Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ๓) การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ และ ๔) การนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ (Qualitative research interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ๑) กระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในรูปแบบต่าง ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ด้วยการทำพระองค์เป็นแบบอย่าง ๒. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสกับสัจจะเกิดประสบการณ์ด้วยตนเอง ๓. การเผยแผ่ด้วยการแสดงธรรม ๔. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ฝังคิดหาเหตุผลด้วยตนเอง และกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดและคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีทั้งแบบ ประเพณี และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ตามประเพณีคณะสงฆ์และตามประเพณีไทย ๒. การเผยแผ่แบบปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ๓. การเผยแผ่แบบจัดเป็นคณะ หรือหน่วยงานเผยแผ่ ๔. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านคฤหัสถ์ มีการตั้งเป็นสมาคม ๒) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ในด้านการเทศน์ การปาฐกถา การเขียนหนังสือ การแปลหนังสือ บทกวีนิพนธ์ร้อยกรอง และในด้านปริศนาธรรมโรงมหรสพทางวิญญาณ ทั้ง ๔ ด้านนี้ ซึ่งในแต่ละด้านของกระบวนทัศน์นั้นมี ๓ วิธีการ แต่ละวิธีการมีประเด็นที่ศึกษา คือ (๑) วิธีคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และศึกษาวิธีการ (๒) วิธีปฏิบัติ ประกอบด้วย กระบวนวิธีการเรียนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง (๓) วิธีนำเสนอ ประกอบด้วย ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๓) สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ประกอบด้วย (๑)กระบวนวิธีการคิดวิเคราะห์ โดยใช้หลักอริยสัจ ในการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย ตลอดจนถึงวิธีการ และแบบวิภัชชวาท เป็นการจำแนกความจริง แยกส่วนประกอบ (๒) กระบวนวิธีปฏิบัติ ท่านเรียนให้รู้จากพระไตรปิฎก แล้วก็เอามาทำให้ดู ซึ่งปรากฏให้เห็นในวิถีความเป็นอยู่ของท่านแบบสวนโมกข์ ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใคร่ศึกษา และ (๓) กระบวนวิธีนำเสนอ สร้างความรู้ ประมวลความรู้ และเผยแพร่ความรู้ ด้วยการชี้แจงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง ๔) องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ได้แก่ “SWPD MODEL” S ย่อมาจาก SERMON ได้แก่ การแสดงพระธรรมเทศนา การปาฐกถา การบรรยายธรรม W ย่อมาจาก WRITING ได้แก่ งานเขียนหนังสือ แปลหนังสือ P ย่อมาจาก POETRY ได้แก่ บทกวีนิพนธ์ บทร้อยกรอง D ย่อมาจาก DHAMMA PUZZLE ได้แก่ ปริศนาธรรมในโรงมหรสพทางวิญญาณ SWPD MODEL จึงเป็น กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และประสบความสำเร็จ สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการเผยแผ่ทั้งวิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการปฏิบัติ และวิธีการนำเสนอ
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ๓) การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ และ ๔) การนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ (Qualitative research interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ๑) กระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในรูปแบบต่าง ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ด้วยการทำพระองค์เป็นแบบอย่าง ๒. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสกับสัจจะเกิดประสบการณ์ด้วยตนเอง ๓. การเผยแผ่ด้วยการแสดงธรรม ๔. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ฝังคิดหาเหตุผลด้วยตนเอง และกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดและคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีทั้งแบบ ประเพณี และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ตามประเพณีคณะสงฆ์และตามประเพณีไทย ๒. การเผยแผ่แบบปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ๓. การเผยแผ่แบบจัดเป็นคณะ หรือหน่วยงานเผยแผ่ ๔. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านคฤหัสถ์ มีการตั้งเป็นสมาคม ๒) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ในด้านการเทศน์ การปาฐกถา การเขียนหนังสือ การแปลหนังสือ บทกวีนิพนธ์ร้อยกรอง และในด้านปริศนาธรรมโรงมหรสพทางวิญญาณ ทั้ง ๔ ด้านนี้ ซึ่งในแต่ละด้านของกระบวนทัศน์นั้นมี ๓ วิธีการ แต่ละวิธีการมีประเด็นที่ศึกษา คือ (๑) วิธีคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และศึกษาวิธีการ (๒) วิธีปฏิบัติ ประกอบด้วย กระบวนวิธีการเรียนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง (๓) วิธีนำเสนอ ประกอบด้วย ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๓) สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ประกอบด้วย (๑)กระบวนวิธีการคิดวิเคราะห์ โดยใช้หลักอริยสัจ ในการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย ตลอดจนถึงวิธีการ และแบบวิภัชชวาท เป็นการจำแนกความจริง แยกส่วนประกอบ (๒) กระบวนวิธีปฏิบัติ ท่านเรียนให้รู้จากพระไตรปิฎก แล้วก็เอามาทำให้ดู ซึ่งปรากฏให้เห็นในวิถีความเป็นอยู่ของท่านแบบสวนโมกข์ ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใคร่ศึกษา และ (๓) กระบวนวิธีนำเสนอ สร้างความรู้ ประมวลความรู้ และเผยแพร่ความรู้ ด้วยการชี้แจงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง ๔) องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ได้แก่ “SWPD MODEL” S ย่อมาจาก SERMON ได้แก่ การแสดงพระธรรมเทศนา การปาฐกถา การบรรยายธรรม W ย่อมาจาก WRITING ได้แก่ งานเขียนหนังสือ แปลหนังสือ P ย่อมาจาก POETRY ได้แก่ บทกวีนิพนธ์ บทร้อยกรอง D ย่อมาจาก DHAMMA PUZZLE ได้แก่ ปริศนาธรรมในโรงมหรสพทางวิญญาณ SWPD MODEL จึงเป็น กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และประสบความสำเร็จ สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการเผยแผ่ทั้งวิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการปฏิบัติ และวิธีการนำเสนอ
The objectives of the dissertation entitled “A New Paradigm in Buddhist Propagation According to Buddhadasa Bhikkhu” were as follows: 1) to study a paradigm in Buddhist propagation, 2) to the Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu, 3) to create a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu, and 4) to propose a new knowledge in “a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu”. The data of this qualitative research were collected from documents and in-depth interviews with 12 experts and then analyzed by content analysis. The study results were presented in a descriptive method. The result of this research found that: 1) The paradigm in Buddhist propagation is the teaching that the Buddha did in many methods. They are 1) To behave himself as the sample or model, 2) To have the audience earn experiences by themselves, 3) To give a sermon, and 4) To let the audience consider and find causes and results by themselves. The propagations of Buddhism of monks in the present are both traditional and improving according to the social contexts nowadays. They are 1) To follow the Sangha traditions and Thai festivals, 2) To improve the propagating methods suitable to the social contexts at present, 3) To propagate by team or by unit, and 4) To propagate by lay-people in the form of organization. 2) The Buddhist propagation of Buddhadasa Bhikkhu was on giving a sermon, speech, book writing, translation, poetry and Dhamma puzzle in the theater of Dhamma and soul. Each paradigm can be classified into 3 methods; (1) Analytical thinking method consisting of the study of problem, cause, purpose and approach, (2) Practice consisting of study and learn, learning by doing, and presenting the model, and (3) Presentation consisting of clear explanation, practical inspiration, confidence alertness, and pleasurable feeling. 3) The creation of a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu consist of; (1) Analytical thinking process based on the principles of the Four Noble Truths and classification system, (2) Practical process by referring to the sources in the Tipitaka and putting into practice in his temple as the sample, and (3) Presentation process consisting of accumulating knowledge, knowledge analysis and classification, and proposing the knowledge with clear explanation. 4) The body of knowledge on a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu can be concluded in “SWPD Model”. S stands for Sermon, W for Writing, P for Poetry, and D for Dhamma Puzzle. SWPD MODEL is a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu. The propagation has identity and is successful in practice. It can be used as a model in Buddhist propagation in 3 aspects; analytical thinking, practice and presentation.