Search results

4 results in 0.04s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
The objectives of this dissertation are; 1) to study the concepts and theories about responsibility and duty, 2) to study the duty responsibility through the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka, 3) to strengthen the responsibility in the way of the Bodhisattva as depicted in the Mahānipāta Jātaka, and 4) to present guidelines for building a body of knowledge about “A Guideline Responsibility Enhancement According to the way of life of Bodhisattvas as Depicted in MahānipātaJātaka”. This research is a documentary qualitative research by which all data were collected from the Tipitaka, Commentaries and in-depth interviews with 15 key informants. The results showed that: The concepts and theories concerning responsibility are theory of social psychology and social conditioning with a focus on doing good to society. Theory of pyramid helps to create social responsibility, mirror’s theory helps to understand oneself and behave with others appropriately, game theory helps to understand social responsibility as a role-player, and the idea of action decisions that gives a good picture of the responsibility of duty as a person in society. Concepts and theories about accountability are therefore something that must be studied, trained, practiced, and recognized in order that everyone will obtain co-benefits from duty responsibilities. Responsibilities and duties of the Bodhisattvas that appear in the 10 Mahānipāta Jātakas, namely Temiya, Mahajanaka, Suvannasama, Nemiraja, Mahosatha, Bhuridatta, Chandakumara, Naradabrahma, Vidhurapandita, and Vessantara. They took responsibilities and duties based on the ten perfections. They are Nekkhamma, Viriya, Metta, Adhitthana, Panna, Sila, Khanti, Upekkha, Sacca, and Dhana. The results of responsibility lead to development of wisdom and the fulfillment of vows of the Bodhisattvas. Guidelines for enhancing responsibility and duties according to the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka can be identified in 7 items; responsibility towards one's own role, towards family, towards colleagues, towards teachers, towards the country, towards Buddhism, and towards those who need help. All responsibilities can be done by a sense of responsibility to perform duties, creating self-discipline, maintaining and developing standards of responsibility quality, working with a systematic understanding, and respecting the rights of others for the prosperity of humanity and society, using perfections as a condition for responsibility, doing benefits to society without boundaries and being happy in all activities. The knowledge from the research can be synthesized into the BODHI Model.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูป/คน ทั้งในส่วนสัมภาษณ์เชิงลึกและการเสวนากลุ่ม นำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดระบบเป็นหมวดหมู่ และสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: สภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี มี 5 ด้าน 1) ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 2) ด้านความมั่นคงและปลอดภัยโดยการเรียนรู้วิธีการประกอบอาชีพต่าง ๆ 3) ด้านสัมพันธภาพภายในครอบครัวและคนในสังคมด้วยการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 4) ด้านการได้รับการยกย่องด้วยการจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ 5) ด้านการต้องการพัฒนาตนเองโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา การพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 5 ด้าน 1) กิจกรรมอาหารกาย อาหารใจ เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านมาตรฐานคุณภาพชีวิต 2) กิจกรรมความพอเพียง เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านความสุขในการดำรงชีวิต 3 กิจกรรมเทคนิคการเชื่อมสัมพันธ์ เกื้อกูลคุณค่าด้านความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ 4) กิจกรรมแสดงความสามารถด้านภูมิปัญญา เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง เกิดความภาคภูมิใจ 5) กิจกรรมปฏิบัติธรรมตามวัย ให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองด้านคุณความดี คือ การบรรลุซึ่งศีลธรรม และด้านพลังอำนาจ คือ การมีอิทธิพลต่อตนเองและผู้อื่น รูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนามีกระบวนขั้นตอนเรียกว่า “ระดับการศึกษา 4 ขั้น” ระดับปฐมาวุโส มีความรู้ มีความรู้ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ระดับทุติยาวุโส อยู่เป็น การเรียนรู้ในการสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ระดับตติยาวุโส เห็นปัญญา การรับรู้ความสามารถตนเองด้านภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ระดับจตุราวุโส การพัฒนาตน กิจกรรมปฏิบัติธรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุขจากการเข้าใจโลกตามความเป็นจริง ระดับการศึกษา 4 ขั้น ที่ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าของตนเองทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งอยู่ในสัญลักษณ์ดวงตาแห่งคุณค่า เรียกว่า SCCL MODEL
