที่อาศัยบนโลกไม่ให้มีการเบียดเบียนและทำร้ายกัน และผลของการกระทำความผิดที่มีความเหมือนและแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ส่วนที่เหมือนกัน คือ ผลของการกระทำโดยเมื่อบุคคลไหนเป็นผู้ประพฤติผิดในการฆ่าสัตว์ มีใจทารุณโหดร้าย เมื่อตายไปจากโลกนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมตกสู่อบายภูมิ ทุคติ วินิบาต นรก และเมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์บุคคลนั้นก็จะเป็นผู้มีอายุสั้น ส่วนที่ต่างกัน คือ ในคัมภีร์จะบรรยายเพิ่มให้ผู้ที่หากกระทำนั้น จะต้องได้พัดพรากจากครอบครัว มิตรสหายญาติพี่น้องและคนที่รักทั้งปวง ต้องอยู่อย่างโดดเดียว ไม่มีใครรักใคร่เมตตาต่อตน ทำให้ผู้กระทำผิดกลัวต่ออำนาจแห่งการประพฤติผิดศีลข้อปาณาติบาต
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักปาณาติบาตในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาปาณาติบาต ที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานล้านนา เรื่องตำนานหอยไห้ ฉบับวัดท่าเดื่อ ตำบล สันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบปาณาติบาต ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับคัมภีร์ใบลานล้านนา เรื่องตำนานหอยไห้ ฉบับวัดท่าเดื่อ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาจาก เอกสารปฐมภูมิ คือพระไตรปิฎกและคัมภีร์ใบลานเรื่องหอยไห้ประกอบกับเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา หนังสือเอกสารประเภทตำราและวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องและบทความทางวิชาการจากนิตยสาร และบทความวิชาการจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์อินเตอร์เน็ต นำมาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัยข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า : 1. หลักปาณาติบาตในพุทธปรัชญาเถรวาท ปาณาติบาต คือ การทำร้ายชีวิตสัตว์นั้นให้ตายก่อนเวลาอันควร โดยการประทุษร้ายต่อชีวิตและร่ายกาย ด้วยการทำลายเบียดเบียน ทรมานชีวิตสัตว์ให้เดือดร้อนบาดเจ็บจนตายไป เป็นการกระทำด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำก็ตามในการฆ่าสัตว์จะในทางใดทางหนึ่งหรือวิธีใด ๆ ก็ตามจนทำให้ชีวิตของสัตว์นั้นต้องสิ้นลงไป ตามองค์ประกอบของปาณาติบาตทั้ง 5 ประการ ที่เป็นตัววัดในการกระทำผิด คือ 1) สัตว์นั้นมีชีวิต 2) รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต 3) มีเจตนาที่จะฆ่า 4) มีความเพียรที่จะเข้าไปฆ่าและ 5) สัตว์เหล่านั้นตายด้วยความเพียรพยายามในการฆ่าให้ตาย ชื่อว่าเป็นการฆ่าสัตว์ เป็นการกระทำปาณาติบาต 2. ปาณาติบาต ที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานล้านนา คัมภีร์ใบลานเรื่องหอยไห้ เป็นคัมภีร์นอกนิบาต ที่สร้างขึ้นด้วยการจาร (การเขียน) ลงบนใบลานด้วยอักษรธรรมล้านนา ด้วยแรงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา เพื่อถวายไว้กับพระพุทธศาสนา เพื่อใช้ในการเผยแผ่อบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนที่สนใจเข้าวัดฟังธรรม ให้รู้จักการรักษาศีลข้อปาณาติบาต โดยเอาเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันมาแต่งให้เป็นนิทานชาดกประกอบเข้ากับหลักของศีลข้อที่หนึ่ง โดยให้เล็งเห็นว่าทุกชีวิตต่างรักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นและมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น 3. วิเคราะห์และเปรียบเทียบปาณาติบาต ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับคัมภีร์ใบลานล้านนา ปาณาติบาตในพุทธปรัชญาเถรวาทและในคัมภีร์ใบลานนั้น ได้มีนัยยะความหมายที่สอดคล้องเหมือนกัน คือ เป็นหลักแห่งการปฏิบัติในการสร้างความสงบสุขของสรรพสัตว์ที่อาศัยบนโลกไม่ให้มีการเบียดเบียนและทำร้ายกัน และผลของการกระทำความผิดที่มีความเหมือนและแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ส่วนที่เหมือนกัน คือ ผลของการกระทำโดยเมื่อบุคคลไหนเป็นผู้ประพฤติผิดในการฆ่าสัตว์ มีใจทารุณโหดร้าย เมื่อตายไปจากโลกนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมตกสู่อบายภูมิ ทุคติ วินิบาต นรก และเมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์บุคคลนั้นก็จะเป็นผู้มีอายุสั้น ส่วนที่ต่างกัน คือ ในคัมภีร์จะบรรยายเพิ่มให้ผู้ที่หากกระทำนั้น จะต้องได้พัดพรากจากครอบครัว มิตรสหายญาติพี่น้องและคนที่รักทั้งปวง ต้องอยู่อย่างโดดเดียว ไม่มีใครรักใคร่เมตตาต่อตน ทำให้ผู้กระทำผิดกลัวต่ออำนาจแห่งการประพฤติผิดศีลข้อปาณาติบาต
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study the principles of killing in Theravada Buddhist philosophy, 2) to study killing in Lanna palm-leaf scripture as the legend of Hoihai, Wat Thaduea version, Sanphisuea sub-district, Muang district, Chiang Mai province, 3) to analyze and compare killing in Theravada Buddhist philosophy and Lanna scripture as legend of Hoihai, Wat Thaduea version, Sanphisuea sub-district, Muang district, Chiang Mai province. This research was documentary research by studying primary documents, the Tripitaka, and palm-leaf scripture, the lehgend of Hoihai, together with secondary documents such as commentaries, textbooks and