Search results

1 results in 0.08s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่ ๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่ ๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
The objectives of this dissertation were: 1) to study leadership of Buddhist missionary monks in Thailand, 2) to study Buddhadhamma reinforcing the leadership of Buddhist missionary monks , 3) to develop the leadership of Buddhist missionary monks with Buddhadhamma, and 4) to propose a model and knowledge in leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with Buddhadhamma. The data of this documentary research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 10 expert-monks. The data were analyzed, synthesized and presented in a descriptive method. The results of the study were found that: 1) The leadership of Buddhist missionary monks in Thailand is complied with Ovadapatimokkha or The Principal Teaching. That means the missionary monks have to dare not to do any evil, to do good, and to purify the mind. 2) The Buddhist principles for leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand are Sappurisa Dhamma, Kalyanamitta Dhamma, Brahmavihara Dhamma, and 8 qualifications, i.e. to be a good listener, to be a good speaker, to be learned, to have good memory, to be comprehensive, to be able to clarify, to be wise in leadership, and not to create quarrels and problems. 3) The leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with the Buddhist principles are that; (1) to integrate Kalyanamitta Dhamma in searching for knowledge sources and good companions, (2) to integrate Sappurasa Dhamma in building discipline in one’s own life development, work creation and performance, self-training, living a life based on causality and carefulness, and (3) to integrate Brahmavihara Dhamma in duty performance with proper attention. 4) The leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with Buddhadhamma can be concluded in LDMBW Model.