Search results

136 results in 0.07s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาชีวประวัติและบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาน สุเจีย (วชิรปญฺโ) และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาน สุเจีย (วชิรปญฺโ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประกอบด้วย หลักการในการเผยแผ่ ลีลาการ เผยแผ่ พุทธวิธีในการเผยแผ่ เทคนิควิธีในการถ่ายทอดความรู้ และเทคนิคการเผยแผ่โดยวิธีเทศนา 2. พระสาน สุเจีย (วชิรปญฺโ) เป็นพระเถระของกัมพูชาซึ่งได้ถือกำเนิดใน ตำบลโคกโพธ์ อำเภอบุรีชลศา จังหวัดตาแก้ว ท่านมีรูปแบบ ลักษณะเด่น คุณสมบัติ เทคนิค ลีลาการเผยแผ่ หลักการในการเผยแผ่ กระบวนการในการสร้างนักเผยแผ่พระพุทธศาสนารุ่นใหม่ และช่องทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สื่อที่ท่านใช้คือสื่อสมัยใหม่ที่แตกต่างจากพระนักเทศน์ทั่วไป ท่านได้สร้างผลงานทั้งด้านการเขียนหนังสือ ด้านการเทศน์ และสร้างนักเทศน์ ได้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยมีวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาคือ ท่านต้องการให้ธรรมะเข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอนให้คนในสังคมรู้จักการตอบแทนบุญคุณของพ่อ แม่ ตลอดจนกระทั่งถึงการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ประเทศกัมพูชาให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นเนื่องจากการถูกทำลายโดยระบบเขมรแดง 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาน สุเจีย (วชิรปญฺโ) คือ มีคุณค่าด้านความเป็นผู้นำ คุณค่าด้านการสร้างสมานฉันท์ คุณค่าด้านการรักษาพุทธพจน์ คุณค่าด้านธรรมประยุกต์ และคุณค่าด้านการปลูกฝังคุณธรรม ซึ่งเป็นคุณค่าที่สามารถทำให้ประชาชน คนวัยหนุ่มสาวเข้าใจหลักธรรมอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า และสามารถนำเอาหลักธรรมนั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาชีวประวัติและบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาน สุเจีย (วชิรปญฺโ) และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาน สุเจีย (วชิรปญฺโ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประกอบด้วย หลักการในการเผยแผ่ ลีลาการ เผยแผ่ พุทธวิธีในการเผยแผ่ เทคนิควิธีในการถ่ายทอดความรู้ และเทคนิคการเผยแผ่โดยวิธีเทศนา 2. พระสาน สุเจีย (วชิรปญฺโ) เป็นพระเถระของกัมพูชาซึ่งได้ถือกำเนิดใน ตำบลโคกโพธ์ อำเภอบุรีชลศา จังหวัดตาแก้ว ท่านมีรูปแบบ ลักษณะเด่น คุณสมบัติ เทคนิค ลีลาการเผยแผ่ หลักการในการเผยแผ่ กระบวนการในการสร้างนักเผยแผ่พระพุทธศาสนารุ่นใหม่ และช่องทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สื่อที่ท่านใช้คือสื่อสมัยใหม่ที่แตกต่างจากพระนักเทศน์ทั่วไป ท่านได้สร้างผลงานทั้งด้านการเขียนหนังสือ ด้านการเทศน์ และสร้างนักเทศน์ ได้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยมีวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาคือ ท่านต้องการให้ธรรมะเข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอนให้คนในสังคมรู้จักการตอบแทนบุญคุณของพ่อ แม่ ตลอดจนกระทั่งถึงการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ประเทศกัมพูชาให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นเนื่องจากการถูกทำลายโดยระบบเขมรแดง 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาน สุเจีย (วชิรปญฺโ) คือ มีคุณค่าด้านความเป็นผู้นำ คุณค่าด้านการสร้างสมานฉันท์ คุณค่าด้านการรักษาพุทธพจน์ คุณค่าด้านธรรมประยุกต์ และคุณค่าด้านการปลูกฝังคุณธรรม ซึ่งเป็นคุณค่าที่สามารถทำให้ประชาชน คนวัยหนุ่มสาวเข้าใจหลักธรรมอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า และสามารถนำเอาหลักธรรมนั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
