Search results

264 results in 0.11s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 255
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 255
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการเป็นผู้ติดยาเสพติดในเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชน 3) เพื่อบูรณาการสร้างภูมิคุ้มกันการ ติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการ บูรณาการการสร้างภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research Methodology) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากความสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และเจ้าหน้าที่ประจำสถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 20 คน เยาวชนที่กำลังบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติด ณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีและ ณ สถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 40 คน และเยาวชนที่ไม่ติดยาเสพติดที่กำลังศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิค มีนบุรี จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 155 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการติดยาเสพติดของเยาวชน เกิดจากปัจจัยด้านครอบครัว บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ความรักความอบอุ่นแก่เยาวชนไม่เพียงพอ ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน ไม่ได้ปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้รังเกียจยาเสพติด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่ มีเพื่อนบ้านเป็นผู้ติดยาเสพติด ปัจจัยด้านจิตวิทยา การถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับ ปัจจัยการคบเพื่อน คบเพื่อนโดยไม่สังเกตว่าเขาเป็นคนเช่นไร ปัจจัยการติดการพนัน แพ้พนันแล้วไม่มีเงินจ่าย ปัจจัยการไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยการขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยจาก ความรัก ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด และปัจจัยการขาดศึกษาตามวัย ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้สร้างภูมิคุ้มกัน มี 3 หลักธรรม ประกอบด้วย 1) อริยสัจ 4 นำมาใช้เป็น “แนวคิด” ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีป้องกัน เพราะเป็นคำสอนที่มุ่งให้แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา 2) สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ โดยนำข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักตน, ข้อปุคคลัญญุตา ความรู้จักบุคคล และข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักผล เรียกสั้น ๆ ว่า “รู้ตน รู้คน รู้ภัย” มาใช้เป็น “วัคซีน” 3) นำข้อธรรมทั้ง 3 นี้ไปใช้ร่วมกับมรรคมีองค์ 8 ในข้อสัมมากัมมันตะ ซึ่งอยู่ในหมวดศีล เพื่อให้เกิด “ความเชื่อมั่น” ว่า การปฏิบัติใด ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ตน รู้คน และรู้ภัย นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น หลังจากนั้นนำข้อธรรมทั้ง 3 สู่การปฏิบัติทางโลก ด้วยการแปลงศีลเป็นวินัย เพราะศีลในทางธรรม คือ วินัยในทางโลก สุดท้ายปลูกฝังความวินัยให้เกิดขึ้นในเยาวชน ด้วยการให้ปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นให้เป็นคนรู้ตน รู้คน และรู้ภัย อย่างคงเส้นคงวาจนเกิดเป็นความเคยชิน และด้วยความเคยชินในกิจกรรมที่สร้างสรรค์จะกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดในจิตใจของเยาวชน องค์ความรู้ใหม่ที่การวิจัยค้นพบ คือ AC for 3Ks Model ซึ่งเกิดจากการให้เยาวชนทำกิจกรรม (Activities: A) อย่างคงเส้นคงวา (Consistently: C) เพื่อ (for)
การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการเป็นผู้ติดยาเสพติดในเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชน 3) เพื่อบูรณาการสร้างภูมิคุ้มกันการ ติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการ บูรณาการการสร้างภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research Methodology) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากความสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และเจ้าหน้าที่ประจำสถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 20 คน เยาวชนที่กำลังบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติด ณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีและ ณ สถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 40 คน และเยาวชนที่ไม่ติดยาเสพติดที่กำลังศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิค มีนบุรี จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 155 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการติดยาเสพติดของเยาวชน เกิดจากปัจจัยด้านครอบครัว บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ความรักความอบอุ่นแก่เยาวชนไม่เพียงพอ ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน ไม่ได้ปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้รังเกียจยาเสพติด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่ มีเพื่อนบ้านเป็นผู้ติดยาเสพติด ปัจจัยด้านจิตวิทยา การถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับ ปัจจัยการคบเพื่อน คบเพื่อนโดยไม่สังเกตว่าเขาเป็นคนเช่นไร ปัจจัยการติดการพนัน แพ้พนันแล้วไม่มีเงินจ่าย ปัจจัยการไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยการขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยจาก ความรัก ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด และปัจจัยการขาดศึกษาตามวัย ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้สร้างภูมิคุ้มกัน มี 3 หลักธรรม ประกอบด้วย 1) อริยสัจ 4 นำมาใช้เป็น “แนวคิด” ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีป้องกัน เพราะเป็นคำสอนที่มุ่งให้แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา 2) สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ โดยนำข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักตน, ข้อปุคคลัญญุตา ความรู้จักบุคคล และข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักผล เรียกสั้น ๆ ว่า “รู้ตน รู้คน รู้ภัย” มาใช้เป็น “วัคซีน” 3) นำข้อธรรมทั้ง 3 นี้ไปใช้ร่วมกับมรรคมีองค์ 8 ในข้อสัมมากัมมันตะ ซึ่งอยู่ในหมวดศีล เพื่อให้เกิด “ความเชื่อมั่น” ว่า การปฏิบัติใด ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ตน รู้คน และรู้ภัย นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น หลังจากนั้นนำข้อธรรมทั้ง 3 สู่การปฏิบัติทางโลก ด้วยการแปลงศีลเป็นวินัย เพราะศีลในทางธรรม คือ วินัยในทางโลก สุดท้ายปลูกฝังความวินัยให้เกิดขึ้นในเยาวชน ด้วยการให้ปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นให้เป็นคนรู้ตน รู้คน และรู้ภัย อย่างคงเส้นคงวาจนเกิดเป็นความเคยชิน และด้วยความเคยชินในกิจกรรมที่สร้างสรรค์จะกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดในจิตใจของเยาวชน องค์ความรู้ใหม่ที่การวิจัยค้นพบ คือ AC for 3Ks Model ซึ่งเกิดจากการให้เยาวชนทำกิจกรรม (Activities: A) อย่างคงเส้นคงวา (Consistently: C) เพื่อ (for)
มุ่งหมายให้เขารู้ตนว่าเป็นคนมีคุณค่า (Knowing himself as a value: K), รู้ที่จะเลือกคบเพื่อน (Knowing how to make friend: K), และรู้ภัยของยาเสพติด (Knowing how to know drug hazard: K)
The objective of the research entitled “The Youth Immunization from Drug Addiction with Buddhadhamma” is the following: 1) To study the causes of drugs addicts in youth, 2) To study the principles of Buddhadhamma that will be used to study as immunity to drug addiction in youth, 3) To integrate the youth immunization from drug addiction with Buddhadhamma, and 4) To create new knowledge about “The model of integration of the youth immunization from drug addiction with Buddhadhamma". This research is a qualitative research using documentary research methodology and collecting data by questionnaires from the voluntary sample consisting of 5 monks, 10 Central Special Correctional Institution personnel, full-time staff from the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment (PMNIDAT), and full-time staff from the Department of Juvenile Observation and Protection for 20 staff in each agency. Youth who are being treated for drug addiction at the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment and the Department of Juvenile Observation and Protection for 40 youths in each agency, and non-addicted youth who are studying at Minburi Technical College Bangkok, totaling 20 people, for total of 155 monks/person. The results of the study found that: The causes of youth addiction are caused by family factors, not enough for parents or guardians to give love and warmth to youth, not a good example for young, not raising awareness of youth to hate drugs, economic factors, family’s income is not enough to cover expenses existing environment factors, addicted neighborhood, Psychological factors, demeaning or demanding to be accepted, dating factors, making friendships without noticing what they’re, gambling factors, lost a bet and had no money to pay. The factor not how to know to keep with free time to be useful. These factors make being easily influenced, lacking of goals in life, resulting in being easily influenced. Love factor makes a wrong decision, and the lack of education factor by age results in being easily influenced. The Buddhadhamma used to create immunity consist of 3 principles, namely: 1) Noble Truth 4: used as a "concept" for solving problems through prevention methods, aimed at resolving the root cause of the problem. 2) The Sappurisa Dharma 7: is the Dharma of the faithful by bringing the knowing oneself, knowing how to make friend, and knowing the result to be used as a "vaccine” 3) Using these 3 verses together with the Eightfold Path of the Right View which is in the precept category in order to create "confidence" that any practice for knowledge, self-awareness, and danger must be performed only in a good way. Bringing the principles of the Buddhadhamma principles to create immunity, there’s begin with the conversion of precepts into discipline. Because moral precepts are worldly discipline, and create discipline in the youth later, by having them perform activities aimed at reinforcing them as the following: 1) Knowing oneself means knowing that he is a valuable person, by making him "a smart person" for his own benefit, such as studying smart, playing sports, playing good music, etc. or creating him "good person" for the benefit of others, such as helping to do housework, as to dedicate themselves to the benefit of society, etc. 2) Knowing people, means knowing how to select the good person to be friends. 