academic documents, research reports, theses, related thematic papers, academic articles from magazines and academic articles from electronic media in the Internet and data of research were analyze to find out results in descriptive manner. The results of research were found that: 1. Killing means to injure animal's life to cause it to die prematurely by injuring life and body, by destroying and by torturing animal’ life to suffer and hurt to death. It was either done by oneself or by others in killing animal by any ways or means to end of animal's life according to the 5 elements of killing as the measure of wrong doing, namely, 1) the animal was alive, 2) knowing that animals was alive, 3) having intent to kill, 4) having perseverance to go kill, and 5) the animal died in painstaking that effort to kill. This was called killing and it was act of killing. 2. This palm-leaf scripture was pagan scripture created by engraving on palm leaves with Lanna Dhamma alphabets with faith in Buddhism to offer to Buddhism and for use in propagating and teaching Buddhists who were interested in attending temple to listen to the Dhamma and to know how to observe the precept of killing by taking story of daily life to compose it into a jataka tale combined with the principle of the first precept by foreseeing that every life loved happiness and hated suffering together for easier understanding and clearer vision. 3. The results of analysis and comparison revealed that killing in Theravada Buddhist philosophy and palm-leaf scripture had the same meaning as principle of practice in creating peace for all beings living on the planet without harassing and hurting each other and its consequences of committing offense were similar and slightly different. The same thing was the result of action when person committing act of killing animal with cruel mind died from this world would fall into state of misery, woeful existence, place of suffering and hell and when he was born as a human, he would be short-lived. The difference was that the scripture would give additional descriptions to one who did so that he must be separated from family, all friends, relatives and beloved ones. He had to live alone and had no one to love and have compassion toward him. This made offender fear the power of misconduct in the precept of killing.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดขอนแก่น ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักพุทธวิธีในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ คัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ย รวมทั้งผู้มีความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งตามแนวพุทธ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า หลักพุทธวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพุทธศาสนาเถรวาท เน้นการแก้ไขจากเหตุปัจจัยภายในที่เป็นรากเหง้าของความขัดแย้ง เพื่อให้คู่พิพาทเกิดสันติภาวะและร่วมกันแก้ไขปัญหาจนเกิดสันติภาพ ส่วนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดขอนแก่นเน้นที่ประเด็นปัญหาและวิธีการจัดการ เพื่อให้ได้ข้อตกลงยุติข้อพิพาท สำหรับการประยุกต์ใช้หลักพุทธวิธีในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอม เป็นการนำหลักพุทธวิธีไปปรับใช้ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ยของผู้ประนีประนอมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้การแก้ไขข้อพิพาท มีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน คือ ๑. การวิเคราะห์ปัญหาข้อพิพาท ๒. การสร้างความเชื่อถือ ๓. การสร้างความสงบ และ ๔. การสร้างสันติ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดขอนแก่น ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักพุทธวิธีในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ คัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ย รวมทั้งผู้มีความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งตามแนวพุทธ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า หลักพุทธวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพุทธศาสนาเถรวาท เน้นการแก้ไขจากเหตุปัจจัยภายในที่เป็นรากเหง้าของความขัดแย้ง เพื่อให้คู่พิพาทเกิดสันติภาวะและร่วมกันแก้ไขปัญหาจนเกิดสันติภาพ ส่วนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดขอนแก่นเน้นที่ประเด็นปัญหาและวิธีการจัดการ เพื่อให้ได้ข้อตกลงยุติข้อพิพาท สำหรับการประยุกต์ใช้หลักพุทธวิธีในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอม เป็นการนำหลักพุทธวิธีไปปรับใช้ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ยของผู้ประนีประนอมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้การแก้ไขข้อพิพาท มีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน คือ ๑. การวิเคราะห์ปัญหาข้อพิพาท ๒. การสร้างความเชื่อถือ ๓. การสร้างความสงบ และ ๔. การสร้างสันติ
