Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) เป็นการผสมผสานกันระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ได้แก่ สถานศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 222 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 888 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .902 3) แบบประเมินรูปแบบ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2561 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร มีองค์ประกอบเกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดโครงสร้างการบริหาร 2) การบริหารกลยุทธ์ 3) การบริหารบุคลากร 4) พฤติกรรมวิธีการบริหาร 5) ระบบและวิธีการปฏิบัติงาน 6) ค่านิยมร่วม และ 7) ทักษะการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มี 4 ด้าน 1) ความเป็นเลิศด้านวิชาการ 2) ความเป็นเลิศด้านการบริหารงบประมาณ 3) ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานบุคคล และ 4) ความเป็นเลิศด้านการบริหารทั่วไป และด้านองค์ประกอบเชิงระบบของรูปแบบ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) ปัจจัยกระบวนการ 3) และปัจจัยผลผลิต 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 11 องค์ประกอบย่อย คือ 1) องค์ประกอบหลักด้านปัจจัยนำเข้า มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การจัดโครงสร้างการบริหารโครงสร้างการบริหารงาน และ 1.2) ทักษะการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) องค์ประกอบหลักด้านกระบวนการ มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การบริหารกลยุทธ์ 2.2) การบริหารบุคลากร 2.3) พฤติกรรมวิธีการบริหาร 2.4) ระบบและวิธีการปฏิบัติงาน และ 2.5) ค่านิยมร่วม และ 3)องค์ประกอบหลักด้านผลผลิต มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) วิชาการ 3.2) งบประมาณ 3.3) บริหารงานบุคคล และ 3.4) การบริหารทั่วไป 3. ผลการประเมินรูปแบบพบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ( = 3.51ขึ้นไป) ส่วนการรับรองรูปแบบพบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นรับรอง ร้อยละ 98.53 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) จึงสรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) เป็นการผสมผสานกันระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ได้แก่ สถานศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 222 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 888 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .902 3) แบบประเมินรูปแบบ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2561 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร มีองค์ประกอบเกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดโครงสร้างการบริหาร 2) การบริหารกลยุทธ์ 3) การบริหารบุคลากร 4) พฤติกรรมวิธีการบริหาร 5) ระบบและวิธีการปฏิบัติงาน 6) ค่านิยมร่วม และ 7) ทักษะการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มี 4 ด้าน 1) ความเป็นเลิศด้านวิชาการ 2) ความเป็นเลิศด้านการบริหารงบประมาณ 3) ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานบุคคล และ 4) ความเป็นเลิศด้านการบริหารทั่วไป และด้านองค์ประกอบเชิงระบบของรูปแบบ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) ปัจจัยกระบวนการ 3) และปัจจัยผลผลิต 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 11 องค์ประกอบย่อย คือ 1) องค์ประกอบหลักด้านปัจจัยนำเข้า มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การจัดโครงสร้างการบริหารโครงสร้างการบริหารงาน และ 1.2) ทักษะการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) องค์ประกอบหลักด้านกระบวนการ มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การบริหารกลยุทธ์ 2.2) การบริหารบุคลากร 2.3) พฤติกรรมวิธีการบริหาร 2.4) ระบบและวิธีการปฏิบัติงาน และ 2.5) ค่านิยมร่วม และ 3)องค์ประกอบหลักด้านผลผลิต มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) วิชาการ 3.2) งบประมาณ 3.3) บริหารงานบุคคล และ 3.4) การบริหารทั่วไป 3. ผลการประเมินรูปแบบพบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ( = 3.51ขึ้นไป) ส่วนการรับรองรูปแบบพบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นรับรอง ร้อยละ 98.53 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) จึงสรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น