Search results

264 results in 0.08s

หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ ธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 795 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้คือ 1) ตัวบ่งชี้การวิจัย 60 ตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.23-4.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ระหว่าง 11.35-15.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงมีความเหมาะสมได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.86-1.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.73-1.02 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ ธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 795 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้คือ 1) ตัวบ่งชี้การวิจัย 60 ตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.23-4.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ระหว่าง 11.35-15.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงมีความเหมาะสมได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.86-1.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.73-1.02 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
The objectives of this research were to 1) study the appropriateness of the indicators for selection in the model, 2) test the fitness of the model developed from theory and research with the empirical data, and 3) verify the factor loading value of the major components, minor components and indicators. The data was collected by using the questionnaire for estimation from a sample of the administrators of the Office of Primary Education Area of 795 people which were obtained by multi-stage random sampling.Data analysis was done by statistical program. The results of the research were based on the research hypothesis : 1) The 60 indicators used have mean of 4.23-4.74 which meets the specified criteria as mean equal to or higher than 3.00 and the distribution coefficient is between 11.35-15.86. All were selected in the model. 2) Structural relationship model Indicator of Good Governance for Administrators of the Primary Educational Service Area Office, the development from theory and research are consisted of congruence with empirical data by the value of relative Chi-square (CMIN/DF), Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA), Goodness-of-Fit Index (GFI), Adjusted Goodness-of-Fit Index (AGFI), Comparative Fit Index (CFI), and Normed Fit Index (NFI), were In accordance with the criteria from both of the first order and the second order of confirmative factor analysis, and 3) the major components had factor loading ranged from 0.86-1.06, which is higher than criterion as 0.70 in all major factor. The minor components had factor loading between 0.73-1.02 and the indicator had factor loading ranged from 0.30-1.00, which are higher level than the criterion as 0.30.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนวธรรมาภิบาลมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการ ๒. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๓. เพื่อบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๔. เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบ การบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ได้แก่ พระสังฆาธิการจำนวน ๔ รูป ผู้บริหารสำนักงานที่ใช้หลักธรรมาภิบาล ๑ คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาจำนวน ๑๐ รูป/คน เพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสำนักงานพระสังฆาธิการ พบปัญหาการบริหารมี ๔ ประการ คือ ๑. ปัญหาด้านบุคคลากร เช่น การบริหารงานของพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปกครองระดับสูงส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพมหานคร เช่น เจ้าคณะภาคบางรูปไม่ได้สังกัดวัดภายในภาคของตนทำให้การตรวจงานภายในภาคไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพ เพราะเจ้าคณะผู้ปกครองภายในภาคอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีสำนักงานบริหารที่ถาวร เมื่อเจ้าคณะพ้นสภาพจากความเป็นเจ้าคณะ เอกสารหลักฐานก็ขาดตอน เมื่อ มีเจ้าคณะใหม่ก็เริ่มงานใหม่ การบริหารจึงไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ และปัญหาการบริหารงานในส่วนภูมิภาค พบว่าการกระจายอำนาจทำได้เพียงแต่โครงสร้างเท่านั้น ๒. ปัญหางบประมาณ เนื่องจากสำนักงานไม่มีงบประมาณจากภาครัฐทำให้ต้องหางบประมาณดำเนินการเอง ๓. ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ เป็นปัญหาที่สืบเนืองมาจากงบประมาณทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ๔. ปัญหาด้านการจัดการ พบว่า การดำเนินงานของสำนักงานพระสังฆาธิการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดธรรมาภิบาลทำให้เกิดปัญหาในความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนและปัญหากฎหมายด้านอื่น ๆ การบริหารงานสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล เป็นการบริหารงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใสยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ และได้ศึกษาตัวอย่างสำนักงานที่ประสบความสำเร็จด้านธรรมาภิบาลเพื่อเป็นตัวอย่างในการนำมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหาของสำนักงานพระสังฆาธิการ การบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล พบว่า ๑. ด้านบุคคลากร มีกฎหมายจัดตั้งสำนักงานพระสังฆาธิการ ทำให้มีการบริหารเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ๒. ด้านงบประมาณ สำนักงานมีงบประมาณจากภาครัฐอย่างเพียงพอทำให้ต้องมีการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างโปร่งใส ๓. ด้านวัสดุอุปกรณ์ สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม ๔.
การศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนวธรรมาภิบาลมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการ ๒. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๓. เพื่อบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๔. เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบ การบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ได้แก่ พระสังฆาธิการจำนวน ๔ รูป ผู้บริหารสำนักงานที่ใช้หลักธรรมาภิบาล ๑ คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาจำนวน ๑๐ รูป/คน เพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสำนักงานพระสังฆาธิการ พบปัญหาการบริหารมี ๔ ประการ คือ ๑. ปัญหาด้านบุคคลากร เช่น การบริหารงานของพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปกครองระดับสูงส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพมหานคร เช่น เจ้าคณะภาคบางรูปไม่ได้สังกัดวัดภายในภาคของตนทำให้การตรวจงานภายในภาคไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพ เพราะเจ้าคณะผู้ปกครองภายในภาคอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีสำนักงานบริหารที่ถาวร เมื่อเจ้าคณะพ้นสภาพจากความเป็นเจ้าคณะ เอกสารหลักฐานก็ขาดตอน เมื่อ มีเจ้าคณะใหม่ก็เริ่มงานใหม่ การบริหารจึงไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ และปัญหาการบริหารงานในส่วนภูมิภาค พบว่าการกระจายอำนาจทำได้เพียงแต่โครงสร้างเท่านั้น ๒. ปัญหางบประมาณ เนื่องจากสำนักงานไม่มีงบประมาณจากภาครัฐทำให้ต้องหางบประมาณดำเนินการเอง ๓. ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ เป็นปัญหาที่สืบเนืองมาจากงบประมาณทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ๔. ปัญหาด้านการจัดการ พบว่า การดำเนินงานของสำนักงานพระสังฆาธิการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดธรรมาภิบาลทำให้เกิดปัญหาในความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนและปัญหากฎหมายด้านอื่น ๆ การบริหารงานสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล เป็นการบริหารงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใสยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ และได้ศึกษาตัวอย่างสำนักงานที่ประสบความสำเร็จด้านธรรมาภิบาลเพื่อเป็นตัวอย่างในการนำมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหาของสำนักงานพระสังฆาธิการ การบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล พบว่า ๑. ด้านบุคคลากร มีกฎหมายจัดตั้งสำนักงานพระสังฆาธิการ ทำให้มีการบริหารเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ๒. ด้านงบประมาณ สำนักงานมีงบประมาณจากภาครัฐอย่างเพียงพอทำให้ต้องมีการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างโปร่งใส ๓. ด้านวัสดุอุปกรณ์ สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม ๔.
