Search results

269 results in 0.08s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัตสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
ฉบับอัตสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
This dissertation has the following objectives;1) to study the propagation philosophy of Buddhism in the Tipitaka, 2) to study the propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern times, 3) to integrate the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, and 4) to present the model of Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, documents, research works, and purposive in-depth interviews with 13 key-informants consisting of DhammadutaBhikkhus from foreign countries, Buddhism's experts, and officers of the National Office of Buddhism. The data were analyzed,categorized, synthesized, and presented in adescriptive method. The results of the research showed that; 1) The basic philosophy of Buddhist propagation in the Tipitaka is the 3 principles, the 4 ideologies and the 6 methods which are derived from the Principal Teaching. Without these principles, ideologies, and methods, Buddhist propagation will cause problems and not lead to the end of suffering. The 3 principles are: (1) Not to do any evils, (2) To do good, and (3) To purify the mind. The 4 ideologies are; (1) Patience, (2) Non-violence, (3) Peace, (4) Nibbana orientation, The 6 methods include; (1) not do evil in word, (2) not do evil in body, (3) restraint with regard to the monastic disciplinary code, (4) moderation in eating, (5) residing in a peaceful place, and (6) purifying the mind. 2) The propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern timewas studied from the propagation philosophy of Theravada Buddhism in 5 countries; Thailand, Cambodia, Myanmar, Laos, and Sri Lanka. The study found that every country relied on individuals and organizations to propagate Buddhism.From the past to the present,monarchs, royal relatives, nobles, government officials, academics, monks, DhammadutaBhikkhus, Buddhist Universities, government, temples, and religious places had an important role in propagating Buddhism. Nowadays, digital technology is also used in Buddhist propagation. 3) Integrating Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade can be divided into 2 parts; (1) Organization, there should be social, cultural, educational, Dhammaduta monks, online propagation, administrative, and legal policies in line with Ovadapapatimokkha principles, and (2) Individual, the propagation should be based on the 3 principles, the 4 ideologies, and the 6 methods. 4) The new body of knowledge obtained from this research is called the PGV Model.It is a form of the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, derived from the Principal Teaching which consists of 3 principles, 4 ideologies, and 6methods. Even it is the original teaching for Buddhist propagation, but it can be applied and integrated with the changing society because it is universal and life-quality oriented development.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาบริบทสังคมไทยในอดีตและการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอดีต ๒) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยยุคปัจจุบันและการปกครองคณะสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันและ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการปกครองคณะสงฆ์พระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๑๔ รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในอดีตนั้นส่งผลต่อการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเพราะพระสงฆ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในบริบทสังคม จึงจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปบริบทสังคมด้วย เป็นการอนุวัติตามด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแต่ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่หลักในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ๒. บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้มีการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยจากเหตุปัจจัยทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจจากโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบเดิมที่มีชนชั้นปกครอง ชนชั้นใต้การปกครอง แม้การบริหารประเทศและการเมืองการปกครองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นก็ถูกสลายไปทำให้ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแม้คณะสงฆ์จะมีการปรับเปลี่ยนนอกจากปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้วก็มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมาบังคับใช้นับเป็นอนุวัติตามระบอบการปกครองในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ๓. กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันจะมีการบริหารจัดการโดยผ่านกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านมีด้านการปกครอง, ด้านการศาสนศึกษา, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่,ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์อันเป็นไปตามการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ๔. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน”ในครั้งนี้ได้แก่“SPEE Model”
การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาบริบทสังคมไทยในอดีตและการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอดีต ๒) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยยุคปัจจุบันและการปกครองคณะสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันและ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการปกครองคณะสงฆ์พระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๑๔ รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในอดีตนั้นส่งผลต่อการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเพราะพระสงฆ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในบริบทสังคม จึงจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปบริบทสังคมด้วย เป็นการอนุวัติตามด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแต่ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่หลักในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ๒. บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้มีการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยจากเหตุปัจจัยทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจจากโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบเดิมที่มีชนชั้นปกครอง ชนชั้นใต้การปกครอง แม้การบริหารประเทศและการเมืองการปกครองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นก็ถูกสลายไปทำให้ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแม้คณะสงฆ์จะมีการปรับเปลี่ยนนอกจากปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้วก็มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมาบังคับใช้นับเป็นอนุวัติตามระบอบการปกครองในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ๓. กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันจะมีการบริหารจัดการโดยผ่านกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านมีด้านการปกครอง, ด้านการศาสนศึกษา, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่,ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์อันเป็นไปตามการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ๔. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน”ในครั้งนี้ได้แก่“SPEE Model”
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to study the context of the Thai society in the past and the Thai Sangha administration in the past, 2) to study the context of modern Thai society and the Thai Sangha administration, 3) to study the paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society, and 4) to present the model of the paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, academic documents and in-depth interviews with 14 experts. The data were analyzed and synthesized in order to obtain the paradigm model of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society. The results of the study indicated as follows:- 1. Changes in social contexts in the past influenced the Sangha administration in the past because monkswere a part of the social context and they had to adjust themselves in accordance with the social context as well, but they still maintained their main duty in observing the Dhamma and Vinaya. 2. The context of modern Thai society had changes in social, political, and economical structures. Feudalism was declined and replaced by educated middle class and democracy. Thai people were under the constitution. The changes also had impacts to the Sangha administration. Other than to follow the principles of Dhamma and Vinaya, monks had to follow the Sangha Act. This practice was to follow the current Thai social context. 3. Paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society was through 6 Sangha affairs; government, religious studies, educational welfare, propagation, public facilities, and the public welfare. The paradigm of the Thai Sangha administrationwas in accordance withthe Thai Sangha Act with the implementation of the Supreme Sangha Council. 4. The new knowledge about “Paradigm model of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society” is “SPEE Model”.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 135 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2)แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 3) แบบบันทึกข้อเสนอแนะ และ 4) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “MSMM Model” โดยเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างและวิธีการบริหารงานตามขอบข่ายและภารกิจด้านการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม ตามแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 135 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2)แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 3) แบบบันทึกข้อเสนอแนะ และ 4) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “MSMM Model” โดยเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างและวิธีการบริหารงานตามขอบข่ายและภารกิจด้านการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม ตามแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study components of moral school management for school administrators under the primary educational service area office, 2) to create a model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office, and 3) to evaluate and to affirm the moral school management model for school administrators under the primary educational service area office. The mixed research methodology is used in the study. The data were collected from 540 samples consisting of school directors, heads of department, the teachers responsible for the project, and teachers in 135 moral schools with 3- star level. The research instrument consisted of : 1) semi-structured interviews, 2) 5-rating scale questionnaires with reliability at 0.89, 3) recording form for suggestions, and 4) evaluation forms. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and CFA. The results of this research revealed that: 1) The components of moral school management for school administrators under the primary educational service area office consisted of 3 main components and 10 minor components. 