This thesis has the objectives to study: 1. Buddhist principles in reconciliation in Theravada Buddhism, 2. the methods of reconciliation of reconciliatory in Khon Kaen provincial court, and 3. the application of Buddhist principles in reconciliation of reconciliatory in Khon Kaen provincial court. This is the qualitative research, and the researcher collected and studied form Tipitaka, commentary, texts, books, and related documents about reconciliation. The researcher interviewed reconciliatory, parties, layers in reconciliation center in Khon kaen provincial court including the Buddhist experts in reconciliation and analyzed the data by inductive methodology. Regarding to the research, Buddhist principles in reconciliation in Theravada Buddhism emphasizes on the root cause of the conflict to find peace and resolve it together. The reconciliation of reconciliatory in Khon Kaen provincial court does mainly focus on the root cause and how to manage to solve with dispute. The Court meditator have applied the Buddhist principles into the reconciliation process. To effectively resolve the dispute, there are 4 steps; 1. Dispute analysis, 2. Gaining trust, 3. Creating peace, and 4. Creating harmony.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 วิธีการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนที่อาศัยอยู่เขตเทศบาลแสนสุข ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรอิสระตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1.ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2.เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ พบว่า ด้านเพศ ไม่แตกต่างกัน และด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความรู้ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีกลยุทธ์ที่จะทำให้ประชาชนเข้าร่วมประชาคมมากขึ้น และให้ความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยการจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนโครงการต่างๆของชุมชน และควรสำรวจความพอใจในการจัดทำแผนพัฒนาด้านสาธารณูปโภค
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 วิธีการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนที่อาศัยอยู่เขตเทศบาลแสนสุข ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรอิสระตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1.ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2.เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ พบว่า ด้านเพศ ไม่แตกต่างกัน และด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความรู้ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีกลยุทธ์ที่จะทำให้ประชาชนเข้าร่วมประชาคมมากขึ้น และให้ความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยการจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนโครงการต่างๆของชุมชน และควรสำรวจความพอใจในการจัดทำแผนพัฒนาด้านสาธารณูปโภค
The objectives of this research were as follows: 1) to study people's public participation in the preparation of local development plans in SaenSuk Municipality Warin Chamrap District Ubon Ratchathani Province along with the fourfold Itthipada 2) To compare the participation of people in preparation of local development plans in the Saensuk Municipality Warin Chamrap District Ubon Ratchathani Province along with the fourfold Itthipada and 3) to study recommendations of people's participation in the preparation of local development plans in Saensuk Municipality Warin Chamrap District Ubon Ratchathani Province along with the fourfold Itthipada. The researcher studied the research by survey research method. Data was collected by using a questionnaire with people living in Saen Suk municipality. The sample group obtained by calculating the sample size according to the Taro Yamane formula was 392 people. The used tool for collecting data in this research was a questionnaire. For data analysis, Statistical Package for social science (SPSS) was utilized to analyze for a percentage of frequency, Standard Deviation, t-test, One-way ANOVA in the case of three or more independent variables. When there is the difference compared in pairs using (Least Significant Difference: LSD) by specifying the level with a statistical significance level of 0.05 The results were found that: 1. People have opinions on people's participation in the preparation of local development plans in Saen Suk Municipality, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province, along with the fourfold Itthipada. It was found that at the highest level in all aspects. 