The objectives of this thesis ware as follows 1) to study the role of the Buddhist Propagation, 2) to study the bio-history and the role of the Buddhist propagation of Phra San Sochea (Vachirapañño), and 3) to analyze the value of the role of the Buddhist Propagation of Phra San Sochea (Vachirapañño). The sample groups were the Tipitaka Commentaries. Texts and relevant researches. The thesis was the documentary qualitative research works. All the data, collected during January-September 2017, were then analyzed by content analysis and analytic induction. The results of research are found as follows: 1. The roles of the Buddhist Propagation are composed of the principles of the propagation, the styles of the propagation, the Buddhist Methods of the propagation, the teaching methods and techniques of the knowledge and the propagation techniques by teaching method. 2. Phra San Sochea (Vachirapañño), the senior Cambodian Buddhist Monk was born in Tambon Cokpho, Burichonsa District, Takaew Province. He has been teaching his Buddhist followers with the outstanding characteristics including a new model of the propagations, a wide varieties of teaching styles and a lot of interesting techniques creating not only the high volume of the new young Cambodian Buddhist followers but also being the new model leaders for training the Cambodian Buddhist young blood monk propagators. He is an expert in using the new information technology medias such as line and facebook for supporting his teaching operation together with writing the articles and books with the objectives to teach the young Cambodian people for understanding the Buddhist doctrines to respect and properly practices return to their parents and also rehabilitation of Buddhism in Cambodia after destruction by Khmer Rouge. 3. The results of the analysis of the values of the role of the propagation of Phra San Sochea (Vachirapañño) consists of the value of the leadership, the value of the unity, the value of the restoration of the Buddhist Speech, the value of the application of Dhamma and the value of the establishment of the virtue (moral principle). These values are used for the understanding of the young Cambodian people in the real Buddha Doctrines leading to the right practices for their better way of life.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพ, 2) เพื่อศึกษาสันติภาพในทรรศนะของดาไลลามะ องค์ที่ 14 และ 3) เพื่อวิเคราะห์สันติภาพในทรรศนะของดาไล ลามะ องค์ที่ 14 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก ตำราที่นิพนธ์โดยองค์ดาไลลามะ องค์ที่ 14 หนังสือแปล และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560 – มิถุนายน 2561 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: สันติภาพในพุทธศาสนา หมายถึง ความสงบหรือความมีสันติ เป็นสภาวะที่ปราศจากการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ เช่น ความสงบกาย สงบวาจาและสงบใจของผู้ที่ยังเป็นปุถุชนและอริยชน หรือพระอริยบุคคล โดยในพุทธศาสนาสันติภาพที่แท้จริงเรียกว่าพระนิพพาน สันติภาพในทรรศนะขององค์ดาไลลามะ ประกอบด้วยหลักอหิงสา การวิสาสะ การศึกษา การให้ความรู้ ที่ประกอบด้วยหลักความเมตตากรุณา สันติภาพไม่ใช่เพียงแค่ไม่เบียดเบียนกันเท่านั้น แต่หมายถึงการที่มนุษย์เราได้ช่วยเหลือกันอย่างเป็นรูปธรรม มีความกรุณาและการมุ่งทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น สองสิ่งนี้เท่านั้นจึงจะเกิดสันติภาพที่แท้จริงได้ การวิเคราะห์สันติภาพในทรรศนะขององค์ดาไลลามะ พบว่า สันติภาพในทรรศนะของพระองค์นั้น มี 2 เป้าหมายคือ 1) เป้าหมายในทางโลก คือ การหาทางเจรจาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้ง โดยการใช้หลักทางสายกลางเพื่อส่งเสริมสันติภาพ คือ อหิงสาและการวิสาสะ 2) เป้าหมายในทางธรรม คือ การบรรลุถึงอิสรภาพของความหลุดพ้นจากกิเลส หรือธรรมชาติสูงสุดของจิตเป็นสภาวะที่จิตหมดจดปราศจากกิเลส คือพระนิพพาน (สันติภาพถาวร)