3) Knowing danger, means being aware of the drug danger by conducting activities with such aims consistently and until becoming familiar will impact on immunity in the minds of young people and will not interfere with drugs.
หนังสือ

    งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
The researcher entitled “Sexual Diversity and the Realization in Theravãda Buddhist Philosophical Perspective” has the objectives as follows : 1) to study concepts and theories of sexual diversity, 2) to study the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, 3) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, and 4) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy.The data of this documentary qualitative research were collected from the concerned primary and secondary sources. The results of the study were found that the concepts and theories of sexual diversity are the set of knowledge that covers 3 aspects ; sex, gender, and sexuality. The realization in the absolute truth in Theravada Buddhist philosophy is the principle and practical guideline to attain the ultimate truth. The analytical results found that : 1) Sexuality did not obstruct the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy. Men and women were equal on the base of truth. When their potential was developed until they could understand the Three Common Characteristics, they could further develop themselves to obtain wisdom and to realize the truth in the end. 2) Sexuality was not the obstacle to the realization in Theravada Buddhist philosophy since both monks and lay-people had their own potential to attain the absolute truth equally. 3) Sexuality was only a condition, a restriction, a prohibition, and a precaution for lay-people and monks who adheres to the celibacy with the aim to achieve the realization of absolute truth. Thus, the gender diversity had the potential in realization on the absolute truth indifferently. The concept of gender diversity in Theravada Buddhist Philosophy was above the paradigm of gender diversity from conventional truth to absolute truth that was beyond time and all paradigms.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
The objectives of this research were as follows: 1)to study the conditions of criminal juvenile delinquency of children and adolescents; and theories of cognitive behavior modification, 2) to study Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara, 3) to integrate behavior modification of children and adolescents in criminal juvenile delinquency with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara, and 4)to present a body of knowledge on “Behavior Modification of Children and Adolescents in Criminal Juvenile Delinquency with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara.The research relied on qualitative method and in-depth interviews. The results of this research showed that: 1) The reasons why children and adolescents committed a crime were caused from internal factors or covert behaviors, such as understanding, belief, values, attitudes or intellectual behaviors which affected external behaviors or overt behavior. 2) Cognitive behavior modification with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara is a thinking process in problem solution consisting of the Right View as a key, which will help children and adolescents live with mindfulness. 3) The integration of cognitive behavior modification with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara consists of 4 steps in thinking practice for problem solution; 1) Identify problems, 2) Identify goals or targets, 3) Implement the plan to achieve the goals or targets, and 4) Repetition. All these steps are to help create positive thinking. 4) The body of knowledge obtained from the study is to have thinking practice in problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara. The problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara leads to desirable external behavior and creates Buddhist internal intelligence. This is served as an everlasting immunity for children and adolescents to live a suitable life in the present situations.