ด้านการจัดการ สำนักงานมีหลักธรรมาภิบาลทั้ง ๖ ด้านทำให้เกิดการบริหารที่ดีเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผลการวิจัยสามารถสรุปเป็นโมเดลระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาลที่เรียกว่า MOGA Model ประกอบด้วย M = Management (การบริหารงาน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. บุคลากร ๒. งบประมาณ ๓. วัสดุอุปกรณ์ ๔. การจัดการ) O = office of Buddhist Ecclesiastical (สำนักงานพระสังฆาธิการ) G = good governance (ธรรมาภิบาล ๖ ด้าน ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า) A = Advantage (ประโยชน์ที่ได้รับจาการบริหารงานสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนว ธรรมาภิบาลมี ๒ นัย ได้แก่ นัยที่ ๑ คือ ๑. ประโยชน์ปัจจุบัน ๒. ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ในภพหน้า, ๓. ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน นัยที่ ๒ คือ ๑. ประโยชน์ตน ๒. ประโยชน์ผู้อื่น ๓.ประโยชน์ ทั้งสองฝ่าย
The objectives of the study on the management system of Buddhist Ecclesiastical office according to the good governance were; 1) To study the manage- ment system of buddhist ecclesiastical office. 2) To study the management system of office according to the good governance 3) To integrate the management system of the Buddhist ecclesiastical office according to the good governance 4) To propose a guideline and create new knowledge related to management system of the Buddhist ecclesiastical office according to the good governance This research is a qualitative research by using document research methodology and conducting in-depth interview, including 4 abbots, office administrators who use good governance 1 person and experts in Buddhism 10 monks/person to confirm this research results. The results of the study found that: There are 4 main problems of the management system of the Buddhist Ecclesiastical office 1. Personnel problems, such as the administration of monks who are high-level position, most of them live in Bangkok, some of the Lord Abbots of a Buddhist monastery, not belong to his region, may not affiliate with temples within his region, therefore, the inspection is unable to be done thoroughly, and effectively because the guardian within the region is in a remote area And there is no permanent administrative office When the Lord Abbot is retried, the Document evidence is disrupted. Whenever a new Lord Abbot start a new responsibility,: Therefore, management is not continuous and systematic And the administrative problems in the region found that decentralization can only be done in the structure. 2. Money problems due to the office does not have enough from the government sector, making it necessary to find a budget to operate. 3. Material problems due to the constraint budget, making it impossible to get equipment. 4.The management problems of the Buddhist Ecclesiastical Office in the 6 aspects : Administration, Education, Education welfare, Dissemination, Infrastructure, Public welfare, found that the lack of good governance, then make resulting in problems of faith in Buddhism and other legal issues. The management system of office according to good governance is the management of the organization which consists of the rule of law, morality, transparency, participation, responsibility, value for money make the organization strong, efficient, effective, transparent, fair and can be inspected. And also studied the successful office of good governance in order to be an example in the integration of the problems of the Buddhist Ecclesiastical office. The integration of the management system of the Office of the Buddhist Ecclesiastical with the office management system in accordance with the good governance found that: 1. Personnel, there is a law to establish the Buddhist Ecclesiastical Office will make management systematic and continuous 2. Money The office has sufficient budget from the government, which requires transparent examination of spending. 3. Materials and equipment can be purchased by correctly and fairly. 4. Management The Office 6 Principles of good government to ensure it internationally accepted performance. From the results of the research, it can be summarized as a model of the management system of the Buddhist Ecclesiastical Office according to the good governmance which called MOGA model M = Management, (1. Personnel, 2. Budget, 3. Materials, equipment 4. Manage- ment) O = Office of Buddhist Ecclesiastical G = Good governance, A = Advantage (2 aspects: 1. current benefits, benefits in the future, the greatest benefit is Nirvana and 2. Gain for Oneself, Gain for others, Gain both)