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพ, 2) เพื่อศึกษาสันติภาพในทรรศนะของดาไลลามะ องค์ที่ 14 และ 3) เพื่อวิเคราะห์สันติภาพในทรรศนะของดาไล ลามะ องค์ที่ 14 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก ตำราที่นิพนธ์โดยองค์ดาไลลามะ องค์ที่ 14 หนังสือแปล และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560 – มิถุนายน 2561 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: สันติภาพในพุทธศาสนา หมายถึง ความสงบหรือความมีสันติ เป็นสภาวะที่ปราศจากการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ เช่น ความสงบกาย สงบวาจาและสงบใจของผู้ที่ยังเป็นปุถุชนและอริยชน หรือพระอริยบุคคล โดยในพุทธศาสนาสันติภาพที่แท้จริงเรียกว่าพระนิพพาน สันติภาพในทรรศนะขององค์ดาไลลามะ ประกอบด้วยหลักอหิงสา การวิสาสะ การศึกษา การให้ความรู้ ที่ประกอบด้วยหลักความเมตตากรุณา สันติภาพไม่ใช่เพียงแค่ไม่เบียดเบียนกันเท่านั้น แต่หมายถึงการที่มนุษย์เราได้ช่วยเหลือกันอย่างเป็นรูปธรรม มีความกรุณาและการมุ่งทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น สองสิ่งนี้เท่านั้นจึงจะเกิดสันติภาพที่แท้จริงได้ การวิเคราะห์สันติภาพในทรรศนะขององค์ดาไลลามะ พบว่า สันติภาพในทรรศนะของพระองค์นั้น มี 2 เป้าหมายคือ 1) เป้าหมายในทางโลก คือ การหาทางเจรจาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้ง โดยการใช้หลักทางสายกลางเพื่อส่งเสริมสันติภาพ คือ อหิงสาและการวิสาสะ 2) เป้าหมายในทางธรรม คือ การบรรลุถึงอิสรภาพของความหลุดพ้นจากกิเลส หรือธรรมชาติสูงสุดของจิตเป็นสภาวะที่จิตหมดจดปราศจากกิเลส คือพระนิพพาน (สันติภาพถาวร)
The objectives of this thesis were as follows 1) to study the concept on peace in Buddhism, 2) to examine the concept on peace in 14th Dalai Lama’s view, and 3) to analyze his concept as such. As the documentary research, it was derived from the qualitative methodology. The sampling groups comprised: The Pitaka, commentaries, texts, books written by 14th Dalai Lama, translated books and relevant research undertakings. Data were collected between October B.E. 2560 and June B.E. 2561. With these data, their contents were analyzed and inductive summaries constructed. The results of research were found that: Peace in Buddhism refers to a state of calmness or tranquility, making no use of violence in every form. It includes physical, verbal and mental peace. It is the state whereby lay Buddhists and enlightened monks can attain. In Buddhism, the actual peace is called ‘Nirvana’, Path of Liberation. The concept on peace in 14th Dalai Lama’s view embraces: non-violence, intimacy, education, provision of knowledge with compassion and loving-kindness. His concept is not because someone acts to bully human fellows, but because they concretely help one another with mercy and intention to perform good deeds to others. According to the concept on peace in his view, both mercy and good intention lead to the actual peace. Analyses of the concept on peace in his view have found two goals. A global goal is finding a way to negotiate conflicts for alleviating disputed situations by applying ‘The Middle Path’ to promoting peace with non-violence and intimacy. Another religious goal is gaining freedom of liberation with no defilements, for it is the state of one’s purified mind without bonds. To put it simply, the second goal is regarded as the permanent peace, i.e. Nirvana.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตทั่วไป 2) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) วิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560–มิถุนายน 2561 ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตทั่วไป พบว่า เป็นการใช้ชีวิตตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางจริยธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ ตั้งแต่พื้นฐานเบื้องต้น ท่ามกลางและระดับสูง เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตอันดีงามตามอุดมคติเท่าที่มนุษย์จะขึ้นได้ถึงได้ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสติปัญญา มีความสุขอันสมบูรณ์ที่สุด การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เมื่อดำเนินชีวิตตามหลักเบญจธรรมจะทำให้มีความเมตตากรุณาความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เลี้ยงชีพในทางที่สุจริต รู้จักควบคุมตนเองไม่หลงใหลในกามคุณ 5 มีความซื่อตรง และรู้สึกตัวเสมอว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ และจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขสงบในการดำเนินชีวิต วิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เบญจธรรม หรือกัลยาณธรรม 5 เป็นธรรมของคนดี หมายถึง ธรรมของคนดี 5 ประการ ทั้งศีล 5 และกัลยาณธรรม 5 ประการนี้ เป็นของคู่กัน จึงเรียกว่า ศีลธรรม กล่าวคือ ศีล เป็นข้อห้าม คือ ห้ามทำ ห้ามล่วงละเมิด ส่วนกัลยาณธรรม เป็นข้ออนุญาตให้ทำ ให้นำไปประพฤติปฏิบัติแล้วจะเกิดผลดีแก่ผู้ปฏิบัติ ทุกคน ได้แก่ ศีล 5 หรือเบญจศีลสำหรับทุกคน
