Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ 2. เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อเปรียบเทียบจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1.อิมมานูเอล คานท์ เสนอความคิดทางจริยศาสตร์ในเรื่องเกณฑ์ตัดสินความดี หลักสำคัญคือ การใช้เจตนาเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทำมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล ความดี เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องสอน เพียงแต่เขาใช้ปัญญาเขาจะเป็นคนดีได้ เจตนาของผู้กระทำ จริยศาสตร์ของคานท์มีลักษณะเป็นแบบแผนนิยม กล่าวคือ ความถูกต้องของการกระทำไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ เจตนาดีกับหน้าที่ ค่าทางศีลธรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาของปัจเจกชน ซึ่งแสดงออกมาและจะมีค่าทางศีลธรรมได้ก็ต้องเป็นการกระทำที่ทำจากหน้าที่ ในทัศนะของอิมานูเอล คานท์ เมื่อมีการกระทำหนึ่งๆ เกิดขึ้น แรงกระตุ้นของการกระทำมี 2 ประเภท คือ 1. การกระทำที่เกิดจากแรงโน้มของอารมณ์ 2.การกระทำที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่ คานท์ มีหลักแนวคิดที่น่าสนใจอื่นๆ อีก คือเกณฑ์การตัดสินความดี หลักของมนุษย์ในฐานะที่เป็นจุดหมายของตัวเอง กฎแห่งเสรีภาพ 2.พุทธจริยศาสตร์ มีรากฐานจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนา พุทธจริยศาสตร์เป็นหลักความประพฤติที่ดีงาม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) พุทธจริยศาสตร์ระดับต้น บัญญัติไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หลักธรรม คือ เบญจศีล เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม 2) พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง พุทธจริยธรรมระดับกลาง เพื่อให้บุคคลขัดเกลาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้น หลักธรรม คือ ศีล 8 หรือ อัฎฐศีล, กุศลกรรมบถ 10 3) พุทธจริยศาสตร์ระดับสูง เป็นจริยศาสตร์เพื่อพัฒนาตนเป็นอริยบุคคล หลักธรรม คือมรรค 8 หรือ เรียกว่ามัชฌิมปฏิปทา ทางสายกลาง 3.จากการศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ จริยศาสตร์ สามารถนำมาเปรียบเทียบในประเด็นต่างๆ ได้ 6 ข้อ คือ 1) เปรียบเทียบเกณฑ์การตัดสินความดี 2) เปรียบ เทียบกฎแห่งเสรีภาพ 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจ 4) เปรียบเทียบความเมตตากรุณา 5) เปรียบเทียบกฎแห่งศีลธรรม 6)เปรียบเทียบเป้าหมายสูงสุด
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ 2. เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อเปรียบเทียบจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1.อิมมานูเอล คานท์ เสนอความคิดทางจริยศาสตร์ในเรื่องเกณฑ์ตัดสินความดี หลักสำคัญคือ การใช้เจตนาเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทำมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล ความดี เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องสอน เพียงแต่เขาใช้ปัญญาเขาจะเป็นคนดีได้ เจตนาของผู้กระทำ จริยศาสตร์ของคานท์มีลักษณะเป็นแบบแผนนิยม กล่าวคือ ความถูกต้องของการกระทำไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ เจตนาดีกับหน้าที่ ค่าทางศีลธรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาของปัจเจกชน ซึ่งแสดงออกมาและจะมีค่าทางศีลธรรมได้ก็ต้องเป็นการกระทำที่ทำจากหน้าที่ ในทัศนะของอิมานูเอล คานท์ เมื่อมีการกระทำหนึ่งๆ เกิดขึ้น แรงกระตุ้นของการกระทำมี 2 ประเภท คือ 1. การกระทำที่เกิดจากแรงโน้มของอารมณ์ 2.การกระทำที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่ คานท์ มีหลักแนวคิดที่น่าสนใจอื่นๆ อีก คือเกณฑ์การตัดสินความดี หลักของมนุษย์ในฐานะที่เป็นจุดหมายของตัวเอง กฎแห่งเสรีภาพ 2.พุทธจริยศาสตร์ มีรากฐานจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนา พุทธจริยศาสตร์เป็นหลักความประพฤติที่ดีงาม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) พุทธจริยศาสตร์ระดับต้น บัญญัติไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หลักธรรม คือ เบญจศีล เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม 2) พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง พุทธจริยธรรมระดับกลาง เพื่อให้บุคคลขัดเกลาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้น หลักธรรม คือ ศีล 8 หรือ อัฎฐศีล, กุศลกรรมบถ 10 3) พุทธจริยศาสตร์ระดับสูง เป็นจริยศาสตร์เพื่อพัฒนาตนเป็นอริยบุคคล หลักธรรม คือมรรค 8 หรือ เรียกว่ามัชฌิมปฏิปทา ทางสายกลาง 3.จากการศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ จริยศาสตร์ สามารถนำมาเปรียบเทียบในประเด็นต่างๆ ได้ 6 ข้อ คือ 1) เปรียบเทียบเกณฑ์การตัดสินความดี 2) เปรียบ เทียบกฎแห่งเสรีภาพ 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจ 4) เปรียบเทียบความเมตตากรุณา 5) เปรียบเทียบกฎแห่งศีลธรรม 6)เปรียบเทียบเป้าหมายสูงสุด
The thesis objectives are as follows: 1. to study the ethics of Immanuel Kant, 2. to study Buddhist ethics, and 3. to compare the ethics of Immanuel Kant and Buddhist ethics. The data of this research were mainly collected from the relevant primary and secondary sources. The results of the research were as follows: 1.Immanuel Kant offers an ethical idea of the criterion of virtue, and the key is to use intention as a criterion of action. If only a human uses his wisdom, he can be a good person as the intention of the doer. Kant's ethics is conventionally defined, that is to say, the validity of an act is independent of its consequences, good intentions and duties. Moral value depends on the individual's intentions, and it will have moral value depending on the act of duty. In the view of Immanuel Kant, when an action occurs, there are two types of impulses of actions: 1. Actions caused by emotional forces and 2. Actions arise from a sense of duty. Kant has other interesting conceptual principles: the judging criteria, the principle of man as his own destiny, and the law of liberty. 2.Buddhist ethics is rooted in the teachings of Buddhism. Buddhist ethics is a principle of good behavior divided into 3 levels: 1) Basic Buddhist ethics provided for the peace of society, and the Dhamma principle consists of the Five Precepts and the Five Virtues, 2) Buddhist ethics at the middle level aiming to refine oneself to have a higher morality. The principle consists of the 8 precepts and the tenfold wholesome course of action, and 3) high level of Buddhist ethics, which is to develop oneself as a noble person through the Noble Eightfold Path. 3.The ethics of Immanuel Kant and Buddhism can be compared in 6 aspects: 1) the criteria of judging good, 2) the law of liberty, 3) motivation, 4) the benevolence, 5) the laws of morality, and 6) the highest goals.