Search results

3 results in 0.05s

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • สิ่งประเสริฐสี่ประการของชีวิต
  • สิ่งประเสริฐในการเป็นอิสลามิกชน
  • สิ่งประเสริฐที่ได้รับจากการเป็นคริสตชน
  • จิตอาสา : ความสำนึกทางสังคม
  • หลากหลายข้อแนะนำเกี่ยวกับการมีอายุยีน
  • ความกล้าหาญทางจริยธรรมสิ่งที่หาได้ยากในสังคมไทย
  • บวร : บทบาทร่วมของสามองค์ประกอบ
  • แก่นแกนหลักของการบริหาร
  • ไพศาลทักษิณ : พันธุ์ไม้ผลพระราชทานฯ
  • ตะกอนความคิด (สีเขียว)
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ : การบริหารโครงการต้นแบบ
  • คุณธรรม จริยธรรม ความกล้าหาญ : จากแสนแสบ ของไม้ เมืองเดิม
หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิกายวัชรยาน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสง์ 1) เพื่อศึกษาหลักคำสอนในนิกายวัชรยาน 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามแนวตันตระในนิการวัชรยาน 3) เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิการวัชรยาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักคำสอนในนิกายวัชรยาน พบว่าคำสอนในพุทธศาสนาวัชรยานไม่ว่าจะเป็นหลักพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎกไม่ได้มีความแตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาเถรวาทแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่ฝ่ายเถรวาทมี ฝ่ายวัชรยานก็มีเช่นกัน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พระพุทธศาสนาวัชรยานเกือบจะเป็นหนึ่งเดียว ในบรรดาพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบันที่ยังรักษาสมบัติอันมีค่ายิ่งแห่งตันตระประเพณีของพระพุทธศาสนาจากอินเดียไว้ได้ทั้งหมด ตันตระยานปรากฏขึ้นในช่วงสามของชีวิตพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป ซึ่งเน้นที่ตันตระวิธีและมันตระยาน นับเป็นมิติพิเศษที่รับรู้ทางรหัสนัยของวัชรยาน คือเน้นที่การปฏิบัติธรรมโดยพื้นฐานว่า พระพุทธเจ้าปรากฏพระองค์กับโยคาวจารอย่างเป็นจริงเป็นจริง ณ ขณะปฏิบัติธรรมนั้น นับเป็นวิธีที่สั่งสอนให้เข้าถึงพุทธภาวะในชาตินี้ หาไม่ก็ภายในอีกไม่กี่ชาติข้างหน้า นับเป็นการเร่งโพธิสัตว์มรรคาของวัชรยาน ที่ผู้ปฏิบัติธรรมอธิษฐานให้ความเป็นสามัญมนุษย์เข้าถึงพุทธภาวะ 2. การปฏิบัติตามแนวตันตระในนิกายวัชรยานพบว่าตันตระแม้จะมีเหตุผลนำไปสู่ความเชื่อและข้อปฏิบัติหลายอย่างที่ไม่เคยปรากฏในพระพุทธศาสนา หลาย ๆ อย่างเอื้อต่อความเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นของการละเมิดศีล (ดื่มน้ำเมา) การให้ความสำคัญกับเรื่องเพศ ตลอดจนการยอมรับให้พระชินพุทธเจ้าตลอดจนเทพทั้งหลายมีสัญลักษณ์ภาคคู่ที่เรียกว่า ศักติหรือเทวี ภาพพระชินพุทธเจ้ากำลังโอบกอดเทวีของพระองค์ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในงานศิลปะทิเบต แม้แต่ในมณฑลบ่อยครั้งที่เราจะเห็นภาพเช่นนี้อยู่เหมือนกัน ดังนั้นการศึกษาการปฏิบัติตันตระ เข้าใจจำเป็นที่เราจะต้องศึกษาความเชื่ออันแฝงอยู่ในสัญลักษณ์เหล่านั้นด้วย เป้าหมายของการปฏิบัติตันตระในเบื้องต้นมุ่งหวังเพื่อที่จะดึงความศรัทธาของประชาชนที่ส่วนใหญ่หันไปให้ความเคารพนับถือวิธีการของฮินดูตันตระให้กลับมานับถือพุทธศาสนาเหมือนเดิม แต่เป้าหมายหลักก็คือการนําเสนอหลักการใหม่เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นได้ง่ายกว่าและเร็วกว่าเดิม หากมองผิวเผินอาจดูว่ามีความแปลกประหลาด แต่ถ้าเข้าไปศึกษาการปฏิบัติของตันตระแล้วจะเห็นว่ายังคงมุ่งตรงสู่ความหลุดพ้น เหมือนกับนิกายอื่น ๆ เพียงแต่วิธีการเท่านั้นที่ดูต่างกัน 3. วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิกายวัชรยานพุทธศาสนิกชนชาวพุทธวัชรยานต่างมีวิถีชีวิตที่ยึดมั่นในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน วิถีชีวิตประจำวันของชาวพุทธวัชรยานจึงมีศาสนาเป็นเครื่องนำทาง ในทุก ๆ วันแทบทุกคนล้วนต้องมีพิธีกรรมทางตันตระเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่เช้าก่อนออกจากบ้าน ระหว่างทางเดินจนถึงที่ทำงาน ชาวพุทธวัชรยานบางคนจะกระทำพิธีกรรมทางศาสนาทั้งเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยการท่องมนต์ ทำสมาธิ นับลูกประคำและการแกว่งหรือหมุนกงล้อมนตรา จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมประจำชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
การวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิกายวัชรยาน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสง์ 1) เพื่อศึกษาหลักคำสอนในนิกายวัชรยาน 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามแนวตันตระในนิการวัชรยาน 3) เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิการวัชรยาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักคำสอนในนิกายวัชรยาน พบว่าคำสอนในพุทธศาสนาวัชรยานไม่ว่าจะเป็นหลักพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎกไม่ได้มีความแตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาเถรวาทแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่ฝ่ายเถรวาทมี ฝ่ายวัชรยานก็มีเช่นกัน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พระพุทธศาสนาวัชรยานเกือบจะเป็นหนึ่งเดียว ในบรรดาพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบันที่ยังรักษาสมบัติอันมีค่ายิ่งแห่งตันตระประเพณีของพระพุทธศาสนาจากอินเดียไว้ได้ทั้งหมด ตันตระยานปรากฏขึ้นในช่วงสามของชีวิตพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป ซึ่งเน้นที่ตันตระวิธีและมันตระยาน นับเป็นมิติพิเศษที่รับรู้ทางรหัสนัยของวัชรยาน คือเน้นที่การปฏิบัติธรรมโดยพื้นฐานว่า พระพุทธเจ้าปรากฏพระองค์กับโยคาวจารอย่างเป็นจริงเป็นจริง ณ ขณะปฏิบัติธรรมนั้น นับเป็นวิธีที่สั่งสอนให้เข้าถึงพุทธภาวะในชาตินี้ หาไม่ก็ภายในอีกไม่กี่ชาติข้างหน้า นับเป็นการเร่งโพธิสัตว์มรรคาของวัชรยาน ที่ผู้ปฏิบัติธรรมอธิษฐานให้ความเป็นสามัญมนุษย์เข้าถึงพุทธภาวะ 2. การปฏิบัติตามแนวตันตระในนิกายวัชรยานพบว่าตันตระแม้จะมีเหตุผลนำไปสู่ความเชื่อและข้อปฏิบัติหลายอย่างที่ไม่เคยปรากฏในพระพุทธศาสนา หลาย ๆ อย่างเอื้อต่อความเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นของการละเมิดศีล (ดื่มน้ำเมา) การให้ความสำคัญกับเรื่องเพศ ตลอดจนการยอมรับให้พระชินพุทธเจ้าตลอดจนเทพทั้งหลายมีสัญลักษณ์ภาคคู่ที่เรียกว่า ศักติหรือเทวี ภาพพระชินพุทธเจ้ากำลังโอบกอดเทวีของพระองค์ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในงานศิลปะทิเบต แม้แต่ในมณฑลบ่อยครั้งที่เราจะเห็นภาพเช่นนี้อยู่เหมือนกัน ดังนั้นการศึกษาการปฏิบัติตันตระ เข้าใจจำเป็นที่เราจะต้องศึกษาความเชื่ออันแฝงอยู่ในสัญลักษณ์เหล่านั้นด้วย เป้าหมายของการปฏิบัติตันตระในเบื้องต้นมุ่งหวังเพื่อที่จะดึงความศรัทธาของประชาชนที่ส่วนใหญ่หันไปให้ความเคารพนับถือวิธีการของฮินดูตันตระให้กลับมานับถือพุทธศาสนาเหมือนเดิม แต่เป้าหมายหลักก็คือการนําเสนอหลักการใหม่เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นได้ง่ายกว่าและเร็วกว่าเดิม หากมองผิวเผินอาจดูว่ามีความแปลกประหลาด แต่ถ้าเข้าไปศึกษาการปฏิบัติของตันตระแล้วจะเห็นว่ายังคงมุ่งตรงสู่ความหลุดพ้น เหมือนกับนิกายอื่น ๆ เพียงแต่วิธีการเท่านั้นที่ดูต่างกัน 3. วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิกายวัชรยานพุทธศาสนิกชนชาวพุทธวัชรยานต่างมีวิถีชีวิตที่ยึดมั่นในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน วิถีชีวิตประจำวันของชาวพุทธวัชรยานจึงมีศาสนาเป็นเครื่องนำทาง ในทุก ๆ วันแทบทุกคนล้วนต้องมีพิธีกรรมทางตันตระเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่เช้าก่อนออกจากบ้าน ระหว่างทางเดินจนถึงที่ทำงาน ชาวพุทธวัชรยานบางคนจะกระทำพิธีกรรมทางศาสนาทั้งเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยการท่องมนต์ ทำสมาธิ นับลูกประคำและการแกว่งหรือหมุนกงล้อมนตรา จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมประจำชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
This study is an analysis ofThe Way of Life According to Trantra Tradition in Vajrayana Buddhism. This study is qualitative research which aims of study about 1) To study the teaching of Vajrayana Buddhism, 2) To study the Tantra practices according to Vajranaya tradition and 3) To analyze the way of life according to the tantra tradition in Vajrayana Buddhism. The study shows that 1. Inrespect of Vajrayana teaching, Vajrayana followers view their school as not different from Theravada in terms of sharing the monastic codes (Vinaya), discourses (Sutta), and the higher doctrine (Abhidhamma). In addition, It can be said that Vajrayana has its own identity that can preserve the knowledge on Tantra transmitted from India. The esoteric practice of Vajrayana focuses on many aspects such as the Buddhas can reveal their bodies to the practitioners in meditation, while the enlightenment can also be reached in this very life. In consequence, the way of Bodhisattva can be accelerated, in which the practitioners can have determination to attain the Buddha-hood in the form of human beings. 