Search results

4 results in 0.04s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง “บูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการทางศาสนาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักการทางปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 3) เพื่อบูรณาการหลักการ ทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่องบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักการทางศาสนาและปรัชญาจำนวน 15 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับ หลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1. ศาสนาถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทและความสำคัญ ต่อมนุษย์บนโลกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสังคมที่ทำหน้าที่อบรมขัดเกลาคน ในสังคมให้อยู่บนบรรทัดฐานเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจของคนโดยทั่วไป สามารถกำหนดรูปแบบแนวทางการแสดงออกของมนุษย์ได้ โดยส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมที่เป็นวิถีชีวิตที่มนุษย์ปฏิบัติในสังคม ส่วนหลักการพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ ไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา 2. ปรัชญาจะทำหน้าที่ศึกษา โลกและชีวิตไว้ทั้งหมดหาคำตอบที่เป็นความจริงที่เป็นนิรันดร ด้วยวิธีการทางตรรกวิทยาและจะเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคตามสมัยแล้วแต่ว่าจะสนใจที่จะศึกษาในเรื่องใดหรือปัญหาใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ สำหรับปรัชญาการศึกษาจะมี 5 สำนัก ได้แก่ 1) สารัตถนิยม 2) นิรันตรนิยม 3) พิพัฒนาการนิยม 4) ปฏิรูปนิยม และ5) อัตถิภาวนิยม 3. จุดมุ่งหมายของการศึกษา หลักสูตร วิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจและผู้เรียนผู้สอนในระบบการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามารถนำเอาหลักของพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ไตรสิกขา อันประกอบด้วยศีลสิกขา ที่ช่วยควบคุมทางกาย และวาจา สมาธิสิกขา ช่วยให้ผู้เรียนควบคุมจิตใจตนเองได้ และปัญญาสิกขา ช่วยทำให้ผู้เรียนที่พร้อมจะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ และปรัชญาการศึกษา 5 สำนัก ได้แก่ 1) สารัตถนิยม ส่งผลให้ผู้เรียนมีการสร้างวินัยในตนเองของผู้เรียน 2) นิรันตรนิยม สามารถนำความรู้จากศาสตร์อื่นมาเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ได้ตามเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ 3) พิพัฒนาการนิยม ปฏิบัติจนเกิดเป็นประสบการณ์มีประโยชน์การปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์จริง 4) ปฏิรูปนิยม ทำให้ผู้เรียนมีความคิดพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และ 5) อัตถิภาวนิยม ให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง กล้าตัดสินใจและกล้ายอมผิดชอบผลของของการกระทำนั้น ด้วยจิตใจที่กล้าหาญเสียสละ 4. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” ในครั้งนี้ได้แก่ “MWA Model”
การศึกษาวิจัยเรื่อง “บูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการทางศาสนาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักการทางปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 3) เพื่อบูรณาการหลักการ ทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่องบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักการทางศาสนาและปรัชญาจำนวน 15 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับ หลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1. ศาสนาถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทและความสำคัญ ต่อมนุษย์บนโลกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสังคมที่ทำหน้าที่อบรมขัดเกลาคน ในสังคมให้อยู่บนบรรทัดฐานเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจของคนโดยทั่วไป สามารถกำหนดรูปแบบแนวทางการแสดงออกของมนุษย์ได้ โดยส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมที่เป็นวิถีชีวิตที่มนุษย์ปฏิบัติในสังคม ส่วนหลักการพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ ไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา 2. ปรัชญาจะทำหน้าที่ศึกษา โลกและชีวิตไว้ทั้งหมดหาคำตอบที่เป็นความจริงที่เป็นนิรันดร ด้วยวิธีการทางตรรกวิทยาและจะเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคตามสมัยแล้วแต่ว่าจะสนใจที่จะศึกษาในเรื่องใดหรือปัญหาใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ สำหรับปรัชญาการศึกษาจะมี 5 สำนัก ได้แก่ 1) สารัตถนิยม 2) นิรันตรนิยม 3) พิพัฒนาการนิยม 4) ปฏิรูปนิยม และ5) อัตถิภาวนิยม 3. จุดมุ่งหมายของการศึกษา หลักสูตร วิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจและผู้เรียนผู้สอนในระบบการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามารถนำเอาหลักของพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ไตรสิกขา อันประกอบด้วยศีลสิกขา ที่ช่วยควบคุมทางกาย และวาจา สมาธิสิกขา ช่วยให้ผู้เรียนควบคุมจิตใจตนเองได้ และปัญญาสิกขา ช่วยทำให้ผู้เรียนที่พร้อมจะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ และปรัชญาการศึกษา 5 สำนัก ได้แก่ 1) สารัตถนิยม ส่งผลให้ผู้เรียนมีการสร้างวินัยในตนเองของผู้เรียน 2) นิรันตรนิยม สามารถนำความรู้จากศาสตร์อื่นมาเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ได้ตามเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ 3) พิพัฒนาการนิยม ปฏิบัติจนเกิดเป็นประสบการณ์มีประโยชน์การปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์จริง 4) ปฏิรูปนิยม ทำให้ผู้เรียนมีความคิดพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และ 5) อัตถิภาวนิยม ให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง กล้าตัดสินใจและกล้ายอมผิดชอบผลของของการกระทำนั้น ด้วยจิตใจที่กล้าหาญเสียสละ 4. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” ในครั้งนี้ได้แก่ “MWA Model”
