Search results

4 results in 0.04s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรัง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญา 3) เพื่อบูรณาการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ เรื่อง รูปแบบการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์/นักวิชาการเกษตร ในเขตจังหวัดตรัง จำนวน 19 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรัง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ก. สภาพปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดิน เกษตรกรบางรายมีที่ดินทำกิน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือเช่าที่ดินผู้อื่น ทำให้ต้องบุกรุกใช้ประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐหรือเขตป่าสงวนแห่งชาติ ข. สภาพปัญหาราคาสินค้าเกษตรตก ต่ำ เกิดจากเกษตรกรนิยมปลูกพืชชนิดเดียวกันและผลผลิตออกพร้อมกัน แล้วหันไปปลูกพืชที่มีราคาสูงในปีถัดไป ค. สภาพปัญหาการขาดนวัตกรรมใหม่ ๆ เกษตรกรพึ่งพาเทคโนโลยีในการผลิตทุกขั้น ตอนมากเกินไป ไม่คุ้มทุน ทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ง. สภาพปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ได้แก่ ปัญหาด้านป่าไม้ ปัญหาด้านดิน ปัญหาการใช้ที่ดิน ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาการกาจัดสิ่งปฏิกูล ปัญหาอากาศเสีย ปัญหาน้ำเสียและปัญหาเสียงรบกวน หลักพุทธปรัชญาในการแก้ปัญหาของเกษตรกรจังหวัดตรัง 1) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียร ฝึกฝนให้มีความชำนาญและรู้จริง รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาวิธีการที่เหมาะสม คุ้มทุน บริหารจัดการให้ได้ผลดี เรียกว่า “หาเป็น” 2) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วย การรักษา คือ รู้จักคุ้มครอง รักษาโภคทรัพย์และผลงานที่ได้ทำไว้ด้วยความขยัน หมั่นเพียรโดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน เรียกว่า “เก็บเป็น” 3) กัลยาณมิตตตา คบหาคนดีเป็นมิตร เลือกเสวนาศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้รู้ ผู้ทรงคุณ ผู้มีความสามารถ ผู้น่าเคารพนับถือ และมีคุณสมบัติเกื้อกูลแก่อาชีพ การงาน หรือเรียกว่า “สร้างเครือข่ายคนดีเป็น” 4) สมชีวิตา ดำเนินชีวิตที่เหมาะสม เลี้ยงชีวิตแต่พอดี คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เป็นอยู่พอดีสมรายได้ มิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ หรือเรียกว่า “ใช้เป็น” บูรณาการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา ทั้ง 4 ด้าน พบว่าได้ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ข้อที่ว่าด้วย ก. อุฏฐานสัมปทา (ความขยันหมั่นเพียร) เกษตรกรต้องรู้จักการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้คุ้มค่ามากที่สุด ต้องรู้จักในการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูลกาล ข. อารัก ขสัมปทา(รักษาไว้) ได้แก่การดูแลรักษาผลผลิตให้มีคุณภาพมาตรฐาน และการรวมกลุ่มกันขึ้นในรูปสหกรณ์ เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมยุติธรรมกับผู้ผลิตและผู้บริโภค ค. กัลป์ยาณมิตตตา (มีเพื่อนที่ดี) เกษตรกรควรร่วมมือกันในหลาย ๆ ด้าน การรวมกลุ่มการจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยการสร้างเครือข่ายทางสังคม ง.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรัง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญา 3) เพื่อบูรณาการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ เรื่อง รูปแบบการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์/นักวิชาการเกษตร ในเขตจังหวัดตรัง จำนวน 19 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรัง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ก. สภาพปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดิน เกษตรกรบางรายมีที่ดินทำกิน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือเช่าที่ดินผู้อื่น ทำให้ต้องบุกรุกใช้ประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐหรือเขตป่าสงวนแห่งชาติ ข. สภาพปัญหาราคาสินค้าเกษตรตก ต่ำ เกิดจากเกษตรกรนิยมปลูกพืชชนิดเดียวกันและผลผลิตออกพร้อมกัน แล้วหันไปปลูกพืชที่มีราคาสูงในปีถัดไป ค. สภาพปัญหาการขาดนวัตกรรมใหม่ ๆ เกษตรกรพึ่งพาเทคโนโลยีในการผลิตทุกขั้น ตอนมากเกินไป ไม่คุ้มทุน ทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ง. สภาพปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ได้แก่ ปัญหาด้านป่าไม้ ปัญหาด้านดิน ปัญหาการใช้ที่ดิน ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาการกาจัดสิ่งปฏิกูล ปัญหาอากาศเสีย ปัญหาน้ำเสียและปัญหาเสียงรบกวน หลักพุทธปรัชญาในการแก้ปัญหาของเกษตรกรจังหวัดตรัง 1) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียร ฝึกฝนให้มีความชำนาญและรู้จริง รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาวิธีการที่เหมาะสม คุ้มทุน บริหารจัดการให้ได้ผลดี เรียกว่า “หาเป็น” 2) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วย การรักษา คือ รู้จักคุ้มครอง รักษาโภคทรัพย์และผลงานที่ได้ทำไว้ด้วยความขยัน หมั่นเพียรโดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน เรียกว่า “เก็บเป็น” 3) กัลยาณมิตตตา คบหาคนดีเป็นมิตร เลือกเสวนาศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้รู้ ผู้ทรงคุณ ผู้มีความสามารถ ผู้น่าเคารพนับถือ และมีคุณสมบัติเกื้อกูลแก่อาชีพ การงาน หรือเรียกว่า “สร้างเครือข่ายคนดีเป็น” 4) สมชีวิตา ดำเนินชีวิตที่เหมาะสม เลี้ยงชีวิตแต่พอดี คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เป็นอยู่พอดีสมรายได้ มิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ หรือเรียกว่า “ใช้เป็น” บูรณาการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา ทั้ง 4 ด้าน พบว่าได้ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ข้อที่ว่าด้วย ก. อุฏฐานสัมปทา (ความขยันหมั่นเพียร) เกษตรกรต้องรู้จักการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้คุ้มค่ามากที่สุด ต้องรู้จักในการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูลกาล ข. อารัก ขสัมปทา(รักษาไว้) ได้แก่การดูแลรักษาผลผลิตให้มีคุณภาพมาตรฐาน และการรวมกลุ่มกันขึ้นในรูปสหกรณ์ เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมยุติธรรมกับผู้ผลิตและผู้บริโภค ค. กัลป์ยาณมิตตตา (มีเพื่อนที่ดี) เกษตรกรควรร่วมมือกันในหลาย ๆ ด้าน การรวมกลุ่มการจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยการสร้างเครือข่ายทางสังคม ง.