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตทั่วไป 2) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) วิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560–มิถุนายน 2561 ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตทั่วไป พบว่า เป็นการใช้ชีวิตตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางจริยธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ ตั้งแต่พื้นฐานเบื้องต้น ท่ามกลางและระดับสูง เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตอันดีงามตามอุดมคติเท่าที่มนุษย์จะขึ้นได้ถึงได้ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสติปัญญา มีความสุขอันสมบูรณ์ที่สุด การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เมื่อดำเนินชีวิตตามหลักเบญจธรรมจะทำให้มีความเมตตากรุณาความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เลี้ยงชีพในทางที่สุจริต รู้จักควบคุมตนเองไม่หลงใหลในกามคุณ 5 มีความซื่อตรง และรู้สึกตัวเสมอว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ และจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขสงบในการดำเนินชีวิต วิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เบญจธรรม หรือกัลยาณธรรม 5 เป็นธรรมของคนดี หมายถึง ธรรมของคนดี 5 ประการ ทั้งศีล 5 และกัลยาณธรรม 5 ประการนี้ เป็นของคู่กัน จึงเรียกว่า ศีลธรรม กล่าวคือ ศีล เป็นข้อห้าม คือ ห้ามทำ ห้ามล่วงละเมิด ส่วนกัลยาณธรรม เป็นข้ออนุญาตให้ทำ ให้นำไปประพฤติปฏิบัติแล้วจะเกิดผลดีแก่ผู้ปฏิบัติ ทุกคน ได้แก่ ศีล 5 หรือเบญจศีลสำหรับทุกคน
The thesis served its specific purposes: 1) to study a way of leading one’s life in general, 2) to examine the way of leading one’s life with five ennobling virtues in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the way as such. As the documentary research, it was derived from the qualitative methodology. Data were studied out of The Tipitaka, commentaries, books and relevant research undertakings, collected between October B.E. 2560 and June B.E. 2561. Results of the research have found the following findings. Leading one’s life in general has passing their lifestyle following guidelines on criteria of Buddhist morality. These criteria were founded by the Buddha to set standards of human behaviours in the order of the onset, middle to the advanced level, in order to let human beings lead their decent lives according to their ideals as far as human being can reach and access, to have them become a complete human being, with excellent wisdom and the complete bliss. Leading the way of one’s life with five ennobling virtues in Theravada Buddhist philosophy has found that leading one’s life as such let them have loving kindness and mercy towards others, earning their honest living, being well aware of controlling themselves, not indulging in five sexual pleasures, having honesty, and perceiving what should be done and what ought not. As such, they will result in making actors happy and peaceful to leading their own lives. Results of analyzing leading the of one’s life with five ennobling virtues in Theravada Buddhist philosophy has proven that five ennobling virtues are attributes of decent followers. Both five ennobling virtues and five precepts are dual-related. As a consequence, both are literally called ‘precepts (sila) and teachings (dharma)’. Buddhist precepts are commands; do not act, do not abuse, whereas teachings are suggestions; should act, ought to be introduced to practise. Certainly, both commands and suggestions yield good results to everyone.
