Search results

6 results in 0.11s

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการค้นคว้าทางการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การสั่งการ และการบริหาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา งานวิจัย และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กองช่าง มีด้วยกัน 5 ด้าน 1) งานด้านวิศวกรรม 2) งานด้านสาธารณูปโภค 3) งานด้านสวนสาธารณะ 4) งานด้านจัดสถานที่ 5) งานด้านการไฟฟ้าสาธารณะ สภาพการปฏิบัติงานนั้นต้องประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผนที่ดีเพื่อให้มีความสัมพันธ์กับการจัดวางโครงการซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดกรอบไว้ตามวัตถุประสงค์ และแผนการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า กำหนดอำนาจหน้าที่ชัดเจน โครงการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ความรับผิดชอบทางสายงานตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล การสั่งการในการดำเนินโครงการในแต่ละครั้งต้องมีแบบแผนปฏิบัติและต้องปฏิบัติตามแผน การแบ่งงานกันทำจึงจำเป็นอย่างยิ่ง กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและกิจกรรม การใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การบริหารจัดการแก่ประชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น 2. การปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุเป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว 4 ประการ คือ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก 3) อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ 4) สมานัตตตา การวางตนสม่ำเสมอ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กองช่าง ทาน ทำได้ด้วยการ มีใจเผื่อแผ่ ให้ทาน เอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ ให้ความรู้กับประชาชน ปิยวาจา ทำได้ด้วยการพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานวาจาเป็นที่รัก หรือวาจาซาบซึ้งใจพูดคำจริง มีเหตุผลได้สาระประโยชน์ และถูกกาลเทศะ ถนอมน้ำใจไม่ดุด่าหรือกล่าวคำหยาบคาย การแสดงออกทางกายที่สำรวม มีมารยาท สุภาพอ่อนน้อม อัตถจริยา ทำได้ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการของส่วนรวม ไม่มุ่งหวังว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทน สิ่งของหรือ คำชมเชย มีจิตสำนึกในการให้บริการแก่เพื่อนร่วมงาน ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ รวดเร็วและถูกต้อง ทำงานในหน้าที่โดยมีจิตสำนึกและหลักการ รักษาผลประโยชน์ของทางราชการและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน สมานัตตตา ทำได้ด้วยการวางตนให้เหมาะสมกับฐานะในสังคม ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อบุคคลอื่นหรือประชาชน ให้ความเสมอภาค ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเป็นกันเอง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รู้จักวางตนให้เหมาะสม ซื่อตรง อุทิศเวลาต่อหน้าที่ มีสัมพันธ์อันดีกับชุมชนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย 3.
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการค้นคว้าทางการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การสั่งการ และการบริหาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา งานวิจัย และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กองช่าง มีด้วยกัน 5 ด้าน 1) งานด้านวิศวกรรม 2) งานด้านสาธารณูปโภค 3) งานด้านสวนสาธารณะ 4) งานด้านจัดสถานที่ 5) งานด้านการไฟฟ้าสาธารณะ สภาพการปฏิบัติงานนั้นต้องประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผนที่ดีเพื่อให้มีความสัมพันธ์กับการจัดวางโครงการซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดกรอบไว้ตามวัตถุประสงค์ และแผนการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า กำหนดอำนาจหน้าที่ชัดเจน โครงการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ความรับผิดชอบทางสายงานตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล การสั่งการในการดำเนินโครงการในแต่ละครั้งต้องมีแบบแผนปฏิบัติและต้องปฏิบัติตามแผน การแบ่งงานกันทำจึงจำเป็นอย่างยิ่ง กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและกิจกรรม การใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การบริหารจัดการแก่ประชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น 2. การปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุเป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว 4 ประการ คือ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก 3) อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ 4) สมานัตตตา การวางตนสม่ำเสมอ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กองช่าง ทาน ทำได้ด้วยการ มีใจเผื่อแผ่ ให้ทาน เอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ ให้ความรู้กับประชาชน ปิยวาจา ทำได้ด้วยการพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานวาจาเป็นที่รัก หรือวาจาซาบซึ้งใจพูดคำจริง มีเหตุผลได้สาระประโยชน์ และถูกกาลเทศะ ถนอมน้ำใจไม่ดุด่าหรือกล่าวคำหยาบคาย การแสดงออกทางกายที่สำรวม มีมารยาท สุภาพอ่อนน้อม อัตถจริยา ทำได้ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการของส่วนรวม ไม่มุ่งหวังว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทน สิ่งของหรือ คำชมเชย มีจิตสำนึกในการให้บริการแก่เพื่อนร่วมงาน ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ รวดเร็วและถูกต้อง ทำงานในหน้าที่โดยมีจิตสำนึกและหลักการ รักษาผลประโยชน์ของทางราชการและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน สมานัตตตา ทำได้ด้วยการวางตนให้เหมาะสมกับฐานะในสังคม ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อบุคคลอื่นหรือประชาชน ให้ความเสมอภาค ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเป็นกันเอง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รู้จักวางตนให้เหมาะสม ซื่อตรง อุทิศเวลาต่อหน้าที่ มีสัมพันธ์อันดีกับชุมชนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย 3.
