Search results

2 results in 0.1s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษารัตนสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในรัตนสูตร วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร ผลงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หลักจริยศาสตร์นั้น ว่าด้วยเรื่องความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับความประพฤติของมนุษย์ และว่าด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิตว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของมนุษย์ เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป 2) รัตนสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงพระรัตนตรัย กล่าวคือ เป็นการพรรณนาสรรเสริญคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นที่พึ่งที่ระลึก ด้วยการนำเอาคุณของพระรัตนตรัย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เรียกว่า ไตรสิกขา ไปประพฤติปฏิบัติจนกระทั่งทำให้กายบริสุทธิ์ และจิตใจสงบ เป็นการพัฒนาชีวิตให้เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิต ทำให้ผู้ที่นำไปประพฤติปฏิบัติ มีชีวิตที่ประเสริฐ มีความสุขบริบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด ช่วยให้เกิดดวงตาเห็นธรรม จนกระทั่งเข้าถึงพระนิพพานหรือความพ้นทุกข์ในที่สุด 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในรัตนสูตร เป็นคุณค่าที่มีผลต่อทางร่างกายและจิตใจ คือ ช่วยการพัฒนาความประพฤติของมนุษย์ด้วยการรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เกิดความทุกข์ และสมบูรณ์ด้วยสมาธิและปัญญา ด้วยการทำจิตใจให้มีความหนักแน่นในคุณงามความดี ด้วยการเว้นจากความประพฤติชั่ว ประพฤติแต่ความดี เป็นการเตรียมจิตใจให้พร้อมที่จะใช้สมาธิเพื่อปัญญา ในการบําเพ็ญสมาธิให้จิตบริสุทธิ์ เป็นการสร้างคุณค่าด้วยหลักจริยศาสตร์ให้เป็นผู้มีชีวิตที่ประเสริฐ เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิต
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษารัตนสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในรัตนสูตร วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร ผลงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หลักจริยศาสตร์นั้น ว่าด้วยเรื่องความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับความประพฤติของมนุษย์ และว่าด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิตว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของมนุษย์ เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป 2) รัตนสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงพระรัตนตรัย กล่าวคือ เป็นการพรรณนาสรรเสริญคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นที่พึ่งที่ระลึก ด้วยการนำเอาคุณของพระรัตนตรัย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เรียกว่า ไตรสิกขา ไปประพฤติปฏิบัติจนกระทั่งทำให้กายบริสุทธิ์ และจิตใจสงบ เป็นการพัฒนาชีวิตให้เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิต ทำให้ผู้ที่นำไปประพฤติปฏิบัติ มีชีวิตที่ประเสริฐ มีความสุขบริบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด ช่วยให้เกิดดวงตาเห็นธรรม จนกระทั่งเข้าถึงพระนิพพานหรือความพ้นทุกข์ในที่สุด 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในรัตนสูตร เป็นคุณค่าที่มีผลต่อทางร่างกายและจิตใจ คือ ช่วยการพัฒนาความประพฤติของมนุษย์ด้วยการรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เกิดความทุกข์ และสมบูรณ์ด้วยสมาธิและปัญญา ด้วยการทำจิตใจให้มีความหนักแน่นในคุณงามความดี ด้วยการเว้นจากความประพฤติชั่ว ประพฤติแต่ความดี เป็นการเตรียมจิตใจให้พร้อมที่จะใช้สมาธิเพื่อปัญญา ในการบําเพ็ญสมาธิให้จิตบริสุทธิ์ เป็นการสร้างคุณค่าด้วยหลักจริยศาสตร์ให้เป็นผู้มีชีวิตที่ประเสริฐ เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิต
The objectives of this thesis are as follows 1) to study the principles of ethics 2)to study the Ratanasutta 3)to analyze the ethics principles appearing in the Ratanasutta involved and then analyzed and summarized the research results. The results of study wer found that: 1) The ethics of human conduct is concerned with the criteria for judging good and evil as a standard for human conduct and on the pursuit of the value of life as to what is best. For human life is the development of a more complete human being. 2) The Ratana Sutra is a sutra that mentions the Triple Gem, which is to describe the virtues of the Buddha, the Dharma, and the Sangha, which are relied upon by bringing the virtues of the Triple Gems, which is the virtue of meditation and wisdom known as the Trisikkha, to practice until the body Purity and peace of mind is the development of life to create value for living, enabling those who practice it to live a noble life, full of happiness both physically and mentally, because these are the noble refuges, the highest refuges. The eyes are born to see the Dharma until finally attaining Nirvana or cessation of suffering. 3)The ethical value that appears in the Ratana Sutra is the value that affects the body and mind, that is, it helps the development of human conduct by keeping the body and speech in order without hurting oneself and others to cause suffering and complete with concentration and wisdom by strengthening the mind in virtue by abstaining from evil conduct but goodness is to prepare the mind to use concentration for wisdom to practice meditation, to purify the mind, to create value through ethics, to become a noble life to achieve the highest goal of life.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, รวมผลงานวิจัยของคณาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศษสนา คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548
ฉบับอัดสำเนา, รวมผลงานวิจัยของคณาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศษสนา คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548