Search results

2 results in 0.05s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
This dissertation has the following objectives;1) to study the propagation philosophy of Buddhism in the Tipitaka, 2) to study the propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern times, 3) to integrate the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, and 4) to present the model of Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, documents, research works, and purposive in-depth interviews with 13 key-informants consisting of DhammadutaBhikkhus from foreign countries, Buddhism's experts, and officers of the National Office of Buddhism. The data were analyzed,categorized, synthesized, and presented in adescriptive method. The results of the research showed that; 1) The basic philosophy of Buddhist propagation in the Tipitaka is the 3 principles, the 4 ideologies and the 6 methods which are derived from the Principal Teaching. Without these principles, ideologies, and methods, Buddhist propagation will cause problems and not lead to the end of suffering. The 3 principles are: (1) Not to do any evils, (2) To do good, and (3) To purify the mind. The 4 ideologies are; (1) Patience, (2) Non-violence, (3) Peace, (4) Nibbana orientation, The 6 methods include; (1) not do evil in word, (2) not do evil in body, (3) restraint with regard to the monastic disciplinary code, (4) moderation in eating, (5) residing in a peaceful place, and (6) purifying the mind. 2) The propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern timewas studied from the propagation philosophy of Theravada Buddhism in 5 countries; Thailand, Cambodia, Myanmar, Laos, and Sri Lanka. The study found that every country relied on individuals and organizations to propagate Buddhism.From the past to the present,monarchs, royal relatives, nobles, government officials, academics, monks, DhammadutaBhikkhus, Buddhist Universities, government, temples, and religious places had an important role in propagating Buddhism. Nowadays, digital technology is also used in Buddhist propagation. 3) Integrating Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade can be divided into 2 parts; (1) Organization, there should be social, cultural, educational, Dhammaduta monks, online propagation, administrative, and legal policies in line with Ovadapapatimokkha principles, and (2) Individual, the propagation should be based on the 3 principles, the 4 ideologies, and the 6 methods. 4) The new body of knowledge obtained from this research is called the PGV Model.It is a form of the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, derived from the Principal Teaching which consists of 3 principles, 4 ideologies, and 6methods. Even it is the original teaching for Buddhist propagation, but it can be applied and integrated with the changing society because it is universal and life-quality oriented development.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ๓) การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ และ ๔) การนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ (Qualitative research interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ๑) กระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในรูปแบบต่าง ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ด้วยการทำพระองค์เป็นแบบอย่าง ๒. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสกับสัจจะเกิดประสบการณ์ด้วยตนเอง ๓. การเผยแผ่ด้วยการแสดงธรรม ๔. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ฝังคิดหาเหตุผลด้วยตนเอง และกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดและคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีทั้งแบบ ประเพณี และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ตามประเพณีคณะสงฆ์และตามประเพณีไทย ๒. การเผยแผ่แบบปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ๓. การเผยแผ่แบบจัดเป็นคณะ หรือหน่วยงานเผยแผ่ ๔. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านคฤหัสถ์ มีการตั้งเป็นสมาคม ๒) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ในด้านการเทศน์ การปาฐกถา การเขียนหนังสือ การแปลหนังสือ บทกวีนิพนธ์ร้อยกรอง และในด้านปริศนาธรรมโรงมหรสพทางวิญญาณ ทั้ง ๔ ด้านนี้ ซึ่งในแต่ละด้านของกระบวนทัศน์นั้นมี ๓ วิธีการ แต่ละวิธีการมีประเด็นที่ศึกษา คือ (๑) วิธีคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และศึกษาวิธีการ (๒) วิธีปฏิบัติ ประกอบด้วย กระบวนวิธีการเรียนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง (๓) วิธีนำเสนอ ประกอบด้วย ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๓) สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ประกอบด้วย (๑)กระบวนวิธีการคิดวิเคราะห์ โดยใช้หลักอริยสัจ ในการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย ตลอดจนถึงวิธีการ และแบบวิภัชชวาท เป็นการจำแนกความจริง แยกส่วนประกอบ (๒) กระบวนวิธีปฏิบัติ ท่านเรียนให้รู้จากพระไตรปิฎก แล้วก็เอามาทำให้ดู ซึ่งปรากฏให้เห็นในวิถีความเป็นอยู่ของท่านแบบสวนโมกข์ ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใคร่ศึกษา และ (๓) กระบวนวิธีนำเสนอ สร้างความรู้ ประมวลความรู้ และเผยแพร่ความรู้ ด้วยการชี้แจงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง ๔) องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ได้แก่ “SWPD MODEL” S ย่อมาจาก SERMON ได้แก่ การแสดงพระธรรมเทศนา การปาฐกถา การบรรยายธรรม W ย่อมาจาก WRITING ได้แก่ งานเขียนหนังสือ แปลหนังสือ P ย่อมาจาก POETRY ได้แก่ บทกวีนิพนธ์ บทร้อยกรอง D ย่อมาจาก DHAMMA PUZZLE ได้แก่ ปริศนาธรรมในโรงมหรสพทางวิญญาณ SWPD MODEL จึงเป็น กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และประสบความสำเร็จ สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการเผยแผ่ทั้งวิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการปฏิบัติ และวิธีการนำเสนอ