ข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ร่วมกันในสังคมมีความอนุเคราะห์ สงเคราะห์ แบ่งปันช่วยเหลือกันและกัน ทำให้อยู่ร่วมกันทำงานร่วมกัน เต็มใจช่วยเหลือเกื้อกูล ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ การมีหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจะทำให้รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่ช่วยเหลือกันมีความสามัคคีกันแบ่งปันกันไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายก็สามารถแก้ปัญหาและช่วยเหลือกัน ด้านรวมไปถึงด้านให้กำลังใจที่ส่งถึงกันเพื่อให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถมีทัศนคติใช้ปฏิบัติในทางที่ในการสนับสนุนและช่วยเหลือกัน เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจะทำให้รวมกันเป็นหมู่ คนในประเทศชาติประพฤติดีมีศีลธรรมรู้จักเกื้อกูลกันไม่ขัดแย้งแตกแยกกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกันเหนี่ยวน้ำใจของกัน จะประสานกลมเกลียวสอดคล้องกัน เพื่องานที่ทำบรรลุผลมีประโยชน์ หากร่วมมือกันในทุกฝ่ายแล้วย่อมสร้างความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงของประเทศชาติ
The objective of this thesis is 1) to study the working conditions. Of the Technician Division Lam Sam Kaew Municipality, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province 2) to study the work according to Sangahavatthu 4 principles of the Technician Division Lam Sam Kaew City Municipality, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province 3) To suggest the operational guidelines according to Sangahavatthu 4 principles of the Technician Division Lam Sam Kaeo Municipality, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province This research is a qualitative research by researching in-depth interviews. Those responsible for operations, commanding, and administration by studying from the Tripitaka, books, research textbooks and related academic documents The research found that 1. Operating conditions There are 5 aspects of the technician staff: 1) Engineering 2) Utilities 3) Public parks 4) Site management 5) Public electricity The operating conditions must consist of good planning procedures in order to relate to the project layout, which is a policy that is defined in accordance with the objectives. And work plans in advance Set clear authority. The project has a common goal. Responsibility in line with each individual's expertise and expertise. Each project operation order must have a pattern of action and must follow the plan. The division of work is therefore very necessary. Determine the relationship between workers and activities The use of organization resources for maximum efficiency. Management for the public has improved quality. 2. Performance according to the principles of Sanghavatthu 4, Sanghavatthaya is fair, the following are 4 things: 1) giving alms 2) giving the words to the words that are loved 3) the self-behavior, the behavior 4) the constant self-determination The duties of the staff of the Food Mechanics Division are made by generosity and generosity. To educate the people, to make words through speech with sweet, sweet words and beloved words. Or verbally spoken words Have reason and benefit And timely Be considerate and not curse or vulgar Comprehensive physical expression, courteous, polite, docile, attentive, can be achieved through service. Striving to help public affairs Not aiming to receive benefits in return Things or compliments Have a sense of service to colleagues People at full capacity Fast and accurate Work on duty with awareness and principles Maintain the government benefits and benefit the people. Samantha Tata can do by placing oneself appropriate to the status in society. Treat oneself consistently with other people or the public. Equality Treat colleagues with friendliness. Behave as a role model Knowing how to position oneself appropriately, honestly, devoting time to duty Have consistently good relations with the community 3. Suggestions on how to perform the work according to Sangahavatthu 4, coexist in society, provide assistance, share and help each other Make it together, work together Willing to help Solving problems for the benefit of bringing together peace Having the Sanghavatthu 4 principle as an anchor will make it a group. Be a group to help each other, to have unity and to share, no matter how bad events can solve problems and help each other Side, including the encouraging side sent to each other for the sake of the common good Can have an attitude and practice in a way that supports and helps one another As an anchor to make one together People in the nation are well behaved, morally, supportive, not conflict, divided. Encouraging each other to encourage each other Will harmonize harmoniously For work to be successful If collaborating in all parties, it will create prosperity and stability for the nation.