The objectives of the research entitled “Integration of Religious and Philosophical Principles for Enhancing Education of Royal Police Cadet Academy” were as follows: 1) to study the religious principles for enhancing education of Thai Police Cadet Academy, 2) to study the philosophical principles for enhancing education of Thai Police Cadet Academy, 3) to integrate the religious and philosophical principles for enhancing education of Royal Police Cadet Academy, and 4) to present a new model of integration of religious and philosophical principles for enhancing education of Royal Police Cadet Academy. The data of this qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 15 experts in religion and philosophy. The data were analyzed and presented for enhancing education of Royal Police Cadet Academy. The study results indicated as follows:- 1. Religion is an important institution of humans in this world as part of a culture and society that refines people to be on the basis of social norms and is the mental refuge. The religion generally can shape the human expressions and have and effect to their beliefs and values. The principle of Theravada Buddhist Philosophy that enhances education is the Threefold Training or Tisikkha. 2. Philosophy is responsible for the study of the world and life in order to find solutions to the eternal truths through a logical method and it will change over time depending on subject or problem beneficial to human beings. There are 5 schools of educational philosophy: 1) Essentialism, 2) Perennialism, 3) Progessivism, 4) Reconstructionism, and 5) Existentialism. 3. For the purpose of the study, the curriculum, the teaching method and the learners in the education system, Royal Police Cadet Academy can apply the principles of the Threefold Training by training physical and verbal actions by precept, mental action by concentration and confronting and solving problems by wisdom. Furthermore, Royal Police Cadet Academy can apply the philosophical principles of 5 schools of philosophy; 1) To train students in self-discipline with Essentialism, 2) To train students in integration and application of inter-disciplinary sciences with Perennialism, 3) To train students in practice for duty performance with Progressivism, 4) To train students in self-development and life-long learning with Reconstructionism, and 5) To train students in self-confidence, responsibility and bravery with Existentialism. 4. The new knowledge about “Integration of Religious and Philosophical Principles for Enhancing Education of Royal Police Cadet Academy” obtained from the study is “MWA Model”.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
The objectives of this dissertation are; 1) to study the concepts and theories about responsibility and duty, 2) to study the duty responsibility through the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka, 3) to strengthen the responsibility in the way of the Bodhisattva as depicted in the Mahānipāta Jātaka, and 4) to present guidelines for building a body of knowledge about “A Guideline Responsibility Enhancement According to the way of life of Bodhisattvas as Depicted in MahānipātaJātaka”. This research is a documentary qualitative research by which all data were collected from the Tipitaka, Commentaries and in-depth interviews with 15 key informants. The results showed that: The concepts and theories concerning responsibility are theory of social psychology and social conditioning with a focus on doing good to society. Theory of pyramid helps to create social responsibility, mirror’s theory helps to understand oneself and behave with others appropriately, game theory helps to understand social responsibility as a role-player, and the idea of action decisions that gives a good picture of the responsibility of duty as a person in society. Concepts and theories about accountability are therefore something that must be studied, trained, practiced, and recognized in order that everyone will obtain co-benefits from duty responsibilities. Responsibilities and duties of the Bodhisattvas that appear in the 10 Mahānipāta Jātakas, namely Temiya, Mahajanaka, Suvannasama, Nemiraja, Mahosatha, Bhuridatta, Chandakumara, Naradabrahma, Vidhurapandita, and Vessantara. They took responsibilities and duties based on the ten perfections. They are Nekkhamma, Viriya, Metta, Adhitthana, Panna, Sila, Khanti, Upekkha, Sacca, and Dhana. The results of responsibility lead to development of wisdom and the fulfillment of vows of the Bodhisattvas. Guidelines for enhancing responsibility and duties according to the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka can be identified in 7 items; responsibility towards one's own role, towards family, towards colleagues, towards teachers, towards the country, towards Buddhism, and towards those who need help. All responsibilities can be done by a sense of responsibility to perform duties, creating self-discipline, maintaining and developing standards of responsibility quality, working with a systematic understanding, and respecting the rights of others for the prosperity of humanity and society, using perfections as a condition for responsibility, doing benefits to society without boundaries and being happy in all activities. The knowledge from the research can be synthesized into the BODHI Model.