2. Comparison of people's opinions towards people's participation in the preparation of local development plans in Saensuk Municipality, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province, along with the fourfold Itthipada, classified by personal factors According to the assumptions set, it was found that gender was not different and age, education level, occupation, and average monthly income were significantly different at 0.05 level. 3. Suggestions for people's participation in the preparation of local development plans in Saensuk Municipality, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province, along with the fourfold Itthipada, it was found that the people had an opinion to have and knowledge about the preparation of local development plans for public relations the people. Some strategies will allow more people to join the community and give importance to the preparation of local development plans by allocating budgets to support various community projects and should survey the satisfaction in the preparation of the development plan for utilities.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเวสสันดรชาดก 2) เพื่อศึกษาปรัชญาอัตถิภาวนิยม 3) เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาอัตถิภาวนิยมในเวสสันดรชาดก ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นเอกสาร จากพระไตรปิฎก ตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผล นำเสนอด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า : เวสสันดรชาดก เป็นการบำเพ็ญทานบารมีของพระโพธิสัตว์เวสสันดร คือการพระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ การกระทำสัตตสดกมหาทาน ปุตตทานคือการให้พระชาลีและพระกัณหา และทารทานคือการให้พระนางมัทรี เพื่อบรรลุพระโพธิญาณ ปรัชญาอัตถิภาวนิยม มีแนวคิดเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบ มนุษย์คือเสรีภาพ เสรีภาพคือสารัตถะของมนุษย์ เมื่อใดมนุษย์ใช้เสรีภาพ มนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อผลของการใช้เสรีภาพนั้นเสมอ วิเคราะห์ปรัชญาอัตถิภาวนิยมผ่านท่าทีของพระเวสสันดรเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบ คือเสรีภาพในการเลือกและเสรีภาพสมบูรณ์ในการทำทานโดยไม่หวั่นเกรงต่อความตาย และความรับผิดชอบต่อตนเอง ที่ยอมรับการถูกเนรเทศสู่เขาวงกต และความรับผิดชอบต่อโลกเพื่อมิให้เกิดสงคราม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเวสสันดรชาดก 2) เพื่อศึกษาปรัชญาอัตถิภาวนิยม 3) เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาอัตถิภาวนิยมในเวสสันดรชาดก ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นเอกสาร จากพระไตรปิฎก ตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผล นำเสนอด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า : เวสสันดรชาดก เป็นการบำเพ็ญทานบารมีของพระโพธิสัตว์เวสสันดร คือการพระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ การกระทำสัตตสดกมหาทาน ปุตตทานคือการให้พระชาลีและพระกัณหา และทารทานคือการให้พระนางมัทรี เพื่อบรรลุพระโพธิญาณ ปรัชญาอัตถิภาวนิยม มีแนวคิดเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบ มนุษย์คือเสรีภาพ เสรีภาพคือสารัตถะของมนุษย์ เมื่อใดมนุษย์ใช้เสรีภาพ มนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อผลของการใช้เสรีภาพนั้นเสมอ วิเคราะห์ปรัชญาอัตถิภาวนิยมผ่านท่าทีของพระเวสสันดรเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบ คือเสรีภาพในการเลือกและเสรีภาพสมบูรณ์ในการทำทานโดยไม่หวั่นเกรงต่อความตาย และความรับผิดชอบต่อตนเอง ที่ยอมรับการถูกเนรเทศสู่เขาวงกต และความรับผิดชอบต่อโลกเพื่อมิให้เกิดสงคราม
This thesis objectives 1) to study the Vessantara Jataka 2) to study the philosophy of existentialism 3) to analyze the philosophy of existentialism in the Vessantara Jataka use a qualitative research method, focusing on paperwork from the Tripitaka, textbooks, documents and related research and then analyzed and summarized the results. presented in a descriptive way. The results of research were found that : Vessantara Jataka is the asceticism of the Bodhisattva Vessantara is to bestow the elephant Paccainaga action Puttana is to give to Phra Chali and Phra Kanha. and giving alms to Phra Nang Matri to attain the Bodhisattva. Existentialism philosophy have the concept of freedom and responsibility. Man is freedom. Freedom is the essence of human beings. When human beings take freedoms. Man is always responsible for the consequences of exercising that freedom. Analyze the philosophy of existentialism through Vessantara's attitude on freedom and responsibility. It is freedom of choice and absolute freedom to alms without fear of death and self-responsibility who accepted exile to the labyrinth and responsibility to the world to prevent war.
