Search results

7 results in 0.12s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่กำหนด เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงตามสภาพที่คาดหวัง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล กลุ่มบุคคลในโรงเรียนวัดศรีจันทร์ และองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และเพื่อศึกษาผลสำเร็จของการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวัดศรีจันทร์ สู่ความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ จากการพัฒนาความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงจร 10 ขั้นตอน ผู้ร่วมวิจัยจำนวน 30 รูป/คน ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยพบว่า : ปัญหา คือ ครูขาดทักษะการสอนศตวรรษที่ 21 นักเรียนขาดการเรียนรู้แบบการคิดวิเคราะห์ ได้รับการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนแบบเดิม ไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขาดทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมที่หลากหลาย และโรงเรียนยังไม่เคยได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หลังจากดำเนินการ 3 โครงการ คือ โครงการพัฒนาทักษะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้เพื่อการคิดวิเคราะห์ในศตวรรษที่ 21 โครงการพัฒนาความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดศรีจันทร์ และ โครงการพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาความคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดศรีจันทร์ พบว่า ทุกโครงการประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนด เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับโรงเรียน นอกจากนั้น ได้ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในอนาคต คือ ครูต้องปรับวิธีสอนจากผู้บรรยายเป็นผู้อำนวยการ ใช้กระบวนการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ชักนำให้นักเรียนมีส่วนร่วมและแสดงออกถึงความสนใจที่เพิ่มมากขึ้น มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน มีความสุขกับการใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน และเกิดแรงจูงใจในการให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่กำหนด เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงตามสภาพที่คาดหวัง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล กลุ่มบุคคลในโรงเรียนวัดศรีจันทร์ และองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และเพื่อศึกษาผลสำเร็จของการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวัดศรีจันทร์ สู่ความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ จากการพัฒนาความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงจร 10 ขั้นตอน ผู้ร่วมวิจัยจำนวน 30 รูป/คน ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยพบว่า : ปัญหา คือ ครูขาดทักษะการสอนศตวรรษที่ 21 นักเรียนขาดการเรียนรู้แบบการคิดวิเคราะห์ ได้รับการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนแบบเดิม ไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขาดทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมที่หลากหลาย และโรงเรียนยังไม่เคยได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หลังจากดำเนินการ 3 โครงการ คือ โครงการพัฒนาทักษะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้เพื่อการคิดวิเคราะห์ในศตวรรษที่ 21 โครงการพัฒนาความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดศรีจันทร์ และ โครงการพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาความคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดศรีจันทร์ พบว่า ทุกโครงการประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนด เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับโรงเรียน นอกจากนั้น ได้ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในอนาคต คือ ครูต้องปรับวิธีสอนจากผู้บรรยายเป็นผู้อำนวยการ ใช้กระบวนการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ชักนำให้นักเรียนมีส่วนร่วมและแสดงออกถึงความสนใจที่เพิ่มมากขึ้น มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน มีความสุขกับการใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน และเกิดแรงจูงใจในการให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้
The objectives of this research were to study the effect of specify steps of participatory action research, to study the expected changing, experienced learning in individual, group as well as new knowledge that were arising from participatory action research, and to study the success of Development of a Learning School of Wat Srichan School, Khon Kaen Province. Participatory Action Research was conducted under 2 circles including 10 steps with 30 participants between May 2015 to April 2016. The research findings found that : the problems were :-Teachers lacked teaching skills in the 21st century the development of teachers discontinued, the teachers taught by using traditional methods, the child-center was not used, the teachers lacked of skills for learning management process by using critical thinking process for variety learning, the school. The school had never been evaluated of assessment standards assessed by the Office of Educational Assessment and Assurance (Public Organization). 