Search results

2 results in 0.03s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือครูที่ทำการสอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 30,359 ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 660 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปมีผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 52 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.73-1.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.67-1.72 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.68-1.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือครูที่ทำการสอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 30,359 ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 660 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปมีผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 52 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.73-1.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.67-1.72 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.68-1.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
The objectives of this research were to 1) study the appropriateness of the indicators for selection in the model, 2) test the fitness of the model developed from theory and research with the empirical data, and 3) verify the factor loading value of the major components, minor components and indicators. The research population was 30,359 teachers under the jurisdiction of the local administration. Data were collected by using a set of rating scale questionnaires from 660 randomly selected multistage random sampling. Data analysis was done by statistical program. The results of the research were based on the research hypotheses: 1) The 52 indicators used in the study were suitable for the criteria as mean equal to or higher than 3.00 and distribution coefficients equal to or less than 20%. All were selected in the model. 2) Models developed from theory and research were fit with empirical data by the value of relative Chi-square (CMIN/DF), root mean square error of approximation (RMSEA), goodness-of-fit index (GFI) adjusted goodness-of-fit index (AGFI), Comparative Fit Index (CFI), and normed fit index (NFI) were in accordance with the criteria from both of the first order and the second order of confirmative factor analysis, and 3) the major components had factor loading ranged from 0.73 to 1.48, which is higher than the criterion as 0.70. The minor components had factor loading between 0.67 to 1.72 and indicators had factor loading ranged from 0.68 to 1.37, which are higher than the criterion as 0.30.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยครอบคลุมกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านหลักการสำคัญ ด้านการกำหนดทิศทาง ด้านการประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และด้านการประเมินผลและการควบคุม มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลจำนวน 21 คน ใช้เทคนิค การวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) และการวัดการกระจาย คือค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Range) ผลการวิจัยพบว่า: 1. หลักการสำคัญ(key principles) พบว่า นำสารสนเทศที่เป็นข้อมูลที่มีปริมาณมาก (Big data) มาใช้ในกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ สร้างวิสัยทัศน์ร่วม(Shared Vision)ระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ นำระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทาง ประเมินสภาพแวดล้อม กำหนดกลยุทธ์ นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และประเมินผลและควบคุม คำถึงนโยบายสาธารณะ(Public Policy) สอดคล้องกับโครงสร้างของประชากรที่มีขนาดลดลง ควบคุมและประเมินผลใช้การวิเคราะห์ข่ายงานด้วยเทคนิคการหาเส้นทางวิกฤต(Critical Path Method : CPM) และใช้กระบวนการบริหารเชิงระบบ(System Approach) มีกระบวนการสร้างความสอดคล้องในการปฏิบัติ (Harmony) 2. การกำหนดทิศทาง(Direction Setting) พบว่า กำหนดทิศทางด้วยปัจจัยสู่ความสำเร็จด้วยความเห็นร่วมของบุคคลในสถานศึกษา สรรหาทรัพยกรบุคคลที่มีความพร้อมในการพัฒนาตนเองให้มีความทันสมัย มีความยืดหยุ่น มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง กำหนดเป็นเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์(Strategic Intent) มีความชัดเจนสามารถมองเห็นเป้าหมายปลายทางที่ต้องการ มีความสอดคล้องกับปรัชญาทางการศึกษา กรอบทิศทางและแนวทางการดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาประเทศ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลความสำเร็จ(Objective key result : OKRs) คำนึงถึงนโยบายของทุกระดับ ระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีความสอดคล้องกับบรรทัดฐาน(Norm) ของสังคม 3. การประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม(Environment Scanning) พบว่า ประเมินเพื่อให้ทราบสถานะต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประเมินกายภาพให้มีความเหมาะสม เพียงพอ ทันสมัยและรองรับยุคดิจิทัล ประเมินปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมใหม่ ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษา ได้แก่ วัฒนธรรมทางสังคม (Sociocultural) เทคโนโลยี (Technological) เศรษฐกิจ (Economic) การเมืองและกฎหมาย (Political-Legal) วิเคราะห์ค่านิยมส่วนบุคคล กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ(personal values) วิเคราะห์ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค(Threat)เพื่อปรับตัวและรับมือกับเหตุการณ์และความเสี่ยง วิเคราะห์ตัวสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารในสภาพปัจจุบัน 4.
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยครอบคลุมกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านหลักการสำคัญ ด้านการกำหนดทิศทาง ด้านการประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และด้านการประเมินผลและการควบคุม มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลจำนวน 21 คน ใช้เทคนิค การวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) และการวัดการกระจาย คือค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Range) ผลการวิจัยพบว่า: 1. หลักการสำคัญ(key principles) พบว่า นำสารสนเทศที่เป็นข้อมูลที่มีปริมาณมาก (Big data) มาใช้ในกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ สร้างวิสัยทัศน์ร่วม(Shared Vision)ระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ นำระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทาง ประเมินสภาพแวดล้อม กำหนดกลยุทธ์ นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และประเมินผลและควบคุม คำถึงนโยบายสาธารณะ(Public Policy) สอดคล้องกับโครงสร้างของประชากรที่มีขนาดลดลง ควบคุมและประเมินผลใช้การวิเคราะห์ข่ายงานด้วยเทคนิคการหาเส้นทางวิกฤต(Critical Path Method : CPM) และใช้กระบวนการบริหารเชิงระบบ(System Approach) มีกระบวนการสร้างความสอดคล้องในการปฏิบัติ (Harmony) 2. การกำหนดทิศทาง(Direction Setting) พบว่า กำหนดทิศทางด้วยปัจจัยสู่ความสำเร็จด้วยความเห็นร่วมของบุคคลในสถานศึกษา สรรหาทรัพยกรบุคคลที่มีความพร้อมในการพัฒนาตนเองให้มีความทันสมัย มีความยืดหยุ่น มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง กำหนดเป็นเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์(Strategic Intent) มีความชัดเจนสามารถมองเห็นเป้าหมายปลายทางที่ต้องการ มีความสอดคล้องกับปรัชญาทางการศึกษา กรอบทิศทางและแนวทางการดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาประเทศ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลความสำเร็จ(Objective key result : OKRs) คำนึงถึงนโยบายของทุกระดับ ระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีความสอดคล้องกับบรรทัดฐาน(Norm) ของสังคม 3. การประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม(Environment Scanning) พบว่า ประเมินเพื่อให้ทราบสถานะต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประเมินกายภาพให้มีความเหมาะสม เพียงพอ ทันสมัยและรองรับยุคดิจิทัล ประเมินปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมใหม่ ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษา ได้แก่ วัฒนธรรมทางสังคม (Sociocultural) เทคโนโลยี (Technological) เศรษฐกิจ (Economic) การเมืองและกฎหมาย (Political-Legal) วิเคราะห์ค่านิยมส่วนบุคคล กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ(personal values) วิเคราะห์ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค(Threat)เพื่อปรับตัวและรับมือกับเหตุการณ์และความเสี่ยง วิเคราะห์ตัวสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารในสภาพปัจจุบัน 4.
การกำหนดกลยุทธ์(Strategic Formulation) พบว่า กำหนดให้มีปรัชญาใหม่ ๆ ที่ใช้เป็นแนวทางที่สามารถทำให้ผู้เรียนชอบและมีความสุขและสนุกสนานและอยากเรียนรู้ตลอดชีวิต ปลด ลดงาน ที่เป็นภาระของครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน แนวคิดเชิงระบบ คิดบวก คิดเชิงรุกและคิดเชิงบูรณาการ มีความท้าทายเชิงกลยุทธ์(Strategic Challenges) มีแนวทางที่จะทำให้บรรลุถึงภารกิจหลักที่ตั้งไว้บนรากฐานของข้อมูล ข้อเท็จจริง(Fact - based) เป็นแนวทางพื้นฐานทำให้เด็กสามารถใช้ชีวิตในโลกของยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิต(Technology Disruption) สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์แบบพลิกผัน (Disruptive Change) สร้างทางเลือกอย่างสร้างสรรค์และหลากหลายพร้อมทั้งข้อดี ข้อเสีย ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 5. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ(Strategic Implementing) พบว่า ให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน พัฒนาระบบทรัพยากรมนุษย์ให้รองรับกับแผนกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการลดขั้นตอนการทำงาน เลือกใช้แอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่มีความเหมาะสม นำกลยุทธ์รวมขององค์กรแต่ละสายงานแต่ละฝ่ายไปกระจายเป็นแผนกลยุทธ์ระดับหน่วยงานเป็นแผนแม่บท(Master Plan) ติดตามเป็นระบบและปรับเปลี่ยนให้ทันสถานการณ์ใช้แนวคิดและวิธีวงจรคุณภาพในการกำกับติดตามแผนและปรับปรุงพัฒนา ปรับใช้วิธีการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่สำคัญ(KORs) สร้างความรู้สึกร่วมที่จะทำให้เป้าหมายบรรลุผลสำเร็จ นำแผนแม่บท(Master Plan)มาแยกย่อยให้กลายเป็นเป็นแผนปฏิบัติการ(Action Plan)ที่ชัดเจน ใช้ภาวะผู้นำ(Leadership) ในการสร้างอิทธิพลต่อพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กรให้ไปในทิศทางการปฏิบัติตามกลยุทธ์ 6. การประเมินผลและการควบคุม(Evaluation and Control) พบว่า ประเมินผลเพื่อให้เกิดการพัฒนาโดยประเมินความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ติดตามและตรวจสอบปัญหา กำหนดแนวทางปรับปรุง และพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง การควบคุมกลยุทธ์ให้มีความยืดหยุ่น ข้อมูลถูกต้อง และทันเวลา กำหนดสิ่งที่จะวัด กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน วัดการปฏิบัติงานจริง เปรียบเทียบการปฏิบัติงานจริงกับมาตรฐานและปฏิบัติการแก้ไข การกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นทางการ (Formal Target Setting) การตรวจสอบ (Monitoring) การประเมินผล (Evaluation) และข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ใช้ข้อมูลอนาคตเข้าไปกำหนดเป็นตัวควบคุม”(Feedforward Control) ซึ่งจะเป็นการควบคุมก่อนการปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Pre-action Control) โดยใช้ข้อมูลอนาคต ตรวจสอบกิจกรรมและผลการปฏิบัติงานนำมาเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริง (Actual Performance) กับผลการดำเนินงานที่ตั้งความมุ่งหวังไว้(Desired Performance) นำไปแก้ไข(Take Corrective Action) ประเมินจาก Outcome ใช้ข้อมูลนี้เปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่วางแผนไว้ในขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์ ประเมินผลปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor : KSF) ด้วยดัชนีชี้วัดความสำเร็จ(Key Performance Indicator : KPI ) เป็นการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้รับกับเป้าหมายที่วางไว้ว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ การยอมรับ มีกระบวนการติดตามอย่างเป็นระบบ รายไตรมาส และเพิ่มพื้นที่พูดคุยอย่างเป็นระบบระหว่างปีเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนเป้าหมายได้ทันตามความจำเป็น
