Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา อายุ และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คณะกรรมการสถานศึกษา รวมจำนวน 99 รูป/คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ค่า t-test และ F-tests และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า : 1) สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา และ อายุ ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอาชีพด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี่ส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่วางไว้ 2) ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน โรงเรียนควรประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนควรรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4) ด้านการแนะแนวการศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำการศึกษาต่อ 5) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา 6) ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ โรงเรียนควรส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ 7) ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น โรงเรียนควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา อายุ และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คณะกรรมการสถานศึกษา รวมจำนวน 99 รูป/คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ค่า t-test และ F-tests และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า : 1) สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา และ อายุ ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอาชีพด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี่ส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่วางไว้ 2) ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน โรงเรียนควรประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนควรรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4) ด้านการแนะแนวการศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำการศึกษาต่อ 5) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา 6) ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ โรงเรียนควรส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ 7) ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น โรงเรียนควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา
The objectives of the research were 1) to study participatoryadministration of school board committee in the General Education of Phrapariyattidhamma School, Roi Et province. 2) to compare participatoryadministration of school board committee classified by educational level, age and occupation and, 3) to find out the guidelines for participatory administration of school board committee of the said schools. Samples were the school board committee, totally 99 in number and 5 interviews. The research instrument for collecting the data was the questionnaire, with its reliability value at 0. 92 and quality- verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested with t-test, One-way ANOVA F-test and content analysis. The research results were as follows: 1) participatory administration of school board committee in the General Education of Phrapariyattidhamma School, Roi Et province was found, in both overall and individual aspects, to stand at a 'MUCH' level. The leading aspect was that the development and promotion of learning resources, followed by the promotion of the community to be academically strong, coordinating cooperation in academic development with school and other organizations, education quality assurance, education guidance, curriculum development and evaluation and comparison of the transfer of academic results, respectively. 2) The comparison of participatory administration of school board committee of schools in mention classified by educational level and age was found to show no difference in both overall and individual dimensions but classified by occupation the development and promotion of learning resources was a statistically significant difference at the .05 level. 3) The guidelines for participatory administration of school board committee of schools in mention as suggested by the responses were (1) curriculum development; schools should provide opportunities for stakeholders to participate in curricula improvement to achieve its objectives. (2) comparison of the transfer of academic results evaluation; schools should be assessed to improve learners' learning. (3) the development and promotion of learning resources; schools should listen to opinions and encourage all school committees to participate in the development of learning resources. (4) education guidance; schools should provide opportunities for school committees, parents, and communities to participate in various activities. To suggest further studies. (5) education quality assurance; schools should allow stakeholders to participate in management in order to continually improve the quality of learners. Build confidence in educational service recipients. (6) the promotion of the community to be academically strong; schools should strengthen the community. in providing education for community development and in accordance with the problems and needs. (7) Coordinating cooperation in academic development with school and other organizations; schools should have an exchange of knowledge. with various organizations for the development of academic work of educational institutions.