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence, 2) to study Gharâvâsadhamma in Buddhism, 3. to integrate activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence with Gharâvâsadhamma, and 4) to propose guidance and knowledge about " a model of a proceeding activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence integrated with Gharâvâsadhamma.” The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 63 samples that had undergone rehabilitation follow up the treatment for 3 months after discharge. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and comparing differences used Independent t-test. The qualitative data were obtained by in-depth interviews with 15 alcoholic dependence patients, who had undergone rehabilitation with 3-month follow-up treatments after discharge and not being addicted, and with 13 key informants in multidisciplinary teams at the rehabilitation by unstructured interviews. The data were analyzed by inductive analysis. The results of the research were follows 1. the implementation of rehabilitation activities for alcoholic dependence patients has a variety of forms and Buddhist principles are applied to the rehabilitation, 2. Gharâvâsadhamma in Buddhism is for lay-people to live together, and 3. the implement of rehabilitation activities integrated with Gharâvâsadhamma for patients with alcohol dependence indicated that the non-addicted sample group had a score of overall practice of Gharâvâsadhamma significantly higher than the relapse alcohol sample at the level of 0.05. This result revealed that non- relapse patients could follow Gharâvâsadhamma and have behavioral change positively. To follow Gharâvâsadhamma for self-care and non-relapse was based on intention, commitment, and tolerance to alcohol withdrawal symptoms. To escape from a bad feeling, the patients must depend on conscious thinking, reasonable consideration, self-control and family support. The rehabilitation activities for alcoholic dependence patients integrated with the Gharâvâsadhamma could be concluded into “SCB-SA-SC-SD Model”. The activities of rehabilitation for alcoholic dependence patients must be supported by society, family, staff, and fellow patients. All that could help change the patients’ cognition and behaviors into a positive way and assist them to have self-awareness or mindfulness and concentration, self-control or precepts and self-development or wisdom, and to help them quit drinking alcohol in a longer time.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
The objectives of this research were; 1) to study human resource development by Bunniyom or Puññist system or meritorious system of Asoka community, 2) to study human resource development according to Buddhism, 3) to integrate the Buddhist principles in human resource development with bunniyom system of Asoka Community, and 4) to propose approaches and knowledge body on "The Model of Human Resource Development by Bunniyom system of Asoka Community in Buddhist Integrated Approach". The data of this documentary qualitative research were collected from in-depth interviews with 10 experts and from focus group discussion with 5 experts. The results of the study indicated as follows: 1.Human resource development by Bunniyom system of Asoka Community has 4 important components: 1) Meanings and essences of 19 meritorious items, 2) 11 definitions of bunniyom, 3) The theory of profit-loss of civilized people, and 4) The Noble Eightfold Path of Samana Bodhi Rak. 2.The Buddhist principles used in the human resource development process of the Asoka community are the Threefold Training principles (Precept, Concentration, and Wisdom) and the Buddhist principles supporting human resource development. They are the 10 items of meritorious action or Puññakiriyavatthu, 6 principles of Saraniyadhamma, and 7 principles of Aparihaniyadhamma. 3.Integration of Buddhist principles with the Bunniyom system of Asoka Community is a process of human resource development in both matter and abstract to achieve the success in the same direction. The good results occurring from the practice of Asoka people for defilement eradication are in 4 sides; Self-development for the freedom in the whole community, Community development for integrity across the community, Culture for having peace across the community, and Economics for creating fraternity across the community. 4.The new body of knowledge gained from the study is the model of human resource development by the Bunniyom system of Asoka Community in the Buddhist Integrated Approach called the "FIPF" Model. It means the four forms Bunniyom; freedom, integrity, peace, and fraternity.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๓) เพื่อบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก” โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. การป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ สามารถแบ่งออกมาเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำ ๒) ด้านข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ๓) ด้านประชาชน และ ๔) ด้านพระสงฆ์หรือนักบวช ๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมในบทบาทหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านผู้นำ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านผู้นำประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ๒. ด้านข้าราชการ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านข้าราชการ ประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักอธิปไตย อคติ ๔ หลักทิศ ๖ คาราวะ ๖ มงคล ๓๘ หมวดที่ ๗ และ อปริหานิยธรรม ๗ และหลักธรรมาภิบาล ๖ ๓. ด้านประชาชน หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านประชาชน ประกอบด้วย เบญจศีล - เบญจธรรม หลักทิศ ๖ สมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม สังคหวัตถุ อิทธิบาท พหูสูต ๔. ด้านพระสงฆ์ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย จตุปาริสุทธิศีล ๔ กถาวัตถุ ๑๐ สมณสัญญา ๓ และหลักสันโดษ ๓. เมื่อนำเอาหลักพุทธธรรมไปบูรณาการกับบทบาทและการทำหน้าที่ของบุคคลในแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้านก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้รู้จักอบรมตน มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติดี และ มีคุณธรรมจริยธรรม ๔. องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE MODEL P = Personnel Quality หมายถึง การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม R = Responsibility Roles หมายถึง มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่อยู่ร่วมกับสังคม C = Cultivation Ethics หมายถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างค่านิยมที่ดี E = Effort exertion Development หมายถึง หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักปธาน ๔
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๓) เพื่อบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก” โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. การป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ สามารถแบ่งออกมาเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำ ๒) ด้านข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ๓) ด้านประชาชน และ ๔) ด้านพระสงฆ์หรือนักบวช ๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมในบทบาทหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านผู้นำ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านผู้นำประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ๒. ด้านข้าราชการ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านข้าราชการ ประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักอธิปไตย อคติ ๔ หลักทิศ ๖ คาราวะ ๖ มงคล ๓๘ หมวดที่ ๗ และ อปริหานิยธรรม ๗ และหลักธรรมาภิบาล ๖ ๓. ด้านประชาชน หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านประชาชน ประกอบด้วย เบญจศีล - เบญจธรรม หลักทิศ ๖ สมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม สังคหวัตถุ อิทธิบาท พหูสูต ๔. ด้านพระสงฆ์ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย จตุปาริสุทธิศีล ๔ กถาวัตถุ ๑๐ สมณสัญญา ๓ และหลักสันโดษ ๓. เมื่อนำเอาหลักพุทธธรรมไปบูรณาการกับบทบาทและการทำหน้าที่ของบุคคลในแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้านก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้รู้จักอบรมตน มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติดี และ มีคุณธรรมจริยธรรม ๔. องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE MODEL P = Personnel Quality หมายถึง การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม R = Responsibility Roles หมายถึง มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่อยู่ร่วมกับสังคม C = Cultivation Ethics หมายถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างค่านิยมที่ดี E = Effort exertion Development หมายถึง หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักปธาน ๔
The objective of this dissertation were : 1) to study the prevention of social deterioration as depicted in the Mahasupina Jatak, 2) to study the Dhamma principles for enhancement of effective prevention of social deterioration depicted in the Mahasupina Jatak, 3) to integrate the prevention of social deterioration depicted in the Mahasupina Jatak with the Buddhist principles, and 4) to propose guidelines and knowledge regarding “The model of integration of Buddhadhamma in protection of social deterioration as depicted in the Mahasupina Jataka”. The data of this documentary qualitative research were collected from the primary sources, secondary sources and in-depth interviews with 24 experts. The data were analyzed, synthesized and classified to cope with the objectives of the study. The results of the study were found that : 1. The protection of social deterioration in Mahasupina Jataka had 16 items divided into 4 groups ; 1) Leader, 2) state servants or workers, 3) People, and 4) monks or Recluses. 2. The Buddhist principles to support the prevention of social deterioration as depicted in Mahasupina Jataka were as follows : 2.1 The Buddhist principles supporting the leaders are Brahmavihara Dhamma, Dasaraja Dhamma, Cakkavatti Dhamma, and Sangahavatthu Dhamma. 2.2 The Buddhist principles supporting the state servants are Sappurisa Dhamma, Adhipateya, Agati, Disa, Garava, item 7 of Mangala, Apahaniya Dhamma, and Dhammabhipala. 2.3 The Buddhist principles supporting the people are the Five Precepts and the Five Virtues, Disa, Samajivita, Gharavasa Dhamma, Sangaha vatthu Dhamma, Iddhipada, and Bahusutta. 2.4 The Buddhist principles supporting the monks are Catuparisuddhisila, Kathavatthu, Samanasanna, and Santosa. 3. The integration of Buddhadhamma with the role and duty performance of individuals in each group can result to the desirable qualifications ; self-improvement, responsibility, good behaviors, and establishment on morality and ethics. 4. The body of knowledge obtained from the study can be concluded in PRCE Model. P = Personnel Quality, R = Responsibility Roles, C = Cultivation Ethics, and E = Effort Development.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561