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของบริษัทไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของบริษัทไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน และ3) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของพนักงานบริษัท ไทยนามพลาสติก จำกัด (มหาชน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานของบริษัทไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 233 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random Sampling)ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffé) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของบริษัทไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน)โดยรวม อยู่ในระดับมาก ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการคุ้มครองความปลอดภัย รองลงมา ด้านกฎระเบียบ และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2) พนักงานที่มี เพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของบริษัท ไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) โดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) พนักงานบริษัท ไทยนามพลาสติก จำกัด (มหาชน) ได้เสนอแนวทางการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยคือควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในพื้นที่ทำงานในส่วนที่มีฝุ่นละอองในอากาศมากควรใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นควันในโรงงาน และควรดูแลเรื่องกลิ่นของสารเคมีควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอย่างรัดกุม
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของบริษัทไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของบริษัทไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน และ3) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของพนักงานบริษัท ไทยนามพลาสติก จำกัด (มหาชน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานของบริษัทไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 233 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random Sampling)ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffé) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของบริษัทไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน)โดยรวม อยู่ในระดับมาก ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการคุ้มครองความปลอดภัย รองลงมา ด้านกฎระเบียบ และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2) พนักงานที่มี เพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของบริษัท ไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) โดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) พนักงานบริษัท ไทยนามพลาสติก จำกัด (มหาชน) ได้เสนอแนวทางการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยคือควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในพื้นที่ทำงานในส่วนที่มีฝุ่นละอองในอากาศมากควรใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นควันในโรงงาน และควรดูแลเรื่องกลิ่นของสารเคมีควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอย่างรัดกุม
The objectives of this thematic paper were as follows: 1) To study the opinions of employees on the effectiveness of safety performance, and occupational health of Thai Nam Plastics Public Company Limited; 2) to compare the opinions of employees on the efficiency of the safety system, and occupational health of Thai Nam Plastics Public Company Limited, classified by gender, age and work experience; and 3) to suggest guidelines for the safety of company employees of Thai Nam Plastic Public Company Limited. The used tools in the research were questionnaires. The sample consisted of 233 employees of Thai Nam Plastics Public Company Limited. A Sample Random Sampling was used to collect data. The descriptive statistics were used such as frequency, percentage, average ( ), standard deviation (SD) and inference statistics or reference, such as t-test, one-way variance test, F-test. (One-Way ANOVA). If a significant difference was found, test in the difference of the average value in pairs was used by the Scheffé method and by using data analysis and computer processing. The results of the research were found as follows: 1) Workers of Thainam Plastic Public Company Limited had opinions on the efficiency of the safety system, and occupational health of Thai Nam Plastics Public Company Limited, being overall at a high level. The highest mean was In the aspect of safety protection, followed by the aspect of regulations, and the lowest mean was the aspect of working environment. 2) Workers of Thai Nam Plastic Public Company Limited with different gender, age and work experience had no different opinions about the effectiveness of the safety system. And occupational health of the company Thainam Plastic Public Company Limited, both in total aspects and each aspect. 3) Workers of Thai Nam Plastic Public Company Limited had suggested guidelines for occupational safety and health as follows: there should install air purifiers in the work area in the area where there was a lot of dust in the air; there should wear a dust mask in the factory; and should care about the smell of chemicals; and there should follow the rules of the company on safety and occupational health.