Search results

3 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออกไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง 2) พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการนั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี 3) พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรองได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออกไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง 2) พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการนั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี 3) พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรองได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
The thesis entitled “An Analytical Study of the Buddha’s Tasks for Propagating Buddhism in Savatthi" served the purposes: 1) to study the Buddha’s tasks of five duties as a daily routine, 2) to study his tasks for propagating Buddhism in the city called Savatthi, and 3) to analyze values of his tasks for propagating Buddhism in the preceding city. It was derived from the documentary research, collecting data from such secondary sources as the Tipitaka, commentaries, canonical texts, academic articles, and relevant researches. Collected data were brought to analyze and results were subsequently summarized to present findings. Results of research have found the following findings: 1) It was obvious that The Buddha highly succeeded in propagating Buddhism by laying firm foundations for propagating his faith through regular five duties as his daily routines, for he was determined with his clear purposes in propagating it. His tasks were well planned systematically and effectively in various domains like managements of time, personnel and organizations. He concurrently performed his tasks and coped with them harmoniously. That was why Buddhism had become well known and spread to various states of India in those days because it was his great successes of effective managements of his tasks of five daily routines. 2) It was said the Buddha was greatly regarded as monarchs’ and human beings’ great teacher. His tasks of five daily routines for propagating Buddhism was labeled as the priceless model, which we could harmoniously apply the model, methods and rule of his dharma as our refuge to leading our everyday life. To follow the Buddha’s footsteps, it brought about one’s effectiveness of the job and ways of their daily life to be smooth, disciplined, which enabled them to develop their mind and address their problems by peaceful means. 3) As far as the Buddha’s tasks for propagating Buddhism in the city called Savatthi were concerned, he was absolutely successful. It was the result of his duty performances in such many fields as propagation, managements and administration of Sangha Order. In one aspect, the Buddha managed his time excellently by undertaking his daily routines as the main task together with other ones. In other words, the Buddha coped with his main tasks and secondary ones appropriately, culminating in his effective and efficient propagation of Buddhism in the city called Savatthi, As a result, there were a number of four Buddhist adherents attaining arahantship in Savatthai to the extent that it was labelled ‘Savatthi, the City of Arahants’. In fact, it had become the centre of propagating Buddhism in those days.
หนังสือ

หนังสือ