2) A model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office was known as “MSMM Model.” It was an administrative form and method based on scope and mission of moral school administration concept, Lokapàla-dhamma, and school administration. The moral school administration consisted of 3 main components and 10 minor components. The component weight values in descending order started with Moral School Concepts, followed by Lokapàla-dhamma, and School Administration. 3) The evaluation results of model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office in propriety, accuracy, feasibility and utility were at 4.67 level overall that was higher than the evaluation criteria. The model was affirmed by the experts.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้างรูปแบบและประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสุจริตต้นแบบระดับประถมศึกษา จำนวน 127โรงเรียนโดยมีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 508 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .837 และ 3) แบบประเมิน ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักและ11 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “SPG Model”โดยเป็นรูปแบบเชิงบูรณาการตามแนวคิดมาตรฐานโรงเรียนสุจริต แนวคิดการบริหารงานโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต ซึ่งมีโครงสร้างความเกี่ยวข้องระหว่างองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงความสัมพันธ์หรือเหตุผลซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยให้เข้าใจข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ในการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 11 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ มาตรฐานโรงเรียนสุจริต การบริหารโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในด้านความถูกต้องความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนด จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้างรูปแบบและประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสุจริตต้นแบบระดับประถมศึกษา จำนวน 127โรงเรียนโดยมีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 508 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .837 และ 3) แบบประเมิน ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักและ11 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “SPG Model”โดยเป็นรูปแบบเชิงบูรณาการตามแนวคิดมาตรฐานโรงเรียนสุจริต แนวคิดการบริหารงานโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต ซึ่งมีโครงสร้างความเกี่ยวข้องระหว่างองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงความสัมพันธ์หรือเหตุผลซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยให้เข้าใจข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ในการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 11 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ มาตรฐานโรงเรียนสุจริต การบริหารโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในด้านความถูกต้องความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนด จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
The objectives of this research were to study components, create a model, and evaluate and affirm an Upright School Management Model for the primary schools under the Office of the Basic Education Commission. The data of this mixed method research were collected from 508 samples in 127 upright schools. The research instruments were 1) structured interview form, 2) questionnaire (with reliability at 0.84), and 3) evaluation form. The data were collected in 2019, and then analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis: CFA by using statistical package, and content analysis. The results of the research found that: 1) The components of Upright School Management of the primary school administrators under Office of the Basic Education Commission were composed of 3 main components and 11 sub-components. 2) The model of the Upright School Management for the primary school administrators under the Office of the Basic Education Commission was called “SPG Model”. It was the integrative model based on the concept of upright school standard, PIE Cycle School Administration Principles, and Good Conduct Principles. The structure of component relation in upright school administration consisted of 3 main components and 11 minor components. The component weight values in descending order started with Upright School standard, followed by PIE Cycle School Administration, and Good Conduct Principles. 3) The evaluation and affirmation results of the moral school management model for upright school administration of primary school administrators in propriety, accuracy, feasibility and utility were at 4.80 level overall that was higher than the evaluation criteria. The model was approved by the experts.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษยนิยม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อบูรณาการมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง “มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน” ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ บูรณาการระหว่างคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร และ คุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เอกสารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ รวมทั้งเอกสารอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง และ บทสัมภาษณ์ โดยศึกษาการบูรณาการแนวคิด มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท กับการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 4 ประเด็นคือ 1)คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2) สิทธิเสรีภาพ 3) ความเสมอภาค 4) ภราดรภาพ เพื่อส่งผลให้เกิดคุณค่าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ของมนุษยชาติที่อยู่ร่วมกันในสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิด มนุษยนิยม เป็นแนวคิด ที่ให้มนุษย์ยอมรับ เคารพนับถือในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้อยู่เหนือกว่าและมีความสำคัญกว่าสิ่งอื่นใดเป็นทัศนะ และ ความรู้สึกสำนึกของจิตใจที่มีจุดสูงสุดอยู่ที่มนุษย์ และ ผลประโยชน์ของมนุษย์ ที่ถือเป็นหลักการของแนวคิดในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย 2.แนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทนำเสนอแนวคิดในเรื่องที่เน้นให้มนุษย์ได้ตระหนักรู้ในตนเองในการกระทำของมนุษย์แต่ละคนมนุษย์จึงสามารถกำหนดชะตาชีวิตตามเจตจำนงเสรีของตนเอง กฏแห่งกรรม หรือกฎแห่งการกระทำ จึงเป็นอำนาจที่มนุษย์กำหนดได้เองและเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง 3.ผลของการนำหลักแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท มาบูรณาการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ใน 4 ประเด็น คือ 1. ประเด็นคุณค่า และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2. ประเด็นสิทธิเสรีภาพ 3. ประเด็นความเสมอภาค 4. ประเด็นภราดรภาพ ทำให้เกิดให้เกิดคุณค่าในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ของมนุษยชาติ ทำให้มนุษยชาติ มีแนวทางในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีการเคารพ ในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคารพในสิทธิเสรีภาพ เคารพในความเสมอภาค และมีภราดรภาพ มาใช้เป็นหลักแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษยชาติที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม 4. แนวทาง และ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน”คือ รูปแบบ (Model) K N R D U อนึ่ง การนำรูปแบบ (Model) K N R D U นี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในระดับปฏิบัติการ หมายถึง การเริ่มต้นการปฏิบัติที่ระดับของปัจเจกบุคลก่อนจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ระดับ ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และ ระดับสหประชาชาติในที่สุด
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษยนิยม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อบูรณาการมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง “มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน” ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ บูรณาการระหว่างคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร และ คุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เอกสารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ รวมทั้งเอกสารอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง และ บทสัมภาษณ์ โดยศึกษาการบูรณาการแนวคิด มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท กับการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 4 ประเด็นคือ 1)คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2) สิทธิเสรีภาพ 3) ความเสมอภาค 4) ภราดรภาพ เพื่อส่งผลให้เกิดคุณค่าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ของมนุษยชาติที่อยู่ร่วมกันในสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิด มนุษยนิยม เป็นแนวคิด ที่ให้มนุษย์ยอมรับ เคารพนับถือในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้อยู่เหนือกว่าและมีความสำคัญกว่าสิ่งอื่นใดเป็นทัศนะ และ ความรู้สึกสำนึกของจิตใจที่มีจุดสูงสุดอยู่ที่มนุษย์ และ ผลประโยชน์ของมนุษย์ ที่ถือเป็นหลักการของแนวคิดในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย 2.แนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทนำเสนอแนวคิดในเรื่องที่เน้นให้มนุษย์ได้ตระหนักรู้ในตนเองในการกระทำของมนุษย์แต่ละคนมนุษย์จึงสามารถกำหนดชะตาชีวิตตามเจตจำนงเสรีของตนเอง กฏแห่งกรรม หรือกฎแห่งการกระทำ จึงเป็นอำนาจที่มนุษย์กำหนดได้เองและเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง 3.ผลของการนำหลักแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท มาบูรณาการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ใน 4 ประเด็น คือ 1. ประเด็นคุณค่า และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2. ประเด็นสิทธิเสรีภาพ 3. ประเด็นความเสมอภาค 4. ประเด็นภราดรภาพ ทำให้เกิดให้เกิดคุณค่าในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ของมนุษยชาติ ทำให้มนุษยชาติ มีแนวทางในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีการเคารพ ในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคารพในสิทธิเสรีภาพ เคารพในความเสมอภาค และมีภราดรภาพ มาใช้เป็นหลักแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษยชาติที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม 4. แนวทาง และ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน”คือ รูปแบบ (Model) K N R D U อนึ่ง การนำรูปแบบ (Model) K N R D U นี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในระดับปฏิบัติการ หมายถึง การเริ่มต้นการปฏิบัติที่ระดับของปัจเจกบุคลก่อนจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ระดับ ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และ ระดับสหประชาชาติในที่สุด
Dissertation title Humanistic Buddhism's philosophy in solving human rights problems. The objectives of the study were 1) to study the concept of humanism and 2) to study the concept of humanism in Theravada Buddhist Philosophy 3) integrated humanism in Buddhism's philosophy to solve human rights problems 4) to present the opinion. know about "Humanistic Buddhism's philosophy in solving human rights problems" This dissertation is a qualitative research. Integration between quality research and documentation, qualitative interviews. The instrument used in the research is to document both the primary and secondary as well as other documents. Related studies and interviews by integrating concepts. Buddhism's philosophy of humanism the solution to the human rights violations in four issues: 1) the value and dignity 2) freedom 3) equal to 4) to the Brotherhood resulted in valuable social, economic, political. Of humanity who live together in society. The results showedthat 1.Humanism is a concept that is accepted by humans. Respect for human values and dignity to be superior to and to be more important than anything else, it is the view and sense of the mind that is at its highest on human and human interests. Which is also a principle of the concept of the Universal Declaration of Human Rights 2. Humanism in Theravada Buddhist Philosophy presents the concept of self-awareness among human beings. In the actions of each human being Human beings can determine their destiny. According to one's free will, the law of karma or the law of action It is an autonomous power and that of the individual being responsible for his or her actions. 