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูป/คน ทั้งในส่วนสัมภาษณ์เชิงลึกและการเสวนากลุ่ม นำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดระบบเป็นหมวดหมู่ และสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: สภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี มี 5 ด้าน 1) ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 2) ด้านความมั่นคงและปลอดภัยโดยการเรียนรู้วิธีการประกอบอาชีพต่าง ๆ 3) ด้านสัมพันธภาพภายในครอบครัวและคนในสังคมด้วยการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 4) ด้านการได้รับการยกย่องด้วยการจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ 5) ด้านการต้องการพัฒนาตนเองโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา การพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 5 ด้าน 1) กิจกรรมอาหารกาย อาหารใจ เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านมาตรฐานคุณภาพชีวิต 2) กิจกรรมความพอเพียง เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านความสุขในการดำรงชีวิต 3 กิจกรรมเทคนิคการเชื่อมสัมพันธ์ เกื้อกูลคุณค่าด้านความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ 4) กิจกรรมแสดงความสามารถด้านภูมิปัญญา เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง เกิดความภาคภูมิใจ 5) กิจกรรมปฏิบัติธรรมตามวัย ให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองด้านคุณความดี คือ การบรรลุซึ่งศีลธรรม และด้านพลังอำนาจ คือ การมีอิทธิพลต่อตนเองและผู้อื่น รูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนามีกระบวนขั้นตอนเรียกว่า “ระดับการศึกษา 4 ขั้น” ระดับปฐมาวุโส มีความรู้ มีความรู้ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ระดับทุติยาวุโส อยู่เป็น การเรียนรู้ในการสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ระดับตติยาวุโส เห็นปัญญา การรับรู้ความสามารถตนเองด้านภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ระดับจตุราวุโส การพัฒนาตน กิจกรรมปฏิบัติธรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุขจากการเข้าใจโลกตามความเป็นจริง ระดับการศึกษา 4 ขั้น ที่ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าของตนเองทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งอยู่ในสัญลักษณ์ดวงตาแห่งคุณค่า เรียกว่า SCCL MODEL
The objectives of this dissertation were as follows 1) to study the condition of factors contributing to the self-esteem of the elderly in the elderly school in Kanchanaburi Province, 2) to develop factors contributing to the self-esteem based on Buddhism of elders in the elderly school in Kanchanaburi Province, 3) to present a model for developing factors contributing to the self-esteem based on Buddhism in the elderly school in Kanchanaburi Province. The dissertation was qualitative research in which all data were collected from the Tipitaka, Commentaries, Texts and relevant documents and other researches. There were 26 key informant persons used both in the in-depth interview and group discussion. The data were systematically analyzed and presented the results through the narrative interpretation. The research results showed that : Conditions of factors contributing to the self-esteem of the elderly in the elderly school in Kanchanaburi Province consist of 5 aspects namely; 1) Physical and environment concerning to healthy education and arrangement of the environment and accommodation suitable for the elderly, 2) Security and safety concerning to train the method of various occupations, 3) Relationship within the family and people in society concerning to provide beneficial activities, 4) Recognition concerning to provide activities in the Elderly Day, and 5) Self-development concerning to encourage the elders to learn Buddhist perspectives. The development of factors contributing to the self-esteem of the elderly based on Buddhism of elders in the elderly school in Kanchanaburi Province are consisted of 5 aspects; 1) to contribute esteem in term of quality of life standard by supporting both physical food and mental food, 2) to contribute esteem in term of happiness in life by creating sufficiency activities, 3 to contribute esteem in term of self-important perception by providing collaborative technique activities, 4) to contribute esteem in term of self-worthy to be proud by showing intelligent activities, and 5) to contribute esteem in term of virtue regarding to attainment of morality and power regarding to influence oneself and others by practicing Dhamma suitable for the elderly. The model of factors development contributing to the self-esteem of the elderly based on Buddhism of elders in the elderly school in Kanchanaburi Province laid upon the process called “4 levels of education”. The first level is Pathamavuso. It is a beginning elder level consisting of knowledge to create a good quality of life. The second level is Dutiyavuso. It is a know-how living level consisting of learning to build relationships with those around you. The third level is Tatiyavuso. It is a right view level consisting of perceiving to improve self-capability. The fourth level is Caturavuso. It is a self-development level consisting of practicing to cultivate the right realization of the world for making the elders happy. In order to conclude all 4 levels of education as the body of knowledge of self-esteem elderly contribution is called “SCCL MODEL in the value eye symbol”.