3 projects were conducted as such the development teachers’ skills for learning critical thinking in the 21st century project, the development of a learning school of Wat Srichan School project and the development of learners for develop learners' critical thinking of Wat Srichan School. The results found that all projects were successful under the criteria. The changes occurred expectedly, learning occurred through practicality at individual, group and school-wide level. There was usefulness new knowledge for learning management process for critical thinking being appropriate for learners in future. The teachers must change themselves from lecturers to be facilitators, creating inspiration for learning in various ways to the learners, more encouraging the learners to participate and express their interests, the students were self-learning, good relationship with teachers and friends, be happy using critical thinking skills process for learning and collaborating, and inspirated learners in participate learning.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายพัฒนาการเรียนรู้โดยระบบอีเลิร์นนิ่ง ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วย 2 วงจรของการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล วงจรละ 1 ภาคการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 มีอาจารย์เป็นผู้ร่วมวิจัยโดยความสมัครใจ 21 คน และมีนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนา 40 คน โดยมีความคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ 1) มีการเปลี่ยนแปลงตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดที่ดีขึ้น 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และวิทยาเขต เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และ 3) ได้รับองค์ความรู้จากการปฏิบัติที่จะเป็นบทเรียนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมพัฒนาระบบอีเลิร์นนิง โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้ในรายวิชาการปฏิบัติกรรมฐาน และโปรแกรมการเสริมทักษะการจัดทำสื่อออนไลน์ให้กับอาจารย์ ต่างมีค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินหลังการปฏิบัติวงจรที่ 1 และวงจรที่ 2 สูงขึ้นกว่าก่อนการปฏิบัติ 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และวิทยาเขต ต่างมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่หลากหลาย แต่การเรียนรู้ที่ทุกกลุ่มเห็นพ้องต้องกัน คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา และการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติ ซึ่งแต่เดิมมักปล่อยปละละเลย และ 3) ได้องค์ความรู้จากการปฏิบัติในลักษณะเป็นโมเดลตามกรอบแนวคิดการวิเคราะห์พลังขับ (Force-Field Analysis) ของ Kurt Lewin ในองค์ประกอบดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง 2) ปัจจัยผลักดันที่นำมาใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 3) สิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และ 4) การเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีคำอธิบายถึงชุดของความคิดและความเชื่อที่ถือเป็นบทเรียนที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จะนำไปศึกษา การทบทวน และแสวงหาชุดของความคิดและความเชื่อใหม่เพิ่มเติมที่จะทำให้การพัฒนาการเรียนรู้โดยระบบอีเลิร์นนิ่งในอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะธรรมชาติของการพัฒนาไม่มีวันจบสิ้น แต่จะยังดำเนินต่อไปในลักษณะที่เป็นวงจรแบบเกลียวสว่านที่ไม่มีสิ้นสุด
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายพัฒนาการเรียนรู้โดยระบบอีเลิร์นนิ่ง ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วย 2 วงจรของการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล วงจรละ 1 ภาคการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 มีอาจารย์เป็นผู้ร่วมวิจัยโดยความสมัครใจ 21 คน และมีนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนา 40 คน โดยมีความคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ 1) มีการเปลี่ยนแปลงตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดที่ดีขึ้น 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และวิทยาเขต เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และ 3) ได้รับองค์ความรู้จากการปฏิบัติที่จะเป็นบทเรียนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมพัฒนาระบบอีเลิร์นนิง โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้ในรายวิชาการปฏิบัติกรรมฐาน และโปรแกรมการเสริมทักษะการจัดทำสื่อออนไลน์ให้กับอาจารย์ ต่างมีค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินหลังการปฏิบัติวงจรที่ 1 และวงจรที่ 2 สูงขึ้นกว่าก่อนการปฏิบัติ 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และวิทยาเขต ต่างมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่หลากหลาย แต่การเรียนรู้ที่ทุกกลุ่มเห็นพ้องต้องกัน คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา และการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติ ซึ่งแต่เดิมมักปล่อยปละละเลย และ 3) ได้องค์ความรู้จากการปฏิบัติในลักษณะเป็นโมเดลตามกรอบแนวคิดการวิเคราะห์พลังขับ (Force-Field Analysis) ของ Kurt Lewin ในองค์ประกอบดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง 2) ปัจจัยผลักดันที่นำมาใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 3) สิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และ 4) การเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีคำอธิบายถึงชุดของความคิดและความเชื่อที่ถือเป็นบทเรียนที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จะนำไปศึกษา การทบทวน และแสวงหาชุดของความคิดและความเชื่อใหม่เพิ่มเติมที่จะทำให้การพัฒนาการเรียนรู้โดยระบบอีเลิร์นนิ่งในอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะธรรมชาติของการพัฒนาไม่มีวันจบสิ้น แต่จะยังดำเนินต่อไปในลักษณะที่เป็นวงจรแบบเกลียวสว่านที่ไม่มีสิ้นสุด