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ๓) การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ และ ๔) การนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ (Qualitative research interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ๑) กระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในรูปแบบต่าง ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ด้วยการทำพระองค์เป็นแบบอย่าง ๒. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสกับสัจจะเกิดประสบการณ์ด้วยตนเอง ๓. การเผยแผ่ด้วยการแสดงธรรม ๔. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ฝังคิดหาเหตุผลด้วยตนเอง และกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดและคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีทั้งแบบ ประเพณี และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ตามประเพณีคณะสงฆ์และตามประเพณีไทย ๒. การเผยแผ่แบบปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ๓. การเผยแผ่แบบจัดเป็นคณะ หรือหน่วยงานเผยแผ่ ๔. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านคฤหัสถ์ มีการตั้งเป็นสมาคม ๒) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ในด้านการเทศน์ การปาฐกถา การเขียนหนังสือ การแปลหนังสือ บทกวีนิพนธ์ร้อยกรอง และในด้านปริศนาธรรมโรงมหรสพทางวิญญาณ ทั้ง ๔ ด้านนี้ ซึ่งในแต่ละด้านของกระบวนทัศน์นั้นมี ๓ วิธีการ แต่ละวิธีการมีประเด็นที่ศึกษา คือ (๑) วิธีคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และศึกษาวิธีการ (๒) วิธีปฏิบัติ ประกอบด้วย กระบวนวิธีการเรียนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง (๓) วิธีนำเสนอ ประกอบด้วย ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๓) สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ประกอบด้วย (๑)กระบวนวิธีการคิดวิเคราะห์ โดยใช้หลักอริยสัจ ในการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย ตลอดจนถึงวิธีการ และแบบวิภัชชวาท เป็นการจำแนกความจริง แยกส่วนประกอบ (๒) กระบวนวิธีปฏิบัติ ท่านเรียนให้รู้จากพระไตรปิฎก แล้วก็เอามาทำให้ดู ซึ่งปรากฏให้เห็นในวิถีความเป็นอยู่ของท่านแบบสวนโมกข์ ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใคร่ศึกษา และ (๓) กระบวนวิธีนำเสนอ สร้างความรู้ ประมวลความรู้ และเผยแพร่ความรู้ ด้วยการชี้แจงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง ๔) องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ได้แก่ “SWPD MODEL” S ย่อมาจาก SERMON ได้แก่ การแสดงพระธรรมเทศนา การปาฐกถา การบรรยายธรรม W ย่อมาจาก WRITING ได้แก่ งานเขียนหนังสือ แปลหนังสือ P ย่อมาจาก POETRY ได้แก่ บทกวีนิพนธ์ บทร้อยกรอง D ย่อมาจาก DHAMMA PUZZLE ได้แก่ ปริศนาธรรมในโรงมหรสพทางวิญญาณ SWPD MODEL จึงเป็น กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และประสบความสำเร็จ สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการเผยแผ่ทั้งวิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการปฏิบัติ และวิธีการนำเสนอ
The objectives of the dissertation entitled “A New Paradigm in Buddhist Propagation According to Buddhadasa Bhikkhu” were as follows: 1) to study a paradigm in Buddhist propagation, 2) to the Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu, 3) to create a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu, and 4) to propose a new knowledge in “a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu”. The data of this qualitative research were collected from documents and in-depth interviews with 12 experts and then analyzed by content analysis. The study results were presented in a descriptive method. The result of this research found that: 1) The paradigm in Buddhist propagation is the teaching that the Buddha did in many methods. They are 1) To behave himself as the sample or model, 2) To have the audience earn experiences by themselves, 3) To give a sermon, and 4) To let the audience consider and find causes and results by themselves. The propagations of Buddhism of monks in the present are both traditional and improving according to the social contexts nowadays. They are 1) To follow the Sangha traditions and Thai festivals, 2) To improve the propagating methods suitable to the social contexts at present, 3) To propagate by team or by unit, and 4) To propagate by lay-people in the form of organization. 2) The Buddhist propagation of Buddhadasa Bhikkhu was on giving a sermon, speech, book writing, translation, poetry and Dhamma puzzle in the theater of Dhamma and soul. Each paradigm can be classified into 3 methods; (1) Analytical thinking method consisting of the study of problem, cause, purpose and approach, (2) Practice consisting of study and learn, learning by doing, and presenting the model, and (3) Presentation consisting of clear explanation, practical inspiration, confidence alertness, and pleasurable feeling. 3) The creation of a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu consist of; (1) Analytical thinking process based on the principles of the Four Noble Truths and classification system, (2) Practical process by referring to the sources in the Tipitaka and putting into practice in his temple as the sample, and (3) Presentation process consisting of accumulating knowledge, knowledge analysis and classification, and proposing the knowledge with clear explanation. 4) The body of knowledge on a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu can be concluded in “SWPD Model”. S stands for Sermon, W for Writing, P for Poetry, and D for Dhamma Puzzle. SWPD MODEL is a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu. The propagation has identity and is successful in practice. It can be used as a model in Buddhist propagation in 3 aspects; analytical thinking, practice and presentation.