3.Effects of the application of humanism in Theravada Buddhist philosophy. To be integrated to solve problems of human rights violations in 4 issues: 1. Value and human dignity issues 2. Issues of rights and freedom 3. Equality issues 4. Brotherhood issues Cause values in the social, economic, political, governance of humanity. There are guidelines for living together in society. With respect for human values and dignity Respect the rights and freedoms Respect for equality and fraternity as a guide to life in a multicultural society of mankind 4.guidance and knowledge about. “Format, integrating the concept of humanism in Buddhism's philosophy to solve the problem of human rights” is a model K N RD U leadership model K N RD U use this to solve the problem of human rights violations. In a class action meant to start operating at the level of individual persons will be brought into action at the level of family, community, society and the United Nations.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
The purposes of this research were: 1) to study the elements of strategic management for the disabled in special education schools, 2) to establish a strategic management model for the disabled in special education schools, and 3) to assess and certify the strategic management model for the disabled in special education schools. The mixed research method was used in the study. The data were collected from 340 samples of 125 special education schools. The samples consisted of school directors, deputy directors and officials. The research instrument was a 5-level semi-structured questionnaire with confidential level at 0.98. The data were analyzed by descriptive statistics including frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis (EFA) and confirmatory factor analysis (CFA) through statistical computer package. The results of this research revealed that: 1.The elements of strategic management for the disabled in special education schools collected from concepts, theories, papers, texts, research works and related sources and then analyzed by Exploratory Factor Analysis (EFA) could be concluded into five main components; 1) strategic planning, 2) strategic plan analysis, 3) implementation of the strategic plan, 4) control of the strategic plan, and 5) evaluation of the strategic plan. 2. The results of establishing a strategic management model for the disabled in special education schools analyzed by Confirmatory Factor Analysis (CFA) found that the factor loading was 0.89-1.00, in descending order of element weight: 1) the implementation of the strategic plan was 1.00, 2) the strategic plan analysis was 0.99, 3) strategic plan control was 0.96, 4) evaluation and certification was 0.90, and 5) strategic planning was 0.89 respectively. The established model was consistent with the empirical data. 3. The results of assessment and approval of the model in terms of accuracy, suitability, possibility and benefits from 17 experts were at a high level with a figure at 4.27 (= 4.27). It could be concluded that the model was above the specified criteria and approved.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมาย แนวคิด หลักการและ วิธีการบริหารจัดการการศึกษานานาชาติ 2) เพื่อศึกษาความพร้อมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรนานาชาติและ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษานานาชาติจากเอกสารและสำรวจ พร้อมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องจากตัวอย่างมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ 6 แห่งที่ประสบความสำเร็จในการบริหารหลักสูตรนานาชาติ 2) สำรวจความพร้อมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรนานาชาติ โดยการศึกษาเอกสารหลักสูตร และการบริหารมหาวิทยาลัยพร้อมกับสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 11 ท่าน และจัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ 16 ท่านเพื่อวิเคราะห์สภาพความพร้อมและ 3) ผู้วิจัยยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารมหาวิทยาลัยนานาชาติ 5 ท่านตรวจสอบรับรองข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผลการวิจัย พบว่า 1. วิธีการบริหารจัดการการศึกษานานาชาติ มีลักษณะ 6 ประการ คือ 1) การบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ 2) เปิดหลักสูตรซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชนระดับสากล 3) รับนักศึกษาหลายเชื้อชาติ 4) ผู้สอนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานสากล 5) กิจกรรมการเรียนรู้ต้องเป็นสากลเชื่อมโยงกับเครือข่ายนานาชาติได้และ 6) ทรัพยากรสนับสนุนการศึกษาต้องมาจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 2. ความพร้อมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรนานาชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการผลิตบัณฑิต และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามลำดับ และผลการสำรวจความพร้อมในการบริหารการศึกษานานาชาติในระดับปฏิบัติการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านนักศึกษา ด้านกิจกรรมนานาชาติและด้านผู้สอนตามลำดับ 3.