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 253 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (f-test) หรือ (One–Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านความพอประมาณในการปฏิบัติงาน รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความมีเหตุผลในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวม 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวม 5 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยรวมทั้ง 5 ด้าน เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เห็นว่า การปฏิบัติงานของพนักงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถยึดถือปฏิบัติ โดยตั้งหมั่นอยู่บนความพอประมาณในการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย รอบคอบ ใช้เหตุผล ประกอบการตัดสินใจ มีการวางแผนงานและนำความรู้ที่มีมาปรับใช้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ทั้งนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ความรู้ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้นพนักงานควรหมั่นศึกษาหาความรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส น้อมนำหลักธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และนำ คำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 253 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (f-test) หรือ (One–Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านความพอประมาณในการปฏิบัติงาน รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความมีเหตุผลในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวม 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวม 5 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยรวมทั้ง 5 ด้าน เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เห็นว่า การปฏิบัติงานของพนักงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถยึดถือปฏิบัติ โดยตั้งหมั่นอยู่บนความพอประมาณในการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย รอบคอบ ใช้เหตุผล ประกอบการตัดสินใจ มีการวางแผนงานและนำความรู้ที่มีมาปรับใช้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ทั้งนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ความรู้ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้นพนักงานควรหมั่นศึกษาหาความรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส น้อมนำหลักธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และนำ คำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
This thesis has the following objectives : 1) to study the work performance under the concept of sufficiency economy philosophy of local government organization employees In Pluak Daeng District, Rayong Province, 2) to compare the work performance under the concept of sufficiency economy philosophy In Pluak Daeng District of Rayong Province of employees with different gender, age, educational level and work experiences, and 3) to propose guidelines for working under the concept of sufficiency economy philosophy of employees in local government organizations In Pluak Daeng District, Rayong Province. The data were collected by questionnaire from 253 samples determined the sample size by using the formula of "Taro Yamane" Convenience Random Sampling and by in-depth interviews with 5 key informant. The research tools were questionnaires and interview forms. The statistics used in this research are descriptive statistics; frequency, percentage, mean (x ̅) standard deviation (S.D.) and inferential statistics including t-test and variance test (f-test) or (One – Way ANOVA). If there are significant statistical differences, the methods of LSD (Least Significant Difference) will be used. The research findings revealed that: 1) The work performance under the concept of sufficiency economy philosophy in 5 areas is at a high level in total. When arranged in 3 sequences from the highest to the least, it starts with moderation in the work, followed by morality and ethics in work performance, and reason in the work performance respectively. 2) In research hypothesis testing, employees with different genders, ages and work experiences have work performance under the concept of sufficiency economy philosophy indifferently. The employees with different educational levels have work performance under the concept of sufficiency economy philosophy differently with a significantly statistical figure at 0.05 3) Based on interviews with key informants, working under the concept of sufficiency economy philosophy is essential and practical based on moderation, saving, not being extravagant, discreet, making decisions with reason, planning, and applying knowledge in work to strengthen and immunize oneself. In addition, it is a preparation to confront with risks and problems to be happened. Knowledge is a key factor in work operation. Therefore, employees should keep learning, exchanging experiences with each other, and should have morality, ethics, honesty, transparency, and abide by Dhamma in living a life and work.
หนังสือ