หนังสือ

    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมธุดงควัตรตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมธุดงควัตรของพระนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติธรรมธุดงควัตรของพระนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสานการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสารโดยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และผู้วิจัยได้มีการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยมีประชากร คณาจารย์และพระนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ปีที่ 4 ที่จะจบการศึกษา จำนวน 21 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: พระธุดงค์ในกรอบทางพระพุทธศาสนาคือ กลุ่มพระสงฆ์ที่มุ่งดำเนินตามทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในทางด้านการปฏิบัติมีความมักน้อยและสันโดษ ไม่ยึดติดในศักดิ์ไม่เกี่ยวข้อง ตัดขาดกับทางโลก ปลีกวิเวก หาความสงบ มุ่งสู่การบรรลุธรรมจนถึงพระนิพพาน คำว่าธุดงค์ เน้นแปลตามตัว หมายถึง องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลสประกอบด้วยข้อวัตรปฏิบัติ 13 ข้อ เรียกว่า ธุดงควัตร 13 ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติสามารถเลือกปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งได้ตามความสมัครใจ และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ครบทุกข้อ เพราะการปฏิบัติขึ้นอยู่ที่ความอดทน และความเพียร ความวุ่นวายจากสังคม มุ่งต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสภายในของแต่ละบุคคล การปฏิบัติธรรมธุดงควัตร ของพระนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ซึ่งได้จัดกิจกรรมการ“ธุดงค์” ทุกปีเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ข้อวัตร เกี่ยวกับธุดงค์ และที่สำคัญคือการกำจัดกิเลส ทำให้จิตใจสงบสุข และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ อานิสงส์ที่เกิดจากการปฏิบัติธุดงค์คือ ทำให้พระที่จาริกไปตามสถานที่ต่างๆอยู่อย่างสมถะเสียสละลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่านเป็นอิสระพ้นจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียรการท่องไปในที่ต่างๆ เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีหลักการวัตถุประสงค์เป็นแบบอย่างเฉพาะและมีแนวทางการปฏิบัติธุดงควัตรที่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกและตามแนวการปฏิบัติของพระอริยะสงฆ์เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทฺตโต, หลวงปู่ดูลย์อตุโล, หลวงตามหาบัว าณสมฺปนฺโนและท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นต้น การวิเคราะห์การปฏิบัติธรรมธุดงควัตรของพระนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสานมีความสอดคล้องกับหลักการปฏิบัติธรรมธุดงควัตรตามแนวทางพุทธศาสนาเถรวาททั้ง 3หมวด กล่าวคือ หมวดจีวร หมวดบิณฑบาต และ หมวดเสนาสนะ ผลการปฏิบัติทำให้พระนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีความสงบระงับจากนิวรณ์ 5 ประการ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมธุดงควัตรตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมธุดงควัตรของพระนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติธรรมธุดงควัตรของพระนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสานการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสารโดยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และผู้วิจัยได้มีการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยมีประชากร คณาจารย์และพระนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ปีที่ 4 ที่จะจบการศึกษา จำนวน 21 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: พระธุดงค์ในกรอบทางพระพุทธศาสนาคือ กลุ่มพระสงฆ์ที่มุ่งดำเนินตามทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในทางด้านการปฏิบัติมีความมักน้อยและสันโดษ ไม่ยึดติดในศักดิ์ไม่เกี่ยวข้อง ตัดขาดกับทางโลก ปลีกวิเวก หาความสงบ มุ่งสู่การบรรลุธรรมจนถึงพระนิพพาน คำว่าธุดงค์ เน้นแปลตามตัว หมายถึง องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลสประกอบด้วยข้อวัตรปฏิบัติ 13 ข้อ เรียกว่า ธุดงควัตร 13 ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติสามารถเลือกปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งได้ตามความสมัครใจ และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ครบทุกข้อ เพราะการปฏิบัติขึ้นอยู่ที่ความอดทน และความเพียร ความวุ่นวายจากสังคม มุ่งต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสภายในของแต่ละบุคคล การปฏิบัติธรรมธุดงควัตร ของพระนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ซึ่งได้จัดกิจกรรมการ“ธุดงค์” ทุกปีเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ข้อวัตร เกี่ยวกับธุดงค์ และที่สำคัญคือการกำจัดกิเลส ทำให้จิตใจสงบสุข และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ อานิสงส์ที่เกิดจากการปฏิบัติธุดงค์คือ ทำให้พระที่จาริกไปตามสถานที่ต่างๆอยู่อย่างสมถะเสียสละลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่านเป็นอิสระพ้นจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียรการท่องไปในที่ต่างๆ เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีหลักการวัตถุประสงค์เป็นแบบอย่างเฉพาะและมีแนวทางการปฏิบัติธุดงควัตรที่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกและตามแนวการปฏิบัติของพระอริยะสงฆ์เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทฺตโต, หลวงปู่ดูลย์อตุโล, หลวงตามหาบัว าณสมฺปนฺโนและท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นต้น การวิเคราะห์การปฏิบัติธรรมธุดงควัตรของพระนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสานมีความสอดคล้องกับหลักการปฏิบัติธรรมธุดงควัตรตามแนวทางพุทธศาสนาเถรวาททั้ง 3หมวด กล่าวคือ หมวดจีวร หมวดบิณฑบาต และ หมวดเสนาสนะ ผลการปฏิบัติทำให้พระนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีความสงบระงับจากนิวรณ์ 5 ประการ
The objectives of the research were as follows: 1) to study Theravada Buddhist Dhutanga practice, 2) to study the Dhutanga practice of Buddhist monk students in Mahamakut Buddhist University Isan Campus, and 3) to analyze Dhutanga practice of Buddhist monk students in Mahamakut Buddhist University Isan Campus.This research was a qualitative research focused on documentary research. The study analyzed the data from primary documents and related research primarily and the researcher collected field data by in-depth interviews with faculty and 4thyear monk students of Mahamakut Buddhist University Isan Campus altogether 21 people. The results were as follows; In Buddhism, the monks practicing Dhutanga are strong-minded monks following the path laid down by the Lord Buddha focusing on seclusion and modesty, detach from prestige, secular and search for the peace to reach enlightenment. Dhutanga means shaking off or removing defilements, and it is consisted of 13 topics. The practitioners can choose to practice voluntarily and it is not necessary to practice every topic of Dhutanga because it depends on endurance of the practitioners to remove defilement of each person. Dhutanga practice is annually arranged by Mahamakut Buddhist University Isan campus. The university has the purposes to train the Buddhist monk students to know about Dhutanga that is the way to remove the defilement and preserve the peaceful mind. The benefits of practicing Dhutanga are to live in moderation and reduction on consumption resulting peace conducive to the meditation. Dhutanga is the way that Buddhist monks travel to the place to place and stay modestly to train the mind and it is related with Buddhist Tipitaka and the way of the most renowned mindfulness and meditation monks such as Luang Pu Mun Puritato, Luang Pu DulUttaro, Luang Pu MahaBuaoYannasumpunno, and the most venerable Lee Dhammatharo. The analytical study of Dhutanga practice of Buddhist monk students in Mahamakut Buddhist University Isan Campus had the consistent with the principles of Dhutanga practice according to the three categories of Theravada Buddhism, namely yellow robe, alms bowl, and Senasana (abode). The results of practicing Dhutanga of the students of Mahamakut Buddhist University Isan Campus found that they could find peace from five hindrance

... 2564