สมชีวิตา (ดำเนินชีวิตที่เหมาะสม) เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันในรูปสหกรณ์เพื่อบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพในทุกด้าน เพราะการร่วมมือกันเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดความเข้มแข็ง นำมาซึ่งความยั่งยืน องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ สามารถสรุปเป็นรูปแบบการแก้ปัญหาของเกษตรกรด้วยหลักพุทธปรัชญา สรุปเป็น “QMWC MODEL”
The objectives of this dissertation were: 1) to study the state of problems of farmers in Trang province, 2) to study principles of Buddhist philosophy, 3) to integrate the principles of Buddhist philosophy in problem solving of farmers in Trang province, and 4) to propose a new body of knowledge on the problem solving model of farmers in Trang province with the principles of Buddhist philosophy. The data of this documentary qualitative research were collected from documents and in-depth interviews with 19 Buddhist monks and agricultural scholars In Trang province, and then analyzed by content analysis. The research results were found as follows: The state of problems of farmers in Trang province has 4 major aspects; land ownership, falling price of the agricultural produces, the lack of innovative technology, and natural resource degradation. The principles of Buddhist philosophy in solving problems of farmers in Trang province are; 1) Utthanasampada, to be ready with perseverance in diligence, 2) Arakkhasampada, to be able to maintain, protect and preserve wealth, 3) Kalyanamittata, to associate with good companions, and 4) Samajivita, to lead a suitable life with moderation. The principles of Buddhist philosophy integrated in solving problems of farmers in Trang province are the principles of Ditthadhammikattha. In Utthana sampada, the farmers must understand the use of their land the worthiest and plant the crop rotation according to the season. In Arakkhasampada, the farmers have to take care of their produce to meet quality standards and set a reasonable consumers. In Kalyanamittata, the farmers should cooperate with each other and establish a cooperative to strengthen their produce quality, community and social network. In Somajivita, the farmers should live their lives appropriately according to the principles of moderation. The new knowledge in solving the problems of farmers with Buddhist philosophy gained from this research can be concluded into “QMWC MODEL”.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
The objectives of this dissertation are; 1) to study the concepts and theories about responsibility and duty, 2) to study the duty responsibility through the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka, 3) to strengthen the responsibility in the way of the Bodhisattva as depicted in the Mahānipāta Jātaka, and 4) to present guidelines for building a body of knowledge about “A Guideline Responsibility Enhancement According to the way of life of Bodhisattvas as Depicted in MahānipātaJātaka”. This research is a documentary qualitative research by which all data were collected from the Tipitaka, Commentaries and in-depth interviews with 15 key informants. The results showed that: The concepts and theories concerning responsibility are theory of social psychology and social conditioning with a focus on doing good to society. Theory of pyramid helps to create social responsibility, mirror’s theory helps to understand oneself and behave with others appropriately, game theory helps to understand social responsibility as a role-player, and the idea of action decisions that gives a good picture of the responsibility of duty as a person in society. Concepts and theories about accountability are therefore something that must be studied, trained, practiced, and recognized in order that everyone will obtain co-benefits from duty responsibilities. Responsibilities and duties of the Bodhisattvas that appear in the 10 Mahānipāta Jātakas, namely Temiya, Mahajanaka, Suvannasama, Nemiraja, Mahosatha, Bhuridatta, Chandakumara, Naradabrahma, Vidhurapandita, and Vessantara. They took responsibilities and duties based on the ten perfections. They are Nekkhamma, Viriya, Metta, Adhitthana, Panna, Sila, Khanti, Upekkha, Sacca, and Dhana. The results of responsibility lead to development of wisdom and the fulfillment of vows of the Bodhisattvas. Guidelines for enhancing responsibility and duties according to the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka can be identified in 7 items; responsibility towards one's own role, towards family, towards colleagues, towards teachers, towards the country, towards Buddhism, and towards those who need help. All responsibilities can be done by a sense of responsibility to perform duties, creating self-discipline, maintaining and developing standards of responsibility quality, working with a systematic understanding, and respecting the rights of others for the prosperity of humanity and society, using perfections as a condition for responsibility, doing benefits to society without boundaries and being happy in all activities. The knowledge from the research can be synthesized into the BODHI Model.