Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ รองลงมา คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ไม่พบความแตกต่างกัน 3. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากคำถามปลายที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ผู้บริหารควรยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมในการตัดสินใจทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สามารที่จะนำเทคนิค วิธีการมาใช้ในการบริหารจัดการได้ตามสถานการณ์ ควรสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากรในการทำงานเอาชนะปัญหามุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ควรกระตุ้นให้ครูมีความกระตือรือร้นในการทำงานเป็นทีม เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดภารกิจขององค์กร การสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ครูและบุคลากร ควรส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานมีการพัฒนาตนเองและสนใจในการการพัฒนาจุดเด่นของตัวผู้ร่วมงาน และควรนำทักษะและประสบการณ์มาใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหาดูแลและเอาใจในครูและบุคลากรอย่างทั่วถึง 4.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ รองลงมา คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ไม่พบความแตกต่างกัน 3. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากคำถามปลายที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ผู้บริหารควรยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมในการตัดสินใจทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สามารที่จะนำเทคนิค วิธีการมาใช้ในการบริหารจัดการได้ตามสถานการณ์ ควรสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากรในการทำงานเอาชนะปัญหามุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ควรกระตุ้นให้ครูมีความกระตือรือร้นในการทำงานเป็นทีม เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดภารกิจขององค์กร การสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ครูและบุคลากร ควรส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานมีการพัฒนาตนเองและสนใจในการการพัฒนาจุดเด่นของตัวผู้ร่วมงาน และควรนำทักษะและประสบการณ์มาใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหาดูแลและเอาใจในครูและบุคลากรอย่างทั่วถึง 4.
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การมีวิสัยทัศน์ของผู้นำที่มีเป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์ มีความชัดเจนในการปฏิบัติงาน กล้าที่จะทำในสิ่งใหม่ ๆ โดยมีความเป็นมิตร จริงใจ มีคุณธรรม นำทีมงานไปสู่ความสำเร็จที่ตังไว้ ด้านการสร้างแรงจูงใจ มีการแสดงออกซึ่งความกระตือรือร้น โดยการสร้างเจตคติที่ดีและการคิดในแง่บวก ผู้นำจะสร้างและสื่อความหวังที่ผู้นำต้องการอย่างชัดเจน แสดงความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา การดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคล และทำให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่าและมีความสำคัญ ผู้นำมีการกระตุ้นให้ผู้ตามแสดงความคิดและเหตุผล และไม่วิจารณ์ความคิดของผู้ตาม แม้ว่ามันจะแตกต่างไปจากความคิดของผู้นำ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ทำให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่าและมีความสำคัญ ผู้นำจะเป็นโค้ช (Coach) และเป็นที่ปรึกษา (Advisor) ของผู้ตามแต่ละคน เพื่อการพัฒนาผู้ตาม เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น บางคนได้รับกำลังใจมากกว่า บางคนได้รับอำนาจการตัดสินใจด้วยตนเองมากกว่า บางคนมีมาตรฐานที่เคร่งครัดกว่า บางคนมีโครงสร้างงานที่มากกว่า ผู้นำมีการส่งเสริมการสื่อสารสองทาง
The objectives of this research were 1) to study the transformational leadership of special education school administrators under the Northeast Bureau Special Education, 2) to compare the transformational leadership of special education school administrators under the Northeast Bureau Special Education, classified byeducational level, position, and work experience, and 3) to study recommendations and development guideliones of the transformational leadership of special education school administrators under the Northeast Bureau Special Education. The sample consisted of 370 teachers of the Secondary Educational Service Area Office Roi Et. The instrument used in this research was a 5-level estimation scale questionnaire with IOC values between 0.67 – 1.00 with confidence in the whole issue of 0.98 and the interview form. Statistics used to test the hypothesis using t-tests (Independent Samples) and One Way ANOVA) using F-test statistics. The results were found that : 1. The Transformational leadership of special education school administrators under the Northeast Bureau Special Education by overall, was at a high level. When considering each aspect found that the aspect with the highest was inspiration, followed by having ideological influence, and consideration of individuality was the lowest mean. 2. The comparison of personnel opinions towards the transformational leadership of special education school administrators under the Northeast Bureau Special Education, classified by educational level, position, and work experience were no difference. 3. The results of analysis of the transformational leadership of special education school administrators under the Northeast Bureau Special Education from the open-ended questions obtained from the sample group as follows: the executives should adhire to the principles morality and work ethics, having honesty and no seeking unlawful benefits, applying techniques to manage according to the situation, motivating personnel to be inspired to work, building confidence in personnel to overcome problems and strive towards the sae goals, encouraging teachers to be active in team work, providing oppotunities for teachers to participate in defining the mission of the organization, morale building for teachers and staff, encoraging to develop themselves and interested in developing the participants’strengths, and bringing skills and experience to be used in planning and solving problems, and taking care of teachers and staff throughly. 4. Development guidelines of the transformational leadership of special education school administrators under the Northeast Bureau Special Education found that the ideological influence aspect: having a vision of leader with ideological goals, having clearity in operation, dare to do the new things with sincerity and viture, and leading the team to the set success, motivation: showing enthusiasm by creating a positive attitude and positive thinking, leader should be create and convey their desire clearly, show confidence and determination to achieve goals, intellectual stumulation: taking care of individual followers, making followers feel valued and important, encouraging followers to express ideas and reason, and no critique of followers’ thought though it differed from the leader’s opinion, individuality: making followers feel, leader should be coached and advisor of each follower for as to the follower development, understanding and accepting individual differences such as some were more encouraged, some were empowdered to make more decisions for themselves, some had more strengent standards, some had more structure, and leader should promote two-way communication.