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันและ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 390 คน โดยวิธีการใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffé) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการทำกิจกรรมทางการเมือง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านการร่วมรณรงค์ทางการเมือง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านการชักจูงให้ผู้อื่นเลือกผู้ที่ตนสนับสนุน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. ควรมีการรณรงค์ทางการเมือง โดยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน, 2. ควรจะให้หัวหน้าครอบครัวชักชวนคนในครอบครัวไปใช้สิทธิเลือกตั้ง, 3. ควรให้ประชาชนช่วยตรวจสอบการใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล, 4. ประชาชนที่มีสิทธิ ควรสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกท้องถิ่น
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันและ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 390 คน โดยวิธีการใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffé) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการทำกิจกรรมทางการเมือง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านการร่วมรณรงค์ทางการเมือง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านการชักจูงให้ผู้อื่นเลือกผู้ที่ตนสนับสนุน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. ควรมีการรณรงค์ทางการเมือง โดยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน, 2. ควรจะให้หัวหน้าครอบครัวชักชวนคนในครอบครัวไปใช้สิทธิเลือกตั้ง, 3. ควรให้ประชาชนช่วยตรวจสอบการใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล, 4. ประชาชนที่มีสิทธิ ควรสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกท้องถิ่น
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study a participation in local politics of people in Phrai Bueng Sub-district Administrative Organization, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province, 2) to compare a participation in local politics of people in Phrai Bueng Sub-district Administrative Organization, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province, with different genders, ages, levels of education and occupations; and 3) to study suggestions on problems and guidelines in a participation in local politics of people in Phrai Bueng Sub-district Administrative Organization, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province. Research instruments were questionnaires. The sample were 390 of the peoples who had residences in Phrai Bueng Sub-district Administrative Organization, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province, sized by Taro Yamene’s formula and used Convenience Sampling on collected data. The used statistics were descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics including T-test and One-Way ANOVA test. If differentiation was found, it was tested in a pair by mean of Scheffe and analyzed by computing. The results of research were found as follows: A participation in local politics of people in Phrai Bueng Sub-district Administrative Organization, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province, was in the whole view of 5 aspects at a medium level. Having been considered each aspect by order of averages from the maximum to the minimum, they were found as follows: The aspect of Election Right, was at a higher level of average, the aspect of Following Up of Political Information was at a higher level of average, the aspect of Political Activities was at the lowest level of average, the aspect of Participation in Political Campaign was also at the lowest level of average; and the aspect of Political Campaign for Election was at a medium level of average. The results of hypothesis-test were found that in the whole view the people with different genders, ages, levels of education, and occupation, had different participation in local politics in Phrai Bueng Sub-district Administrative Organization, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province, with statistical significant level of 0.05. The suggestions obtained from interviews and questionnaires were as follows: 1. There should have political campaign on public relation for informing the people through Broadcast tower; 2. A head of the family should persuade his family members to vote in the political election; 3. The people should be given the right to check budgets used by sub-district administrative organization and 4. The people who had the right should apply for being elected to be members of local politics.