Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 434 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่าระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.ระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ได้แก่ P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN และ LSR ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกค่า 4.ปัจจัยเบญจธรรมมีค่าอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่ออิทธิบาท เท่ากับ 0.98 และมีค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านอิทธิบาทไปยังภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและมยปัญญา เท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ปัจจัยอิทธิบาทมีค่าอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 434 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่าระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.ระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ได้แก่ P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN และ LSR ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกค่า 4.ปัจจัยเบญจธรรมมีค่าอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่ออิทธิบาท เท่ากับ 0.98 และมีค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านอิทธิบาทไปยังภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและมยปัญญา เท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ปัจจัยอิทธิบาทมีค่าอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่อมยปัญญาและภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธเท่ากับ 0.96 และ 0.81 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยมยปัญญาไม่มีค่าอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ ทั้งนี้ ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งสามตัวร่วมกันอธิบายภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ ได้ร้อยละ 0.96
The objectives of this research were: 1) to study and compare the level of moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University, 2) to study and compare the level of behaviors in factors influencing moral and ethical leadership based on Buddhism of the administrators in Mahamakut Buddhist University, 3) to examine the consistence of the developed structural equation model of moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University and the empirical data, and 4) to study the size of influence of casual factors affecting moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University. This research was used by the quantitative research method. The 434 samples used in the study were obtained by simple random sampling. The instrument used to collect data was the questionnaire with the rating scale of leadership and causal factors having reliability coefficient at 0.97 and 0.98 respectively. The statistics used for data analysis were descriptive and inferential statistic analyzing by SPSS and LISREL Programs. The research results found that: 1. The mean of moral and ethical leadership based on Buddhism was in a high level. The comparison classified by the statuses of key informants showed the indifferent level of moral and ethical leadership based on Buddhism. However, the key informants with equal or under 35 and over 46 years old reflected that administrators showed the different levels of behaviors with statistical significance at 0.05. 2. The levels of behaviors in factors influencing the moral and ethical leadership based on Buddhism were as follows; Pañca-dhamma factor (five ennobling virtues) Iddhipāda factor (path of accomplishment) and Mayapaññā factor (wisdom that has a way to arise) found a mean value at a high level. The comparison classified by the statuses of key informants showed the indifference with statistical significance. However, the key informants with equal or under 35 and over 46 years old reflected that the administrators showed the different levels of behaviors in Pañca-dhamma factor, InIddhipāda factors and Mayapaññā factors with statistical significance at 0.05. 3. The developed Structural Equation Model of Moral and Ethical Leadership Based on Buddhism was congruent with empirical data as specified criteria of fit indices as follows: P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN and LSR. 4. Pañca-dhamma factor showed the highest level of total influence on the moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.93 with statistical significance at 0.01. The Pañca-dhamma factor showed the direct influence on Iddhipāda at 0.98, and showed indirect influence via Iddhipāda to the moral and ethical leadership based on Buddhism and Mayapaññā at 0.83 and 0.94 respectively with statistical significance at 0.01. The second order, Iddhipāda factor showed the level of total influence on moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.85 with statistical significance at 0.01. The Iddhipāda factor showed the direct influence on Mayapaññā and moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.96 and 0.81 respectively with statistical significance at 0.01. As for Mayapaññā factor showed no influence on the moral and ethical leadership based on Buddhism. All of 3 causal factors jointly explained the moral and ethical leadership based on Buddhism for 96 %.