Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสัมมาทิฏฐิ 2) เพื่อพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อศึกษารูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลักและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มที่ 1 พระราชาคณะ พระสังฆาธิการ พระภิกษุผู้จบการศึกษาระดับเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 5 รูป กลุ่มที่ 2 นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 รูป/คน ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มที่ 3 อุบาสกอุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา จำนวน 5 คนรวมทั้งสิ้น จำนวน 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. สัมมาทิฏฐิ มีความสำคัญ คือความเห็นธรรมที่ถูกต้อง ชื่อว่า สัทธรรม และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ นำมาซึ่งความดีงาม และความเจริญรุ่งเรืองเพียงอย่างเดียว สัมมาทิฏฐิตามนัยทางพระพุทธศาสนา จึงชื่อว่าเป็นพื้นฐานแห่งความเกิดขึ้นแห่งความดีงาม หรือกุศลธรรมทั้งหลาย และเป็นบ่อเกิดแห่งธรรมทั้งมวล 2. การพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทสามารถทำได้โดยการสร้างปัจจัยการเกิดสัมมาทิฏฐิ เนื่องจากสัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ด้วยเหตุนี้เองจึงมีหลักธรรมหลายหมวดที่นำมาพัฒนาด้วยการแสดงปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ 3. รูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมเป็นรูปแบบที่มีปรโตโฆสะโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และอยู่ภายใต้ ศีล สมาธิ ปัญญา การรับรู้ เป็นการรับรู้ที่ถูกต้อง 4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “WARM MODEL” โมเดล W = Wisdom คือ ภูมิปัญญาหมายถึง พัฒนาการเห็นชอบสรรพสิ่งด้วยปัญญา, A = Auspiciousness คือ ความเป็นสิริมงคลหมายถึง พัฒนาการเห็นชอบปรารถนาความมงคล, R = Real คือ จริง หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบตามเป็นจริง, M = Middle path คือ ทางสายกลาง หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบยิ่งทางสายกลาง
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสัมมาทิฏฐิ 2) เพื่อพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อศึกษารูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลักและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มที่ 1 พระราชาคณะ พระสังฆาธิการ พระภิกษุผู้จบการศึกษาระดับเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 5 รูป กลุ่มที่ 2 นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 รูป/คน ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มที่ 3 อุบาสกอุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา จำนวน 5 คนรวมทั้งสิ้น จำนวน 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. สัมมาทิฏฐิ มีความสำคัญ คือความเห็นธรรมที่ถูกต้อง ชื่อว่า สัทธรรม และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ นำมาซึ่งความดีงาม และความเจริญรุ่งเรืองเพียงอย่างเดียว สัมมาทิฏฐิตามนัยทางพระพุทธศาสนา จึงชื่อว่าเป็นพื้นฐานแห่งความเกิดขึ้นแห่งความดีงาม หรือกุศลธรรมทั้งหลาย และเป็นบ่อเกิดแห่งธรรมทั้งมวล 2. การพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทสามารถทำได้โดยการสร้างปัจจัยการเกิดสัมมาทิฏฐิ เนื่องจากสัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ด้วยเหตุนี้เองจึงมีหลักธรรมหลายหมวดที่นำมาพัฒนาด้วยการแสดงปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ 3. รูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมเป็นรูปแบบที่มีปรโตโฆสะโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และอยู่ภายใต้ ศีล สมาธิ ปัญญา การรับรู้ เป็นการรับรู้ที่ถูกต้อง 4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “WARM MODEL” โมเดล W = Wisdom คือ ภูมิปัญญาหมายถึง พัฒนาการเห็นชอบสรรพสิ่งด้วยปัญญา, A = Auspiciousness คือ ความเป็นสิริมงคลหมายถึง พัฒนาการเห็นชอบปรารถนาความมงคล, R = Real คือ จริง หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบตามเป็นจริง, M = Middle path คือ ทางสายกลาง หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบยิ่งทางสายกลาง
The objectives this dissertation are : 1) To study right views, 2) To develop right views according to Theravada Buddhist philosophy, 3) To study patterns in developing right views according to Theravada Buddhist philosophy, and 4)To present the body of knowledge about the development of right views according to Theravada Buddhist philosophy. The research is documentary qualitative research by studying and analyzing information from the Tipitaka, commentaries, and relevant textbooks and related other documents. The research methodology also used in-depth interviews on the number of 15 key informants by classifying into 3 groups, namely group 1 consisting of 5 Buddhist monks who graduated in Pali grade 9 and group 2 consisting of 5 Buddhist scholars who have expertise in Buddhism and group 3 consisting of 5 Buddhist laypeople in Buddhism. The content analysis is in the presenting descriptive information. The results of the research were as follows: 1. Right view is important due to see the right dhamma, called Saddhamma. The Dhamma is very useful by bring only beauty and prosperity. The right view according to Buddhist perspectives is, therefore, the basis of the emergence of goodness or wholesome and is the source of all Dharmas. 2. The development of right view according to Theravada Buddhist philosophy can be done by creating the condition of right view. Because it could not arise by itself if without its condition. That is why there are many categories of Dharma accompanied with right view as the condition. 3. The appropriate model of right view development according to Theravada Buddhist philosophy is always composed of Paratoghosa and Yonisomanasikara. These are the cause of right view and under the principles of precepts, concentration, wisdom as the right perception. 4. The new body of knowledge called “WARM MODEL”. The acronym of this model means as follows; W = Wisdom means development of approval of all things with wisdom, A = Auspiciousness means development of auspicious desires, R = Real means development of approval according to reality, and M = Middle Path means the development of approval through the middle path.