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนอง บัวลำภูเขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 428 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .940 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 มีความสัมพันธ์กันสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนอง บัวลำภูเขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 428 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .940 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 มีความสัมพันธ์กันสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The purposes of this research were to investigate /the relationship between strategic management with administration budget result based management in schools under Nong Bua Lam Phu Primary Educational Service Area Office 1. The population in this research were director of schools and head of budgetary group of schools under Nong Bua Lam Phu Primary Educational Service Area Office 1. 428 samples were purposive sampling. The tools used in this research was questionnaire with 5 rating scale. questionnaire with the entire validity of 0.950 The statistics used in data analysis were Percentage, Mean, Standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The research findings were as follows The relationship between strategic management and result- based budgeting management in schools under Nong Bua Lam Phu Primary Educational Service Area Office 1 were as the high level and was significant at 0.01 level.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนสมาธิตามแนวทางสถาบันพลังจิตตานุภาพ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสอนสมาธิตามแนวทางสถาบันพลังจิตตานุภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาธิในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การรู้ในองค์ประกอบที่สำคัญเป็นกำลังที่ทำให้จิตรู้แจ้งทำลายอาสวะให้สิ้น คือสัมมาสมาธิ หมวดธรรมต่าง ๆ ที่สำคัญย่อมมีการทำสมาธิเป็นหลักเช่น ไตรสิกขา อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรค 8 ที่สำคัญคืออริยสัจสี่ ความจริงแท้สูงสุดที่มนุษย์ต้องรู้และปฏิบัติตามให้ได้เพื่อความสงบสุขที่แท้จริง 2) สถาบันพลังจิตตานุภาพก่อตั้งโดย พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) อายุ 15 ปีท่านได้บวชเป็นชีปะขาวและท่านได้เดินธุดงค์กับพระอาจารย์กงมาต่อมาได้ไปศึกษาสมาธิกรรมฐานกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ปรมาจารย์พระกรรมฐานใกล้ชิดเป็นเวลา 9 ปีจนเป็นแรงบันดาลใจที่จะทำการสอนสมาธิเพราะคำปรารภของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงได้เขียนตำราเป็นหนังสือหลักสูตรครูสมาธิใช้เวลาในการเขียนเป็นเวลา 5 ปีจึงสำเร็จเป็นการพัฒนาจิตพัฒนาปัญญาเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกเป็นหลักสูตรครูสมาธิที่สอนสมาธิให้กับประชาชน ใช้ระยะเวลาในการเรียน 6 เดือน (หลักสูตร 200 ชั่วโมง) ในแต่ละหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 เทอม ๆ ละ 40 วันเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติภาคสนาม ณ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะจบหลักสูตรและจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้ผลการเรียนหลักสูตรครูสมาธิพบว่า ทำให้เกิดความสงบแก่จิตใจ ทำให้สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมอารมณ์ที่เห็นแก่ตัวทำให้เกิดความสามัคคี เกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจทำให้เกิดความสงบในสังคม 3) วิเคราะห์คุณค่าของการสอนสมาธิกรรมฐานตามแนวทางของสถาบันพลังจิตตานุภาพ พบว่า มีคุณค่าทางด้านผู้นำ คุณค่าด้านความสามัคคี คุณค่าด้านพัฒนาด้านจิตใจ และคุณค่าด้านพัฒนาตนเองจึงนับได้ว่าสมาธิกรรมฐานตามแนวทางสถาบันพลังจิตตานุภาพนั้นมีคุณค่าอย่างแพร่หลายทั้งนี้ยังมีประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติกว่าแสนคนได้เปิดสาขาเป็นศูนย์สมาธิ 180 สาขาทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย ต่างประเทศอีก 9 สาขาเป็นเวลา 20 ปี
