Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหาร งานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) เพื่อยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มครูผู้สอน และกลุ่มผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา รวมทั้งสิ้น 402 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน (Proportion Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.458 -0.913 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ0.984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการตรวจสอบความสอดคล้องและความเหมาะสมของโมเดลการวัด (Measurement Model) โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) ผลการวิจัยพบว่า 1)องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการวางแผนงาน บุคลากร ด้านการจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน และด้านการธำรงรักษาบุคลากร 2) ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหาร งานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ทั้ง 6 องค์ประกอบและ 60 บ่งชี้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จัดเรียงอันดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (λ) จากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน (λ =0.776) 2) องค์ประกอบด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร (λ =0.731) 3) องค์ประกอบด้านการพัฒนาบุคลากร (λ =0.668) 4) องค์ประกอบด้านการวางแผนงานบุคลากร (λ =0.642) 5) องค์ประกอบด้านการจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน (λ =0.572) 6) องค์ประกอบด้านการธำรงรักษาบุคลากร (λ =0.562) ตามลำดับ ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด โมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ซึ่งพิจารณาจากค่า χ2= 16.441, df =9, p-value=0.125, CFI=0.965, TLI=0.960, SRMR = 0.030, RMSEA = 0.003, χ2 / df = 1.827และความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (Construct Reliability : CR) เท่ากับ 0.985 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.60 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหาร งานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) เพื่อยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มครูผู้สอน และกลุ่มผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา รวมทั้งสิ้น 402 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน (Proportion Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.458 -0.913 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ0.984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการตรวจสอบความสอดคล้องและความเหมาะสมของโมเดลการวัด (Measurement Model) โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) ผลการวิจัยพบว่า 1)องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการวางแผนงาน บุคลากร ด้านการจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน และด้านการธำรงรักษาบุคลากร 2) ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหาร งานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ทั้ง 6 องค์ประกอบและ 60 บ่งชี้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จัดเรียงอันดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (λ) จากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน (λ =0.776) 2) องค์ประกอบด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร (λ =0.731) 3) องค์ประกอบด้านการพัฒนาบุคลากร (λ =0.668) 4) องค์ประกอบด้านการวางแผนงานบุคลากร (λ =0.642) 5) องค์ประกอบด้านการจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน (λ =0.572) 6) องค์ประกอบด้านการธำรงรักษาบุคลากร (λ =0.562) ตามลำดับ ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด โมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ซึ่งพิจารณาจากค่า χ2= 16.441, df =9, p-value=0.125, CFI=0.965, TLI=0.960, SRMR = 0.030, RMSEA = 0.003, χ2 / df = 1.827และความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (Construct Reliability : CR) เท่ากับ 0.985 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.60 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์
The objectives of the research were 1) to study the indicators and elements of personnel administration based on the four sublime states of mind of administrators in schools under Roi Et Informal and Non-formal Education Promotion Office 2) to examine structural validity and structural confidence of the indicators and elements and 3) to confirm the elements of personnel administration based on the four sublime states of mind of administrators in schools under Roi Et Informal and Non-formal Education Promotion Office. Samples were the administrators, teachers and educational supporters, totally 402 in number by choosing a proportion stratified sampling. The five-rating scale questionnaire was used as a tool collect the data, with its content validity in the rang 0.67-1.00, its item classification power in rang 0.458 - 0.913, and its reliability at 0.984. The statistical devices used for data analysis consisted of frequency, mean, standard deviation, and the consistency and appropria-teness of the measurement model by the confirmatory factor analysis: CFA. The research result were as follows: 1)Indicators and elements of personnel administration based on the four sublime states of mind of administrators in schools under Roi Et Informal and Non-formal Education Promotion Office in an overall aspect to exist at the “MUCH” level. That stood on the top of scale was Creating morale in work followed by that personnel performance evaluation, personnel development, personnel planning, setting personnel to work and maintain personnel. 2)The results of structural validity examination and structural confidence of the indicators and elements of personnel administration based on the four sublime states of mind of administrators in school were 6 elements and 60 Indicators, the statistical significance at the .01 level. The component weight value (λ) the elements that stood on the top of the scale was creating morale in work (λ = 0.776) followed by that followed by that personnel performance evaluation (λ = 0.731), personnel development (λ = 0.668), personnel planning (λ = 0.642), setting personnel to work (λ = 0.572), and maintain personnel (λ=0.562), respectively, results Confirm the personnel management components according to the four sublime states of mindof administrators in schools under Roi Et Informal and Non-formal Education Promotion Office. The model has Construct validity based on χ2 = 16.441, df = 9, p-value = 0.125, CFI = 0.965, TLI = 0.960, SRMR = 0.030, RMSEA = 0.003, χ2 / df = 1.827, and construct reliability: CR equals 0.985, which is greater than 0.60, indicating that the model is consistent and suitable for empirical data.