Search results

2 results in 0.04s

หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการเดินและการสวมรองเท้าที่สอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติ ๒) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธที่สอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติบนฐานการคิดเชิงออกแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาข้อมูลเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการณ์ ออกแบบต้นแบบและนำต้นแบบไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ในสมัยพุทธกาลจริยวัตรของภิกษุทั้งการเดินบิณฑบาต การเดินจงกรมและการเดินธุดงค์ ล้วนเดินด้วยเท้าเปล่า ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ต่อมาได้มีการบัญญัติพระวินัยขึ้นทั้งข้ออนุญาตและข้อห้ามในการสวมรองเท้าจากกรณีปัญหาสุขภาพเท้ามูลเหตุจากพระโสณโกฬิวิสะ ปัจจุบันกลุ่มตัวอย่าง ๒๐ รูป/คน เห็นด้วยกับการไม่ใส่รองเท้าขณะเดินจงกรม คิดเป็น ๙๐% และขณะบิณฑบาต คิดเป็น ๖๐% ตามลำดับ แต่เห็นด้วยกับการใส่รองเท้าขณะเดินธุดงค์ คิดเป็น ๖๕% ยกเว้นกรณีอาพาธที่เท้าให้ใส่รองเท้าในทุกกรณี ๒) ปัญหาสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธเกิดจากโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ประมาณ ๙๐% สาเหตุจากพฤติกรรมการบริโภค การไม่ออกกำลังกาย มีโรคประจำตัว และอุบัติเหตุที่เท้า ๑๐% ตามลำดับ การป้องกันควรใช้ ๕ ป. ได้แก่ ปรับทัศนคติ เปลี่ยนค่านิยมประชาชน ปลุกจิตสำนึกการออกกำลังกาย เปิดช่องทางให้ความรู้ และประดิษฐ์รองเท้าเพื่อสุขภาพ ๓) รูปแบบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธบนฐานการคิดเชิงออกแบบ จะต้องสอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติ เป็นรองเท้าชั้นเดียว สีน้ำตาล สวมใส่สบาย กระชับ ระบายอากาศได้ดี ทำจากยางพาราหรือวัสดุที่เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ถูกสุขอนามัยและความปลอดภัย มีแผ่นรองที่มีปุ่มกระตุ้นจุดเส้นประสาทที่เท้าและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ได้รับการยอมรับจากประชาชน ด้วยการระบุสัญลักษณ์วงกลมเครื่องหมาย รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการเดินและการสวมรองเท้าที่สอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติ ๒) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธที่สอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติบนฐานการคิดเชิงออกแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาข้อมูลเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการณ์ ออกแบบต้นแบบและนำต้นแบบไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ในสมัยพุทธกาลจริยวัตรของภิกษุทั้งการเดินบิณฑบาต การเดินจงกรมและการเดินธุดงค์ ล้วนเดินด้วยเท้าเปล่า ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ต่อมาได้มีการบัญญัติพระวินัยขึ้นทั้งข้ออนุญาตและข้อห้ามในการสวมรองเท้าจากกรณีปัญหาสุขภาพเท้ามูลเหตุจากพระโสณโกฬิวิสะ ปัจจุบันกลุ่มตัวอย่าง ๒๐ รูป/คน เห็นด้วยกับการไม่ใส่รองเท้าขณะเดินจงกรม คิดเป็น ๙๐% และขณะบิณฑบาต คิดเป็น ๖๐% ตามลำดับ แต่เห็นด้วยกับการใส่รองเท้าขณะเดินธุดงค์ คิดเป็น ๖๕% ยกเว้นกรณีอาพาธที่เท้าให้ใส่รองเท้าในทุกกรณี ๒) ปัญหาสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธเกิดจากโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ประมาณ ๙๐% สาเหตุจากพฤติกรรมการบริโภค การไม่ออกกำลังกาย มีโรคประจำตัว และอุบัติเหตุที่เท้า ๑๐% ตามลำดับ การป้องกันควรใช้ ๕ ป. ได้แก่ ปรับทัศนคติ เปลี่ยนค่านิยมประชาชน ปลุกจิตสำนึกการออกกำลังกาย เปิดช่องทางให้ความรู้ และประดิษฐ์รองเท้าเพื่อสุขภาพ ๓) รูปแบบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธบนฐานการคิดเชิงออกแบบ จะต้องสอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติ เป็นรองเท้าชั้นเดียว สีน้ำตาล สวมใส่สบาย กระชับ ระบายอากาศได้ดี ทำจากยางพาราหรือวัสดุที่เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ถูกสุขอนามัยและความปลอดภัย มีแผ่นรองที่มีปุ่มกระตุ้นจุดเส้นประสาทที่เท้าและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ได้รับการยอมรับจากประชาชน ด้วยการระบุสัญลักษณ์วงกลมเครื่องหมาย รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
The objectives of this thesis were; 1) to study the code of discipline according to walking and footwares of monks, 2) to study the problems of foot health of sick monks, and 3) to propose a Buddhist innovative prototype for foot health of sick monks. The qualitative data were collected from primary source, secondary source, related research works, in-depth interviews, observation, prototype design and test. The results of research were found that: 1) In the Buddha’s time, bare-feet walking while going for arms-collecting, walking round for meditation and hike-walking were exercises that increased blood circulation. The codes of discipline on monks’ footwares were set forth because of the foot health problem of Venerable Sonakolivisa. In present day, 90% out of 20 samples agreed with monks walking bare-foot on round-meditation, and 60% while going for arms-collecting. But 65% agreed with wearing the footwares while hike-walking. And the sick monks should be exempted from this code in any occasions. 2) 90% of foot health problems of sick monks were from non-communicable diseases such as diabetes that caused from consumption behavior, lack of exercise, congenital disease and 10% from accidents respectively. The prevention could be done by adjusting the monk’s attitude, social perception, exercise motivation, knowledge channel and foot health innovation. 3) Innovative design thinking for foot health of sick monks is to comply with the code of discipline, user’s satisfactory, health and safety, and social acceptability. The proposed design is brown single-sole rubber sandals with blood circulation button and innovative materials with diabetes symbol on it.