Search results

3 results in 0.04s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อทดสอบโมเดลตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อระบุองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้และค่าน้ำหนักของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 379 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรักษาการ โรงเรียนละ 1 คน จำนวน 379 คน หัวหน้างานโรงเรียนละ 2 คน จำนวน 758 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,137 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 2)แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใน ปี พ.ศ.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อทดสอบโมเดลตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อระบุองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้และค่าน้ำหนักของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 379 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรักษาการ โรงเรียนละ 1 คน จำนวน 379 คน หัวหน้างานโรงเรียนละ 2 คน จำนวน 758 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,137 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 2)แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใน ปี พ.ศ.
2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของทุกตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.51 - 4.75 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ระหว่าง 3.15 – 19.40 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่มีความเหมาะสมสามารถคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างทุกตัวเนื่องจากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือมากกว่า3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า20 % 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทั้ง 4 โมเดล พบว่าโมเดลการวัดแต่ละองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลการวิจัยที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก และแสดงว่าองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์เชิงจริยธรรม การสร้างแรงบันดาลใจเชิงจริยธรรม การกระตุ้นทางปัญญาเชิงจริยธรรม และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลเชิงจริยธรรม เป็นโมเดลที่มีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) ขององค์ประกอบทุกองค์ประกอบมีค่าเป็นบวกตั้งแต่ค่าตั้งแต่ 0.91-0.95 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า เรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ การกระตุ้นทางปัญญาเชิงจริยธรรม (SL) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.95 การสร้างแรงบันดาลใจเชิงจริยธรรม(ML) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.94 การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลเชิงจริยธรรม (CL) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.93 และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์เชิงจริยธรรม (IL) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.91 ซึ่งค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) ของทั้ง 4 องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า 4) ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลใน 4 องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษานำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา ด้วยมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลการวิจัยที่ได้พัฒนาขึ้น
The purposes of this study are 1) to study an appropriate indicator of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission. 2) to test the model of indicator of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission. 3) to identify the main and minor elements indicator and weighing of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission. 4) to study the guidelines developing primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission by using Mixed Methods Research. The samples of this study are 379 primary schools under the Office of the Basic Education Commission. The information providers in total are 1,137 consisting of 379 directors/ acting for directors, 1 for each school, and 758 supervisors 2 for each school. Research instruments are 1) questionnaires about primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission of which reliability is .98. 2) structured interviews of the year 2020, statistics used in data analysis are frequency, percentage, average, standard deviation (S.D.), and Confirmatory Factor Analysis: CFA by using statistic application. The research revealed that 1) the average of the indicator of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission is between 3.51 – 4.75 and the distribution coefficient is between 3.15 – 19.40 which showed that the appropriate indicator can be selected for all kinds of Structural Relationship Model because of the average is equal or over 3.00 and the distribution coefficient is equal or under 20%. 2) the result of all 4 models’ CFA showed that all models developed from the theory and the research result which well correspond to the empirical data and revealed that all 4 elements, Moral Idealized Influence, Moral Inspiration Motivation, Moral Intellectual Stimulation, and Moral Individualized Consideration, are Structural Relationship Model of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission. 3) The factor loading of all elements is positive, 0.91-0.95, and showed that the statistical significance is at 0.1 level which is sorted from factor loading in descending order. First, Moral Intellectual Stimulation is 0.95. Second, Moral Inspiration Motivation is 0.94. Then, Moral Individualized Consideration is 0.93. And the last, Moral Idealized Influence is 0.91. The factor loading of all elements is positive with the statistical significance is at 0.1 level. 4) According to the results from data analysis above, the expert supported director to provide the elements and indicator in school management which correspond to the research results.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครู จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านจริยธรรมต่อตนเอง ด้านจริยธรรมต่อความรับผิดชอบงาน ด้านจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน และด้านจริยธรรมต่อการปฏิบัติงาน 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคต่อผู้อื่นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครูผู้อื่น ควรยกย่องและให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ควรมีการทำงานอย่างเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสามัคคี มีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วน ถูกต้อง มีการกระจายอำนาจในการบริหารงาน และมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครู จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านจริยธรรมต่อตนเอง ด้านจริยธรรมต่อความรับผิดชอบงาน ด้านจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน และด้านจริยธรรมต่อการปฏิบัติงาน 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคต่อผู้อื่นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครูผู้อื่น ควรยกย่องและให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ควรมีการทำงานอย่างเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสามัคคี มีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วน ถูกต้อง มีการกระจายอำนาจในการบริหารงาน และมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
