Search results

203 results in 0.06s

หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอ ในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประกอบผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชนเผ่าปะโอจำนวน 8 คนเพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติและพฤติกรรมเป็นแบบอย่างในการสื่อสารอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมีวุฒิภาวะ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ไปบูรณาการ เพื่อความสมบูรณ์ของทฤษฎีภาวะผู้นำ หลักธรรมประกอบด้วย ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 อคติ 4 เบญจศีลและเบญจธรรม อปริหานิยธรรม 7 ทศพิธราชธรรม 10 และจักรวรรดิธรรม 12 2. ชนเผ่าปะโอก็คือเป็น Pyu มีหลักฐานตั้งถิ่นก่อน ค.ศ.600 มาจากบริเวณตอนใต้ประเทศมองโกเลียลงมาทางใต้ประเทศเมียนม่าร์ หลังจากได้พ่ายแพ้สงครามและชนเผ่าปะโอได้สร้างเมืองใหม่ชื่อว่าหม่อท่อผาเมืองสะถุ่งใหม่ปัจจุบันคือเมืองสี่แสงการเกิดของขบวนการต่อสู้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รวบรวมชาวปะโอจำนวนหนึ่งในการปกครองประเทศราช (ระบบศักดินา) การเก็บส่วยภาษีอากรทุกอย่างจากประชาชนที่การต่อสู้ทางการเมืองและเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ และองค์การแห่งชาติปะโอกับ สาธารณรัฐประชาชาติปะโอ มีการเจรจาข้อตกลงการหยุดยิงและเป็นวันการปฏิวัติล้มล้างและทำสัญญาสันติภาพเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางและวิถีทางการเมืองการปกครองใน 3 อำเภอ ได้แก่ระบบประชาธิปไตย ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จผู้นำชนเผ่าปะโอได้แสดงบทบาทภาวะผู้นำด้านการเมืองสังคมและเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบัน 3. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำด้านการปกครอง ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ได้ใช้หลักทศพิธราชธรรม ในการรวบร่วมกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอให้เป็นหนึ่งเดียว ภาวะผู้นำด้านสังคมผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักเบญจศีลและเบญจธรรม ในการสงเสริม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมแบบจารีตและเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชนเผ่าปะโอ ภาวะผู้นำด้านเศรษฐกิจผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้สงเสริมการเกษตรโดยนำศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการผลิตอย่างสมดุลเพื่อยกระดับคุณภาพชิวิติของชนเผ่าปะโอ จนถึงปัจจุบัน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอ ในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประกอบผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชนเผ่าปะโอจำนวน 8 คนเพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติและพฤติกรรมเป็นแบบอย่างในการสื่อสารอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมีวุฒิภาวะ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ไปบูรณาการ เพื่อความสมบูรณ์ของทฤษฎีภาวะผู้นำ หลักธรรมประกอบด้วย ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 อคติ 4 เบญจศีลและเบญจธรรม อปริหานิยธรรม 7 ทศพิธราชธรรม 10 และจักรวรรดิธรรม 12 2. ชนเผ่าปะโอก็คือเป็น Pyu มีหลักฐานตั้งถิ่นก่อน ค.ศ.600 มาจากบริเวณตอนใต้ประเทศมองโกเลียลงมาทางใต้ประเทศเมียนม่าร์ หลังจากได้พ่ายแพ้สงครามและชนเผ่าปะโอได้สร้างเมืองใหม่ชื่อว่าหม่อท่อผาเมืองสะถุ่งใหม่ปัจจุบันคือเมืองสี่แสงการเกิดของขบวนการต่อสู้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รวบรวมชาวปะโอจำนวนหนึ่งในการปกครองประเทศราช (ระบบศักดินา) การเก็บส่วยภาษีอากรทุกอย่างจากประชาชนที่การต่อสู้ทางการเมืองและเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ และองค์การแห่งชาติปะโอกับ สาธารณรัฐประชาชาติปะโอ มีการเจรจาข้อตกลงการหยุดยิงและเป็นวันการปฏิวัติล้มล้างและทำสัญญาสันติภาพเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางและวิถีทางการเมืองการปกครองใน 3 อำเภอ ได้แก่ระบบประชาธิปไตย ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จผู้นำชนเผ่าปะโอได้แสดงบทบาทภาวะผู้นำด้านการเมืองสังคมและเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบัน 3. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำด้านการปกครอง ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ได้ใช้หลักทศพิธราชธรรม ในการรวบร่วมกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอให้เป็นหนึ่งเดียว ภาวะผู้นำด้านสังคมผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักเบญจศีลและเบญจธรรม ในการสงเสริม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมแบบจารีตและเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชนเผ่าปะโอ ภาวะผู้นำด้านเศรษฐกิจผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้สงเสริมการเกษตรโดยนำศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการผลิตอย่างสมดุลเพื่อยกระดับคุณภาพชิวิติของชนเผ่าปะโอ จนถึงปัจจุบัน
This thesis aims to: 1) to study the concept of leadership theory, 2) to study the concept of Pa Oh tribal leadership in Shan State of Myanmar, and 3) to study and analyze the leadership of the Pa Oh tribe in Shan State of Myanmar. The data of this qualitative study were collected from documents, articles, related research, and in-depth interviews with 8 key informants involving in the Pa Oh tribe, and then analyzed and presented by a descriptive method. The research results were found that 1. In leadership theory and concepts, leadership should be composed of qualifications and behaviors in systematic and effective communication, maturity and creation of relationship for the achievement of the organization. The leadership could be integrated with the Buddhist teachings for its accomplishment. The Buddhist teachings consist of Ditthadhammikattha, Sappurisadhamma, Brahmavihara Dhamma. Sanghahavatthu Dhamma, Agati, The Five Precepts and The Five Virtues, Aparihaniya Dhamma, Dasarajadhamma, and Cakkavatti Dhamma. 