2. Regarding the guideline of Vajranaya, various practices such as drinking alcohol, sexual conduct, and the acceptance of Buddha in the forms of deities (the Buddha embracing his spouse for example), can be assumed as irrational and distorted based on the Theravada idea. In fact, the purpose of Tantra practice is aimed to attract people who are interested in Hindu Tantra to Buddhism. However, according to the Buddhist Tanta in Vajrayana, though this kind of practice is odd, but it is the direct way to enlightenment, which is claimed to be faster and easier than the practices of other schools. Therefore, it still focuses on enlightenment, though the way is different, as can be found in other Buddhist schools. 3. In terms of the way of life according to Vajranaya, Vajranaya followers live their lives on the Vajranaya’s way. They practice Vajranaya in daily life, from waking to sleeping, including the time when they go to work. The rituals can be performed in the positions of standing, walking, sitting, and laying down, by chanting, meditating, counting the Mala, as well as turning around the mantra bells and prayer wheel. These practices ultimately become their culture and identity.
หนังสือ

    งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของมนุษย์ในพระพุทธศาสนาและหลักการทางพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายยาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตของมนุษย์เป็นการกำเนิดชีวิตของสรรพสัตว์ 4 ประการ คือ ชลาพุชะ สัตว์กำเนิดในครรภ์ อัณฑชะ สัตว์เกิดในไข่ สังเสทชะ สัตว์เกิดในไคล และโอปปาติกะ สัตว์เกิดผุดขึ้น มีการฝึกตนเอง ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ มุ่งมั่นในการทำงาน วิเคราะห์วิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด มีการครองตนคือการดำรงตนอยู่ในสังคม การครองคนมีปฏิสัมพันธ์ในการรักษากายใจ การครองงาน มีวิธีการเก็บยา การประกอบเป็นตำรับให้กับคนไข้แต่ละคน วิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด มีการการฝึกตนเอง ขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว มีความตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ให้ได้รับความสำเร็จด้วยตนเอง อดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคและหน้าที่การงาน จะต้องเป็นผู้มุ่งมั่นในการทำงาน การประหยัดและเก็บออม รู้จักจ่ายตามสมควรของฐานะ ประหยัดเพื่อสร้างฐานะตนเองและครอบครัว การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย เป็นผู้ตรงต่อเวลาเป็นผู้มีวินัยในการตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา ละเว้นจากการประพฤติชั่ว และไม่ลุ่มหลงในอบายมุข เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ซื่อสัตย์สุจริต มีความจงรักภักดีต่อสถานบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ส่งเสริม สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ วิเคราะห์วิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหลักการทางพุทธปรัชญาเถรวาท มี 3 อย่าง คือ การครองตน การดำรงตนอยู่ในสังคม ชุมชน หมู่บ้าน ครอบครัว การครองคน มีปฏิสัมพันธ์ในการรักษากาย รักษาใจ ใช้หลักธรรมปฏิบัติ การครองงาน มีวิธีการเก็บยา การประกอบเป็นตำรับให้กับคนไข้แต่ละคน การจ่ายยา การประเมินผล เก็บข้อมูล การทำลาย สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษไทย ได้ปฏิบัติสืบมา ได้ความรู้ แนวทางที่ชัดเจน ที่จะย้อนกับมาแห่งความสงบและปฏิบัติได้ถูกต้องตามครรลอง ครองธรรม
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของมนุษย์ในพระพุทธศาสนาและหลักการทางพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายยาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตของมนุษย์เป็นการกำเนิดชีวิตของสรรพสัตว์ 4 ประการ คือ ชลาพุชะ สัตว์กำเนิดในครรภ์ อัณฑชะ สัตว์เกิดในไข่ สังเสทชะ สัตว์เกิดในไคล และโอปปาติกะ สัตว์เกิดผุดขึ้น มีการฝึกตนเอง ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ มุ่งมั่นในการทำงาน วิเคราะห์วิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด มีการครองตนคือการดำรงตนอยู่ในสังคม การครองคนมีปฏิสัมพันธ์ในการรักษากายใจ การครองงาน มีวิธีการเก็บยา การประกอบเป็นตำรับให้กับคนไข้แต่ละคน วิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด มีการการฝึกตนเอง ขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว มีความตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ให้ได้รับความสำเร็จด้วยตนเอง อดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคและหน้าที่การงาน จะต้องเป็นผู้มุ่งมั่นในการทำงาน การประหยัดและเก็บออม รู้จักจ่ายตามสมควรของฐานะ ประหยัดเพื่อสร้างฐานะตนเองและครอบครัว การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย เป็นผู้ตรงต่อเวลาเป็นผู้มีวินัยในการตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา ละเว้นจากการประพฤติชั่ว และไม่ลุ่มหลงในอบายมุข เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ซื่อสัตย์สุจริต มีความจงรักภักดีต่อสถานบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ส่งเสริม สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ วิเคราะห์วิถีชีวิตของครูภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย สาขายาสมุนไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหลักการทางพุทธปรัชญาเถรวาท มี 3 อย่าง คือ การครองตน การดำรงตนอยู่ในสังคม ชุมชน หมู่บ้าน ครอบครัว การครองคน มีปฏิสัมพันธ์ในการรักษากาย รักษาใจ ใช้หลักธรรมปฏิบัติ การครองงาน มีวิธีการเก็บยา การประกอบเป็นตำรับให้กับคนไข้แต่ละคน การจ่ายยา การประเมินผล เก็บข้อมูล การทำลาย สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษไทย ได้ปฏิบัติสืบมา ได้ความรู้ แนวทางที่ชัดเจน ที่จะย้อนกับมาแห่งความสงบและปฏิบัติได้ถูกต้องตามครรลอง ครองธรรม
This research It has 3 objectives: 1) to study the way of life of humans in Buddhism and principles of Theravada Buddhist philosophy; 2) to study the way of life of the wisdom teachers in Thai traditional medicine. herbal medicine branch Roi Et Province 3) to analyze the way of life of wisdom teachers in Thai traditional medicine herbal medicine branch Roi Et Province. The results showed that The way of life of human beings is the origin of life of all living beings in four ways: jalabhuja, beast born in the womb, anddaja, beast born in the egg, sansedja, beast born in the Kai, and oppatika. have self-training diligent responsible Willingness to work on the job committed to work Analyze the way of life of wisdom teachers in Thai traditional medicine. herbal medicine branch Roi Et Province To have one's self is to live in society. Possession of people interacting in physical and mental treatment, occupation, and methods of drug storage. Assembling a recipe for each patient. The way of life of the wisdom teacher of Thai traditional medicine herbal medicine branch Roi Et Province have self-training Be diligent and responsible for yourself and your family. Willingness to work in the duties to achieve success on their own Patience and indomitable to problems, obstacles and work duties Must be committed to work saving and saving Know how to pay accordingly Save to build a position for yourself and your family. Maintaining discipline and respecting the law Being punctual and disciplined in being punctual follow the virtues of religion abstaining from bad behavior and is not obsessed with vices generosity, sacrifice, for the sake of the common good honesty Be loyal to the national, religious and monarch institutions, promote and support the democratic regime of government and comply with government policies. Analyze the way of life of wisdom teachers in Thai traditional medicine. herbal medicine branch Roi Et Province According to the principles of Theravada Buddhist philosophy, there are 3 things: self-doubt, living in society, community, village, family, dominating people, interacting to maintain body and mind, apply Dharma principles, dominate work, have methods to store medicines. Assembling a recipe for each patient, dispensing medications, evaluating, collecting data, destroying these are things that Thai ancestors have practiced and gained knowledge and clear guidelines to return to the coming of peace and to practice correctly according to the rules of the Dharma.