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมาย แนวคิด หลักการและ วิธีการบริหารจัดการการศึกษานานาชาติ 2) เพื่อศึกษาความพร้อมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรนานาชาติและ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษานานาชาติจากเอกสารและสำรวจ พร้อมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องจากตัวอย่างมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ 6 แห่งที่ประสบความสำเร็จในการบริหารหลักสูตรนานาชาติ 2) สำรวจความพร้อมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรนานาชาติ โดยการศึกษาเอกสารหลักสูตร และการบริหารมหาวิทยาลัยพร้อมกับสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 11 ท่าน และจัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ 16 ท่านเพื่อวิเคราะห์สภาพความพร้อมและ 3) ผู้วิจัยยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารมหาวิทยาลัยนานาชาติ 5 ท่านตรวจสอบรับรองข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผลการวิจัย พบว่า 1. วิธีการบริหารจัดการการศึกษานานาชาติ มีลักษณะ 6 ประการ คือ 1) การบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ 2) เปิดหลักสูตรซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชนระดับสากล 3) รับนักศึกษาหลายเชื้อชาติ 4) ผู้สอนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานสากล 5) กิจกรรมการเรียนรู้ต้องเป็นสากลเชื่อมโยงกับเครือข่ายนานาชาติได้และ 6) ทรัพยากรสนับสนุนการศึกษาต้องมาจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 2. ความพร้อมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรนานาชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการผลิตบัณฑิต และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามลำดับ และผลการสำรวจความพร้อมในการบริหารการศึกษานานาชาติในระดับปฏิบัติการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านนักศึกษา ด้านกิจกรรมนานาชาติและด้านผู้สอนตามลำดับ 3.
ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การจัดการตามหน้าที่ของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติ มี 6 ด้าน คือ (1.1) รายละเอียดนโยบายของมหาวิทยาลัย มี 7 ประการ (1.2) การผลิตบัณฑิต มี 9 ประการ (1.3) การบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม มี 6 ประการ (1.4) การวิจัยของสถาบัน มี 5 ประการ (1.5) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มี 4 ประการ และ (1.6) การบริหารจัดการงานทั่วไป มี 10 ประการ ส่วนที่ 2 การบริหารการศึกษานานาชาติ มี 5 ด้าน คือ (2.1) การบริหารหลักสูตร มี 5 ประการ (2.2) การบริหารงานทั่วไปนานาชาติ มี 5 ประการ (2.3) ด้านนักศึกษา มี 4 ประการ (2.4) ด้านผู้สอน และ (2.5) ด้านกิจกรรมนานาชาติ มี 5 ประการ ผลการตรวจสอบให้การรับรองข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ฉบับนี้ มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีประโยชน์ในการนำไปใช้งานได้จริง ฯ
The objectives of this dissertation were: 1) to study meanings, concepts, principles and methods of international education administration, 2) to study the readiness of Mahamakut Buddhist University to open an international program, and 3) to make a policy proposal for International Education Administration at Mahamakut Buddhist University. The research had 3 steps: 1) to Study the criteria of the Office of the Higher Education Commission regarding the international education administration from documents and surveys along with in-depth interviews with experts and relevant people from 6 national and international universities having achievement in international program management, 2) to explore the readiness of Mahamakut Buddhist University in opening an international program by studying curriculum documents and university administration, along with interviewing 11 executives and group discussions with 16 experts, and 3) to draft the policy proposal for international education administration of Mahamakut Buddhist University and then the drafted proposal was examined and approved by 5 experts in international education administration. The results of the study were as follows: 1. The international educational management system consists of 6 aspects: 1) Integrated Management, 2) The curriculum accepted by the international community, 3) Enrollment of multi-racial students, 4) Knowledge and skills in learning management according to international standards of both Thai and foreign teachers, 5) The link of learning activities to international networks, and 6) Involvement of all parties for learning support resources. 2. The readiness of Mahamakut Buddhist University to open the international program was at a moderate level overall and in each aspect. The descending order was as follows: education management, research, social academic service, graduate production, and art and culture conservation respectively. The readiness in the operational level was at a moderate level totally and in all aspects. The highest level was on general administration, followed by curriculum administration, students, international activities, and instructors respectively. 3. The policy proposal for international education administration of Mahamakut Buddhist University consists of 2 parts; Part 1: The university duty management to internationalization has 6 areas; (1.1) details of the university policy in 7 aspects, (1.2) graduate production with 9 aspects, (1.3) Buddhist academic services to society in 6 aspects, (1.4) institutional research in 5 aspects, (1.5) art and culture conservation in 4 aspects, and (1.6) general management in 10 aspects. Part 2: International Education Administration has 5 aspects; (2.1) Curriculum Administration in 5 aspects, (2.2) International General Administration in 5 aspects, (2.3) Students in 4 aspects, (2.4) Teachers, and (2.5) international activities in 5 aspects. The examination results confirm the policy proposal of the International Education Administration of Mahamakut Buddhist University with correctness, possibility, appropriateness, and implementation.
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557