2. The Pa Oh tribe was Pyu having settled down in the southern region of Mongolia before AD 600, and moved down to Myanmar. Defeated in the war, the Pa Oh tribe built a new town called Mor Tho Pha Muang Tha Ton or Hsi Hseng nowadays. During World War 2, there was a movement and the gathering of a large number of Pa Oh people to rule the country in Feudal system and taxation was collected from the people who fought in politics, claimed for their rights, and The Pa Oh National Organization and The Pa Oh Nation Republic. There was an agreement for ceased fire, revolution day, and peace agreement in 3 districts under the constitution of the central government and the political and administrative means: democracy, socialism, and communism. The leaders of Pa Oh tribe expressed their leadership in politics, society, and economics and that has been successful from the past to present. 3. In government leadership, the leaders of Pa Oh tribe could unite Pa Oh people by using Dasarajadhamma. In social leadership, the leaders of Pa Oh tribe applied the principles of the Five Precepts and the Five Virtues in preserving and continuing tradition and culture of the Pa Oh tribe. In economic leadership, the leaders of Pa Oh tribe applied the principles of Ditthadhammakattha in economic, and agriculture development, and implemented the modern technology to increase the products and reduce cost, and to improve the quality of life of Pa Oh people.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบล ชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนประชากรทั้งหมด 13,286 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า F - test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) ส่วน ด้านการบริหาร (วิธุโร) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ จัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และเพิ่มประสบการณ์ ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร ควรลงพื้นที่พบปะประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ ประชนในพื้นที่ ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประชนในพื้นที่และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของประชาชนให้เข้าใจเพื่อจะได้ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบล ชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนประชากรทั้งหมด 13,286 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า F - test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) ส่วน ด้านการบริหาร (วิธุโร) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ จัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และเพิ่มประสบการณ์ ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร ควรลงพื้นที่พบปะประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ ประชนในพื้นที่ ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประชนในพื้นที่และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของประชาชนให้เข้าใจเพื่อจะได้ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
The objectives of this thematic paper were as follows: 1) To study the role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province. 2) To compare the role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province in terms of sexes, ages, degrees of education, occupations and monthly incomes as differently. 3) To study the suggestion were concerned with promotion on role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province. The population were people in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province, totally 13,286 persons, sample size according to the table of R.V. Krejcie and D.W.Morgan, got the sample at the number of 372 persons. The instrument for data collection was questionnaire both closed and open-end questions. Data analysis by package computer program, the statistics were used as follows, frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t–test, F-test and LSD method. The results reveal that: 1) The role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province by overviews are at high level, while considered in each aspects from more to less find that the aspect of human relation (Nissayasampanno) was the highest mean and follow up the aspect of vision (Jakkhuma) and the aspect of administration (Vidhuro) is the lowest mean, respectively. 2) The comparative results of role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province in term of sex, age, degree of education, occupation and monthly income find that there are not different as statistical significance at .05, 3) The suggestion are concern with promotion on role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province find that there should train all about knowledge and experience in administration to administrator. There should meet people in the area as usually for getting the people’s opinion. there should have good relation with people in the area and make participation of all networking. There should study the problem and the need of people for responding as rightly and to have opportunity to people for participation in community development.