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนสมาธิตามแนวทางสถาบันพลังจิตตานุภาพ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสอนสมาธิตามแนวทางสถาบันพลังจิตตานุภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาธิในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การรู้ในองค์ประกอบที่สำคัญเป็นกำลังที่ทำให้จิตรู้แจ้งทำลายอาสวะให้สิ้น คือสัมมาสมาธิ หมวดธรรมต่าง ๆ ที่สำคัญย่อมมีการทำสมาธิเป็นหลักเช่น ไตรสิกขา อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรค 8 ที่สำคัญคืออริยสัจสี่ ความจริงแท้สูงสุดที่มนุษย์ต้องรู้และปฏิบัติตามให้ได้เพื่อความสงบสุขที่แท้จริง 2) สถาบันพลังจิตตานุภาพก่อตั้งโดย พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) อายุ 15 ปีท่านได้บวชเป็นชีปะขาวและท่านได้เดินธุดงค์กับพระอาจารย์กงมาต่อมาได้ไปศึกษาสมาธิกรรมฐานกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ปรมาจารย์พระกรรมฐานใกล้ชิดเป็นเวลา 9 ปีจนเป็นแรงบันดาลใจที่จะทำการสอนสมาธิเพราะคำปรารภของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงได้เขียนตำราเป็นหนังสือหลักสูตรครูสมาธิใช้เวลาในการเขียนเป็นเวลา 5 ปีจึงสำเร็จเป็นการพัฒนาจิตพัฒนาปัญญาเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกเป็นหลักสูตรครูสมาธิที่สอนสมาธิให้กับประชาชน ใช้ระยะเวลาในการเรียน 6 เดือน (หลักสูตร 200 ชั่วโมง) ในแต่ละหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 เทอม ๆ ละ 40 วันเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติภาคสนาม ณ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะจบหลักสูตรและจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้ผลการเรียนหลักสูตรครูสมาธิพบว่า ทำให้เกิดความสงบแก่จิตใจ ทำให้สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมอารมณ์ที่เห็นแก่ตัวทำให้เกิดความสามัคคี เกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจทำให้เกิดความสงบในสังคม 3) วิเคราะห์คุณค่าของการสอนสมาธิกรรมฐานตามแนวทางของสถาบันพลังจิตตานุภาพ พบว่า มีคุณค่าทางด้านผู้นำ คุณค่าด้านความสามัคคี คุณค่าด้านพัฒนาด้านจิตใจ และคุณค่าด้านพัฒนาตนเองจึงนับได้ว่าสมาธิกรรมฐานตามแนวทางสถาบันพลังจิตตานุภาพนั้นมีคุณค่าอย่างแพร่หลายทั้งนี้ยังมีประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติกว่าแสนคนได้เปิดสาขาเป็นศูนย์สมาธิ 180 สาขาทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย ต่างประเทศอีก 9 สาขาเป็นเวลา 20 ปี
The objectives of this thesis ware as follows 1) to study the teaching style of meditation in Theravada Buddhism, 2) to study the teaching style of meditation according to the Pathumwan Institute, and 3) to analyze the value of meditation according to the guidelines of the Institute of Moral Wisdom. The sample groups were the Tipitaka Commentaries. Texts and relevant researches. The thesis was the documentary qualitative research works. All the data, collected during January-September 2017, were then analyzed by content analysis and analytic induction. The results of research are found as follows: 1) Concentration in Theravada Buddhism means knowing in the essential elements as the power to enlighten the mind. Is the right concentration Category The main meditations are meditation, such as three organic, five physics, 5 Phayong 7 and 8 is the key Four Noble Truths. The utmost truth that man must know and follow for true peace. 2) Institute of Spirituality, founded by Dhamma Dhamma (Wisaran Sirindhorn), 15 years old, he was ordained as a hedonistic and he went on a pilgrimage with the Master Kong came to study meditation meditation with Luang Pu Pruittat. For 9 years, I was inspired to teach meditation, because of Luang Pu Puangtatto's foreword, so he wrote a book on meditation. It achieved a spiritual development of intelligence for the benefit of the world is of course a meditation teacher who taught meditation to the public. The duration of the 6-month course (200-hour course) is divided into 3 semesters of 40 hours per course. Then take a field test at Doi Inthanon, Chiang Mai for 4 days and 3 nights to complete the course and give a certificate of completion. Make peace of mind. Makes it possible to change selfish emotional behavior, resulting in harmony. Mental stability leads to peace in society. 3) Analyze the value of meditation teaching according to the guidelines of the Institute of Psychic Power. Harmony values Mental development And the value of self-development is that meditation meditation under the Institute of psychic powers is widely available. in Thailand 9 foreign branches for 20 years.