Search results

1 results in 0.06s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้องขังหญิงทัณฑสถานหญิงชลบุรีด้วยสมาธิในหลักสูตรสัคคสาสมาธิ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังหญิงด้วยสมาธิในหลักสูตรสัคคสาสมาธิในทัณฑสถานหญิงชลบุรีของผู้ต้องขังหญิง ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และชั้นโทษต่างกัน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยสมาธิในหลักสูตรสัคคสาสมาธิ ทัณฑสถานหญิงชลบุรี วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบเชิงผสม (Mixed Methods Research) โดยมีประชากร 240 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน และนำเสนอด้วยการพรรณาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า: การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังหญิงด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิในทัณฑสถานหญิงชลบุรีพบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน 1) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกาย อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.61 2) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางจิตใจ อยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย 4.38 3) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วาจา อยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย 4.34 สามารถควบคุมจิตใจให้มีสำนึกที่ดี รองลงมาคือด้านวาจาเมื่อได้รับการฝึกจิตอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดกระบวนการที่จะนำไปสู่การควบคุมและพัฒนาตน และด้านจิตใจ มุ่งเน้นพัฒนาทางด้านจิตใจเป็นสำคัญด้วยการปฏิบัติสมาธิ เป็นหลักสำหรับการฝึกทางกาย ทางวาจา ทางใจ ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป การเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของผู้ต้องขังหญิง ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และชั้นโทษต่างกัน ไม่มีผลต่อการทำสมาธิ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิ เนื่องด้วยการวิจัยไม่ได้ใช้วิธีการปฏิบัติแยกตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และชั้นโทษ แต่ใช้วิธีการเดียวกันคือการทำสมาธิแบบเดียวกันตามหลักสูตรสัคคสาสมาธิอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 การแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังหญิงด้วยสมาธิในหลักสูตรสัคคสาสมาธิในทัณฑสถานหญิงชลบุรี เป็นไปตามสมมุติฐานทั้งนี้อภิปรายได้ว่า การที่จะพัฒนาสังคมจึงต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์เป็นอันดับแรก ผู้ต้องขังมีความสุขสงบคิดได้คิดถูกมีเหตุมีผลเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองแก่ครอบครัวสังคมและประเทศชาติ เพื่อคืนคนดีสู่สังคม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้องขังหญิงทัณฑสถานหญิงชลบุรีด้วยสมาธิในหลักสูตรสัคคสาสมาธิ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังหญิงด้วยสมาธิในหลักสูตรสัคคสาสมาธิในทัณฑสถานหญิงชลบุรีของผู้ต้องขังหญิง ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และชั้นโทษต่างกัน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยสมาธิในหลักสูตรสัคคสาสมาธิ ทัณฑสถานหญิงชลบุรี วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบเชิงผสม (Mixed Methods Research) โดยมีประชากร 240 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน และนำเสนอด้วยการพรรณาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า: การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังหญิงด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิในทัณฑสถานหญิงชลบุรีพบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน 1) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกาย อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.61 2) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางจิตใจ อยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย 4.38 3) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วาจา อยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย 4.34 สามารถควบคุมจิตใจให้มีสำนึกที่ดี รองลงมาคือด้านวาจาเมื่อได้รับการฝึกจิตอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดกระบวนการที่จะนำไปสู่การควบคุมและพัฒนาตน และด้านจิตใจ มุ่งเน้นพัฒนาทางด้านจิตใจเป็นสำคัญด้วยการปฏิบัติสมาธิ เป็นหลักสำหรับการฝึกทางกาย ทางวาจา ทางใจ ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป การเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของผู้ต้องขังหญิง ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และชั้นโทษต่างกัน ไม่มีผลต่อการทำสมาธิ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิ เนื่องด้วยการวิจัยไม่ได้ใช้วิธีการปฏิบัติแยกตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และชั้นโทษ แต่ใช้วิธีการเดียวกันคือการทำสมาธิแบบเดียวกันตามหลักสูตรสัคคสาสมาธิอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 การแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังหญิงด้วยสมาธิในหลักสูตรสัคคสาสมาธิในทัณฑสถานหญิงชลบุรี เป็นไปตามสมมุติฐานทั้งนี้อภิปรายได้ว่า การที่จะพัฒนาสังคมจึงต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์เป็นอันดับแรก ผู้ต้องขังมีความสุขสงบคิดได้คิดถูกมีเหตุมีผลเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองแก่ครอบครัวสังคมและประเทศชาติ เพื่อคืนคนดีสู่สังคม
The objectives of this research were: 1) to study the behaviour changing of female inmates in Chonburi Female Prison by Sãggãsã Sãmãdhi Course, 2) to compare the behaviour changing of female inmates in Chonburi Female Prison by Saggasa Samadhi Course having different age, educational level and penalty duration, and 3) to study suggestions about problems and solutions on behaviour changing of female inmates in Chonburi Female Prison by Sãggãsã Sãmãdhi Course. The mixed research methodology was used in this study. The data were collected by questionnaires from the 240 subjects and by in-deoth interviews with 9 key-informants. The results of the study were presented in a descriptive method. The results of the research showed that: There was behaviour changing of female inmates in Chonburi Female Prison by Saggasa Samadhi Course in 3 aspects as follows; 1) the most changing was on bodily behavior with average level at 4.61, 2) the behavior changing in thought was at 4.38, and 3) the behavior changing in speech was at 4.34 respectively. The comparison results of the behaviour changing of female inmates in Chonburi Female Prison by Sãggãsã Sãmãdhi Course having different age, educational level and penalty duration were not significantly different since the whole subjects were trained with the Sãggãsã Sãmãdhi Course at the same time. The solution and correction on behaviour changing of female inmates in Chonburi Female Prison by Sãggãsã Sãmãdhi Course indicated was in line with the study hypothesis. This indicated that social development is based on the development of human behaviors. The inmates are happy, calm, and reasonable. They are still beneficial to themselves, their family, society and the nation. They can return to the society as the good ones.