Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมของนักปกครอง 2) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมมหาภารตะ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของนักปกครองที่ปรากฏในวรรณกรรมมหาภารตะ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบศึกษาค้นคว้าเอกสาร จากวรรณกรรมมหาภารตะ เอกสารวิชาการ รวมทั้งเอกสารอื่นๆ อันเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการเชิงบรรยายแล้วนำข้อมูลที่ได้จาการวิเคราะห์มานำเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมของนักปกครอง จริยธรรมนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่ในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นโดยอาศัยการขัดเกลาทางสังคม ผ่านกฎเกณฑ์ กฎหมายจารีตปะเพณี ค่านิยมของสัคม ความประพฤติที่ถูกหล่อหลอมด้วยการศึกษาจาก หลักศีลธรรม หลักปรัชญา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสุขของตนเองและประโยชน์สุดต่อตนเอง สังคมและประเทศชาตินอกจากนี้จริยธรรมนั้น ยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อเลือกประพฤติปฏิบัติ เป็นไปเพื่อความถูกต้องเหมาะสมดีงาม มีลักษณะที่สังคมนั้นพึงประสงค์ก่ อให้เกิดความสงบสุข เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นสังคมและประเทศชาติ เหนือสิ่งอื่นใดจริยธรรมนั้นสิ่งที่แสดงออกถึงความยอมรับนับถือคนในสังคมซึ่งทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข เป็นบุคคลที่เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ 2) จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมมหาภารตะ พบว่า วรรณกรรมมหาภารตะเป็นเรื่องราวระหว่างตระกูลเการพและตระกูลปาณฑพ ซึ่งสืบสายโลหิตเดียวกัน ฝ่ายปาณฑพ ประกอบด้วยพี่น้อง 5 คน ฝ่ายเการพ ประกอบด้วยเหล่าพี่น้อง ทั้ง 100 คน ความขัดแย้งของสองตระกูลนี้ ได้สั่งสมมาตั้งแต่ในวัยเยาว์ ตั้งแต่การทะเลาะเบาะแว้งกันตั้งแต่ในวัยเด็ก เมื่อเติบโตขึ้นความขัดแย้งก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ความขัดแย้งนั้นขยายตัวไปสู่เครือญาติและพันธมิตรของทั้งสองฝ่าย จนไม่สามารถยุติลงได้ จนทำให้ทั้งสองฝ่าย ได้ทำการรวบรวมพันธมิตรไพร่พล กองทัพ มาเผชิญหน้ากันและได้ทําสงครามกันที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ใกล้แม่น้ำยมุนา เป็นเวลา 18 วัน และจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายปาณฑพ 3) จากการศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมนักปกครองที่ปรากฏในวรรณกรรมมหาภารตะพบว่าในวรรณกรรมมหาภารตะนั้นมีความสมบูรณ์ทั้งเรื่องหลักการของการเป็นนักปกครอง โดยมีการกล่าวถึง ส่วนในเรื่องจริยธรรมในตัวของนักปกครองนั้นผู้วิจัยพบว่านักปกครองในวรรณกรรมมหาภารตะนั้นได้ให้ความสำคัญต่อการทำหน้าที่ ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ ความกล้าหาญทางจริยธรรม ความกตัญญู ความสามารถในการจูงใจคน การรู้จักใช้บุคคลความเชี่ยววชาญในการรบ และการอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งเป็นจริยธรรมที่หน้าปกครองผู้ปกครองนั้นต้องนำไปประพฤติปฏิบัติซึ่งเป็นหลักของนักปกครองที่ที่กล่าวมานี้สามารถใช้ในปัจจุบันได้
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมของนักปกครอง 2) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมมหาภารตะ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของนักปกครองที่ปรากฏในวรรณกรรมมหาภารตะ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบศึกษาค้นคว้าเอกสาร จากวรรณกรรมมหาภารตะ เอกสารวิชาการ รวมทั้งเอกสารอื่นๆ อันเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการเชิงบรรยายแล้วนำข้อมูลที่ได้จาการวิเคราะห์มานำเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมของนักปกครอง จริยธรรมนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่ในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นโดยอาศัยการขัดเกลาทางสังคม ผ่านกฎเกณฑ์ กฎหมายจารีตปะเพณี ค่านิยมของสัคม ความประพฤติที่ถูกหล่อหลอมด้วยการศึกษาจาก หลักศีลธรรม หลักปรัชญา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสุขของตนเองและประโยชน์สุดต่อตนเอง สังคมและประเทศชาตินอกจากนี้จริยธรรมนั้น ยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อเลือกประพฤติปฏิบัติ เป็นไปเพื่อความถูกต้องเหมาะสมดีงาม มีลักษณะที่สังคมนั้นพึงประสงค์ก่ อให้เกิดความสงบสุข เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นสังคมและประเทศชาติ เหนือสิ่งอื่นใดจริยธรรมนั้นสิ่งที่แสดงออกถึงความยอมรับนับถือคนในสังคมซึ่งทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข เป็นบุคคลที่เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ 2) จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมมหาภารตะ พบว่า วรรณกรรมมหาภารตะเป็นเรื่องราวระหว่างตระกูลเการพและตระกูลปาณฑพ ซึ่งสืบสายโลหิตเดียวกัน ฝ่ายปาณฑพ ประกอบด้วยพี่น้อง 5 คน ฝ่ายเการพ ประกอบด้วยเหล่าพี่น้อง ทั้ง 100 คน ความขัดแย้งของสองตระกูลนี้ ได้สั่งสมมาตั้งแต่ในวัยเยาว์ ตั้งแต่การทะเลาะเบาะแว้งกันตั้งแต่ในวัยเด็ก เมื่อเติบโตขึ้นความขัดแย้งก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ความขัดแย้งนั้นขยายตัวไปสู่เครือญาติและพันธมิตรของทั้งสองฝ่าย จนไม่สามารถยุติลงได้ จนทำให้ทั้งสองฝ่าย ได้ทำการรวบรวมพันธมิตรไพร่พล กองทัพ มาเผชิญหน้ากันและได้ทําสงครามกันที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ใกล้แม่น้ำยมุนา เป็นเวลา 18 วัน และจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายปาณฑพ 3) จากการศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมนักปกครองที่ปรากฏในวรรณกรรมมหาภารตะพบว่าในวรรณกรรมมหาภารตะนั้นมีความสมบูรณ์ทั้งเรื่องหลักการของการเป็นนักปกครอง โดยมีการกล่าวถึง ส่วนในเรื่องจริยธรรมในตัวของนักปกครองนั้นผู้วิจัยพบว่านักปกครองในวรรณกรรมมหาภารตะนั้นได้ให้ความสำคัญต่อการทำหน้าที่ ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ ความกล้าหาญทางจริยธรรม ความกตัญญู ความสามารถในการจูงใจคน การรู้จักใช้บุคคลความเชี่ยววชาญในการรบ และการอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งเป็นจริยธรรมที่หน้าปกครองผู้ปกครองนั้นต้องนำไปประพฤติปฏิบัติซึ่งเป็นหลักของนักปกครองที่ที่กล่าวมานี้สามารถใช้ในปัจจุบันได้
The objectives of this thesis paper were as follows: 1) to study the concepts and theories of ethics of the rulers, 2) to study the background and ethics in Mahabharata epic, and 3) to analyze the advantage and value of ethics of rulers in Mahabharata epic. The data of this qualitative research were collected from Mahabharata epic, academic documents and others concerned documents. The data were analyzed, classified and presented in a descriptive method. The results of the research were found as follows: 1) The concepts and theories based on ethics of the rulers were set in the mankind by nature and needed to be developed by behavioral conditions through socialization, regulations, laws, traditions, cultures, and social values by learning in morality and philosophy with the purpose of oneself happiness and social advantages. Moreover, the ethics can be used in decision to do the right things needed by society for the benefit by oneself, others and society. Above all, the ethics can be expressed by acceptance of people in society as the ways of life and happy life. 2) The Mahabharata literature is a struggle story between two groups of cousins, Kaurava and Pandava princes. Both sides share the same blood. The Pandavas have five siblings, while the Kaurava faction has 100 brothers and sisters. The conflict of these two families has accumulated since childhood and become more intense when they grew up .Their conflicts spread to their relatives and allies. Since the conflicts could not be solved both families gathered allies, armies and troops for the battle at Kurukshetra near the Yamuna River for 18 days. The battle destroyed countless lives of the people of both sides and the battle ended with the victory of the Pandavas. 3) The benefits and ethical values of the rulers appeared in the Mahabharata consisted of the principles of being a ruler. The rulers in the Mahabharata literature paid attention to the duty sacrifice, honesty, ethical courage, gratitude, ability to motivate people, knowing the right man in the right job, having combat skills, and being humble that the rulers could apply in their duty performance today.