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมของมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎกเกี่ยวกับภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาท ความขัดแย้งในพุทธปรัชญาเถรวาท และมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำทางปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท โดยใช้หลักปัญญา 3 ประการ ประกอบด้วย 1) สุตมยปัญญา ปัญญาได้จากฟังข้อมูลเพื่อประกอบพิจารณา 2) จินตามยปัญญา ปัญญาได้จากการคิดวิเคราะห์ตรึกตรองความเป็นเหตุเป็นผล 3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการพิจารณาเจริญสติ 2. การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมในพุทธปรัชญาเถรวาท ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมทางพระพุทธศาสนานั้นมีมูลเหตุมาจาก ปปัญจธรรม ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า มีตัณหา ทิฏฐิ มานะ เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง ส่วนการขัดแย้งในสังคมมี 5 ประการ 1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล 2) ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และความต้องการ 3) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ 4) ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง 5) ความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือค่า 3. ภาวะผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมของมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก มโหสถบัณฑิตได้ใช้หลักหลักปัญญา 3 ประการ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ในการรับฟังในข้อมูลคดีที่ถูกต้อง การคิดวิเคราะห์ในสิ่งที่สมเหตุสมผล และการพิจารณาตามหลักความเป็นจริง
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมของมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎกเกี่ยวกับภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาท ความขัดแย้งในพุทธปรัชญาเถรวาท และมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำทางปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท โดยใช้หลักปัญญา 3 ประการ ประกอบด้วย 1) สุตมยปัญญา ปัญญาได้จากฟังข้อมูลเพื่อประกอบพิจารณา 2) จินตามยปัญญา ปัญญาได้จากการคิดวิเคราะห์ตรึกตรองความเป็นเหตุเป็นผล 3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการพิจารณาเจริญสติ 2. การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมในพุทธปรัชญาเถรวาท ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมทางพระพุทธศาสนานั้นมีมูลเหตุมาจาก ปปัญจธรรม ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า มีตัณหา ทิฏฐิ มานะ เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง ส่วนการขัดแย้งในสังคมมี 5 ประการ 1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล 2) ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และความต้องการ 3) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ 4) ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง 5) ความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือค่า 3. ภาวะผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมของมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก มโหสถบัณฑิตได้ใช้หลักหลักปัญญา 3 ประการ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ในการรับฟังในข้อมูลคดีที่ถูกต้อง การคิดวิเคราะห์ในสิ่งที่สมเหตุสมผล และการพิจารณาตามหลักความเป็นจริง
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study intellectual leadership in Theravada Buddhist philosophy, 2) to study resolution of social conflicts in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze intellectual leadership of Mahosatha in Mahosatha Jataka. It was a document research by collecting information from the Tipitaka on leadership in Theravada Buddhist philosophy, solution of conflicts in Theravada Buddhist philosophy and Mahosatha in Mahosatha Jataka. The results of research were found that: 1. Intellectual Leadership in Theravada Buddhist Philosophy by using 3 principles of Panya: 1) Sutamaya-panya, wisdom acquired from listening to information for consideration 2) Jintamaya-panya, wisdom derived from analytical thinking and contemplation, and 3) Bhavanamaya-panya, wisdom derived from mindful consideration. 2. As regards the solution of social conflicts in Theravada Buddhist philosophy, problem of social conflicts in Buddhism resulted from Papancadhamma, the Dharma of mental proliferation, namely, craving, dogma and conceit which provoked conflicts. As for conflicts in society, there were 5 aspects: 1) information conflicts 2) conflicts of interests and needs 3) relationship conflicts 4) structural conflicts 5) values or worth conflicts. 3. As regards the Intellectual Leadership in solving social conflicts of Mahosatha in Mahosatha Jataka, Mahosatha had applied 3 principles of wisdom to solve social conflicts through listening to the correct case information, rational analysis and actual consideration.
หนังสือ