The purposes of this study were 1) to study the Ethical leadership of school administers under the Secondary education service Area office 24, 2) to compare the ethical leadership of school administrators under the Secondary education service Area office 24, classified by gender, age, level education, and work experience, 3) to study the ethical leadership of school administers under the Secondary education service Area office 24. The sample used in this research was 317 teachers under the Secondary education service Area 24. The tool used for data collection was a questionnaire with a 5 level estimation scale with content validity of 1.00, and a confidence was 0.93. estimation scale. The statistics used were Standard deviation mean, the hypothesis was tested by t-test and F-test. The data was analyzed by a computer. The result of the research found that 1. The Ethical leadership of school administers under the Secondary education service Area office 24, overall was at a high level. Ranking from the highest average to the lowest average ethical aspects towards oneself, ethical aspects of job responsibilities, ethical aspects towards colleagues, and ethical aspects of performance. 2. The results of the comparison of ethical leadership of the school administrators under the Secondary education service Area office 24, classified by gender, age, education level, and work experience in overall and each aspect was not different. 3. Recommendations on the ethical leadership of the school administrators under the Secondary education service Area office 24: school administrators should be fair, provide fairness to everyone, took responsibility form oneself and other teachers, should be dignified to their colleagues, there should be team work to achieve unity, discloser of complete and correct information, decentralized administration and problem solving systematically.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 395 คน ที่เป็นประชาชนในเขตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามโดยใช้ค่าไคสแควร์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า: 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความซื่อสัตย์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความคิดเห็นต่อระดับในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2. ผลการการทดสอบความสัมพันธ์ของเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในด้านความยุติธรรม ด้านความซื่อสัตย์ ด้านการเสียสละ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านความรับผิดชอบ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น คือ ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริม ทำสินค้าพื้นบ้านให้เป็นโอทอป และมีกองทุนกลางเพื่อพัฒนาพร้อมหาตลาดให้ประชาชนด้วย ควรจัดทำแผน โครงการพัฒนาหมู่บ้าน ควรสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส พร้อมติดตามผลโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 395 คน ที่เป็นประชาชนในเขตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามโดยใช้ค่าไคสแควร์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า: 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความซื่อสัตย์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความคิดเห็นต่อระดับในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2. ผลการการทดสอบความสัมพันธ์ของเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในด้านความยุติธรรม ด้านความซื่อสัตย์ ด้านการเสียสละ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านความรับผิดชอบ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น คือ ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริม ทำสินค้าพื้นบ้านให้เป็นโอทอป และมีกองทุนกลางเพื่อพัฒนาพร้อมหาตลาดให้ประชาชนด้วย ควรจัดทำแผน โครงการพัฒนาหมู่บ้าน ควรสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส พร้อมติดตามผลโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the level of ethical leadership in work performance of the village headman 2) to study the relationship between personal factors and ethical leadership with work performance of the village headman 3) to study the recommendations of ethical leadership towards work performance of the village headman using a questionnaire to collect data from a sample of 395 people who were residents of Ubonrat District, Khon Kaen Province. Data were analyzed using descriptive statistics such as percentage, mean, standard deviation. The relationship between independent variables and dependent variables was studied using chi-squared values which was statistically significant at the 0.05 level. The results of research were found that: 1. People's opinions on the level of ethical leadership in work performance of the village headman in all 5 aspects were at a high level when considering each aspect, it was found that honesty had the highest average. As for the opinions on the level of work performance of the village headman in all 5 aspects, it was at a high level when considering each aspect, it was found that the village development plan had the highest average. 2. The results of the relationship test were gender, age, education level, occupation and monthly average income. There is no relationship with work performance of the village headman, significantly at the 0.05 level and the test result of the relationship between ethical leadership and work performance of the village headman in justice, honesty, sacrifice, reliability and responsibility. There was no significant relationship with work performance of the village headman. 3. Recommendations on ethical leadership in work performance of the village headman in Ubonrat district, Khon Kaen Province is to encourage people to have additional occupations, making local products into OTOP and there is a central fund to develop and find a market for the people as well. The village headman should prepare a village development project plan, support scholarships for children, youth, the underprivileged and follow up on the project results to be consistent with the local government organizations.