Search results

1 results in 0.04s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2. เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 2,620 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 335 คน (ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวม พบว่า มีการการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน รองลงมาคือ ด้านปิยวาจา ส่วนด้านทานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวม ทั้ง 3 ด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่ การจำแนกตามอายุ พบว่า ข้าราชการครูที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2. เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 2,620 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 335 คน (ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวม พบว่า มีการการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน รองลงมาคือ ด้านปิยวาจา ส่วนด้านทานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวม ทั้ง 3 ด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่ การจำแนกตามอายุ พบว่า ข้าราชการครูที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.
ผลการรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า ด้านทานข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมบุคลากร โดยจัดให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ อย่างพึงพอใจ รองลงมา ให้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนอยู่เสมอ และจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ด้านปิยวาจาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ให้กำลังใจ ไม่ใช้คำพูดส่อเสียด หรือคำกล่าวที่เพ้อเจ้อ รองลงมา บุคลากรมีการชี้แจงการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม และให้คำแนะนำในการใช้งบประมาณแก่บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านอัตถจริยาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ ตามโอกาสสมควร รองลงมา มีความโปร่งใส แสดงหลักเกณฑ์วิธีการประเมินผลงานของบุคลากรอย่างชัดเจน และช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ด้านสมานัตตตาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรมีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานของสถานศึกษาเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ รองลงมา การประชาสัมพันธ์ในการศึกษา โดยใช้หลักคุณธรรมในการสร้างความสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา และทำตนเป็นกันเองกับบุคคลอื่นไม่ถือตัวสูงกว่าบุคคลอื่น
The objectives of this thesis are as follows: 1. To study the application of the Sankhahavatthu 4 principle in the administration of school administrators according to the opinions of teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service Area office 2. Sankhahavatthu 4 in the administration of school administrators according to teachers' opinions 3. To study the suggestions for applying the Sankhahavatthu 4 principle in the administration of school administrators according to Nakhon Si Thammarat primary educational service Area office 2 classified by sex, age, educational background and work experience. teacher's opinion under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 2. The population is government teachers working in educational institutions under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 2 in the amount of 2,620 people. The sample group was 335 government teachers working in educational institutions under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 2. The instrument used for data collection was a closed-ended questionnaire that analyzed quantitative data using a computer program. The statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation. and the mean difference test using the t-test. The research’s findings were as follows: 1. The results of the analysis on the application of the Sangahavathu 4 principle in the administration of educational institution administrators based on the opinions of teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 2 overall found that the main application of Sangkhahawattu 4 is at the highest level. When considering each aspect in descending order of average value, it was found that the Atthachariya aspect and Samanattata aspect the highest mean, followed by the Piyavaca aspect, while the Dana side in the lowest mean respectively. 2. The results of the analysis on the comparative application of the Sangahavathu 4 principles in the administration of educational institution administrators according to the opinions of teachers. In the office of Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 2, the classification by gender, educational background and overall work experience in all 3 aspects are no difference. The opinions on the application of Sangahavathu 4 in the administration of educational institute administrators are significantly different at the .05 level. 3. The results of collecting recommendations about an application of four Sangghahavatthu principles in school administration found that Dana; the suggestion with the highest frequency was that executives should promote personnel by providing satisfactory welfare benefits, cultivate morality and Ethics for students at all times and provide appropriate and cost- effective learning resources in educational institutions. Piyavaca; The most frequent suggestion is to use words that create love, unity, and encouragement, not slander, or raving words, personnel has explained the use of budget for various activities in the school appropriately and given advice on how to use the budget for personnel to maximize benefits. Atthachariya; The most frequent suggestion is that there should always serve others on occasion, be transparent clearly show the criteria for evaluating personnel's performance and willingly help others without expecting a return. Samanattata; The recommendation with the highest frequency was that the school's operational calendar should be set up so that personnel could work systematically, on public relations in education by using moral principles to build relationships all the time and be friendly with other people, not hold yourself arrogant with other people.