This research aimed to develop learning by e-learning system in Mahamakut Buddhist University, Mahavajiralongkorn Rajaviyalaya Campus. The method used in this study was Participatory Action Research that consisted of two cycles of planning, practice, observation, and reflection during two semesters in the academic year 2020. Twenty-one teachers and forty students were voluntarily involved with the desired development and participated in this research. The three expectations from the development outcomes were: 1) the improvement under the identified indicators, 2) the researcher, the research participants, and the campus learned from practice, and 3) knowledge gained from practice will benefit continuous improvement in the future. The research findings illustrated three following aspects. Firstly, in both Cycles 1 and 2, the means of post-practice evaluations were higher than the means of pre-practice evaluations in the following programs; e-learning system development, meditation practice learning development, and teacher's skill enhancement for creating online media. Secondly, the researcher, the research participants, and the campus learned the following common aspects: an awareness of the importance of participation, being an all-the-time learner, and transcribing lessons from practice which was previously often neglected. Finally, the knowledge gained correlates with Kurt Lewin's Force-Field Analysis which consists of the following concepts: 1) Expected change, 2) Driving factors for change, 3) Resistance to change and 4) Overcoming resistance. Each component defines a set of thoughts and beliefs that Mahamakut Buddhist University, Mahavajiralongkorn Rajaviyalaya Campus, will implement as a basis for reviewing and strengthening an additional set of ideas and beliefs.
หนังสือ

    งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการ เรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักเรียน” ใช้แนวคิดที่ว่า “พัฒนาครู แล้วครูพัฒนานักเรียน” ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาครู มีคู่มือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของครู 6 ชุด และ 2) โครงการครูพัฒนานักเรียน มีคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด จากผลการทดลองใช้โปรแกรมออนไลน์กับครู 25 รายและนักเรียน 146 รายในโรงเรียนที่สุ่มให้เป็นตัวแทนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ คือ เมื่อนำไปทดลองใช้แล้วส่งผลให้ครูมีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียนก็มีผลการประเมินทักษะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่เป็นประชากรเป้าหมายแห่งอื่นได้
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการ เรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักเรียน” ใช้แนวคิดที่ว่า “พัฒนาครู แล้วครูพัฒนานักเรียน” ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาครู มีคู่มือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของครู 6 ชุด และ 2) โครงการครูพัฒนานักเรียน มีคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด จากผลการทดลองใช้โปรแกรมออนไลน์กับครู 25 รายและนักเรียน 146 รายในโรงเรียนที่สุ่มให้เป็นตัวแทนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ คือ เมื่อนำไปทดลองใช้แล้วส่งผลให้ครูมีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียนก็มีผลการประเมินทักษะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่เป็นประชากรเป้าหมายแห่งอื่นได้
The objective of this study was to create an “Online Program to Enhance Teacher Learning to Develop Students’ Self-Directed Learning Skills” under the following concepts : “Develop the teacher so that they will develop their students”, “successful teachers, successful students”, and “Knowledge is not power; knowledge plus action equals power.” This study employed the Research and Development (R&D) methodology. The created online program included 1) Teachers’ learning development project with six guidelines, and 2) Teachers develop students project with one action guideline. The created online program was examined with 25 teachers and 146 students in the randomly selected school representing the Pariyattidhamma Schools in the general education section, under National Office of Buddhism. The results validated that the created online program was effective. The findings illustrated that the post-development test for teachers met the standard of 90/90 criteria, and the mean score was statistically significantly higher than before the development. In addition, the students’ mean score on self-directed learning skills assessment after the development was statistically significantly higher than before the development. This indicated that the created online program can be disseminated for educational use in other Pariyattidhamma schools with the similar target population.