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ระบุองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 640 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2557 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 12 ตัวบ่งชี้ จำแนกตามมิติขององค์ประกอบในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างได้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้คือ องค์ประกอบความร่วมมือ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การแบ่งปันข้อมูล 2) ความรับผิดชอบ 3) การแก้ปัญหา องค์ประกอบความรู้ดิจิตอลมี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) เข้าใจดิจิตอล 2) การใช้ดิจิตอล 3) การรู้สารสนเทศ องค์ประกอบวิสัยทัศน์ดิจิตอล มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ 2) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ 3) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และองค์ประกอบการสื่อสาร มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสาร 2) ทัศนคติในการสื่อสาร 3) ชัดเจนในการสื่อสาร โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย 60 พฤติกรรมบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายที่เหมาะสมสำหรับการคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ/น้อยกว่า 20 % 2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยพิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ ( ) เท่ากับ 7.863 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 6 ( /df = 1.31) ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.248 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.998 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.973 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.022 3. องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ ส่วนตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัวบ่งชี้ และทุกพฤติกรรมบ่งชี้
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ระบุองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 640 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2557 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 12 ตัวบ่งชี้ จำแนกตามมิติขององค์ประกอบในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างได้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้คือ องค์ประกอบความร่วมมือ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การแบ่งปันข้อมูล 2) ความรับผิดชอบ 3) การแก้ปัญหา องค์ประกอบความรู้ดิจิตอลมี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) เข้าใจดิจิตอล 2) การใช้ดิจิตอล 3) การรู้สารสนเทศ องค์ประกอบวิสัยทัศน์ดิจิตอล มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ 2) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ 3) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และองค์ประกอบการสื่อสาร มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสาร 2) ทัศนคติในการสื่อสาร 3) ชัดเจนในการสื่อสาร โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย 60 พฤติกรรมบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายที่เหมาะสมสำหรับการคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ/น้อยกว่า 20 % 2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยพิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ ( ) เท่ากับ 7.863 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 6 ( /df = 1.31) ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.248 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.998 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.973 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.022 3. องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ ส่วนตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัวบ่งชี้ และทุกพฤติกรรมบ่งชี้
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to develop the digital leadership indicators of school administrators under Office of the Basic Education Commission, 2) to test the balancing of the digital leadership indicators model developed from empirical data of school administrators under Office of the Basic Education Commission, and 3) to indicate factors, indicators and indicator behaviors with construct validity or composition weight according to the specified criteria. The data of this quantitative research were collected from 640 samples consisting of basic school administrators under Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education, in the academic year 2016. The data were analyzed by mean, standard deviation, distribution coefficient, and factor analysis through computerized statistical program. The results of the study were found that: 1. There were 12 digital leadership indicators of school administrators under Office of the Basic Education Commission classified by 4 factor dimensions in structural relation model: 3 indicators in Collaboration elements; 1) Sharing Information, 2) Responsibility, and 3) Problem-Solving, 3 indicators in Digital literacy elements; 1) Digital literacy, 2) Digital Usage, and 3) Information Literacy, 3 indicators in Digital Vision elements; 1) Vision Formulating 2) Vision Articulating, and 3) Vision Implementing, and 3 indicators in Communication elements; Elements of Communication has 3 indicators, 1) Communication Skills, 2) Communication Attitude, and 3) Clarity in Communication. The 60 behaviors indicators used in the research had appropriate average value and distribution coefficient allocated in every structural relationship model which according to the criteria set, the average was higher than 3.00 and the distribution coefficient was equal or lower than 20% 2.The measurement model of each component developed from the theory and research was positively consistent with the empirical data; = 7.863, df = 6 ( /df = 1.31), P-value = 0.248, GFI = 0.998, AGFI = 0.973, and RMSEA = 0.022 3.The factor loading of each indicator and balance component was higher than the specified criteria at 0.05. Indicators and indicator behaviors had standard weight higher than the specified criteria at 0.30.