This dissertation aims to study the scenario of strategic management of government schools under The Bangkok Metropolitan Administration. This study comprehensively investigates strategic management processes, organizational direction, organizational and environmental assessment, strategic formulation, strategic implementation, and strategic evaluation and control. The participants were 21 experts in this field, and the methodology applied in this study was Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique. The finding of the study revealed that: 1. Principles: Big data can create a shared vision between policy actors and policy leaders in strategic management processes. Considering the population decline, an Artificial Intelligence System (AI) should be applied to analyze the data for determining the organizational direction, evaluating the environment, developing strategies, implementing strategies, and assessing and controlling as per Public Policy. Critical Path Method (CPM), System Approach, and Harmony Method are applied to analyze the job field. 2. Determining direction: Establishing a successful direction should consist of accepting the individuals’ opinions in educational institutions and recruiting flexible and adaptable employees. They should be specified as clear strategic intent and desired goals and be consistent with the educational philosophy, framework, and direction of the implemented fundamental education and national development. In addition, determining direction should consider world changes. To establish Objective Key Results (OKRs) should be concentrated on policies at all levels, regulations, and laws that are relevant to the norms of society. 3. Assessing the organization and environment: Evaluation is the process of understanding the condition and reducing risk. Physical assessment should be appropriate, modern, and adaptive in digital transformation and be relevant to technology and innovation. Physical evaluation should be proper, up-to-date, and adaptive in digital transformation and be relevant to technology and innovation. The factors that affect educational institutions should be analyzed: sociocultural, technological, economic, political-legal, personal values, strengths, weaknesses, opportunities, current management in an educational situation, and threats for adapting and dealing with problems and risks. 4. Strategy Formulation: Formulating new philosophy can help learners be happy, have fun learning, and desire to learn throughout their entire lives. Formulating a strategy should include layoff and burdensome work reduction. There are higher-order thinking skills in strategic challenges. In addition, there is a path to achieve the principal mission based on fact-based information as an elementary approach to enabling children to live in a world of technology disruption. These can create competitive advantage, flexibility, and adaptability to disruptive changes. Moreover, this strategy can make creative and diverse choices with advantages, disadvantages, possibilities, appropriateness, and consistency within the school context. 5. Strategy Implementation: Strategy implementation should be active, fast, and consistent with the current situation. Human resources should be developed to support the strategic plan created to be able to operate efficiently. Technology should be adopted to reduce the working process by choosing the appropriate application or software. The combination strategy of each organization should be distributed to an agency-level strategic plan as a Master Plan. Quality control cycle concepts and methods are used to supervise, monitor plans and improve development. Objectives and key outcome methods (KORs) are deployed to create a sense of strategy to achieve the goal. The Master Plan should be divided into a clear action plan. Leadership is applied to influence members' conduct of the organization to the direction of strategic implementation. 6. Evaluation and control: Principal purposes of the evaluation are to develop, monitor, investigate issues, and determine guidelines for improvement and development according to the real situation by evaluating opinions from stakeholders. Evaluation and control should be flexible, controlled, accurate and timely information. It is significant to determine what to assess, set performance standards, evaluate authentic performance, and compare actual performance standards with corrective action. There should be formal target setting, monitoring, evaluation, and feedback. Feedforward control is applied to control pre-action control and investigate activities and performance for comparing actual performance with desired performance. Corrective action is assessed by the outcome to compare the actual performance with the planned strategy process. The Key Success Factor (KSF) is evaluated by using Key Performance Indicator (KPI). It compares achieved results with the appropriate goals, possibilities, and acceptance. There should be a quarterly systematic monitoring process and dialogue space during the year for changing the set goals as needed