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของสตรี (2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของสตรีในพระสุตตันตปิฎก และ (3) เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำของสตรีในพระสุตตันตปิฎก ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า (1) สตรีมีบทบาทในการดำเนินงานและเป็นผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชนมากยิ่งขึ้นอันเนื่องมาจากความเสมอภาคทางด้านสังคมที่ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากสังคมปัจจุบันที่สตรีเป็นฝ่ายทำงานหาเงินเพื่อจุนเจือครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชายทำให้ศักยภาพของผู้หญิงทัดเทียมกับผู้ชายหรืองานบางอย่างผู้หญิงสามารถทำได้คล้ายผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม หรือ ประเทศ ก็มีสตรีที่มีความรู้ความสามารถดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ด้วยกันทั้งสิ้น (2) วีถีการดำเนินชีวิตของนางวิสาขาและนางสามาวดีเป็นผู้หญิงเก่งฉลาด ควรนำมาเป็นต้นแบบให้กับผู้หญิงสมัยใหม่ มีวิธีการในการจัดการปัญหาได้ อย่างชาญฉลาดและรอบคอบรู้จักการวางตน และมีความอดทน พยายามในการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวสามีและอยู่กับพระพุทธศาสนาอย่างมีความสุขได้ (3) วิจัยนี้สามารถถอดบทเรียนในลักษณะมิติใหม่ที่เป็นหลักการสังคหวัตถุ และหลักการดำเนินชีวิตนางสมาวดี ในอีกมุมมอง คือ การใช้ 4S และ 1L 3P ให้เข้ากับภาวะผู้นำปัจจุบัน ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ หลักสังคหวัตถุและหลักการดำเนินชีวิตนางสมาวดีเป็นการนำพา ตนเอง ครอบครัว สังคม ให้ไปสู่สภาวะของความสุขสงบ ร่มเย็นการที่ไม่มีปัญหา เพราะปัญหาได้ผ่านกระบวนการขัดเกลา ของหลักทั้ง 2 ไปแล้วย่อมเกิดความเป็นภาวะผู้นำที่ดีแน่นอน ที่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์สำหรับ สตรียุคสมัยใหม่อีกด้วยเพื่อความเป็นผู้นำพาให้สังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั้งยืน
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของสตรี (2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของสตรีในพระสุตตันตปิฎก และ (3) เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำของสตรีในพระสุตตันตปิฎก ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า (1) สตรีมีบทบาทในการดำเนินงานและเป็นผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชนมากยิ่งขึ้นอันเนื่องมาจากความเสมอภาคทางด้านสังคมที่ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากสังคมปัจจุบันที่สตรีเป็นฝ่ายทำงานหาเงินเพื่อจุนเจือครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชายทำให้ศักยภาพของผู้หญิงทัดเทียมกับผู้ชายหรืองานบางอย่างผู้หญิงสามารถทำได้คล้ายผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม หรือ ประเทศ ก็มีสตรีที่มีความรู้ความสามารถดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ด้วยกันทั้งสิ้น (2) วีถีการดำเนินชีวิตของนางวิสาขาและนางสามาวดีเป็นผู้หญิงเก่งฉลาด ควรนำมาเป็นต้นแบบให้กับผู้หญิงสมัยใหม่ มีวิธีการในการจัดการปัญหาได้ อย่างชาญฉลาดและรอบคอบรู้จักการวางตน และมีความอดทน พยายามในการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวสามีและอยู่กับพระพุทธศาสนาอย่างมีความสุขได้ (3) วิจัยนี้สามารถถอดบทเรียนในลักษณะมิติใหม่ที่เป็นหลักการสังคหวัตถุ และหลักการดำเนินชีวิตนางสมาวดี ในอีกมุมมอง คือ การใช้ 4S และ 1L 3P ให้เข้ากับภาวะผู้นำปัจจุบัน ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ หลักสังคหวัตถุและหลักการดำเนินชีวิตนางสมาวดีเป็นการนำพา ตนเอง ครอบครัว สังคม ให้ไปสู่สภาวะของความสุขสงบ ร่มเย็นการที่ไม่มีปัญหา เพราะปัญหาได้ผ่านกระบวนการขัดเกลา ของหลักทั้ง 2 ไปแล้วย่อมเกิดความเป็นภาวะผู้นำที่ดีแน่นอน ที่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์สำหรับ สตรียุคสมัยใหม่อีกด้วยเพื่อความเป็นผู้นำพาให้สังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั้งยืน
This thematic paper had three objectives: (1) to study the leadership of women (2) to study the leadership of women in Suttanta pitaka, and (3) to analyze the benefits and values of women 's leadership in Suttanta pitaka. by using qualitative research model and by studying documents. The results of research was found as follows: (1) Women had a greater role in the operation and leadership of both the public and private sectors due to social equality in which women and men had equal rights. As it could be seen from the present society, women were working to raise money to support their families, as well as men, making women’s potential equal to men or certain jobs. Women could do like men, Whether at the family level, community, society or country. there were women who had the knowledge and ability to hold important positions together. (2) The way of life of Mrs. Visakha and Mrs. Samavati was smart and intelligent. It could be a model for modern women.Both of them had ways to manage problems wisely and carefully, They knew how to behave themselves and had patience. They tried to live with the husband's family and live happily in Buddhism. (3) This research could give the lesson in a new dimension. that was the principle of Sangahavatthu and the principles of Mrs. Samavati in another view, using 4S and 1L 3P to match the current leadership, which was still inequality. The principle of Sangahavatthu and principles of lifestyle of Mrs. Samavati broght the family and society to the state to happiness and peace of refining the core of the two principles, then it was certainly a good leadership. It could be used as a benefit for modern women as well as being a leader for society to sustainable development.

... 2561

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553